สำหรับเรา มีข้ออึดอัดใจอยู่บ้างค่ะ
เราเคยอ่านมาบ้างในหมวดนิยายวัยรุ่น
จำได้ว่าน้องชายนางเอกจัดอยู่ในหมวดบุคลิกผู้ชายเลิศสะแมนแตน (ประกอบด้วยความหล่อ รวย ฉลาด)
ประมาณว่านางเอกพูดถึงเรื่องที่น้องชายสอบอะไรสักอย่างยากๆ ได้ แล้วปิดท้ายว่าแม้แต่ตัวเองยังทำไม่ได้ ทำนองนี้
สำหรับเราแล้วค่อนข้างอึดอัดคับข้องก็ตรงที่ว่าทำไมนางเอกต้องบอกว่าตัวเองทำไม่ได้
แค่บอกว่ามันยากชนิดที่คนอ่านลืมตายยังยากจะผ่าน เรารับได้
แต่ทำไมนางเอกต้องบอกว่ามันยากโดยการบอกว่าตัวเองทำไม่ได้ด้วย ทั้งที่มันไม่ได้สำคัญต่อแก่นเรื่องเลยแม้แต่น้อย
คือเป็นประโยคใช้แล้วทิ้ง ใช้บรรยายความเก่งของน้องชายสุดเท่ของนางเอกเท่านั้นเอง
ไม่ใช่แค่เรื่องนี้ เรื่องอื่นก็เช่นกัน ถ้าเป็นเรื่องเรียน ผู้หญิงต้องแพ้ผู้ชายเสมอ
คือนางเอกมักจะถูกแบลักษณะออกมาในทำนองว่า...
ความคับข้องใจข้อที่ 1 เรียนเก่งแพ้ผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวละครหล่อๆ เท่ๆ และพระเอก
ถ้าพระนางเรียนเก่งทั้งคู่ พระเอกที่จะเป็นที่ 1 และนางเอกจะเป็นที่ 2 ส่วนมากที่เราเจอมักเป็นเช่นนั้น
มันน่าโมโหชอบกลที่สร้างค่านิยมว่าผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายเก่งน้อยกว่าเสมอไป ซึ่งไม่จริงเลยสักนิด
ข้อต่อมา ละคร
พระเอกอาจเป็นผู้ชายทั่วไปที่เคยฝึกยูโดเมื่อตอนป.5 หรืออะไรก็แล้วแต่
แต่เขาจะสามารถปราบผู้หญิงที่เป็นนักยูโดอาชีพได้อย่างที่เรียกได้ว่าแพ้ราบคาบ
แม้ปัจจุบันเขาจะทำงานบริษัทที่ไม่มีฉากหรือบุคลิกชอบเข้าฟิตเนสเลยก็ตาม
(ไม่มีฉาก + ไม่พูดถึงเลยสักฉาก + ดูตารางเวลาชีวิตแล้วไม่น่าจะเจียดเวลาไป)
อะโอเค จริงอยู่ที่เขาอาจชอบเข้าฟิตเนส แต่อีกฝ่ายเป็นนักกีฬาอาชีพเชียวนะ ถึงเป็น ญ ก็เถอะ
แพ้ราบคาบขนาดนั้น ทำไมไม่ผันตัวไปเป็นนักกีฬาเสียเลยเล่า
เราเชื่อว่าถ้าปราบนักกีฬาอาชีพได้ ทั้งที่ดูแล้วไม่น่าจะฝึกร่างกายบ่อยขนาดนั้น
ฝึกอีกนิดเดียวก็น่าจะชิงแชมป์ระดับโลกได้เลยด้วยซ้ำ
ใช้นิ้วเดียวจิ้วหน้าผากคู่ต่อสู้ คงสมองทะลุยันอีกด้านแหงแซะ
ความคับข้องใจข้อที่ 2 ถ้าต่อสู้ ผู้ชายชนะเสมอ ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะเก่งมาจากไหนก็ตาม
พวกคุณมีความคับข้องใจในค่านิยมสื่อบันเทิงบ้างไหมคะ
ขอบคุณที่แชร์กันค่ะ
คุณมีความคับข้องใจเรื่องอะไรในค่านิยมสื่อบันเทิงบ้าง (อย่าง นิยายรัก นิยายวัยทำงาน นิยายวัยรุ่น ละคร หนัง การ์ตูน)
เราเคยอ่านมาบ้างในหมวดนิยายวัยรุ่น
จำได้ว่าน้องชายนางเอกจัดอยู่ในหมวดบุคลิกผู้ชายเลิศสะแมนแตน (ประกอบด้วยความหล่อ รวย ฉลาด)
ประมาณว่านางเอกพูดถึงเรื่องที่น้องชายสอบอะไรสักอย่างยากๆ ได้ แล้วปิดท้ายว่าแม้แต่ตัวเองยังทำไม่ได้ ทำนองนี้
สำหรับเราแล้วค่อนข้างอึดอัดคับข้องก็ตรงที่ว่าทำไมนางเอกต้องบอกว่าตัวเองทำไม่ได้
แค่บอกว่ามันยากชนิดที่คนอ่านลืมตายยังยากจะผ่าน เรารับได้
แต่ทำไมนางเอกต้องบอกว่ามันยากโดยการบอกว่าตัวเองทำไม่ได้ด้วย ทั้งที่มันไม่ได้สำคัญต่อแก่นเรื่องเลยแม้แต่น้อย
คือเป็นประโยคใช้แล้วทิ้ง ใช้บรรยายความเก่งของน้องชายสุดเท่ของนางเอกเท่านั้นเอง
ไม่ใช่แค่เรื่องนี้ เรื่องอื่นก็เช่นกัน ถ้าเป็นเรื่องเรียน ผู้หญิงต้องแพ้ผู้ชายเสมอ
คือนางเอกมักจะถูกแบลักษณะออกมาในทำนองว่า...
ความคับข้องใจข้อที่ 1 เรียนเก่งแพ้ผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวละครหล่อๆ เท่ๆ และพระเอก
ถ้าพระนางเรียนเก่งทั้งคู่ พระเอกที่จะเป็นที่ 1 และนางเอกจะเป็นที่ 2 ส่วนมากที่เราเจอมักเป็นเช่นนั้น
มันน่าโมโหชอบกลที่สร้างค่านิยมว่าผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายเก่งน้อยกว่าเสมอไป ซึ่งไม่จริงเลยสักนิด
ข้อต่อมา ละคร
พระเอกอาจเป็นผู้ชายทั่วไปที่เคยฝึกยูโดเมื่อตอนป.5 หรืออะไรก็แล้วแต่
แต่เขาจะสามารถปราบผู้หญิงที่เป็นนักยูโดอาชีพได้อย่างที่เรียกได้ว่าแพ้ราบคาบ
แม้ปัจจุบันเขาจะทำงานบริษัทที่ไม่มีฉากหรือบุคลิกชอบเข้าฟิตเนสเลยก็ตาม
(ไม่มีฉาก + ไม่พูดถึงเลยสักฉาก + ดูตารางเวลาชีวิตแล้วไม่น่าจะเจียดเวลาไป)
อะโอเค จริงอยู่ที่เขาอาจชอบเข้าฟิตเนส แต่อีกฝ่ายเป็นนักกีฬาอาชีพเชียวนะ ถึงเป็น ญ ก็เถอะ
แพ้ราบคาบขนาดนั้น ทำไมไม่ผันตัวไปเป็นนักกีฬาเสียเลยเล่า
เราเชื่อว่าถ้าปราบนักกีฬาอาชีพได้ ทั้งที่ดูแล้วไม่น่าจะฝึกร่างกายบ่อยขนาดนั้น
ฝึกอีกนิดเดียวก็น่าจะชิงแชมป์ระดับโลกได้เลยด้วยซ้ำ
ใช้นิ้วเดียวจิ้วหน้าผากคู่ต่อสู้ คงสมองทะลุยันอีกด้านแหงแซะ
ความคับข้องใจข้อที่ 2 ถ้าต่อสู้ ผู้ชายชนะเสมอ ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะเก่งมาจากไหนก็ตาม
พวกคุณมีความคับข้องใจในค่านิยมสื่อบันเทิงบ้างไหมคะ
ขอบคุณที่แชร์กันค่ะ