[CR] PART2 รีวิวเราเตอร์หลังซื้อมาใช้และค่อนข้างประทับใจครับ แก้ปัญหาสัญญาณ Wi-Fi อ่อนในตึกแถวหลายชั้นได้ดีทีเดียว

คราวที่แล้วผมก็ได้แนะนำให้รู้จักฟังก์ชั่นต่างๆของ ASUS RT-AC3200 เราเตอร์ 6 เสากันไปแล้ว รวมถึงตัวรับสัญญาณ Wi-Fi ASUS PCEAC68 ไปแบบคร่าวๆ ต่อไปในบทนี้ผมจะมาทดสอบจริงให้เพื่อนๆได้ดูว่าประสิทธิภาพของมันนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง ก่อนอื่นผมให้ดูสถานที่ประจำการของเราเตอร์ตัวนี้ซะก่อน

กระทู้ PART1 http://ppantip.com/topic/34006065



ตัวเราเตอร์ทั้งหมดที่จะทดสอบนั้นถูกวางอยู่ข้างในตึกด้านขวาสุดซึ่งก็คือบ้านที่คุณหญิงแม่อยู่ โดยเราเตอร์จะถูกวางไว้ในตำแหน่งตรงกลางตึกบริเวณชั้นสองเยื้องมาทางฝั่งหน้าบ้าน โจทย์ก็คือมันจะต้องครอบคลุมทุกซอกทุกมุมทั้ง 3 ตึก และ 3 ชั้นครึ่ง (รวมชั้นลอยด้วย) ซึ่งแน่นอนว่าผมจะต้องทดสอบในห้องที่ไกลที่สุดแถมยังเป็นห้องที่เราต้องการใช้เวลากับเน็ตอย่างมาก! นั่นก็คือ“ห้องส้วม” นั่นเอง ซึ่งจะเป็นจุดที่ไกลจากเราเตอร์มากที่สุดของบ้าน แถมประตูยังเป็นฉนวนกันคลื่นด้วยการแปะเหล็กเข้าไปที่ด้านหลังประตูซึ่งเอาไว้กันน้ำเดี๋ยวประตูไม้มันจะบวม ตั้งแต่ลองใช้มายังไม่เคยมีเราเตอร์ตัวไหนฝ่าไปได้ชนิดที่ว่าเปิด YouTube นั่งดูชิวๆซักตัวส่วนใหญ่ทำได้แค่เห็นชื่อ Wi-Fi แต่พอลองเชื่อมต่อก็หายจ๋อม...



อุปกรณ์และเครื่องมือที่จะใช้ทดสอบก็มี
1.เน็ต True ADSL 10/1 Mbps (ซึ่งคาดว่าอนาคตจะเปลี่ยนไปใช้ fiber ค่ายอื่น =w=”)

2.เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเน็ตผ่าน Wi-Fi ด้วยตัวรับสัญญาณ ASUS PCEAC68

3.ทีวี LG 60” 60LB650T เชื่อมต่อกับคลื่น 5GHz เล่นเน็ต ดู YouTube ผ่านระบบ Smart TV

4.มือถือ ASUS Zenfone 5 เอาไว้ลองคลื่น 2.4GHz เป็นตัวแทนของสมาร์ทโฟนราคาถูกซึ่งรับสัญญาณ Wi-Fi ไม่ค่อยดีนัก

5.แท็บเล็ต Samsung Galaxy Tab S 8.4 เอาไว้ลองคลื่น 2.4 และ 5GHz เป็นตัวแทนของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรุ่นกลาง-บน

6.เราเตอร์ D-LINK DIR-820l AC1000C Wireless Dual Band เอามาแทน TP-LINK ตัวเก่าสามเสาตอนนั้นซื้อมาหลายพันอยู่ ที่ขายไปเพราะยังไม่ตอบโจทย์เพราะห้องไกลๆหรือห้องจุดอับมันเชื่อมต่อไม่ค่อยติดถึงแม้จะเห็นชื่อ Wi-Fi ก็เถอะ แล้วพอขายไปก็ยังไม่กล้าเสี่ยงกับเราเตอร์ที่แพงกว่าเดิมเพราะเห็นเสามันก็จำนวนพอๆกันแล้วช่วงนั้นร้านจิ๊บเค้าลดราคา D-LINKDIR-820l บนเว็บพอดี เหลือแค่ไม่กี่ร้อยจากพันปลายๆก็เลยจัดมาก่อนแล้วก็ใช้มาจนถึงปัจุบัน ตัวนี้เอามาทดสอบคลื่น 2.4GHz และ 5GHz
**Wi-Fi ชื่อ VIRUS-LINK คือ 2.4GHz และ VIRUS-LINK-5GHz คือ 5GHz

7. Linksys WRT54GL เราเตอร์ยอดนิยมในตำนาน พอลงเฟิร์มแวร์WRT ปุ๊ปนี่โคตะระเสถียรเลย ใช้มานมนานมาก แต่พักหลังโหลดบิตแล้วชอบค้าง RAM เต็ม เลยให้มันทำหน้าที่เดียวพอคือเชื่อมต่อเน็ตแล้วแจก IP เอามาแบ่งเบาภาระเราเตอร์ตัวอื่นต่อไป (รู้สึกว่าถ้าให้เราเตอร์ตัวเดียวมันทำอะไรไปซะทุกอย่างทั้งต่อเน็ต เป็นเราเตอร์ แจก Wi-Fi เครื่องมันร้อนมาก แต่พอกระจายหน้าที่ รู้สึกว่ามันร้อนน้อยลง มโนไปเองป่าวว้า 555+)

8.ตัวโมเด็ม TP-LINK กะว่าถ้าฟ้าลงจะได้เข้าตัวนี้ก่อน เคลมได้ตลอดชาติจัดไป 555+ ตั้งเป็น bridge mode แล้วให้ Linksys WRT54GL จัดการเชื่อมต่อแทนเพราะเสถียรกว่ามาก

9.ปิดท้ายด้วยพระเอกของเรา ASUS RT-AC3200 หกเสาหล่อๆ
ชื่อสินค้า:   ASUS RT-AC3200 , ASUS PCEAC68
คะแนน:     
**CR - Consumer Review : ผู้เขียนรีวิวนี้เป็นผู้ซื้อสินค้าหรือเสียค่าบริการเอง ไม่มีผู้สนับสนุนให้สินค้าหรือบริการฟรี และผู้เขียนรีวิวไม่ได้รับสิ่งตอบแทนในการเขียนรีวิว
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่