หายนะชาวนาไทย! เปิด AEC ข้าวเวียดนามเตรียมทะลักเข้าไทย เหตุมาจากข้าวไทยต้นทุนผลิตสูง/ผลผลิตต่ำ

กระทู้สนทนา
เมื่อเปิด AEC ข้าวเวียดนามทะลักเข้าไทยขายแค่ราคาตันละ 6,000 บาท ชาวนาไทยก็แพ้อย่างเห็นๆ จึงคาดการณ์ว่า ในปี 59/60 ชาวนาไทยจะเลิกทำนากันไม่น้อยกว่า 50% หากไม่เร่งปรับตัวให้สู้กับคู่แข่งได้ (http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000146084)

ในปี 2015 ประเทศที่มีผลผลิตต่อไร่สูงที่สุดในอาเซียนคือ
1. เวียดนาม 894 กิโลกรัมต่อไร่
2. อินโดนีเซีย 827 กิโลกรัมต่อไร่
3. มาเลเซีย 699 กิโลกรัมต่อไร่
4-7 ฟิลิปปินส์ ลาว เมียนมา และกัมพูชา
8. ไทยเป็นอันดับที่แปดของอาเซียน อยู่ที่ 481 กิโลกรัมต่อไร่
(ตัวเลขของ สศก. ผลผลิตต่อไร่ของข้าวนาปีอยู่ที่ 436 กก.ต่อไร่ และ ข้าวนาปรัง 642 กก.ต่อไร่)
(http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3502)

ต้นทุนเปรียบเทียบ

ต้นทุนเกษตรกรไทย 6,000-7,000 บาทต่อไร่ (ในกรณีที่ต้องจ้างแรงงานในการหว่านหรือปักดำ)
- มีการไถกลบฟาง และไถเพื่อเตรียมดินก่อนหว่าน 3 ครั้ง ค่ารถไถอยู่ที่ 700-900 บาทต่อไร่
- จ้างแรงงานในการหว่านเมล็ด 300 บาท/วัน
- เมล็ดพันธุ์ 1 กระสอบ 25 กิโลกรัม ใช้ในการหว่าน 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ค่าเมล็ดพันธุ์ 700-800 บาท/กระสอบ
- ปุ๋ย ตามสูตรของโครงการ 3 แบบ ราคา 700-800 บาท/กระสอบ ประกอบด้วย ปุ๋ยอินทรีย์ 2 กระสอบต่อไร่ เพิ่มความสมบูรณ์ของดิน, ปุ๋ยสูตร 16-16-8 จำนวน 1 กระสอบต่อไร่, ปุ๋ยสูตร 46-0-0 จำนวน ½ กระสอบต่อไร่ ดังนั้นค่าปุ๋ยอยู่ที่ 2,350-2,800 บาทต่อไร่
- ค่ารถเกี่ยว 500-550 บาทต่อไร่
(http://thaipublica.org/2014/02/cost-of-famer)

เวียดนามมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทยร้อยละ 51
ขนาดการถือครองพื้นที่ทางการเกษตรของเวียดนามนั้นจะมีขนาดเล็ก คือประมาณ 6.25 ไร่ต่อครัวเรือน ขณะที่ประเทศไทย โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 17 ไร่ต่อครัวเรือน ทำให้เกษตรกรเวียดนามแต่ละรายสามารถดูแลที่นาของตนเองในระหว่างการเพาะปลูกได้อย่างทั่วถึง ที่สำคัญเวียดนามมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าไทยร้อยละ 51 เพราะใช้แรงงานคนเป็นหลักในการผลิต ซึ่งค่าจ้างแรงงานของเวียดนามเฉลี่ยวันละ 80 บาท ต่ำกว่าไทยที่เฉลี่ยปัจจุบัน 200-300 บาท (http://www.dailynews.co.th/agriculture/325654)

(เนื้อหาถัดจากนี้ไปใช้ข้อมูลอ้างอิงท้ายบทความ)
การเตรียมนา
การเตรียมนาของไทยบางแห่งมีการเผาซางข้าวก่อนที่จะทำการไถ ก่อให้เกิดควันไฟลอยขึ้นไปทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ มีหลายหน่วยงานพยายามเชิญชวนให้ชาวนาไทยไถกลบซางข้าวแทนการเผาอยู่เป็นระยะ ๆ

แต่การเตรียมนาของชาวเวียดนามจะใช้วิธีไถกลบซางข้าวให้กลายเป็นปุ๋ยในนา

ต้นทุนเมล็ดพันธุ์
การหว่านข้าวของชาวนาไทยจะหว่านข้าวประมาณ 1 ถังต่อไร่ ซึ่งทำให้ต้นทุนการทำนาสูงขึ้นอีก

ชาวเวียดนามจะใช้วิธีการเกี่ยวแล้วปล่อยให้ซางข้าวงอกใหม่อีก 1 – 2 ครั้ง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการทำนาลงได้

การว่างงานแฝงในช่วงรอการเก็บเกี่ยว
เนื่องจากชาวนาไทยทำนาในลักษณะแปลงใหญ่ต้องเก็บเกี่ยวพร้อม ๆ กัน  ในช่วงที่รอข้าวเติบโต 3-4 เดือน ชาวนาไทยจะอยู่ในสภาพว่างงาน

แต่ชาวนาเวียดนามจะทำนากันทั้งปี โดยผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนทำไปที่ละแปลง ทำให้ไม่มีเวลาว่างในการทำกิจกรรมอื่น ๆ

กระบวนการผลิต
การปลูกข้าวของชาวนาไทยเป็นลักษณะการปลูกแบบ Mass Production จะมีบางส่วนที่ยังปลูกแนวอนุรักษ์อยู่บ้าง

การทำนาของชาวเวียดนามเป็นแนวอนุรักษ์ ค่อย ๆ ปลูกกันไปเรื่อย ๆ และสามารถออกผลเก็บเกี่ยวโดยรวมออกมากมายจนแข่งขันเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
(http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=490&pageid=7&read=true&count=true#sthash.CVvg5ynn.dpuf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่