MIT ค้นพบวิธีใหม่ที่จะทำให้พลังงานนิวเคลียร์ Fusion ถูกลง และเป็นจริงได้ง่ายขึ้น

MIT’s groundbreaking mini fusion reactor could power the world within 10 years

ทีมวิศวกรจาก MIT ได้ใช้เวลาอย่างมากในการหาวิธีที่จะที่ทำให้สิ่งต่างๆ ดีขึ้น เร็วขึ้นและมีขนาดเล็กลง และเป็นข่าวดีที่ในขณะนี้ ได้มีการค้นพบเทคโนโลยีแม่เหล็กใหม่ที่นับเป็นการออกแบบอย่างพลิกโฉมที่ทำให้เครื่องปฏิกรณ์พลังงาน modular fusion ARC reactor มีขนาดเล็กลง แต่สามารถผลิตพลังงานได้มากเท่ากับเครื่องขนาดใหญ่ก่อนหน้านี้ นักวิจัยจากMIT เชื่อว่าแนวคิดใหม่นี้ จะสามารถใช้เวลาน้อยกว่า10ปีที่จะทำให้มันเกิดขึ้นได้จริง และวิธีผลิตพลังงานแบบใหม่นี้จะเป็นพลังงานที่สะอาดสามารถนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ได้ แบบที่โลกเราเฝ้ารอกันมานาน
โรงปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์ ฟิวชั่น เป็นความฝันของนักวิทยาศาสตร์ทางด้าน Nuclear fusion มาเป็นเวลาหลายสิบปี แต่ก็ยังไม่เข้าใกล้สิ่งที่ต้องการ จนกระทั่งขณะนี้ ที่เครื่องปฏิกรณ์ขนาดใหญ่โตมหึมา และมีความร้อนมหาศาลได้ถูกย่อส่วนลงมา ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอย่างมาก การจัดสร้างก็มีความง่ายขึ้น

การออกแบบที่เป็นการพลิกโฉมครั้งนี้ มีพื้นฐานมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีแม่เหล็ก (magnet technology) ความแตกต่างสำคัญอยู่ที่ superconductors ที่เป็น rare-earth barium copper oxide (REBCO) ที่นักวิจัยได้เปลี่ยนมาใช้ขดลวดสนามแม่เหล็กแรงสูง (high-magnetic field coils)ในเครื่องปฏิกรณ์แทน

ถ้าจะให้เห็นภาพกันชัดๆว่าการค้นพบนี้จะเปลี่ยนแปลงโรงปฏิกรณ์พลังงานนิวเคลียร์อย่างไร ก็ลองนึกถึงโรงปฏิกรณ์พลังงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ชื่อ ITER  ที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในประเทศฝรั่งเศส ได้ถูกออกแบบมาก่อนที่จะมีการค้นพบ superconductor ตัวใหม่นี้ ต้องใช้เงินมากถึง $40พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการจัดสร้าง แต่ถ้า ITER ใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่งค้นพบโดย MIT นี้ มันจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กลงถึงครึ่งหนึ่ง  ใช้เวลาในการก่อสร้างน้อยลง นั่นย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายที่น้อยลงด้วย แต่ยังสามารถผลิตพลังงานได้เท่ากัน
Via MIT
Images via MIT ARC team and Jose‑Luis Olivares/MIT




ที่มา http://www.iurban.in.th/greenery/mit-new-fusion-reactor-design/

Read more: MIT’s groundbreaking mini fusion reactor could power the world within 10 years
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่