จากข่าวทางทีวี วิทยุ สื่อสิงพิมพ์ Social ช่วงนี้มีการเปิดอุทยานราชภักดิ์ที่มี พระบรมราชานุสาวรีย์ “บูรพมหากษัตริย์ 7 พระองค์”
เราก็เลยสงสัยว่าทั้ง 7 พระองค์นี้ มีพระองค์ไหนกันบ้าง เลยลองค้นหาข้อมูลดู
ก็เลยนำมาแบ่งปันสำหรับ น้องๆ หรือเพื่อนๆ ที่สงสัยหรืออยากทราบเหมือนกันนะคะ
*ถ้าเกิดกระทู้นี้ซ้ำ หรือมีข้อมูลที่หลายท่านทราบอยู่แล้วต้องขออภัยนะคะ
**ถ้ามีการใช้คำราชาศัพท์ผิด หรือใช้คำไม่เหมาะสม ข้อมูลผิด ต้องขออภัยด้วยนะคะ
การเริ่มการถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” ต่อท้ายพระนามพระมหากษัตริย์นั้น
สันนิษฐานว่าเริ่มมีขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕ เนื่องจาก
เป็นสมัยที่เริ่มมีการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาติและบรรพบุรุษมากขึ้น ทำให้ประจักษ์ถึงวีรกรรม
และพระราชอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นๆ จึงได้มีการยกย่องพระมหากษัตริย์บางพระองค์
ที่ทรงมีพระเกียรติคุณเด่นกว่า พระองค์อื่นขึ้นเป็น มหาราช ในเรื่องของการริเริ่มถวายพระราชสมัญญามหาราชต่อท้ายพระนามพระมหากษัตริย์
ในยุคสมัยต่างๆ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในลายพระหัตถ์
ที่ทรงมีถึงพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังนี้
“… ที่เพิ่มคำ “มหาราช” เข้าต่อท้ายพระนามพระเจ้าแผ่นดินนั้น ในหนังสือไทยมีหนังสือพระราชพงศาวดาร เรียก “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ”
ก่อนที่ใช้คำ “มหาราช” หมายอย่าง The Great ของฝรั่ง คนอื่นเขาก็ใช้มาก่อนหม่อมฉัน เป็นแต่ตามเขาหาได้เป็นผู้ริใช้ไม่
สังเกตดูพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งที่มีคำธีเกรตอยู่หลังพระนาม คำนั้นย่อมเพิ่มเข้าต่อเมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นล่วงลับไปแล้วบางที่
ก็ช้านาน และเพิ่มเข้าต่อเมื่อมีพระเจ้าแผ่นดินพระนามพ้องกัน โดยปกติมักเรียกพระองค์ก่อนว่า “ที่ ๑” พระองค์หลังว่า “ที่ ๒”
และเปลี่ยนตัวเลขต่อไปตามลำดับ ถ้าพระองค์ใดเป็นอัจฉริยบุรุษจึงใช้คำธีเกรตแทนที่เลข จะยกตัวอย่างดังเช่น เอมเปอเรอวิลเฮมเยอรมัน
เมื่อพระเจ้าวิลเฮม (ไกเซอ) เสวยราชย์ก็เรียกพระองค์แรกว่า ที่ ๑ พระองค์หลังว่าที่ ๒ มาหลายปี จนเยอรมันต่อเรือใหญ่ลำหนึ่ง
อย่างวิเศษสำหรับพาคนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค พระเจ้าไกเซอ ประทานนามเรือนั้นว่า เอมเปอเรอวิลเฮม ธีเกรต
แต่นั้นมาจึงเรียกเอมเปอเรอ พระองค์นั้นว่า ธีเกรต คือ มหาราช ที่ไทยเราเอามาใช้ไม่ตรงตามแบบฝรั่ง
เพราะไม่ได้เรียกพระนามซ้ำกัน เรียกเพราะเป็นอัจฉริยบุรุษอย่างเดียว…”
ที่มา
https://khunatham.wordpress.com/2015/01/31/king8/
ซึ่งมหาราชของไทยมี 8 พระองค์
พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 1
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (สมัยกรุงสุโขทัย)
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรส ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์
องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง"
เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย
ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐
รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงรวมเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงอัจฉริยภาพทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ ศาสนาและศิลปวิทยาต่างๆ
ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
พระเจ้ารามคำแหง จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์
ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า “เจ้าราม” แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ 19 ชรรษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดา
ไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความเก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้
ทั้งตีทัพขุนสามชนแตกพ่ายไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง”
พระเจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราชองค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราชพระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย
พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ การปกครอง และการศาสนา
พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุมคัมภีรภาพ
ทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า
จาก
http://www.prachin.ru.ac.th/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99.htm
พระมหากษัติย์พระองค์ ที่ 2
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ภายหลังที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงทำการศึกสงคราม
และเอาชนะข้าศึกหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ ใน พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชาของพม่าได้ยกทัพมาตีไทย
พระองค์ทรงชนช้างกระทำยุทธหัตถี และทรงฟันพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ตั้งแต่นั้นมาพม่าก็เกรงกลัว เลิกยกทัพมารุกรานไทยอีก
พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ (พระนเรศวรมหาราช) มีพระนามเดิมว่าพระองค์ดำ
พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)
พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก
ทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว)
และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ
เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด
สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช
เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี
เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ รวมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษาราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เ
ป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทยพระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก
และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ
จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู
ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐพระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย
ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์
เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด
มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย
นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน
ที่มา
https://sites.google.com/site/lanhin2224/prawati-smdec-phra-nreswr-mharach-phraxngkh-da
พระบรมราชานุสาวรีย์ “บูรพมหากษัตริย์ 7 พระองค์” มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดบ้าง
เราก็เลยสงสัยว่าทั้ง 7 พระองค์นี้ มีพระองค์ไหนกันบ้าง เลยลองค้นหาข้อมูลดู
ก็เลยนำมาแบ่งปันสำหรับ น้องๆ หรือเพื่อนๆ ที่สงสัยหรืออยากทราบเหมือนกันนะคะ
*ถ้าเกิดกระทู้นี้ซ้ำ หรือมีข้อมูลที่หลายท่านทราบอยู่แล้วต้องขออภัยนะคะ
**ถ้ามีการใช้คำราชาศัพท์ผิด หรือใช้คำไม่เหมาะสม ข้อมูลผิด ต้องขออภัยด้วยนะคะ
การเริ่มการถวายพระราชสมัญญา “มหาราช” ต่อท้ายพระนามพระมหากษัตริย์นั้น
สันนิษฐานว่าเริ่มมีขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ประมาณรัชกาลที่ ๔ หรือ ๕ เนื่องจาก
เป็นสมัยที่เริ่มมีการศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ของชาติและบรรพบุรุษมากขึ้น ทำให้ประจักษ์ถึงวีรกรรม
และพระราชอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ในสมัยนั้นๆ จึงได้มีการยกย่องพระมหากษัตริย์บางพระองค์
ที่ทรงมีพระเกียรติคุณเด่นกว่า พระองค์อื่นขึ้นเป็น มหาราช ในเรื่องของการริเริ่มถวายพระราชสมัญญามหาราชต่อท้ายพระนามพระมหากษัตริย์
ในยุคสมัยต่างๆ นั้นสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในลายพระหัตถ์
ที่ทรงมีถึงพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ดังนี้
“… ที่เพิ่มคำ “มหาราช” เข้าต่อท้ายพระนามพระเจ้าแผ่นดินนั้น ในหนังสือไทยมีหนังสือพระราชพงศาวดาร เรียก “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ”
ก่อนที่ใช้คำ “มหาราช” หมายอย่าง The Great ของฝรั่ง คนอื่นเขาก็ใช้มาก่อนหม่อมฉัน เป็นแต่ตามเขาหาได้เป็นผู้ริใช้ไม่
สังเกตดูพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งที่มีคำธีเกรตอยู่หลังพระนาม คำนั้นย่อมเพิ่มเข้าต่อเมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้นล่วงลับไปแล้วบางที่
ก็ช้านาน และเพิ่มเข้าต่อเมื่อมีพระเจ้าแผ่นดินพระนามพ้องกัน โดยปกติมักเรียกพระองค์ก่อนว่า “ที่ ๑” พระองค์หลังว่า “ที่ ๒”
และเปลี่ยนตัวเลขต่อไปตามลำดับ ถ้าพระองค์ใดเป็นอัจฉริยบุรุษจึงใช้คำธีเกรตแทนที่เลข จะยกตัวอย่างดังเช่น เอมเปอเรอวิลเฮมเยอรมัน
เมื่อพระเจ้าวิลเฮม (ไกเซอ) เสวยราชย์ก็เรียกพระองค์แรกว่า ที่ ๑ พระองค์หลังว่าที่ ๒ มาหลายปี จนเยอรมันต่อเรือใหญ่ลำหนึ่ง
อย่างวิเศษสำหรับพาคนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติค พระเจ้าไกเซอ ประทานนามเรือนั้นว่า เอมเปอเรอวิลเฮม ธีเกรต
แต่นั้นมาจึงเรียกเอมเปอเรอ พระองค์นั้นว่า ธีเกรต คือ มหาราช ที่ไทยเราเอามาใช้ไม่ตรงตามแบบฝรั่ง
เพราะไม่ได้เรียกพระนามซ้ำกัน เรียกเพราะเป็นอัจฉริยบุรุษอย่างเดียว…”
ที่มา https://khunatham.wordpress.com/2015/01/31/king8/
ซึ่งมหาราชของไทยมี 8 พระองค์
พระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 1
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (สมัยกรุงสุโขทัย)
มีพระมเหสีคือ พระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์
องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ปี ได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด พ่อขุนศรี อินทราทิตย์ จึงพระราชทานนามว่า "พระรามคำแหง"
เมื่อสิ้นรัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และพ่อขุนบานเมืองแล้ว พระองค์ได้ครองกรุงสุโขทัย
ต่อมาเป็น พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๓ แห่งราชวงศ์พระร่วงสันนิษฐานว่าพระองค์ สิ้นพระชนม์ในราวปี พ.ศ.๑๘๖๐
รวมเวลาที่ทรงครองราชย์ประมาณ ๔๐ ปี
ที่สำคัญยิ่งคือพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๖ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
พระเจ้ารามคำแหง จะมีพระนามเดิมว่าอย่างไรไม่ปรากฏชัดแต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์
ได้ทรงสันนิษฐานว่า คงจะเรียกกันว่า “เจ้าราม” แลเมื่อเจ้ารามมีพระชนมายุได้ 19 ชรรษา ได้ตามสมเด็จพระราชบิดา
ไปทำศึกกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดและได้ทรงแสดงความเก่งกล้าในทาสไสช้างทรงเข้าแก้เอาพระราชบิดาไว้ได้
ทั้งตีทัพขุนสามชนแตกพ่ายไปแล้วพระราชบิดาจึงถวายพระนามเสียใหม่ว่า “เจ้ารามคำแหง”
พระเจ้ารามคำแหง ทรงเป็นมหาราชองค์ที่สองของชาวไทย และทรงเป็นมหาราชพระองค์เดียวในสมัยสุโขทัย
พระองค์ทรงเป็นอัจฉริยกษัตริย์ทรงชำนาญทั้งในด้านการรบ การปกครอง และการศาสนา
พระองค์ทรงขยายอาณาจักรสุโขทัยออกไปได้กว้างใหญ่ไพศาลด้วยวิเทโศบายอันแยบยลสุขุมคัมภีรภาพ
ทั้งทรงปกครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินด้วยความยุติธรรมได้รับความร่มเย็นเป็นสุขกันทั่วหน้า
จาก http://www.prachin.ru.ac.th/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%99.htm
พระมหากษัติย์พระองค์ ที่ 2
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงกอบกู้เอกราชของชาติไทย ภายหลังที่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงทำการศึกสงคราม
และเอาชนะข้าศึกหลายครั้ง ครั้งที่สำคัญที่สุดคือ ใน พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชาของพม่าได้ยกทัพมาตีไทย
พระองค์ทรงชนช้างกระทำยุทธหัตถี และทรงฟันพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์บนคอช้าง ตั้งแต่นั้นมาพม่าก็เกรงกลัว เลิกยกทัพมารุกรานไทยอีก
พระบาทสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๒ (พระนเรศวรมหาราช) มีพระนามเดิมว่าพระองค์ดำ
พระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ (พระราชธิดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัยและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ)
พระองค์เสด็จพระบรมราชสมภพเมื่อ พ.ศ. ๒๐๙๘ ที่เมืองพิษณุโลก
ทรงมีพระเชษฐภคิณีคือพระสุพรรณกัลยาทรงมีพระอนุชาคือสมเด็จพระเอกาทศรถ(องค์ขาว)
และทรงเป็นพระราชนัดดาของสมเด็จพระศรีสุริโยทัย พระนามของพระองค์ปรากฏในลายลักษณ์อักษรหลายฉบับ
เช่น พระนเรศ วรราชาธิราช พระนเรสส องค์ดำ จึงยังไม่สามารถสรุปได้ว่าพระนาม นเรศวรได้มาจากที่ใด
สันนิษฐานเบื้องต้นว่า เพี้ยนมาจาก สมเด็จพระนเรศ วรราชาธิราช เป็น สมเด็จพระนเรศวร ราชาธิราช
เสด็จขึ้นครองราชเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๑๓๓ รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๕ ปี
เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๑๔๘ รวมพระชนมพรรษา ๕๐ พรรษาราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เ
ป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทยพระองค์ได้กู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก
และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ
จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรปาซิฟิคทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู
ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทยใหญ่บางรัฐพระองค์ได้ทำสงครามเข้าไปในประเทศที่เป็นข้าศึกของไทย
ในทุกทิศทาง จนประเทศไทยอยู่เป็นปกติสุขปราศจากศึกสงคราม เป็นระยะเวลายาวนาน พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งสิ้นทั้งปวงของพระองค์
เป็นไปเพื่อประโยชน์ของบ้านเมืองและคนไทยทั้งมวล ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ จะอยู่ในสนามรบและชนบทโดยตลอด
มิได้ว่างเว้น แม้แต่เมื่อเสด็จสวรรคต ก็เสด็จสวรรคตในระหว่างเดินทัพไปปราบศัตรูของชาติไทย
นับว่าพระองค์ได้ทรงสละพระองค์ เพื่อชาติบ้านเมืองโดยสิ้นเชิง สมควรที่ชาวไทยรุ่นหลังต่อมา ได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระองค์ และจดจำวีรกรรมของพระองค์ เทอดทูลไว้เหนือเกล้า ฯ ไปตราบชั่วกาลนาน
ที่มา https://sites.google.com/site/lanhin2224/prawati-smdec-phra-nreswr-mharach-phraxngkh-da