กรณีระเบิด "ศาลพระพรหม" แม้ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด จะมากด้วยความแจ่มชัด เช่นเดียวกับ พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์
ว่า "น่า" จะเป็น "ฝีมือ" ใคร ฝ่ายใด
แต่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ยังไม่กล้าฟันธง แม้จะดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ตร. แต่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ยังไม่กล้าฟันธง แม้จะดำรงตำแหน่งเป็น รอง ผบ.ตร.และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบคดี
ระเบิด "ศาลพระพรหม" จึงมากด้วยความละเอียดอ่อน
เป็นความละเอียดอ่อนโดยพื้นฐานก็คือ เป็นระเบิด "แสวงเครื่อง" มีน้ำหนักถึง 3 กิโลกรัม รัศมีทำการกว้างไกล
ผลก็คือ ตาย 19 บาดเจ็บ 117
ความร้ายแรงและผลสะเทือนเช่นนี้ทำให้ระเบิดไม่ว่าบริเวณสถานีบีทีเอส ย่านสยามสแควร์ ไม่ว่าบริเวณศาลอาญา กลายเป็นเรื่องเด็กๆ
หากแต่ที่สำคัญเป็นอย่างมาก คือ "เป้าหมาย"
เป้า หมายมิได้เพื่อสร้างสถานการณ์ หรือก่อกวนให้เกิดความปั่นป่วนและวุ่นวาย ตรงกันข้าม สร้างสถานการณ์มีแน่นอน แต่ไปถึงขั้นไม่คำนึงในเรื่องชีวิตของผู้คน
ไม่เพียง "อำมหิต" หากยัง "เหี้ยม" อย่างชนิด ม.ม้าหล่นหาย
โฆษก กอ.รมน. พ.อ.บรรพต พูลเพียร อาจออกมาตัด "คัตเอาต์" ตั้งแต่ตอนแรกว่าไม่ปรากฏเบาะแสอะไรบ่งชี้ว่าเชื่อมโยงกับภาคใต้
เท่ากับระบุว่า ไม่เกี่ยวกับขบวนการ "แบ่งแยก" ดินแดน
กระนั้น หากมองจากความจัดเจนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานการณ์นี้ทำท่าว่าอาจใกล้เคียงหรือเดินไปในรอยเดียวกันกับเหตุระเบิดบน เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี
ข้อควรระวังก็คือ อย่าได้ "ผลีผลาม" ฟันธง
เครดิตข่าว : matichon.co.th
เมื่อเกิดระเบิดบนเกาะสมุย เส้นทางการวิเคราะห์ 1 ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดน 1 โยนให้เป็นเรื่องการเมือง
ถึงกับอ้างอิงนามของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
แต่เมื่อตำรวจดำเนินการสืบสวนสอบสวนลึกเข้าๆ แต่ละรายชื่อที่เป็นเป้าล้วนอยู่ในแวดวง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ทั้งสิ้น
ในที่สุด เรื่องก็เงียบหายไปโดยไม่มี "นักการเมือง" เข้ามาเกี่ยวข้อง
บท เรียนจากการวางระเบิดบนเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เป็นเช่นนี้ สถานการณ์การวางระเบิดที่ศาลพระพรหมก็กำลังจะเข้าสู่ร่องรอยเดียวกัน ในท่ามกลางสถานการณ์อันสลับซับซ้อนและยอกย้อนอย่างยิ่งของปฏิบัติการ
การตั้งการ์ดไว้สูงแบบ "ตำรวจ" จึงมีความจำเป็น
การแถลงในแบบของ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อาจเร้าอารมณ์ ยิ่งเมื่อประสานกับท่วงทำนองของ พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ยิ่งมากด้วยสีสัน
กระนั้น ก็ยังปรากฏ "จุดอ่อน" อันเป็นช่องว่าง "รอยโหว่"
เป็นคำแถลงภายหลังกัมปนาทแห่งระเบิดไม่กี่ชั่วโมง จึงไม่แน่ว่าจะมาจากข้อมูลอย่างรอบด้านและเพียงพอหรือไม่
หรือเสมอเป็นเพียง "ความรู้สึก" เป็นการใช้ "มโน" สำนึก
ขณะเดียวกัน นอกจากความระมัดระวังเป็นอย่างสูงจากผู้มากด้วยความจัดเจนระดับ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา แล้ว
ความสุขุมอันมาจาก นายอนุสิษฐ คุณากร ก็น่าศึกษา
อย่าลืมเป็นอันขาดว่า นายอนุสิษฐ คุณากร เป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อย่าลืมเป็นอันขาดว่า นายอนุสิษฐ คุณากร เพิ่งเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งชาวอุยกูร์คืนกลับให้กับจีนโดย ทางเครื่องบิน
พลันที่มีภาพ "แขกขาว" ปรากฏผ่านกล้อง "วงจรปิด" ยิ่งต้องเปิดหัวใจให้กว้าง
สำนักข่าวต่างประเทศแม้ว่าจะมีแหล่งข่าวอย่างมากมาย แต่แต่ละกระบวนท่าที่นำเสนอก็ตั้งการ์ดเอาไว้
เพราะที่ "ศาลพระพรหม" มีกล้องวงจรปิดมากถึง 75 กล้อง
จําเป็นต้องรับ "รายงาน" จากหลายแหล่งข่าว หลายข้อมูล จำเป็นต้องผ่านการวิเคราะห์อย่างรอบคอบรัดกุม
ไม่ ยากที่จะพุ่งปลายหอกให้กับความขัดแย้งทางการเมือง แต่คำถามที่เสนอเข้ามาก็คือ เป็นการเมืองภายใน หรือว่าเป็นการเมืองระหว่างประเทศ หรือเป็นการเมืองระดับสากลกันแน่
และทำไมต้องเลือก "ศาลพระพรหม" ทำไมต้องเลือกเวลา 19.00 น.
..............................................................
พอดีอ่านข่าวในเว็บอ่ะคับ เจอบทความนี้ เลยอ่านแต่กลับไม่ได้คำตอบหรือบทวิเคาระห์ที่ชัดเจนอะไร
กลับเป็นปัญหาให้คาใจซ้ำอีกว่า "นั้นสิ..ทำไมต้องที่ ศาลพระพรหม และ ทำไมถึงเลือกเวลานั้น"
ข้อสงสัย! ทำไม ต้อง ศาลพระพรหม 19.00 น.เศษ
ว่า "น่า" จะเป็น "ฝีมือ" ใคร ฝ่ายใด
แต่ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ยังไม่กล้าฟันธง แม้จะดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ตร. แต่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ยังไม่กล้าฟันธง แม้จะดำรงตำแหน่งเป็น รอง ผบ.ตร.และได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบคดี
ระเบิด "ศาลพระพรหม" จึงมากด้วยความละเอียดอ่อน
เป็นความละเอียดอ่อนโดยพื้นฐานก็คือ เป็นระเบิด "แสวงเครื่อง" มีน้ำหนักถึง 3 กิโลกรัม รัศมีทำการกว้างไกล
ผลก็คือ ตาย 19 บาดเจ็บ 117
ความร้ายแรงและผลสะเทือนเช่นนี้ทำให้ระเบิดไม่ว่าบริเวณสถานีบีทีเอส ย่านสยามสแควร์ ไม่ว่าบริเวณศาลอาญา กลายเป็นเรื่องเด็กๆ
หากแต่ที่สำคัญเป็นอย่างมาก คือ "เป้าหมาย"
เป้า หมายมิได้เพื่อสร้างสถานการณ์ หรือก่อกวนให้เกิดความปั่นป่วนและวุ่นวาย ตรงกันข้าม สร้างสถานการณ์มีแน่นอน แต่ไปถึงขั้นไม่คำนึงในเรื่องชีวิตของผู้คน
ไม่เพียง "อำมหิต" หากยัง "เหี้ยม" อย่างชนิด ม.ม้าหล่นหาย
โฆษก กอ.รมน. พ.อ.บรรพต พูลเพียร อาจออกมาตัด "คัตเอาต์" ตั้งแต่ตอนแรกว่าไม่ปรากฏเบาะแสอะไรบ่งชี้ว่าเชื่อมโยงกับภาคใต้
เท่ากับระบุว่า ไม่เกี่ยวกับขบวนการ "แบ่งแยก" ดินแดน
กระนั้น หากมองจากความจัดเจนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานการณ์นี้ทำท่าว่าอาจใกล้เคียงหรือเดินไปในรอยเดียวกันกับเหตุระเบิดบน เกาะสมุย สุราษฎร์ธานี
ข้อควรระวังก็คือ อย่าได้ "ผลีผลาม" ฟันธง
เครดิตข่าว : matichon.co.th
เมื่อเกิดระเบิดบนเกาะสมุย เส้นทางการวิเคราะห์ 1 ปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวกับ 3 จังหวัดชายแดน 1 โยนให้เป็นเรื่องการเมือง
ถึงกับอ้างอิงนามของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
แต่เมื่อตำรวจดำเนินการสืบสวนสอบสวนลึกเข้าๆ แต่ละรายชื่อที่เป็นเป้าล้วนอยู่ในแวดวง ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ทั้งสิ้น
ในที่สุด เรื่องก็เงียบหายไปโดยไม่มี "นักการเมือง" เข้ามาเกี่ยวข้อง
บท เรียนจากการวางระเบิดบนเกาะสมุย สุราษฎร์ธานี เป็นเช่นนี้ สถานการณ์การวางระเบิดที่ศาลพระพรหมก็กำลังจะเข้าสู่ร่องรอยเดียวกัน ในท่ามกลางสถานการณ์อันสลับซับซ้อนและยอกย้อนอย่างยิ่งของปฏิบัติการ
การตั้งการ์ดไว้สูงแบบ "ตำรวจ" จึงมีความจำเป็น
การแถลงในแบบของ พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด อาจเร้าอารมณ์ ยิ่งเมื่อประสานกับท่วงทำนองของ พ.อ.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ยิ่งมากด้วยสีสัน
กระนั้น ก็ยังปรากฏ "จุดอ่อน" อันเป็นช่องว่าง "รอยโหว่"
เป็นคำแถลงภายหลังกัมปนาทแห่งระเบิดไม่กี่ชั่วโมง จึงไม่แน่ว่าจะมาจากข้อมูลอย่างรอบด้านและเพียงพอหรือไม่
หรือเสมอเป็นเพียง "ความรู้สึก" เป็นการใช้ "มโน" สำนึก
ขณะเดียวกัน นอกจากความระมัดระวังเป็นอย่างสูงจากผู้มากด้วยความจัดเจนระดับ พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา แล้ว
ความสุขุมอันมาจาก นายอนุสิษฐ คุณากร ก็น่าศึกษา
อย่าลืมเป็นอันขาดว่า นายอนุสิษฐ คุณากร เป็นเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ อย่าลืมเป็นอันขาดว่า นายอนุสิษฐ คุณากร เพิ่งเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการส่งชาวอุยกูร์คืนกลับให้กับจีนโดย ทางเครื่องบิน
พลันที่มีภาพ "แขกขาว" ปรากฏผ่านกล้อง "วงจรปิด" ยิ่งต้องเปิดหัวใจให้กว้าง
สำนักข่าวต่างประเทศแม้ว่าจะมีแหล่งข่าวอย่างมากมาย แต่แต่ละกระบวนท่าที่นำเสนอก็ตั้งการ์ดเอาไว้
เพราะที่ "ศาลพระพรหม" มีกล้องวงจรปิดมากถึง 75 กล้อง
จําเป็นต้องรับ "รายงาน" จากหลายแหล่งข่าว หลายข้อมูล จำเป็นต้องผ่านการวิเคราะห์อย่างรอบคอบรัดกุม
ไม่ ยากที่จะพุ่งปลายหอกให้กับความขัดแย้งทางการเมือง แต่คำถามที่เสนอเข้ามาก็คือ เป็นการเมืองภายใน หรือว่าเป็นการเมืองระหว่างประเทศ หรือเป็นการเมืองระดับสากลกันแน่
และทำไมต้องเลือก "ศาลพระพรหม" ทำไมต้องเลือกเวลา 19.00 น.
..............................................................
พอดีอ่านข่าวในเว็บอ่ะคับ เจอบทความนี้ เลยอ่านแต่กลับไม่ได้คำตอบหรือบทวิเคาระห์ที่ชัดเจนอะไร
กลับเป็นปัญหาให้คาใจซ้ำอีกว่า "นั้นสิ..ทำไมต้องที่ ศาลพระพรหม และ ทำไมถึงเลือกเวลานั้น"