เคยเป็นโรคชอบดึงผมตัวเองกันบ้างไหมค่ะ

ตามหัวข้อ เลยนะคะ
สาวๆคนไหนเคยมีพฤติกรรมแบบนี้บ้างคะ
-คือเป็นคนที่ชอบดึงผมตัวเองอะค่ะยิ่งเส้นหยิกๆหนาๆหยาบๆยิ่งถอนค่ะ ถอนจนโปกไปส่วนนึง5555 เสียใจ
-คือจะบอกว่าเคยเป็นมาครั้งนึงช่วงอายุ14อะค่ะ เป็นไม่นานค่ะมันหยุดไปเอง
-จนกลับมาเป็นอีกครั้งที่2ตอนนี้ปัจจุบันค่ะ หายไป5ปีแล้วเลยจำไม่ได้ว่าเลิกถอนไปได้ยังไง ณ.ตอนนี้ก็พิมพ์ไปถอนไป5555ตีมือตัวเองไปด้วย อิอิ

-อยากถามเพื่อนๆว่ามีวิธีแก้ไขอย่างไรบ้างคะ ส่วนตัวเราเองพยายามมาตลอด(นี่ขนาดพยายามแล้วนะ)ที่จะไม่ดึงมันแต่เวลาถึงแล้วคันก็ดึงอีก
-ยังไงช่วยแนะนำหน่อยน้าาา หรือใครมีปัญหามาร่วมแชร์กันได้เลยค่ะ

อัพเดทนะคะ 2567 หลังจากที่ตั้งกระทู้ก็ไม่เป็นอีกนะคะ จริงๆมันน่าจะเป็นช่วงที่เราเหม่อลอย ไม่ค่อยมีอะไรให้โฟกัส หรืออาจจะโฟกัสอะไรอย่างเดียวมากเกินกัน จนเราสามารถนั่งเหม่อ แล้วค่อยๆถอนผม จนหัวโปกได้ วิธีจัดการคือต้องหาอะไรทำ และเมื่อรู้สึกตัวให้เลิกทำแบบทันที ถึงมันจะคัน และมันมือก็ตามค่ะ เราหายขาดแล้วนะคะทุกคน
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
  สำหรับโรคนี้เรียกว่า โรคถอนผมตัวเอง (Trichotillomania) เป็นภาวะผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง และเป็นนิสัยหรือพฤติกรรมที่ย้ำคิดย้ำทำ โดยการถอนผมหนังศีรษะหรือขนตามตัว (ขนตา, ขนจมูก, ขนหน้าอก, ขนเพชร, คิ้ว) เล่นโดยที่ไม่รู้ตัว

          ส่วนมากมักถอนขนในขณะทำกิจกรรมบางอย่างที่เพลิน ๆ เช่น ขณะนั่งอ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ ถอนจนผมร่วงเกือบหมดหัว หรือหายเป็นหย่อม ๆ จนมีลักษณะผมที่แหว่งไป โดยพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุที่พบโดยเฉลี่ยประมาณ 11 ปี แต่ถ้าเริ่มป่วยตอนอายุมากอาการมักจะเป็นเรื้อรัง ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นนานถึง 20 ปี บางรายหายได้ภายในหนึ่งปี

สาเหตุของโรค

          พฤติกรรมถอนผมตนเองจัดเป็นพฤติกรรมที่ทำร้ายตนเองอย่างหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุที่แน่นอน เบื้องต้นสามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้

           1. จากพยาธิสภาพของโรคเอง คือ มีความผิดปกติในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการแสดงออกของพฤติกรรม หรือมีระดับของสารเคมีบางตัวในร่างกายผิดปกติ จึงมีโอกาสที่จะมีปัญหาในด้านการกระทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ ซึ่งบางรายอาจออกมาเป็นการทำร้ายตนเองอย่างรุนแรงซ้ำ ๆ เช่น โขกศีรษะ หรือถอนผมตนเอง เป็นต้น

           2. จากพยาธิสภาพทางจิตใจ เกิดความเครียด เช่น มีปัญหาความสัมพันธ์กับครอบครัว กลัวการทอดทิ้ง เป็นต้น

           3. จากปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม การดำรงชีวิตอยู่ในสังคม อาจเกิดจากความคับข้องใจหากมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว หรือที่เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน เช่น มีการรับประทานอาหารที่ซ้ำซาก หรือการจำเส้นทางเดินทาง หรือการจัดสิ่งของให้อยู่อย่างเดิม ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่เป็นไปตามสภาพแวดล้อมปกติที่เคยอยู่ จะทำให้มีความคับข้องใจ ซึ่งอาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมการทำร้ายตนเองได้




การรักษา

          รักษาร่วมกันระหว่างจิตแพทย์และแพทย์ผิวหนัง โดย

           1. รักษาอาการผมร่วงกับแพทย์ผิวหนัง

           2. ใช้แชมพูและสระผมตามสภาพผม

           3. หากิจกรรมที่ผ่อนคลายทำร่วมกันในครอบครัว

           4. ป้องกันการถอนผมตนเอง เช่น การนำวัสดุที่หาได้ในบ้าน เช่น หมวกคลุมผมเวลาอาบน้ำ ผ้าคลุมผม หมวก ฯลฯ มาคลุมที่ศีรษะ เพื่อป้องกันการดึงผมตนเอง ในระยะแรก ๆ อาจจะรำคาญและจะดึงออกตลอดเวลา แต่เมื่อเอามือจับศีรษะแล้วไม่พบเส้นผม ไม่สามารถถอนผมตนเองได้ ในระยะต่อมาก็อาจช่วยลดพฤติกรรมถอนผมลงไปในที่สุด

           5. หากไม่สามารถหยุดถอนผมตัวเองได้ ให้ทำบันทึกตารางที่ถอนผม เมื่อทำได้ดีขึ้นจะได้มีกำลังใจ

           6. ในกรณีที่เป็นเรื้อรังควรปรึกษาจิตแพทย์ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาเพิ่มเติม


ข้อมูลจาก
- toptenthailand.com
- เฟซบุ๊ก "RH Club" คลับของคนรักสุขภาพและความงาม

ป.ล. เราก็เป็นนะ ทุกวันนี้ก็ดึงอยู่ค่ะT_T
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่