เด็กไทยเหนื่อยไหม!? กับการเรียนไปเพื่อสอบ

ดิฉันเคยนึกสงสัย ว่าบางวิชา เราเรียนไปเพื่ออะไร? สามารถใช้ได้ไหม? ในชีวิตประจำวัน

บางรายวิชา ขึ้นมหาลัยไปก็ไม่ได้ใช้เลย ขออนุญาติยกตัวอย่างชีวิตเด็กสายศิลป์ภาษาอย่างเช่นตัวดิฉันเอง
วิชาที่ดิฉันต้องเรียนกลับมีคณิตถึงสามครั้งต่อสัปดาห์ ถึงจะรู้สึกว่าค่อนข้างมากเเต่ก็ไม่ได้รู้สึกเเย่อะไรมากมายนัก
เเต่บางครั้ง บางเรื่องในบทเรียน ดิฉันกลับหาความจำเป็นที่จะต้องเรียนไม่เจอเลย
เเละอีกสองวิชาที่กว่า80%ของเด็กที่เลือกเรียนในเเผนศิลป์ต้องการที่จะหนี นั่นก็คือ เคมี-ฟิสิกข์ เคยได้ยินคำว่า 'เกลียดคณิต ชีวิตบัดซบ' ไหมคะ
เพราะไม่เก่งคณิต จึงไม่สามรถคำนวณเเรง-การเคลือนที่ หรือ ดุลสมการมวลอะตอมได้ดี พูดเเบบตรงๆเลยก็คือ เป็นรายวิชาที่ไม่ถนัดนั่นเอง

ในเมื่อเราเลือกทางเดินของชีวิตตัวเองไปตั้งเเต่ตอนม.3เเล้ว ว่าจะไม่เรียนวิชาเหล่านี้ เเต่ทำไม ยิ่งหนี ถึงได้กลับยิ่งเจอ ถึงจะเรียนไป เราก็เอาไปสอบเข้าคณะของทางสายวิทย์ไม่ได้อยู่ดี เเค่เรื่องเรียน ดิฉันกล้าพูดเลย ว่าเรียนหนัก เนื้อหาเยอะ สอนไม่เคยทันสอบ การบ้านก็สั่งกันมากมายจนไม่ได้หลับนอน ยิ่งช่วงใกล้สอบ งานก็ยิ่งเยอะ เเละรายวิชาบัญชี ดิฉันค่อนข้างข้องใจ เพราะเหตุใด เด็กสายศิลป์ถึงต้องเรียน!

เเละค่านิยมที่คิดว่า เด็กสายศิลป์เรียนไม่เก่ง ดิฉันค่อนข้างเคืองหู เวลาได้ยินใครต่อใครพูดกันแบบนั้น

"ทุกรายวิชา มีความยากของมัน" ถ้าคุณไม่ถนัด หรือรักมันจริงๆ มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ที่จะทำมันออกมาได้ดี



เรียนไปทำไม - เรียนไปเพื่อสอบ เรียนเพื่อให้รู้ เรียนเผื่อลองเผื่อต่อยอดในระดับอุดมศึกษา คำถาม "GPAX ของเด็กไทยละคะ ยังจำเป็นอยู่ไหม"

โลกหมุนไปทุกวัน มนุษย์มีวิวัฒนาการก้าวไกลขึ้นไปทุกขณะ การที่เราจะมีที่ยืนในสังคมได้ เเน่นอนว่า การศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญ สถาบันเองห็เช่นกัน ไม่มีใครอยากประสบความล้มเหลวในชีวิตหรอกคะ อย่างน้อยๆ ดิฉันคนหนึ่ง ที่อยากเข้ามหาลัยดีๆได้ มีงานดีๆทำ เลี้ยงคุณพ่อคุณเเม่ให้ดีกว่าที่ท่านเลี้ยงเรา เพื่อตอบเเทนบุญคุณมากมายที่ท่านมีให้

เเล้วอย่างนี้ ระบบการศึกษาไทย ควรเเล้วหรือยัง ที่จะปรับปรุงเเบบจริงๆจังๆได้เสียที อมยิ้ม04?
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่