สวัสดีค่ะ เนื่องจากเมื่อวานมีพี่คนหนึ่งแนะนำให้ลองเอาซีรี่ย์นิทานการเงินมาลงให้คุณแม่ในชานเรือนลองอ่านดู เลยพลอยได้อ่านหลายๆกระทู้ที่คุณแม่คุย ปรึกษากันเกี่ยวลูกๆ (สารภาพอย่างอายๆเลยค่ะ ว่าแต่ก่อนไม่รู้จักชานเรือนเลย ไม่ค่อยได้เล่นพันทิปด้วย)
นั่นแหละ เลยคิดว่าบทความเกี่ยวกับเด็ก 2-3 ขวบที่เราเคยเขียนในบล็อกส่วนตัว น่าจะมีประโยชน์บ้าง ยังไงลองอ่านดูนะคะ^^
.........................................................................................................
เลี้ยงลูกด้วยรัก อย่างเข้าใจ
สวัสดีค่ะคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน หลายท่านคงกำลังมีปัญหากลุ้มใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกน้อย โดยเฉพาะเด็กวัย 2-3 ขวบ ที่มักจะต่อต้าน เอาแต่ใจ วีนเหวี่ยง ขี้หวงเป็นที่สุด อันนั้นก็ของหนู อันนี้ก็ของฉัน เธอห้ามยุ่ง สารพัดเรื่องราวชวนปวดหัวที่หนูน้อยนำมาให้
ถ้าคุณพ่อคุณแม่กำลังกลุ้มใจ ยังไม่รู้จะเริ่มรับมือน้องยังไง ในฐานะที่เคยเป็นคุณครูโรงเรียนอนุบาล คลุกคลีกับเด็กวัยเนอร์สเซอรี่ ทอดเลอร์มาพอสมควร จึงอยากแบ่งปันวิธีดูแลรับมือกับน้องๆวัยนี้ บทความนี้อาจไม่เน้นทฤษฎีหลักวิชาการมากนัก เป็นแค่บทความในมุมมองของคุณครูคนหนึ่งเท่านั้นค่ะ...
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับธรรมชาติของน้องวัย 2-3 ขวบก่อน
เด็กวัยนี้มีความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสูง ก้าวร้าวในบางครั้ง อยากรู้อยากเห็น อยากเล่นอยากมีส่วนร่วม แต่ก็เล่นไม่เป็น ในขณะเดียวกันก็จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ในประเด็นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวด้วยค่ะ ยิ่งครอบครัวไหนที่ตามใจน้องมากๆ ซึ่งคุณครูจะเห็นบ่อยในครอบครัวที่น้องเป็นลูกคนเดียว หรือคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลา ปล่อยให้คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายดูแลน้องแทน ซึ่งหลายๆท่านก็มักจะตามใจหลานมาก เพราะคิดว่าหลานยังเล็กอยู่ อยากได้อะไรก็ให้ ทำให้น้องยิ่งเคยตัว พอโดนขัดใจทีหนึ่งนี่ร้องแทบบ้านแตกเลยก็มี
คุณครูอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจกับนิสัยต่างๆของน้องวัยนี้ แล้วเริ่มปรับไปทีละจุดค่ะ คุณแม่ท่านหนึ่งเคยเล่าให้คุณครูฟังว่า น้องก้าวร้าวมาก บอกเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง คุณแม่เลยขังน้องไว้ถึงได้เงียบ วิธีนี้คุณครูไม่แนะนำอย่างยิ่งค่ะ จริงอยู่น้องอาจจะเงียบ แต่น้องต่อต้านอยู่ลึกๆ อาจส่งผลให้เก็บกดได้ในระยะยาว และการที่ถูกขังอยู่คนเดียวน้องอาจทำร้ายตัวเองได้
การรับมือกับเด็กที่ก้าวร้าวคือการค่อยๆพูด ค่อยๆบอกเหตุผลให้น้องฟังว่าพูดแบบนี้ ทำแบบนี้ไม่ดีอย่างไร ใครๆก็ย่อมรักเด็กพูดเพราะ เชื่อฟัง พยายามพูดอย่างใจเย็น แต่ไม่ใช่ในลักษณะพูดครั้งเดียวตอนที่น้องมีพฤติกรรมเท่านั้นนะคะ แต่ต้องค่อยๆสอน ค่อยๆสอดแทรกไปในกิจกรรมต่างๆ นิทาน การ์ตูน เกม หรือเจออะไรที่น่าสนใจพอนำมาเป็นประเด็นสอนน้องได้ ก็สอน สอนในลักษณะพูดคุยธรรมดาจะดีที่สุดค่ะ ฝึกให้น้องทำอะไรด้วยตัวเองด้วย ของเล่น เล่นแล้วต้องเก็บเอง อาจจะเสียเวลา เหนื่อยพูดสักหน่อย แต่ถ้าให้น้องทำบ่อยๆทำเรื่อยๆจะเป็นนิสัยที่ดีติดตัวน้องไปค่ะ
ประเด็นอยากรู้อยากเห็นก็เช่นกัน เป็นเรื่องดีมากๆที่น้องสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ น้องบางคนนี่ถามเยอะเชียว เช่นครั้งหนึ่งคุณครูกำลังสอนพิเศษน้องอยู่ ดินสอตกพื้น น้องก็ถามว่าทำไมดินสอถึงตกครับ พอก้มลงเก็บก็ถามอีกทำไมถึงเก็บละครับ แล้วทำไมดินสอถึงมียางลบแบบนี้ครับ แล้วทำไม ทำไม ทำไม คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะเริ่มโมโห ไม่ได้ค่ะ อย่าใส่อารมณ์กับลูกเด็ดขาด ต้องใจเย็น ถ้าไม่ไหวจริงๆอาจจะให้คนที่ใจเย็น นิ่งๆคุยกับน้องไปก่อน เราก็ออกไปสงบสติอารมณ์ข้างนอก ถ้าน้องสงสัยต้องค่อยๆอธิบายไป อย่าดุน้องเพราะน้องสนใจใฝ่รู้ ถ้าดุบ่อยน้องอาจจะกลัว จนไม่กล้าถาม สุดท้ายอาจกลายเป็นเด็กไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไร เพราะกลัวผิด เพราะกลัวถูกดุ แต่ถ้าน้องถามเยอะจนเกินไป อาจเอาเกมหรือกิจกรรมอะไรมาดึงความสนใจ น้องก็จะเลิกถามไปเองค่ะ
นอกจากจะอยากรู้อยากเห็น วัยนี้ยังชอบมีส่วนร่วมอีก เห็นเพื่อนเล่นก็อยากเล่นด้วย แต่บางทีก็ยังไม่รู้จะเล่นยังไง ไปผลักเพื่อนแรงๆบ้าง พังของเล่นบ้าง บางคนไปยึดของเล่นเพื่อนเลยก็มี กรณีนี้ถ้าน้องผิดจริงก็ต้องมีการลงโทษ อาจจะให้ขอโทษเพื่อน เก็บของเล่นที่น้องพังด้วยตัวเอง สอนให้รู้ว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่ดี คนทำผิด ย่อมถูกลงโทษ แต่ก่อนจะลงโทษต้องให้น้องเข้าใจด้วยว่า เพราะอะไร ทำไมถึงต้องถูกลงโทษ ไม่ใช่พอน้องร้องให้ไม่ยอมขอโทษ ไม่ยอมเก็บ คุณพ่อคุณแม่ก็ตามใจ
อยู่กับเด็กจิตวิทยาเป็นเรื่องสำคัญค่ะ บางทีน้องทำผิดไม่ขอโทษ คุณครูก็แกล้งโกรธบ้าง แกล้งร้องไห้เสียใจบ้าง แล้วแต่สถานการณ์ พอน้องเขาเห็นแบบนั้นก็จะอ่อนลงเองค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานของเด็กแต่ละคนด้วยนะคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องนำไปปรับใช้ให้พอดีค่ะ
ถ้าพอมีเวลาว่างสักนิดอยากให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องไปทำกิจกรรมต่างๆกับเพื่อนๆ ฝึกให้น้องเข้าสังคม หรือบางครอบครัวชอบทำบุญ หรือทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ถ้าไม่ใช่กิจกรรมที่หนักจนเกินไปก็อาจจะพาน้องไปด้วย ให้น้องค่อยๆซึมซับความดี จะช่วยให้น้องมีจิตใจอ่อนโยนขึ้นค่ะ
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น การสอนทุกอย่างไม่จำเป็นต้องมานั่งจับเข่าคุยกันเหมือนในห้องเรียน แบบนั้นเอาไว้ใช้กรณีน้องทำผิดเรียกมาพูดดีกว่าค่ะ แต่ควรจะสอน สอดแทรกไปในทุกๆกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
บางท่านบอกว่างานยุ่ง ไม่มีเวลามาทำขนาดนี้หรอก แต่ละวันแทบจะไม่ได้เจอหน้าลูกเลยด้วยซ้ำ จะเอาเวลาไหนมาสอน ส่งเข้าโรงเรียนให้ครูสอนให้ดีกว่า จริงอยู่คุณครูอาจจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง จริงอยู่ที่เด็กบางคนจะกลัวคุณครู เชื่อฟังคุณครูมากกว่าพ่อแม่ด้วยซ้ำ
แต่ท้ายที่สุดแล้วคนที่มีส่วนให้ลูกเลวหรือดีมากที่สุดก็คือคุณพ่อคุณแม่เอง
พยายามแบ่งเวลาให้ลูกบ้างนะคะ ทำกิจกรรมกับลูกบ้าง ช่วงวัยเด็กเท่านั้นล่ะค่ะที่น้องเขาอยากจะใกล้ชิดเรามากที่สุด เลี้ยงน้องด้วยความรักอย่างเข้าใจ น้องจะต้องเติบโตเป็นเด็กเก่งละดีในวันข้างหน้าแน่นอนค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะคะ
ปล.หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างนะคะ สำนวนอาจจะไม่เท่าไหร่ แต่คนเขียนตั้งใจมากๆค่ะ
ปล 2. ถึงจะลงกระทู้ที่สองแล้ว แต่ยังงงๆกับห้องนิดหน่อย พยายามจะไม่แท็กผิด แต่ถ้าผิดก็ขอโทษด้วยนะคะ
เลี้ยงลูกด้วยรัก...อย่างเข้าใจ
นั่นแหละ เลยคิดว่าบทความเกี่ยวกับเด็ก 2-3 ขวบที่เราเคยเขียนในบล็อกส่วนตัว น่าจะมีประโยชน์บ้าง ยังไงลองอ่านดูนะคะ^^
.........................................................................................................
เลี้ยงลูกด้วยรัก อย่างเข้าใจ
สวัสดีค่ะคุณพ่อคุณแม่ทุกท่าน หลายท่านคงกำลังมีปัญหากลุ้มใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกน้อย โดยเฉพาะเด็กวัย 2-3 ขวบ ที่มักจะต่อต้าน เอาแต่ใจ วีนเหวี่ยง ขี้หวงเป็นที่สุด อันนั้นก็ของหนู อันนี้ก็ของฉัน เธอห้ามยุ่ง สารพัดเรื่องราวชวนปวดหัวที่หนูน้อยนำมาให้
ถ้าคุณพ่อคุณแม่กำลังกลุ้มใจ ยังไม่รู้จะเริ่มรับมือน้องยังไง ในฐานะที่เคยเป็นคุณครูโรงเรียนอนุบาล คลุกคลีกับเด็กวัยเนอร์สเซอรี่ ทอดเลอร์มาพอสมควร จึงอยากแบ่งปันวิธีดูแลรับมือกับน้องๆวัยนี้ บทความนี้อาจไม่เน้นทฤษฎีหลักวิชาการมากนัก เป็นแค่บทความในมุมมองของคุณครูคนหนึ่งเท่านั้นค่ะ...
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักกับธรรมชาติของน้องวัย 2-3 ขวบก่อน
เด็กวัยนี้มีความเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสูง ก้าวร้าวในบางครั้ง อยากรู้อยากเห็น อยากเล่นอยากมีส่วนร่วม แต่ก็เล่นไม่เป็น ในขณะเดียวกันก็จะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ในประเด็นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัวด้วยค่ะ ยิ่งครอบครัวไหนที่ตามใจน้องมากๆ ซึ่งคุณครูจะเห็นบ่อยในครอบครัวที่น้องเป็นลูกคนเดียว หรือคุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลา ปล่อยให้คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายดูแลน้องแทน ซึ่งหลายๆท่านก็มักจะตามใจหลานมาก เพราะคิดว่าหลานยังเล็กอยู่ อยากได้อะไรก็ให้ ทำให้น้องยิ่งเคยตัว พอโดนขัดใจทีหนึ่งนี่ร้องแทบบ้านแตกเลยก็มี
คุณครูอยากให้คุณพ่อคุณแม่ทำความเข้าใจกับนิสัยต่างๆของน้องวัยนี้ แล้วเริ่มปรับไปทีละจุดค่ะ คุณแม่ท่านหนึ่งเคยเล่าให้คุณครูฟังว่า น้องก้าวร้าวมาก บอกเท่าไหร่ก็ไม่ฟัง คุณแม่เลยขังน้องไว้ถึงได้เงียบ วิธีนี้คุณครูไม่แนะนำอย่างยิ่งค่ะ จริงอยู่น้องอาจจะเงียบ แต่น้องต่อต้านอยู่ลึกๆ อาจส่งผลให้เก็บกดได้ในระยะยาว และการที่ถูกขังอยู่คนเดียวน้องอาจทำร้ายตัวเองได้
การรับมือกับเด็กที่ก้าวร้าวคือการค่อยๆพูด ค่อยๆบอกเหตุผลให้น้องฟังว่าพูดแบบนี้ ทำแบบนี้ไม่ดีอย่างไร ใครๆก็ย่อมรักเด็กพูดเพราะ เชื่อฟัง พยายามพูดอย่างใจเย็น แต่ไม่ใช่ในลักษณะพูดครั้งเดียวตอนที่น้องมีพฤติกรรมเท่านั้นนะคะ แต่ต้องค่อยๆสอน ค่อยๆสอดแทรกไปในกิจกรรมต่างๆ นิทาน การ์ตูน เกม หรือเจออะไรที่น่าสนใจพอนำมาเป็นประเด็นสอนน้องได้ ก็สอน สอนในลักษณะพูดคุยธรรมดาจะดีที่สุดค่ะ ฝึกให้น้องทำอะไรด้วยตัวเองด้วย ของเล่น เล่นแล้วต้องเก็บเอง อาจจะเสียเวลา เหนื่อยพูดสักหน่อย แต่ถ้าให้น้องทำบ่อยๆทำเรื่อยๆจะเป็นนิสัยที่ดีติดตัวน้องไปค่ะ
ประเด็นอยากรู้อยากเห็นก็เช่นกัน เป็นเรื่องดีมากๆที่น้องสนใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ น้องบางคนนี่ถามเยอะเชียว เช่นครั้งหนึ่งคุณครูกำลังสอนพิเศษน้องอยู่ ดินสอตกพื้น น้องก็ถามว่าทำไมดินสอถึงตกครับ พอก้มลงเก็บก็ถามอีกทำไมถึงเก็บละครับ แล้วทำไมดินสอถึงมียางลบแบบนี้ครับ แล้วทำไม ทำไม ทำไม คุณพ่อคุณแม่บางท่านอาจจะเริ่มโมโห ไม่ได้ค่ะ อย่าใส่อารมณ์กับลูกเด็ดขาด ต้องใจเย็น ถ้าไม่ไหวจริงๆอาจจะให้คนที่ใจเย็น นิ่งๆคุยกับน้องไปก่อน เราก็ออกไปสงบสติอารมณ์ข้างนอก ถ้าน้องสงสัยต้องค่อยๆอธิบายไป อย่าดุน้องเพราะน้องสนใจใฝ่รู้ ถ้าดุบ่อยน้องอาจจะกลัว จนไม่กล้าถาม สุดท้ายอาจกลายเป็นเด็กไม่กล้าแสดงออก ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไร เพราะกลัวผิด เพราะกลัวถูกดุ แต่ถ้าน้องถามเยอะจนเกินไป อาจเอาเกมหรือกิจกรรมอะไรมาดึงความสนใจ น้องก็จะเลิกถามไปเองค่ะ
นอกจากจะอยากรู้อยากเห็น วัยนี้ยังชอบมีส่วนร่วมอีก เห็นเพื่อนเล่นก็อยากเล่นด้วย แต่บางทีก็ยังไม่รู้จะเล่นยังไง ไปผลักเพื่อนแรงๆบ้าง พังของเล่นบ้าง บางคนไปยึดของเล่นเพื่อนเลยก็มี กรณีนี้ถ้าน้องผิดจริงก็ต้องมีการลงโทษ อาจจะให้ขอโทษเพื่อน เก็บของเล่นที่น้องพังด้วยตัวเอง สอนให้รู้ว่าพฤติกรรมแบบนี้ไม่ดี คนทำผิด ย่อมถูกลงโทษ แต่ก่อนจะลงโทษต้องให้น้องเข้าใจด้วยว่า เพราะอะไร ทำไมถึงต้องถูกลงโทษ ไม่ใช่พอน้องร้องให้ไม่ยอมขอโทษ ไม่ยอมเก็บ คุณพ่อคุณแม่ก็ตามใจ
อยู่กับเด็กจิตวิทยาเป็นเรื่องสำคัญค่ะ บางทีน้องทำผิดไม่ขอโทษ คุณครูก็แกล้งโกรธบ้าง แกล้งร้องไห้เสียใจบ้าง แล้วแต่สถานการณ์ พอน้องเขาเห็นแบบนั้นก็จะอ่อนลงเองค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพื้นฐานของเด็กแต่ละคนด้วยนะคะ คุณพ่อคุณแม่ต้องนำไปปรับใช้ให้พอดีค่ะ
ถ้าพอมีเวลาว่างสักนิดอยากให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องไปทำกิจกรรมต่างๆกับเพื่อนๆ ฝึกให้น้องเข้าสังคม หรือบางครอบครัวชอบทำบุญ หรือทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม ถ้าไม่ใช่กิจกรรมที่หนักจนเกินไปก็อาจจะพาน้องไปด้วย ให้น้องค่อยๆซึมซับความดี จะช่วยให้น้องมีจิตใจอ่อนโยนขึ้นค่ะ
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนต้น การสอนทุกอย่างไม่จำเป็นต้องมานั่งจับเข่าคุยกันเหมือนในห้องเรียน แบบนั้นเอาไว้ใช้กรณีน้องทำผิดเรียกมาพูดดีกว่าค่ะ แต่ควรจะสอน สอดแทรกไปในทุกๆกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
บางท่านบอกว่างานยุ่ง ไม่มีเวลามาทำขนาดนี้หรอก แต่ละวันแทบจะไม่ได้เจอหน้าลูกเลยด้วยซ้ำ จะเอาเวลาไหนมาสอน ส่งเข้าโรงเรียนให้ครูสอนให้ดีกว่า จริงอยู่คุณครูอาจจะช่วยได้ในระดับหนึ่ง จริงอยู่ที่เด็กบางคนจะกลัวคุณครู เชื่อฟังคุณครูมากกว่าพ่อแม่ด้วยซ้ำ
แต่ท้ายที่สุดแล้วคนที่มีส่วนให้ลูกเลวหรือดีมากที่สุดก็คือคุณพ่อคุณแม่เอง
พยายามแบ่งเวลาให้ลูกบ้างนะคะ ทำกิจกรรมกับลูกบ้าง ช่วงวัยเด็กเท่านั้นล่ะค่ะที่น้องเขาอยากจะใกล้ชิดเรามากที่สุด เลี้ยงน้องด้วยความรักอย่างเข้าใจ น้องจะต้องเติบโตเป็นเด็กเก่งละดีในวันข้างหน้าแน่นอนค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านนะคะ
ปล.หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างนะคะ สำนวนอาจจะไม่เท่าไหร่ แต่คนเขียนตั้งใจมากๆค่ะ
ปล 2. ถึงจะลงกระทู้ที่สองแล้ว แต่ยังงงๆกับห้องนิดหน่อย พยายามจะไม่แท็กผิด แต่ถ้าผิดก็ขอโทษด้วยนะคะ