ผู้ชายต้องการจดทะเบียนรับรองบุตร ควรตัดสินใจยังไง??

มีบุตรด้วยกันค่ะ แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ตอนลูกเล็กๆหลังจากที่แยกกันอยู่(ทะเลาะกันไม่สามารถอยู่ด้วยกันได้)ได้ระยะหนึ่งเค้าก็เคยมาขอว่าไปเซ็นรับรองบุตรให้หน่อย เพราะต้องให้แม่สมัครใจด้วย แต่ลูกยังเขียนหนังสือไม่ได้เลยผลัดผ่อนไป เราก็เต็มใจบ้างไม่เต็มใจบ้างเพราะไม่รู้ข้อดีข้อเสีย แต่พ่อแม่เราไม่ชอบผู้ชายคนนั้น พ่อแม่บอกว่าคนมันจะเป็นพ่อจะจดไม่จดทะเบียนรับรองบุตร มันก็แสดงความเป็นพ่อได้ ไม่เห็นจะต้องมานั่นนี่อะไร (อันนี้คือความคิดของผู้ใหญ่ในแง่ไม่นึกถึงกฏหมาย)
      จนตอนนี้ลูกป.1 อายุ 7 ขวบแล้วค่ะ  เค้าก็ยังยืนยันอยากจดทะเบียนรับรองบุตร ทางด้านพ่อเด็กมีบริษัทส่วนตัวค่ะ ความมั่นคงก็ประมาณหนึ่ง แต่หนี้สินก็ประมาณหนึ่งเหมือนกัน จะถามว่ามีข้อดีข้อเสียอะไรหรือเปล่า คือเค้าก็รักลูกนะคะ ทุกวันหยุดสุดสัปดาห์หลายๆสัปดาห์ก็จะมารับไปอยู่ด้วย ยังติดต่อกันเรื่องรับส่งลูกในช่วงที่เค้าหยุดหรืออยากรับลูกไปเล่นด้วยอยู่ด้วยเป็นปกติ เพราะหลังจากแยกย้ายกันไปเรื่องส่วนตัวก็คือเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน ไม่ก้าวก่ายกัน มีหน้าที่แค่ทำหน้าที่เป็นพ่อเป็นแม่ให้ลูกค่ะ
      มีส่งเสียแต่จำนวนน้อยมาก แค่เดือนละสามพันค่ะ น้อยเมื่อเทียบกับคนมีบ้านโครงการทาวน์โฮมและขับรถยุโรป บางเดือนขาดๆหายๆให้ทวงก็มี แต่เราคิดว่าเค้าไม่ถูกกับครอบครัวเรา เค้าคงกลัวเราใช้เงินเค้างี้หรือเปล่าคะ แต่เด็กวัยขนาดนี้ยังไงก็ใช้เงินเกินสามพันบาทต่อเดือนแน่นอนค่ะ
      คือเราไม่ค่อยมีความรู้ทางด้านกฏหมายค่ะ ฐานะไม่ได้รวยอะไร แต่ทางบ้านเราพอที่จะเลี้ยงเด็กคนนึงได้ และกลัวเค้ามีเงื่อนงำหรือต้องการอะไรหรือเปล่า หรืออยากครอบครองมีสิทธิ์ในตัวลูกเบ็ดเสร็จหรือเปล่าเพราะในทางกลับกัน มีแต่ผู้หญิงเรียกร้องต้องการให้ผู้ชายจดทะเบียนรับรองบุตร แต่เราไม่เราเฉยๆค่ะ คนเป็นพ่ออยากแสดงความเป็นพ่อมันไม่น่ายาก เราเลยไม่รู้ว่าเค้าจะเป็นคนที่นึกถึงลูกในเรื่องมรดกจริงๆ หรือพวกประกันภัย ต้องการยกอะไรที่ตัวทะเบียนรับรองบุตรให้ได้ตามกฏหมายจริงๆ หรือแบบแค่อยากมีสิทธ์ในตัวลูกเพื่อที่ตอนโตเค้าสามารถจัดการทุกสิ่งในตัวลูกอย่างงั้นหรือ?? คือเราสับสนค่ะ กลัวเคสที่มาแบบหัวหมอ แต่เราก็แค่พะวงซึ่งเค้าอาจจะแค่นึกถึงตัวลูกจริงๆก็ได้
       ***อยากทราบข้อดีข้อเสียที่จะตัดสินใจค่ะ หรือความคิดเห็นในแง่ต่างๆก็ได้ค่ะ
             **ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกๆความเห็นค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่