อย่างที่เรารู้กันว่าการศึกษาไทยในปัจจุบันนั้นอ่อนกว่าประเทศในอาเซียนด้วยกันอีก. ผมจึงอยากรู้ว่านอกจากผมแล้วคนส่วนใหญ่คิดอย่างไรกับการศึกษาไทยกันบ้าง? สำหรับผม ผมคิดว่าการศึกษาของเราแตกต่างจากประเทศอื่นดังนี้ครับ
1.ประเทศเราเน้นการท่องจำ/ทฤษฎี มากกว่าการปฏิบัติทำให้เด็กไทยเราไม่มีความสามารถในการปฏิบัตืงานต่างๆได้ใขณะที่ต่างประเทศเขาเน้นการปฏิบัติจริง การพิสูจน์หลักฐานต่างๆจากบทเรียนให้นักเรียนเห็นและยอมรับในสิ่งที่เห็นด้วยตนเอง. 2.ประเทศเรามีนักเรียนในห้องเรียนมากเกินไป ในหนึ่งห้องเรียนโดยเฉลี่ยเราจะมีนักเรียนอัดกันอยู่ประมาณ 40-50 คน แต่ในขณะที่ต่างประเทศในหนึ่งห้องเรียนจะมีนักเรียนเพียงแค่ประมาณ 20 คนเท่านั้น นั่นจึงเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ครูสามารถเข้าใจเด็กและสามารถเข้าไปดูแลเด็กนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ทำให้รู้ว่าเด็กคนไหนอ่อนตรงส่วนไหนครูจะได้เข้าไปช่วยได้ตรงจุดมากขึ้น. 3.ประเทศเราเรียนมากเกินไป ประเทศเราเรียน 9-10 ชม. แต่ในขณะที่ต่างประเทศเรียนแค่ 5-6 ชม. ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ผมได้ทราบว่าการที่จะทำให้เราสามารถจำบทเรียนต่างๆได้ดีนั้นการเรียนการสอนต้องเป็นการเรียนที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป โดยเมื่อครูสอนจบในหนึ่งหัวข้อครูต้องหยุดจากการสอนประมาณ 5 นาทีเพื่อให้สมองของเด็กได้มีการหยุดพักจากการเรียนให้เด็กได้ทบทวนด้วยตนเองสักพักและเพื่อเป็นการผ่อนคลายแก่เด็กด้วย และการเรียนนั้นครูจะต้องไม่อัดความรู้ให้แก่เด็กมากเกินไปในหนึ่งคาบเรียนซึ่งโดยส่วนใหญ่ครูจะอ้างว่าต้องสอนให้ทันตามหลักสูตรที่กำหนดเพราะฉะนั้นครูจะต้องเตรียมแผนการสอนให้ดีก่อนเข้าสอนและแบ่งเวลาในการสอนให้ได้. 4.เมื่อเรียนจบบทเรียนก่อนปล่อยประมาณ 5-15 นาทีให้ครูเปิดโอกาสให้เด็กตั้งคำถามเพื่อให้เขาถามในจุดที่เขาสงสัย ซึ่งแน่นอนว่าเด็กไทยนั้นส่วนใหญ่จะไม่ยกมือถามเพราะความอายจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องหาทางแก้ไขปัญหานี้ โดยอาจจะชี้ตัวเด็กให้เลือกคำถามจากบทเรียนถามครู หรือ ครูอาจจะให้คะแนนพิเศษแก่เด็กที่ถามคำถามเพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่เด็ก 5.ครูต้องแบ่งเวลาในการสอนในแต่ละคาบให้พอดีไม่เกินจากเวลาที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งคาบ 50 นาที ครูอาจจะใช้ 20 นาทีแรกทบทวนบทเรียนเดิม พัก 5 นาที 20นาทีต่อมาสอนบกเรียนใหม่ 5นาทีสุดท้ายทบทวนให้นักเรียนถามคำถาม เป็นต้น 5.งด/ลดให้การบ้าน หากผมถามครูหรือผู้ปกครองว่าการบ้านคืออะไรคำตอบที่จะได้มาคือ "งานที่ครูให้นักเรียนกลับมาทบทวนที่บ้าน" จะไม่เกิดปัญหาขึ้นเลยหากครูให้การบ้านแก่เด็กในระดับที่พอดีไม่มากจนเกินไปแต่อย่างที่รู้กันว่าในตอนนี้ครูทุกท่านทุกวิชาต่างต้องการที่จะให้นักเรีนเข้าใจใจบทเรียนนั้นๆจึงสั่งการบ้านมาอย่างพร้อมใจกัน เด็กจึงมีงานล้นมือไม่สามารถที่จะแบ่งเวลาได้หมกมุ่นอยู่กับการบ้านเพียงอย่างเดียวไม่สนใจงานบ้าน กีฬา ต่างๆพ่อแม่ก็สนับสนุนให้เด็กทำการบ้านเพราะกลัวว่าหากเขาไม่ส่งงานที่ครูสั่งเขาจะถูกตัดคะแนนพอคะแนนน้อยเกรดก็ไม่ดีตามมาจนเด็กไม่มีทักษะในงานบ้าน ไม่เล่นกีฬา ร่างกายอ่อนแอส่งผลกระทบต่อไปเรื่อยๆๆๆๆ แต่!! ถ้าเราเปลี่ยนให้ครูลดหรืองดการบ้านลงแล้วให้ครูใช้เวลาในต้นคาบประมาณ 20นาที ทบทวนบทเรียนเดิม (ดังรายละเอียดในข้อ 4.) แล้วเก็บคะแนนโดยการให้นักเรียนทำงานกลุ่มในห้องให้เสร็จแล้วส่งในคาบหรือให้นักเรียนสรุปการเรียนที่เรียนไปเป็นผลงานที่ตนพอใจล้วส่งในคาบเพื่อไม่ให้มีงานค้างไปเป็นการบ้านค่อยๆเก็บคะแนนไปทีละนิดๆแทนการให้งานหรือรายงานไปเป็นการบ้านให้นักเรียนทำมาส่ง 6. ประชุมเพื่อลองเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาใหม่ ให้มีการเรียนการสอนในเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเด็กไม่ใช่เรียนในสิ่งเด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ความจริงมีอีกเยอะครับแต่ขอพักไว้เพียงเท่านี้ก่อนผมเชื่อนะครับว่าถ้าเราเปลี่ยนการศึกษาใหม่ให้เป็นสากลมากขึ้นเด็กนักเรียนในประเทศของเราจะพัฒนาได้อย่างแน่นอนและผมก็จะคิดอย่างนี้ต่อไป
สุดท้ายนี้ผมขอทราบความเห็นของผู้อ่านด้วยนะครับว่าคิดอย่างไรกับการศึกษาไทย?
คิดอย่างไรกับการศึกษาไทย? เราสามารถช่วยกันแก้ไขอะไรได้บ้าง?
1.ประเทศเราเน้นการท่องจำ/ทฤษฎี มากกว่าการปฏิบัติทำให้เด็กไทยเราไม่มีความสามารถในการปฏิบัตืงานต่างๆได้ใขณะที่ต่างประเทศเขาเน้นการปฏิบัติจริง การพิสูจน์หลักฐานต่างๆจากบทเรียนให้นักเรียนเห็นและยอมรับในสิ่งที่เห็นด้วยตนเอง. 2.ประเทศเรามีนักเรียนในห้องเรียนมากเกินไป ในหนึ่งห้องเรียนโดยเฉลี่ยเราจะมีนักเรียนอัดกันอยู่ประมาณ 40-50 คน แต่ในขณะที่ต่างประเทศในหนึ่งห้องเรียนจะมีนักเรียนเพียงแค่ประมาณ 20 คนเท่านั้น นั่นจึงเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ครูสามารถเข้าใจเด็กและสามารถเข้าไปดูแลเด็กนักเรียนได้อย่างทั่วถึง ทำให้รู้ว่าเด็กคนไหนอ่อนตรงส่วนไหนครูจะได้เข้าไปช่วยได้ตรงจุดมากขึ้น. 3.ประเทศเราเรียนมากเกินไป ประเทศเราเรียน 9-10 ชม. แต่ในขณะที่ต่างประเทศเรียนแค่ 5-6 ชม. ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ผมได้ทราบว่าการที่จะทำให้เราสามารถจำบทเรียนต่างๆได้ดีนั้นการเรียนการสอนต้องเป็นการเรียนที่ไม่เคร่งเครียดจนเกินไป โดยเมื่อครูสอนจบในหนึ่งหัวข้อครูต้องหยุดจากการสอนประมาณ 5 นาทีเพื่อให้สมองของเด็กได้มีการหยุดพักจากการเรียนให้เด็กได้ทบทวนด้วยตนเองสักพักและเพื่อเป็นการผ่อนคลายแก่เด็กด้วย และการเรียนนั้นครูจะต้องไม่อัดความรู้ให้แก่เด็กมากเกินไปในหนึ่งคาบเรียนซึ่งโดยส่วนใหญ่ครูจะอ้างว่าต้องสอนให้ทันตามหลักสูตรที่กำหนดเพราะฉะนั้นครูจะต้องเตรียมแผนการสอนให้ดีก่อนเข้าสอนและแบ่งเวลาในการสอนให้ได้. 4.เมื่อเรียนจบบทเรียนก่อนปล่อยประมาณ 5-15 นาทีให้ครูเปิดโอกาสให้เด็กตั้งคำถามเพื่อให้เขาถามในจุดที่เขาสงสัย ซึ่งแน่นอนว่าเด็กไทยนั้นส่วนใหญ่จะไม่ยกมือถามเพราะความอายจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะต้องหาทางแก้ไขปัญหานี้ โดยอาจจะชี้ตัวเด็กให้เลือกคำถามจากบทเรียนถามครู หรือ ครูอาจจะให้คะแนนพิเศษแก่เด็กที่ถามคำถามเพื่อเป็นแรงจูงใจให้แก่เด็ก 5.ครูต้องแบ่งเวลาในการสอนในแต่ละคาบให้พอดีไม่เกินจากเวลาที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น หนึ่งคาบ 50 นาที ครูอาจจะใช้ 20 นาทีแรกทบทวนบทเรียนเดิม พัก 5 นาที 20นาทีต่อมาสอนบกเรียนใหม่ 5นาทีสุดท้ายทบทวนให้นักเรียนถามคำถาม เป็นต้น 5.งด/ลดให้การบ้าน หากผมถามครูหรือผู้ปกครองว่าการบ้านคืออะไรคำตอบที่จะได้มาคือ "งานที่ครูให้นักเรียนกลับมาทบทวนที่บ้าน" จะไม่เกิดปัญหาขึ้นเลยหากครูให้การบ้านแก่เด็กในระดับที่พอดีไม่มากจนเกินไปแต่อย่างที่รู้กันว่าในตอนนี้ครูทุกท่านทุกวิชาต่างต้องการที่จะให้นักเรีนเข้าใจใจบทเรียนนั้นๆจึงสั่งการบ้านมาอย่างพร้อมใจกัน เด็กจึงมีงานล้นมือไม่สามารถที่จะแบ่งเวลาได้หมกมุ่นอยู่กับการบ้านเพียงอย่างเดียวไม่สนใจงานบ้าน กีฬา ต่างๆพ่อแม่ก็สนับสนุนให้เด็กทำการบ้านเพราะกลัวว่าหากเขาไม่ส่งงานที่ครูสั่งเขาจะถูกตัดคะแนนพอคะแนนน้อยเกรดก็ไม่ดีตามมาจนเด็กไม่มีทักษะในงานบ้าน ไม่เล่นกีฬา ร่างกายอ่อนแอส่งผลกระทบต่อไปเรื่อยๆๆๆๆ แต่!! ถ้าเราเปลี่ยนให้ครูลดหรืองดการบ้านลงแล้วให้ครูใช้เวลาในต้นคาบประมาณ 20นาที ทบทวนบทเรียนเดิม (ดังรายละเอียดในข้อ 4.) แล้วเก็บคะแนนโดยการให้นักเรียนทำงานกลุ่มในห้องให้เสร็จแล้วส่งในคาบหรือให้นักเรียนสรุปการเรียนที่เรียนไปเป็นผลงานที่ตนพอใจล้วส่งในคาบเพื่อไม่ให้มีงานค้างไปเป็นการบ้านค่อยๆเก็บคะแนนไปทีละนิดๆแทนการให้งานหรือรายงานไปเป็นการบ้านให้นักเรียนทำมาส่ง 6. ประชุมเพื่อลองเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาใหม่ ให้มีการเรียนการสอนในเฉพาะส่วนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเด็กไม่ใช่เรียนในสิ่งเด็กส่วนใหญ่ไม่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ความจริงมีอีกเยอะครับแต่ขอพักไว้เพียงเท่านี้ก่อนผมเชื่อนะครับว่าถ้าเราเปลี่ยนการศึกษาใหม่ให้เป็นสากลมากขึ้นเด็กนักเรียนในประเทศของเราจะพัฒนาได้อย่างแน่นอนและผมก็จะคิดอย่างนี้ต่อไป
สุดท้ายนี้ผมขอทราบความเห็นของผู้อ่านด้วยนะครับว่าคิดอย่างไรกับการศึกษาไทย?