นายจรัมพร โชติกเสถียร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย เปิดเผยว่า แผนบริหารจัดการสินทรัพย์ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยในเบื้องต้นอาจจำเป็นต้องขายทิ้ง สำนักงาน บ้านพักพนักงาน และสำนักงานขายที่ไม่ได้ใช้งานประมาณ 30 แห่ง ทั้งตั้งอยู่ในต่างประเทศ 19 แห่ง และในไทยอีก 11 แห่ง อย่างไรก็ตาม การดำเนินการดังกล่าวไม่ได้ขายทรัพย์สินเพื่อให้บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ต้องการลดต้นทุนค่าบริหารจัดการทรัพย์สินมากกว่า เบื้องต้นจะขายก่อน 3-4 แห่ง เช่น สำนักงานที่ซิดนีย์ ออสเตรเลียและบ้านพนักงานในกรุงลอนดอน แต่จะขายหรือไม่ รอผลการพิจารณาของบอร์ดในเดือน ก.ย.58 นี้
สำหรับผลการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูระยะเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาขาดทุนของบริษัทว่า การบินไทยได้ดำเนินการมาแล้ว 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.2558 ที่ผ่านลดค่าใช้จ่ายได้เพียง 6% ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ที่ 20% ภายใน 18 เดือน
ส่วนการหารายได้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยในไตรมาสแรกของปี 2558 มีรายได้ 51,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 49,981 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,668 ล้านบาท ดังนั้นมั่นใจว่าภายใน 18 เดือน แผนการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จะเป็นไปตามเป้า และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2559 การบินไทยจะต้องเริ่มต้นมีกำไรอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน
“ผ่านมา 6 เดือน ลดค่าใช้จ่ายได้แค่ 6% เท่านั้น ผมยังไม่พอใจ อยากให้ลงได้เร็วกว่านี้ ส่วนแผนเพิ่มรายได้ก็พอใจเพียง 50% เท่านั้น เรายังต้องทำงานให้เข้มข้นมากขึ้น แม้ว่ารายได้ไตรมาสแรกของปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อัตราการบรรทุกผู้โดยสารเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาเพิ่มสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนมากถึง 8% เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวจากเอเชียเพิ่มขึ้นมาก” นายจรัมพรกล่าว
นายจรัมพรกล่าวว่า ส่วนแผนการเพิ่มรายได้ช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ การบินไทยจะนำระบบการบริหารจัดการกำหนดราคาตั๋วโดยสาร และระบบบริหารจัดการตารางบินแบบใหม่มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน ซึ่งจะทำให้การกำหนดราคาตั๋วโดยสารจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของตลาด เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำได้
“หากนำทั้ง 2 ระบบมาใช้จะทำให้การบินไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5-6% หรือประมาณปีละ 8,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันจะต้องเร่งขยายตลาดลูกค้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจ พร้อมทั้งปรับระบบการจองตั๋วผ่านคอลเซ็นเตอร์ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น และส่งเสริมการขายตั๋วผ่านเอเยนต์มากขึ้น โดยเสนอให้สิทธิพิเศษด้านราคาเพื่อเป็นแรงจูงใจ รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนการขายระบบออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันมีที่นั่งว่างมากถึง 30% จึงต้องเพิ่มการขายทุกช่องทาง” นายจรัมพรกล่าว.
JJNY : ขายทิ้ง"ออฟฟิศ"ทั่วโลก! หลังบินไทยพลาดเป้า ยังลดต้นทุนได้น้อย
สำหรับผลการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูระยะเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาขาดทุนของบริษัทว่า การบินไทยได้ดำเนินการมาแล้ว 6 เดือนนับตั้งแต่เดือน ม.ค.2558 ที่ผ่านลดค่าใช้จ่ายได้เพียง 6% ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ที่ 20% ภายใน 18 เดือน
ส่วนการหารายได้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยในไตรมาสแรกของปี 2558 มีรายได้ 51,649 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีรายได้ 49,981 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1,668 ล้านบาท ดังนั้นมั่นใจว่าภายใน 18 เดือน แผนการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้จะเป็นไปตามเป้า และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2559 การบินไทยจะต้องเริ่มต้นมีกำไรอย่างต่อเนื่องทุกๆ เดือน
“ผ่านมา 6 เดือน ลดค่าใช้จ่ายได้แค่ 6% เท่านั้น ผมยังไม่พอใจ อยากให้ลงได้เร็วกว่านี้ ส่วนแผนเพิ่มรายได้ก็พอใจเพียง 50% เท่านั้น เรายังต้องทำงานให้เข้มข้นมากขึ้น แม้ว่ารายได้ไตรมาสแรกของปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม อัตราการบรรทุกผู้โดยสารเดือน ก.ค.ที่ผ่านมาเพิ่มสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนมากถึง 8% เพราะจำนวนนักท่องเที่ยวจากเอเชียเพิ่มขึ้นมาก” นายจรัมพรกล่าว
นายจรัมพรกล่าวว่า ส่วนแผนการเพิ่มรายได้ช่วงเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้ การบินไทยจะนำระบบการบริหารจัดการกำหนดราคาตั๋วโดยสาร และระบบบริหารจัดการตารางบินแบบใหม่มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุน ซึ่งจะทำให้การกำหนดราคาตั๋วโดยสารจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของตลาด เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสายการบินต้นทุนต่ำได้
“หากนำทั้ง 2 ระบบมาใช้จะทำให้การบินไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5-6% หรือประมาณปีละ 8,000 ล้านบาท ในขณะเดียวกันจะต้องเร่งขยายตลาดลูกค้าให้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าองค์กรธุรกิจ พร้อมทั้งปรับระบบการจองตั๋วผ่านคอลเซ็นเตอร์ให้สะดวกรวดเร็วขึ้น และส่งเสริมการขายตั๋วผ่านเอเยนต์มากขึ้น โดยเสนอให้สิทธิพิเศษด้านราคาเพื่อเป็นแรงจูงใจ รวมทั้งการเพิ่มสัดส่วนการขายระบบออนไลน์ เนื่องจากปัจจุบันมีที่นั่งว่างมากถึง 30% จึงต้องเพิ่มการขายทุกช่องทาง” นายจรัมพรกล่าว.