พบผู้ที่มีอาการที่เรียกว่า alexithymia ตัวอาการคือมันทำให้กลายเป็นคน ที่ "ปราศจากความรู้สึก" เช่น เศร้า รัก ซึ้ง สุข ฯลฯ โดยสิ้นเชิง
ในบทความได้สัมภาษณ์ชายผู้หนึ่ง ที่มีอาการนี้ ไม่ว่าจะเป็นตอนแต่งงาน ลูกชายเกิด ฯลฯ สิ่งที่เขารู้สึกคือ เหมือนกับวิศวกรกำลังนั่งดูกลไกการทำงานของเครื่องกล เขาไม่ได้สัมผัสความเอ่อล้นของความสุขตอนลูกเกิด หรือตอนที่เจ้าสาวของเขาเดินมาหาในพิธีแต่งงาน เขาเล่าว่าตนรู้สึกเพียงตึงๆ ที่หน้าและน้ำหนักบนฝ่าเท้าตัวเองเท่านั้น กล่าวคือเขายังมีความรู้สึกตอบสนอง "ทางกาย" แต่ไม่ได้ตระหนักหรือมีอารมณ์ร่วมด้วย
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ในทศวรรษที่ 70s สรุปปัญหาคือ ความรู้สึกนั้นมี แต่ไม่อาจส่งผ่านจากสมองซีกหนึ่ง(ซีกที่รับรู้ความรู้สึก) ไปยังสมองอีกซีกหนึ่ง (ซีกที่ประมวลผลทางภาษา) ผลลัพธ์ คนที่มีปัญหานี้ แม้จะ "รู้สึกจริง" แต่ก็ไม่อาจถ่ายทอดมาเป็นคำพูดได้ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อ ศัลยแพทย์รักษาคนเป็นลมชัก ด้วยการเฉือนส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างสมองสองซีก มันทำให้อาการชักลดลง แต่ผลข้างเคียงก็ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถส่งผ่านความรู้สึกระหว่างสมองทั้งสองซีกได้
ภาพ เส้นใยประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองทั้งสองซีก
แต่ในอีกกรณีหนึ่ง ผู้ที่ไม่มีความรู้มา "ตั้งแต่แรก" ก็มีเช่นกัน Richard Lane, แห่ง the University of Arizona เปรียบเทียบว่า เหมือนคนที่ประสาทตาเสียหายไป แม้ว่าจะมี "สุขภาพตา" ดีเพียงใด ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาในสมองส่วนที่รับรู้ความรู้สึก ก็เช่นกัน พวกเขาก็จะไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้ มันอาจจะมีปฎิกริยาตอบสนองทางกาย แต่ในแง่ความรู้สึกแล้วพวกเขาไม่มี (ไม่ว่าจะสุข เศร้า เสียใจ ซาบซึ้ง ฯลฯ)
ในการศึกษาผ่าน fMRI สแกน พบกว่าการลดลงของสารสีเทาในบริเวณ cingulate cortex (สมองในส่วนที่รับรู้ความรู้สึก) ทำให้การรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ของสมองไม่ว่าจะรัก โกรธ เกลียด กลัว ฯลฯ ไม่สามารถกระทำได้
“เวลาคนที่มีอาการเหล่านี้ ดูรูปที่กระตุ้นความรู้สึกอย่างรุนแรง สมองของพวกเขาไม่สามารถที่จะซึมซับความรู้สึกได้” André Aleman แห่ง the University Medical Centre in Groningen, Netherlands กล่าว
สรุปคือ ผู้ที่มีอาการ alexithymia มีทั้งแบบที่ รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกได้แต่แสดงออกไม่ได้ รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้ “ตั้งแต่แรก” เลย อาการนี้พบได้ราว ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นออทิสติค แต่หลายคนก็มีอาการนี้โดยที่ไม่ได้แสดงออกถึงอาการอื่นๆของออทิสติกเช่น หมกมุ่น หรือย้ำคิดย้ำทำ
กระนั้นก็ยังมีแง่ดีในเรื่องนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีอาการนี้กล่าวว่า บางครั้งมันก็ทำให้เขาไม่หวั่นไหวไปกับเรื่องราวทางอารมณ์ เช่น ลูกตื่นตอนดึกก็ไม่ได้อารมณ์เสียอะไร กระนั้นก็ตามผู้เชี่ยวชาญก็ยังแนะนำให้เขาบำบัดอย่างน้อยเพื่อให้เดาได้ว่าเมียของเขากำลังรู้สึกอะไร
ญาติ คนใกล้ชิด หรือแม้แต่ “คนรัก” ของท่าน หากรู้สึกว่าเขา “เย็นชา” ผิดปกติ ก็ลองดูในแง่นี้เผื่อไว้แล้วกันนะครับ เพราะ “อวัยวะที่รับรู้ความรัก” ของเขาอาจจะกำลังมีปัญหาก็ได้
อ่านบทความเต็มได้ที่นี่
http://www.bbc.com/future/story/20150818-what-is-it-like-to-have-never-felt-an-emotion
อวัยวะแห่งความรัก
ในบทความได้สัมภาษณ์ชายผู้หนึ่ง ที่มีอาการนี้ ไม่ว่าจะเป็นตอนแต่งงาน ลูกชายเกิด ฯลฯ สิ่งที่เขารู้สึกคือ เหมือนกับวิศวกรกำลังนั่งดูกลไกการทำงานของเครื่องกล เขาไม่ได้สัมผัสความเอ่อล้นของความสุขตอนลูกเกิด หรือตอนที่เจ้าสาวของเขาเดินมาหาในพิธีแต่งงาน เขาเล่าว่าตนรู้สึกเพียงตึงๆ ที่หน้าและน้ำหนักบนฝ่าเท้าตัวเองเท่านั้น กล่าวคือเขายังมีความรู้สึกตอบสนอง "ทางกาย" แต่ไม่ได้ตระหนักหรือมีอารมณ์ร่วมด้วย
ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ในทศวรรษที่ 70s สรุปปัญหาคือ ความรู้สึกนั้นมี แต่ไม่อาจส่งผ่านจากสมองซีกหนึ่ง(ซีกที่รับรู้ความรู้สึก) ไปยังสมองอีกซีกหนึ่ง (ซีกที่ประมวลผลทางภาษา) ผลลัพธ์ คนที่มีปัญหานี้ แม้จะ "รู้สึกจริง" แต่ก็ไม่อาจถ่ายทอดมาเป็นคำพูดได้ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นเมื่อ ศัลยแพทย์รักษาคนเป็นลมชัก ด้วยการเฉือนส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างสมองสองซีก มันทำให้อาการชักลดลง แต่ผลข้างเคียงก็ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถส่งผ่านความรู้สึกระหว่างสมองทั้งสองซีกได้
ภาพ เส้นใยประสาทที่เชื่อมระหว่างสมองทั้งสองซีก
แต่ในอีกกรณีหนึ่ง ผู้ที่ไม่มีความรู้มา "ตั้งแต่แรก" ก็มีเช่นกัน Richard Lane, แห่ง the University of Arizona เปรียบเทียบว่า เหมือนคนที่ประสาทตาเสียหายไป แม้ว่าจะมี "สุขภาพตา" ดีเพียงใด ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาในสมองส่วนที่รับรู้ความรู้สึก ก็เช่นกัน พวกเขาก็จะไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้ มันอาจจะมีปฎิกริยาตอบสนองทางกาย แต่ในแง่ความรู้สึกแล้วพวกเขาไม่มี (ไม่ว่าจะสุข เศร้า เสียใจ ซาบซึ้ง ฯลฯ)
ในการศึกษาผ่าน fMRI สแกน พบกว่าการลดลงของสารสีเทาในบริเวณ cingulate cortex (สมองในส่วนที่รับรู้ความรู้สึก) ทำให้การรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ของสมองไม่ว่าจะรัก โกรธ เกลียด กลัว ฯลฯ ไม่สามารถกระทำได้
“เวลาคนที่มีอาการเหล่านี้ ดูรูปที่กระตุ้นความรู้สึกอย่างรุนแรง สมองของพวกเขาไม่สามารถที่จะซึมซับความรู้สึกได้” André Aleman แห่ง the University Medical Centre in Groningen, Netherlands กล่าว
สรุปคือ ผู้ที่มีอาการ alexithymia มีทั้งแบบที่ รับรู้ถึงอารมณ์ความรู้สึกได้แต่แสดงออกไม่ได้ รวมถึงผู้ที่ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกได้ “ตั้งแต่แรก” เลย อาการนี้พบได้ราว ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นออทิสติค แต่หลายคนก็มีอาการนี้โดยที่ไม่ได้แสดงออกถึงอาการอื่นๆของออทิสติกเช่น หมกมุ่น หรือย้ำคิดย้ำทำ
กระนั้นก็ยังมีแง่ดีในเรื่องนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ที่มีอาการนี้กล่าวว่า บางครั้งมันก็ทำให้เขาไม่หวั่นไหวไปกับเรื่องราวทางอารมณ์ เช่น ลูกตื่นตอนดึกก็ไม่ได้อารมณ์เสียอะไร กระนั้นก็ตามผู้เชี่ยวชาญก็ยังแนะนำให้เขาบำบัดอย่างน้อยเพื่อให้เดาได้ว่าเมียของเขากำลังรู้สึกอะไร
ญาติ คนใกล้ชิด หรือแม้แต่ “คนรัก” ของท่าน หากรู้สึกว่าเขา “เย็นชา” ผิดปกติ ก็ลองดูในแง่นี้เผื่อไว้แล้วกันนะครับ เพราะ “อวัยวะที่รับรู้ความรัก” ของเขาอาจจะกำลังมีปัญหาก็ได้
อ่านบทความเต็มได้ที่นี่ http://www.bbc.com/future/story/20150818-what-is-it-like-to-have-never-felt-an-emotion