เชื่อว่าหลายๆ คน คงมีปัญหาเดียวกันกับเรานะคะ แต่อาจไม่รู้ว่ามันคืออะไร สงสัยไปเรื่อย
ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็น "ภาวะตาล้า" ค่ะ
ภัยเงียบที่กำลังคุกคามใครหลายๆคน
เราทำงานที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลากว่าสิบปี มองจอทุกวัน เช้าถึงเย็น
ตั้งแต่ยังไม่ถึงยุคสมาร์ทโฟน ตกเย็นเล่นเกมคอมพิวเตอร์
จนถึงยุคสมาร์ทโฟน เราเริ่มเล่นเกมบนมือถือ แต่ก็ไม่บ่อยมาก (อยู่หน้าจอคอมฯบ่อยกว่า)
แต่ก็บ่อยกว่าคือต้องคอยเช็คเมลล์ ตอบ Line บนมือถืออยู่เรื่อยๆ
ปัจจุบัน โทรทัศน์บ้านเรา เข้าสู่ยุคดิจิตอล หน้าจอ LED สว่างไม่น้อยกว่าจอคอมฯ แบนๆ สมัยนี้เลย
ดูทีวีทุกวัน กันอยู่แล้วจริงไหมคะ
สุดท้ายเรามีอาการทางสายตาที่เปลี่ยนไป ง่ายๆ เลยคือ
1. มองจอไปสักพัก ตาจะเริ่มพร่ามัว และตัวหนังสือบนจอเริ่มซ้อนกัน (แรกๆจะยังไม่ซ้อนนะคะ)
2. ปวดกระบอกตา ลามไปขมับ ลามไปท้ายทอย และลามไปทั้งหัว!!!! โอ้ววววมายก้อตตต
3. แม้แต่เจอแสงแดด หรือแสงจากจอแรงๆ ก็จะปวดตา ปวดหัว
เดี๋ยวบางทีก็ปวดแต่ข้างซ้าย บางทีก็ปวดแต่ข้างขวา บางทีปวดทั้งหัวเลย เดาไปเรื่อยคิดว่าเป็นไมเกรนหรือเปล่า
แต่ดูๆ แล้วก็ไม่น่าจะใช่ เดาเอาว่ามันต้องเป็นที่ตานี่แหล่ะ
เลยไปแก้ปัญหาด้วยการไปตัดแว่น แก้ได้แน่นอน ใส่แว่นเวลาอยู่หน้าจอ
อธิบายปัญหาที่เป็นให้ทราบแล้วก็เข้าไปวัดสายตา ร้านแว่นบอกว่าสายตาเราเอียงข้างนึง 75 ข้างนึง 25 เลยเห็นภาพซ้อน
(วัดค่าได้เป็นสายตาเอียงค่ะ)
หมอบอก....เอาแบบเลนส์ตัดแสงสีฟ้าด้วยนะ เพราะมองจอบ่อยนะ หมดเงินไป 9,000 (รวมกรอบแว่น)
ได้มาแล้ว ปรากฏว่า ใส่แล้วเวียนหัว ใส่แล้วภาพก็ไม่เห็นชัด มัวๆ เหมือนเดิม โอ้วววววมายก้อตตต
ทนไปอีก 1 ปี ไปร้านแว่นอีกครั้ง คราวนี้ไปร้านใหม่ และคราวนี้เวิร์คค่ะ หมอคนนี้เก่งมากค่ะ
หมอตรวจและสรุปได้ว่า
1. สายตายาว 100 จริงๆ วัยของเราน่าจะยังไม่ยาว หรือถ้าจะยาวก็น่าจะแค่ นิดหน่อยสัก 25 แต่เพราะมองจอบ่อยนั่นเอง
2. เกิดภาวะตาล้า ทำให้เห็นภาพซ้อน และปวดหัว ไม่ใช่สายตาเอียง ย้ำไม่ใช่สายตาเอียง ร้านแว่นอาจเข้าใจผิดวินิจฉัยให้เรา
กลายเป็นสายตาเอียงได้ ระวังนะคะ ตัดแว่นไปเสียเงินเปล่าๆเลยค่ะ
เนื่องจากมีอาการตาล้ามาก เป็นเยอะ ตอนนี้แก้ไขด้วยการตัดแว่นโปรเกสซีฟ (หากพิมพ์ผิดขออภัยค่ะ) ....
1. เลนส์สายตายาว 100 (ตรงช่วงล่างของแว่น)
2. เลนส์ตัดแสงสีฟ้า
3. เลนส์ตัดแสง UV (จะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อออกแดดภายนอก)
หมดไปเกือบ 3 หมื่นค่ะ (แพงจัง) ผลจากการมองจอเป็นเวลากว่าสิบปี แต่ตอนนี้อาการดังกล่าวหายไปแล้ว
เชื่อว่าเด็กๆสมัยนี้ ติดจอกันน่าดู อนาคตสายตาจะเป็นยังไงกันบ้าง ถ้าตอนนี้ยังไม่เป็นอะไร แต่อนาคตเป็นแน่ๆ
ตาเรามีแค่คู่เดียว ถนอมรักษาไว้ให้นานๆ นะคะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"ภาวะตาล้า" เป็นอย่างไร ดูรายละเอียดกันค่ะ หามาให้อ่านกันจะได้เข้าใจมากขึ้นนะคะ
โดยธรรมชาติ การมองส่วนใหญ่ของคนเราจะเป็นการมองในระยะไกลตัว ( ซึ่งกล้ามเนื้อตาจะอยู่ในภาวะคลาย ) แต่เมื่อต้องทำงานที่ต้องมองในระยะใกล้ๆมากขึ้นและนานๆขึ้น กล้ามเนื้อตาจะต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนือย และเกร็งตัวต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือบ่อยขึ้น การกระพริบตาก็ลดน้อยลง (ปกติคนเราจะกระพริบตาประมาณ 22 ครั้งต่อนาที ขณะอ่านหนังสือจะกระพริบตาลดเหลือ 10 ครั้งต่อนาที และจะเหลือเพียง 7 ครั้งต่อนาทีในการใช้คอมพิวเตอร์ ) ทำให้เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อตา และส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งตามมา
และมักพบว่าในกลุ่มคนที่ใช้คอมพิวเตอร์จะมีอาการตาล้าและอาการรุนแรงมากกว่าคนที่ใช้ตาจากการเขียนหรืออ่านหนังสือ ทั้งนี้ มีผลมาจากหลายปัจจัย เช่น
ตัวอักษรในคอมพิวเตอร์ไม่คมชัดเท่าตัวพิมพ์
ความไม่นิ่งของสัญญาณจอ (refresh)
แสงสะท้อนจากหน้าจอ
ระยะตำแหน่งความห่างของจอ ซึ่งจะแตกต่างไม่เท่ากับระยะการอ่านหนังสือ (ทำให้ผู้ที่มีปัญหาสายตาหรือใช้แว่นประจำอยู่เกิดปัญหาได้)
ลักษณะการนั่งทำงานกับจอคอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง
แต่อย่างไรก็เป็นที่ยืนยันได้ว่า จอคอมพิวเตอร์ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายในแง่การแผ่รังสี หรือก่อให้เกิดโรค อาการผิดปรกติที่เกิดเป็นเพียงผลกระทบจากการทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะเท่านั้น
อาการตาที่ถูกใช้อย่างหักโหม ได้แก่
** การมองเห็นภาพซ้อน
เกิดจากกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมการรวมภาพของสองตาให้รวมเป็นภาพเดียวไม่เป้นดังปกติ ทำให้เมื่อพยายามมองจะเกิดภาพซ้อน (บางครั้งไม่เกิดภาพซ้อนโดยตรง แต่จะรู้สึกปวดหัว รู้สึกตาล้า )
** ปัญหาการโฟกัส (การปรับภาพ)
เมื่อกล้ามเนื้อตาถูกใช้งานอย่างหนัก เกิดการทำงานของตาอย่างซ้ำๆ เพื่อเลื่อนโฟกัสมองจากระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่ง (เช่น มองตัวหนังสือที่พิมพ์ สลับกับการมองที่จอคอมพิวเตอร์ซ้ำๆ ) ทำให้เกิดอาการตาล้าหรือตึงเครียด เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อส่วนนี้เสื่อมได้
** อาการปวดศรีษะ
เมื่อต้องใช้สายตาอย่าหนักโดยการบีบเค้นหรือจ้องมองนานๆอาจเกิดอาการปวดศรีษะ ซึ่งอาจมีสาเหตุ จากกล้ามเนื้อบริเวณคอ และศรีษะเกิดความเครียดจากการเอียง เล็งหามุมมองให้ชัด ถนัด มักพบการปวดศรีษะบริเวณขมับ แม้อาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงจากการเมื่อยล้าของนัยน์ตา แต่ก็เป็นผลข้างเคียงจากการพยายามจ้องมองในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้ปวดศรีษะ และมีอาการเมื่อยล้าของนัยน์ตาได้ง่าย
การป้องกันและบรรเทาอาการ
เราสามารถที่จะป้องกันอาการปวดตาด้วยตัวเราเองโดย
หยุดพักสายตา ควรมีการหยุดพักสายตาขณะทำงานเป็นระยะดังนี้
- ทุก 15-30 นาที ให้หลับตาหรือมองออกไปไกลๆประมาณ 2-3 นาที
- ทุก 1 ชั่วโมงควรหยุดทำงาน ลุกขึ้นยืน หรือเดินเปลี่ยนอิริยาบถสัก 3-5 นาที
- ทุก 3-4 ชั่วโมงควรหยุดพักทำงาน 15-20 นาที เดินไปมามองไปรอบๆไม่ใช้ตาจับจ้องอยู่ที่ใดที่หนึ่ง (อาจนอนราบหรือหลับตาแทนก็ได้ )
เนื่องจากขณะทำงานตาจะกระพริบน้อยลง จึงควรเพิ่มความตั้งใจกระพริบตาหรือหลับตาเป็นระยะ เพื่อเพิ่มน้ำตาที่เคลือบผิวตา
การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ( ควรทำเมื่อมีเวลาว่าง )
การนวด วางข้อศอกลงบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น โน้มตัวทิ้งน้ำหนักไปด้านหน้า วางศรีษะลงที่ฝ่ามือ ให้เบ้าตาวางอยู่บริเวณด้านล่างฝ่ามือ นิ้วมือวางอยู่บนหน้าผาก (ระวังอย่าให้มีแรงกดลงไปที่ตัวลูกตา ) หลับตา สูดหายใจเข้าลึกๆช้าๆทางจมูก กลั้นใจไว้ประมาณ 4 วินาที ผ่อนหายใจออก ช้าๆสูดหายใจใหม่ ทำสลับกันแบบนี้ต่อเนื่องประมาณ 15-30 นาที
การประคบ (ใช้การประคบอุ่นสลับกับการประคบเย็น) โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น (ระวังร้อนจัด) และผ้าชุบน้ำเย็น (แช่น้ำแข็ง) หลับตาและวางผ้าอุ่นประคบเบ้าตา 30 วินาที – สลับด้วยผ้าเย็น 30 วินาที ทำสลับต่อเนื่องประมาณ 2 นาที แล้วจึงใช้ผ้าแห้งเช็ดนวดเบาๆที่เบ้าตา
ขอบคุณข้อมูล จาก
http://blog.goldenlifehome.com/
มองจอบ่อยๆ ไม่ดีนะ!!! มาดูวิธีแก้ไขกัน
ที่จะอธิบายต่อไปนี้เป็น "ภาวะตาล้า" ค่ะ
ภัยเงียบที่กำลังคุกคามใครหลายๆคน
เราทำงานที่ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลากว่าสิบปี มองจอทุกวัน เช้าถึงเย็น
ตั้งแต่ยังไม่ถึงยุคสมาร์ทโฟน ตกเย็นเล่นเกมคอมพิวเตอร์
จนถึงยุคสมาร์ทโฟน เราเริ่มเล่นเกมบนมือถือ แต่ก็ไม่บ่อยมาก (อยู่หน้าจอคอมฯบ่อยกว่า)
แต่ก็บ่อยกว่าคือต้องคอยเช็คเมลล์ ตอบ Line บนมือถืออยู่เรื่อยๆ
ปัจจุบัน โทรทัศน์บ้านเรา เข้าสู่ยุคดิจิตอล หน้าจอ LED สว่างไม่น้อยกว่าจอคอมฯ แบนๆ สมัยนี้เลย
ดูทีวีทุกวัน กันอยู่แล้วจริงไหมคะ
สุดท้ายเรามีอาการทางสายตาที่เปลี่ยนไป ง่ายๆ เลยคือ
1. มองจอไปสักพัก ตาจะเริ่มพร่ามัว และตัวหนังสือบนจอเริ่มซ้อนกัน (แรกๆจะยังไม่ซ้อนนะคะ)
2. ปวดกระบอกตา ลามไปขมับ ลามไปท้ายทอย และลามไปทั้งหัว!!!! โอ้ววววมายก้อตตต
3. แม้แต่เจอแสงแดด หรือแสงจากจอแรงๆ ก็จะปวดตา ปวดหัว
เดี๋ยวบางทีก็ปวดแต่ข้างซ้าย บางทีก็ปวดแต่ข้างขวา บางทีปวดทั้งหัวเลย เดาไปเรื่อยคิดว่าเป็นไมเกรนหรือเปล่า
แต่ดูๆ แล้วก็ไม่น่าจะใช่ เดาเอาว่ามันต้องเป็นที่ตานี่แหล่ะ
เลยไปแก้ปัญหาด้วยการไปตัดแว่น แก้ได้แน่นอน ใส่แว่นเวลาอยู่หน้าจอ
อธิบายปัญหาที่เป็นให้ทราบแล้วก็เข้าไปวัดสายตา ร้านแว่นบอกว่าสายตาเราเอียงข้างนึง 75 ข้างนึง 25 เลยเห็นภาพซ้อน
(วัดค่าได้เป็นสายตาเอียงค่ะ)
หมอบอก....เอาแบบเลนส์ตัดแสงสีฟ้าด้วยนะ เพราะมองจอบ่อยนะ หมดเงินไป 9,000 (รวมกรอบแว่น)
ได้มาแล้ว ปรากฏว่า ใส่แล้วเวียนหัว ใส่แล้วภาพก็ไม่เห็นชัด มัวๆ เหมือนเดิม โอ้วววววมายก้อตตต
ทนไปอีก 1 ปี ไปร้านแว่นอีกครั้ง คราวนี้ไปร้านใหม่ และคราวนี้เวิร์คค่ะ หมอคนนี้เก่งมากค่ะ
หมอตรวจและสรุปได้ว่า
1. สายตายาว 100 จริงๆ วัยของเราน่าจะยังไม่ยาว หรือถ้าจะยาวก็น่าจะแค่ นิดหน่อยสัก 25 แต่เพราะมองจอบ่อยนั่นเอง
2. เกิดภาวะตาล้า ทำให้เห็นภาพซ้อน และปวดหัว ไม่ใช่สายตาเอียง ย้ำไม่ใช่สายตาเอียง ร้านแว่นอาจเข้าใจผิดวินิจฉัยให้เรา
กลายเป็นสายตาเอียงได้ ระวังนะคะ ตัดแว่นไปเสียเงินเปล่าๆเลยค่ะ
เนื่องจากมีอาการตาล้ามาก เป็นเยอะ ตอนนี้แก้ไขด้วยการตัดแว่นโปรเกสซีฟ (หากพิมพ์ผิดขออภัยค่ะ) ....
1. เลนส์สายตายาว 100 (ตรงช่วงล่างของแว่น)
2. เลนส์ตัดแสงสีฟ้า
3. เลนส์ตัดแสง UV (จะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อออกแดดภายนอก)
หมดไปเกือบ 3 หมื่นค่ะ (แพงจัง) ผลจากการมองจอเป็นเวลากว่าสิบปี แต่ตอนนี้อาการดังกล่าวหายไปแล้ว
เชื่อว่าเด็กๆสมัยนี้ ติดจอกันน่าดู อนาคตสายตาจะเป็นยังไงกันบ้าง ถ้าตอนนี้ยังไม่เป็นอะไร แต่อนาคตเป็นแน่ๆ
ตาเรามีแค่คู่เดียว ถนอมรักษาไว้ให้นานๆ นะคะ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
"ภาวะตาล้า" เป็นอย่างไร ดูรายละเอียดกันค่ะ หามาให้อ่านกันจะได้เข้าใจมากขึ้นนะคะ
โดยธรรมชาติ การมองส่วนใหญ่ของคนเราจะเป็นการมองในระยะไกลตัว ( ซึ่งกล้ามเนื้อตาจะอยู่ในภาวะคลาย ) แต่เมื่อต้องทำงานที่ต้องมองในระยะใกล้ๆมากขึ้นและนานๆขึ้น กล้ามเนื้อตาจะต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนือย และเกร็งตัวต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือบ่อยขึ้น การกระพริบตาก็ลดน้อยลง (ปกติคนเราจะกระพริบตาประมาณ 22 ครั้งต่อนาที ขณะอ่านหนังสือจะกระพริบตาลดเหลือ 10 ครั้งต่อนาที และจะเหลือเพียง 7 ครั้งต่อนาทีในการใช้คอมพิวเตอร์ ) ทำให้เกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อตา และส่งผลให้เกิดอาการตาแห้งตามมา
และมักพบว่าในกลุ่มคนที่ใช้คอมพิวเตอร์จะมีอาการตาล้าและอาการรุนแรงมากกว่าคนที่ใช้ตาจากการเขียนหรืออ่านหนังสือ ทั้งนี้ มีผลมาจากหลายปัจจัย เช่น
ตัวอักษรในคอมพิวเตอร์ไม่คมชัดเท่าตัวพิมพ์
ความไม่นิ่งของสัญญาณจอ (refresh)
แสงสะท้อนจากหน้าจอ
ระยะตำแหน่งความห่างของจอ ซึ่งจะแตกต่างไม่เท่ากับระยะการอ่านหนังสือ (ทำให้ผู้ที่มีปัญหาสายตาหรือใช้แว่นประจำอยู่เกิดปัญหาได้)
ลักษณะการนั่งทำงานกับจอคอมพิวเตอร์ไม่ถูกต้อง
แต่อย่างไรก็เป็นที่ยืนยันได้ว่า จอคอมพิวเตอร์ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายในแง่การแผ่รังสี หรือก่อให้เกิดโรค อาการผิดปรกติที่เกิดเป็นเพียงผลกระทบจากการทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะเท่านั้น
อาการตาที่ถูกใช้อย่างหักโหม ได้แก่
** การมองเห็นภาพซ้อน
เกิดจากกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมการรวมภาพของสองตาให้รวมเป็นภาพเดียวไม่เป้นดังปกติ ทำให้เมื่อพยายามมองจะเกิดภาพซ้อน (บางครั้งไม่เกิดภาพซ้อนโดยตรง แต่จะรู้สึกปวดหัว รู้สึกตาล้า )
** ปัญหาการโฟกัส (การปรับภาพ)
เมื่อกล้ามเนื้อตาถูกใช้งานอย่างหนัก เกิดการทำงานของตาอย่างซ้ำๆ เพื่อเลื่อนโฟกัสมองจากระดับหนึ่งไปอีกระดับหนึ่ง (เช่น มองตัวหนังสือที่พิมพ์ สลับกับการมองที่จอคอมพิวเตอร์ซ้ำๆ ) ทำให้เกิดอาการตาล้าหรือตึงเครียด เป็นสาเหตุให้กล้ามเนื้อส่วนนี้เสื่อมได้
** อาการปวดศรีษะ
เมื่อต้องใช้สายตาอย่าหนักโดยการบีบเค้นหรือจ้องมองนานๆอาจเกิดอาการปวดศรีษะ ซึ่งอาจมีสาเหตุ จากกล้ามเนื้อบริเวณคอ และศรีษะเกิดความเครียดจากการเอียง เล็งหามุมมองให้ชัด ถนัด มักพบการปวดศรีษะบริเวณขมับ แม้อาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงจากการเมื่อยล้าของนัยน์ตา แต่ก็เป็นผลข้างเคียงจากการพยายามจ้องมองในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลให้ปวดศรีษะ และมีอาการเมื่อยล้าของนัยน์ตาได้ง่าย
การป้องกันและบรรเทาอาการ
เราสามารถที่จะป้องกันอาการปวดตาด้วยตัวเราเองโดย
หยุดพักสายตา ควรมีการหยุดพักสายตาขณะทำงานเป็นระยะดังนี้
- ทุก 15-30 นาที ให้หลับตาหรือมองออกไปไกลๆประมาณ 2-3 นาที
- ทุก 1 ชั่วโมงควรหยุดทำงาน ลุกขึ้นยืน หรือเดินเปลี่ยนอิริยาบถสัก 3-5 นาที
- ทุก 3-4 ชั่วโมงควรหยุดพักทำงาน 15-20 นาที เดินไปมามองไปรอบๆไม่ใช้ตาจับจ้องอยู่ที่ใดที่หนึ่ง (อาจนอนราบหรือหลับตาแทนก็ได้ )
เนื่องจากขณะทำงานตาจะกระพริบน้อยลง จึงควรเพิ่มความตั้งใจกระพริบตาหรือหลับตาเป็นระยะ เพื่อเพิ่มน้ำตาที่เคลือบผิวตา
การนวดผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา ( ควรทำเมื่อมีเวลาว่าง )
การนวด วางข้อศอกลงบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น โน้มตัวทิ้งน้ำหนักไปด้านหน้า วางศรีษะลงที่ฝ่ามือ ให้เบ้าตาวางอยู่บริเวณด้านล่างฝ่ามือ นิ้วมือวางอยู่บนหน้าผาก (ระวังอย่าให้มีแรงกดลงไปที่ตัวลูกตา ) หลับตา สูดหายใจเข้าลึกๆช้าๆทางจมูก กลั้นใจไว้ประมาณ 4 วินาที ผ่อนหายใจออก ช้าๆสูดหายใจใหม่ ทำสลับกันแบบนี้ต่อเนื่องประมาณ 15-30 นาที
การประคบ (ใช้การประคบอุ่นสลับกับการประคบเย็น) โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น (ระวังร้อนจัด) และผ้าชุบน้ำเย็น (แช่น้ำแข็ง) หลับตาและวางผ้าอุ่นประคบเบ้าตา 30 วินาที – สลับด้วยผ้าเย็น 30 วินาที ทำสลับต่อเนื่องประมาณ 2 นาที แล้วจึงใช้ผ้าแห้งเช็ดนวดเบาๆที่เบ้าตา
ขอบคุณข้อมูล จาก http://blog.goldenlifehome.com/