การตั้งหัวข้อการวิจัย (Research Topic Setting) ... สรายุทธ กันหลง
https://ppantip.com/topic/34069266
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมามีพันเอกทหารบกมาขอให้เป็น อ.ที่ปรึกษาร่วม เรียน รปม. ที่ ม.สุโขทัยฯ และเรียน ป.โท บริหารการศึกษาอีกแห่งหนึ่ง เขามีแผนจะเรียน ป.เอกต่อ เขาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยการทัพบก เขาทิ้งไว้นานแล้วอยากจะจบ ก็นั่งคุยกับเขาสองสามชั่วโมง เพื่ออธิบายงานวิจัย เขาให้ตั้งชื่อเรื่อง ผมก็ให้แนวคิดว่ามีประเด็นที่ต้องพิจารณาดังนี้
1) หัวข้องานวิจัยนี้มีขอบเขตการวิจัยชัดเจนไม่คลุมเครือไหม
2) งานวิจัยนี้ตรงหรือสอดคล้องกับหลักสูตรหรือไม่
3) ผู้วิจัยสามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายไม่มีปัญหาหรือไม่
4) ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หรือไม่
เป็นประเด็นที่เป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ต้องคุยกับผู้วิจัยให้ชัดเจน พอชัดเจนแล้วก็เลยมาคุยกันเรื่องหัวข้อและก็ได้ข้อสรุป ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องมากำหนดตารางการทำงานร่วมกันครับ
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการปฏิบัติทั่วไปของการทำวิทยานิพนธ์ร่วมกับอาจารย์ทีปรึกษาที่ผมมีประสบการณ์มาจากต่างประเทศ หลักสูตรหลายแห่งในไทย อ.ที่ปรึกษาจะมาเห็นงานนักศึกษาต่อเมื่อได้ทำโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือครบสามบทเพื่อเตรียมสอบแล้ว ทำให้การแก้ไขทำได้ยากและมีปัญหาต่อไป
.. สรายุทธ กันหลง พุธ 11 กุมภาพันธ์ 2558
สำเนาที่
http://www.kroobannok.com/blog/74760
งานอื่นๆที่ผมเขียนออนไลน์ไปสืบค้นกูเกิ้ลด้วยคำว่า "สรายุทธ กันหลง" หรือตามผมได้ที่
http://www.facebook.com/sarayuth.kunlong
.. กรุณาแนะนำตนเองที่ FB message ด้วย
... สรายุทธ กันหลง อังคาร 18 สิงหาคม 2558
การตั้งหัวข้อการวิจัย (Research Topic Setting) ... สรายุทธ กันหลง
https://ppantip.com/topic/34069266
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมามีพันเอกทหารบกมาขอให้เป็น อ.ที่ปรึกษาร่วม เรียน รปม. ที่ ม.สุโขทัยฯ และเรียน ป.โท บริหารการศึกษาอีกแห่งหนึ่ง เขามีแผนจะเรียน ป.เอกต่อ เขาเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยการทัพบก เขาทิ้งไว้นานแล้วอยากจะจบ ก็นั่งคุยกับเขาสองสามชั่วโมง เพื่ออธิบายงานวิจัย เขาให้ตั้งชื่อเรื่อง ผมก็ให้แนวคิดว่ามีประเด็นที่ต้องพิจารณาดังนี้
1) หัวข้องานวิจัยนี้มีขอบเขตการวิจัยชัดเจนไม่คลุมเครือไหม
2) งานวิจัยนี้ตรงหรือสอดคล้องกับหลักสูตรหรือไม่
3) ผู้วิจัยสามารถเก็บข้อมูลได้ง่ายไม่มีปัญหาหรือไม่
4) ผู้วิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้หรือไม่
เป็นประเด็นที่เป็นหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ต้องคุยกับผู้วิจัยให้ชัดเจน พอชัดเจนแล้วก็เลยมาคุยกันเรื่องหัวข้อและก็ได้ข้อสรุป ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาต้องมากำหนดตารางการทำงานร่วมกันครับ
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการปฏิบัติทั่วไปของการทำวิทยานิพนธ์ร่วมกับอาจารย์ทีปรึกษาที่ผมมีประสบการณ์มาจากต่างประเทศ หลักสูตรหลายแห่งในไทย อ.ที่ปรึกษาจะมาเห็นงานนักศึกษาต่อเมื่อได้ทำโครงร่างวิทยานิพนธ์หรือครบสามบทเพื่อเตรียมสอบแล้ว ทำให้การแก้ไขทำได้ยากและมีปัญหาต่อไป
.. สรายุทธ กันหลง พุธ 11 กุมภาพันธ์ 2558
สำเนาที่ http://www.kroobannok.com/blog/74760
งานอื่นๆที่ผมเขียนออนไลน์ไปสืบค้นกูเกิ้ลด้วยคำว่า "สรายุทธ กันหลง" หรือตามผมได้ที่ http://www.facebook.com/sarayuth.kunlong
.. กรุณาแนะนำตนเองที่ FB message ด้วย
... สรายุทธ กันหลง อังคาร 18 สิงหาคม 2558