ผมมีคำถามที่สงใสมานาน เกี่ยวกับภาษาบาลี

ก่อนอื่นต้องบอกเลยผมนับถือศาสนาพุทธ และไม่ได้คิดจะลบหลู่อะไรทั้งสิ้น เป็นแค่ความสงใสส่วนตัวที่มีมานานแล้ว

ผมไม่ใช่คนที่มีความรู้ลึกซึ้งในศาสนา จึงอยากถามเพื่อหาคำตอบเท่านั้น ไม่ใช่คนจากเพจใดๆทั้งสิ้น ไม่ได้จะสร้างกระแสขัดแย้ง
เคยเข้าไปบางเพจเพื่ออ่าน แต่ไม่คิดว่าพวกต่อต้านศาสนาพุธทจะมีคำตอบให้ผม จึงไม่ได้โพสถามในเพจพวกนั้น

เคยได้ยินคำว่า "ศาสนาพุทธ เป็นวิทยาศาสตร์" มั้ยครับ ผมก็เชื่ออย่างนั้น เพราะคำสอนสอดคล้องกัน และมีเหตุมีผล

แต่สิ่งที่สงใสคือ บทสวดต่างๆ ทำไมถึงไม่สวดเป็นภาษาไทยครับ เช่น บทสวดอภิธรรม
บทอภิธรรม คืออะไร ผมเคยเจอว่า มันคือบทสวดที่ทำให้ดวงวิญญาณนั้นปลงจากสังขารและสิ่งต่างๆ เพื่อจะได้ปล่อยวางและไปสู่ภพภูมิอื่น
จากนั้นผมถามคนไปหลายคนเพื่อเก็บข้อมูล ข้อมูลที่ได้นั้นส่วนใหญ่บอกว่า เป็นบทสวดงานศพแต่ไม่รู้ถึงจุดประสงและความหมาย

ในกรณีที่เราเชื่อว่ามีวิญญาณอยู่จริง
ถ้าตามหลักแล้ว จะสวดเพื่อให้ดวงวิญญาณนั้นฟังเพื่อปลงหรือละสังขาร จะต้องสวดให้เป็นภาษาที่วิญญาณนั้นเข้าใจ
แต่คนส่วนใหญ่แปลภาษาบาลีไม่ออกครับ ถ้าตายไปผมก็คิดว่าวิญญาณนั้นคงฟังไม่ออกเช่นกัน ในเมื่อฟังไม่ออกก็ไม่เข้าใจใช่มั้ยครับ

ผมถามคำถามทำนองนี้กับบุคคลหลายคนที่เป็นผู้ศึกษาธรรมมะที่ไม่ใช่พระนะครับ คนธรรมดาที่ศึกษาธรรมมะ
ซึ่งผมไม่เคยได้คำตอบที่มีเหตุมีผลจากบุคคลเหล่านั้นเลย

ผมมีคำตอบในใจอยู่ 1-2 ข้อคือ
1.การสวดไม่ได้สำคัญที่ภาษา แต่สำคัญที่จิตที่เราจะสื่อไป
2.ไม่ได้สวดเพื่อดวงวิญญาณ สวดเพื่อนสอนคนที่มางานได้ปลงและเข้าใจ แต่ก็อีก คนมางานก็ไม่ได้เข้าใจภาษาบาลี จะเข้าใจได้ยังไง
เลยอยากจะถามว่าคำตอบ2ข้อนี้เพื่อนๆเลือกข้อไหน หรือถ้ามีคำตอบอื่นก็ได้นะครับ

ปล.ผมไม่ได้จะต่อต้านอะไรทั้งนั้น ผมยังนับถือพุทธเหมือนเดิม ผมแค่อยากได้คำตอบแบบมีเหตุมีผลเฉยๆ
ถึงยังไงผมตายไปผมก็จะสวดศพแบบทางพุทธ แต่ก่อนตานผมจะไปแปลบทสวดนี้ก่อนตายครับ ผมจะได้เข้าใจว่าทั้งหมดมีความหมายอย่างไร
เวลาฟังจะได้เข้าใจและปลงครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เพราะภาษาที่ใช้บัญญัติศาสนา ของทุกๆศาสนา  จะต้องเป็นภาษาที่ตายไปแล้ว  ความหมายจึงยังคงเดิม  รักษารูปแบบเดิมไว้ ไม่คลาดเคลื่อนเปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเวลา  ..ถ้าแปลออกมา  นานๆไป ความหมายจะคลาดเคลื่อนเปลี่ยนไปหมด  ศาสนานั้นก็จะสูญหายไว   เพราะรูปแบบของภาษาจะเปลี่ยนความหมายไปเรื่อยๆๆ เมื่อกาลเวลาผ่านไปๆ... เช่น คำว่า  อุปายาส แปลว่า ความคับแค้นใจ  แล้วก็เปลี่ยนมาแปลว่า ทุกข์ใจ  ต่อมาก้เปลี่ยนมาแปลว่า หม่นหมองใจ  ต่อมาแปลว่า  เศร้าหมองตรม  ในยุคใหม่ๆ ก็แปลว่า เซ็ง  ต่อมา ไม่นานมานี้ก็แปลว่า เง็ง ..ฯ เป็นต้น .. ดังนั้น  คนแต่ละรุ่น ถ้าสวดแปล ก็จะใช้คำแปลต่างๆกันไปเรื่อยๆๆ  ทำให้คนแต่ละสมัยเข้าใจไม่ตรงกัน  ถ้าเอาตามคำแปลใหม่  แต่ถ้าเอาคำเดิม คือ อุปายาส  ก็จะเข้าใจตรงกัน  ไม่ว่าคนสวดจะสวดในยุคสมัยไหน ห่างกันกี่พันปีก็ตาม

ดังนั้น ในศาสนาพุทธ  การสวดมนต์ต่างๆ  จึงต้องสวดภาษาบาลี   เพื่อรักษาความหมายไว้ให้คงเดิม ,   ศาสนาคริสต์เขาก็สวดภาษาลาติน

คุณอย่าไปห่วงพวกวิญญาณหรือภูตผีต่างๆ ในเรื่องการใช้ภาษาสื่อสารของพวกนั้น   เพราะพวกเขาใช้ภาษาใจสื่อสารกัน ซึ่งภาษาใจเป็นภาษาสากล  รู้ทั่วถึงกันหมด เข้าใจกันได้ดีทุกๆชั้น ทุกๆภพภูมิ

คุณอยากรู้ว่า ที่พระสวดนั้น  แปลว่าอะไร  คุณก็ไปหาหนังสือมาอ่านซะบ้างซี  มีคำแปลพร้อมสมบูรณ์อยู่แล้ว  จะมัวขี้เกียจทำไม?  ทีภาษาอื่นๆเช่นภาษาอังกฤษ คุณก็อุตส่าห์ไปเรียนไปท่องศัพท์ท่องคำแปลอะไรต่างๆมากมาย  ทีภาษาของศาสนาที่คุณนับถือ ทำไมคุณไม่รู้จักไปหัดท่อง หัดดูคำแปลซะบ้างละ ?  ในชีวิตคุณ สละเวลาไปศึกษาภาษาอังกฤษกี่ร้อยกี่พันชั่วโมง?  แต่คุณเคยแบ่งสละเวลามาดูคำแปลภาษาบาลีบ้างสัก ๑๐ นาที แค่นั้น เคยบ้างไหมละ? ... ภาษาแปลบาลีที่พระสวดๆกันทั่วๆไป ในงานบุญต่างๆ ทั้งหมด  ก็มีไม่กี่หน้า แค่ ๑๐ กว่าหน้า  แค่นั้น  ถ้าคุณสละเวลามาอ่านคำแปลนั่นสัก ๑ ชั่วโมง  คุณก็จะเข้าใจที่พระสวดนั่นได้หมด  ว่า แปลว่าอะไร..

เรียนภาษาอังกฤษ เรียนท่อง เรียนแปล หลายๆปีใช้เวลาหลายพันชั่วโมง ยังทำได้ ไม่เห็นบ่น  ทีจะมาดูคำแปลบทพระสวดนิดหน่อยก็บ่นเป็นยายแก่  ..อะไรกันหนักกันหนา คุณนี่ ?....แย่มากๆ... แย่ๆๆ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่