ปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า สมาร์ทโฟน เป็นสิ่งหนึ่ง ที่จำเป็นสำหรับการติดต่อสื่อสาร และสร้างความบันเทิงให้กับผู้ใช้
ผมขอย้อนเวลากลับไป เมื่อครั้งยังละอ่อน เพื่อระลึกถึง เพจเจอร์และโทรศัพท์มือถือ ที่ซื้อมา ตั้งแต่ปี 2540 มาจนถึงเครื่องปัจจุบัน
เครดิตภาพประกอบจาก www.siamphone.com
1.เริ่มกันที่ ปี 2540 ยังไม่มีโทรศัพท์ แต่ใช้เพจเจอร์เครื่องแรก โมโตโรล่า รุ่นสคริปเตอร์ ทู
โมโตโรล่า รุ่นสคริปเตอร์ ทู
เพจเจอร์เครื่องแรกและเครื่องเดียว ราคาเครื่องตอนนั้นประมาณ 5,000 บาท แต่ที่หนักกว่าค่าเครื่องคือค่าบริการรายเดือน เดือนละ 500 บาท
เหตุผลจากใจที่ซื้อ ไม่มีอะไรมากเพราะอยากโชว์หญิง ข้อความที่ส่งที่รับเนื้อหาสาระไม่ค่อยมี มีแต่ส่งข้อความ หรือ กลอนหยอดกันไปมา
ถ้าเป็นตอนนี้คงจะอายโอเปอเรเตอร์น่าดู ยุคนั้นจะจีบสาวๆ ละก้อถ้าไม่มีมือถือ ยังไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่มีเพจถือว่าลำบาก นัดเดทก็ยาก
สำหรับเพจเจอร์เครื่องนี้ใช้จนเรียนจบ ปี 2543 ใช้ติดต่อสมัครงาน จนได้งานทำ(เพิ่งจะใช้งานมีสาระหลังจากเรียนจบ)
2.โทรศัพท์เครื่องแรก : Ericsson A2618s
ซื้อช่วงปี 2544 ซื้อมาในราคา 5,900 บาท เครื่องนี้ทางบ้านเป็นสปอนเซอร์ซื้อให้ เพราะงานที่ทำต้องออกเซอร์วิสลูกค้า
กลับบ้านไม่เป็นเวลา เพจเจอร์จึงไม่เหมาะ และยุคนั้นราคา อีกอย่างช่วงนั้นโทรศัพท์มือถือราคาลดลงมาก โทรศัพท์ราคาโปรโมชั่นมีหลายรุ่น
ที่นิยมกันจะเป็น Nokia 5130 เปลี่ยนหน้ากากด้านหน้าได้ เพื่อที่จะไม่ซ้าแบบคนอื่นในตอนนั้น จึงเลือก Ericsson A2618s
ที่สามารถเปลี่ยนหน้ากากหน้า-หลัง ได้
3.โทรศัพท์เครื่องที่ 2 : Ericsson T10s
เป็นเพราะเครื่องเก่า Ericsson A2618s มีขนาดใหญ่ พกพาลำบาก เลยซื้อตัวนี้มาช่วงปลายปี 2544 ในราคา 5,900 บาท
ถือว่าเป็นรุ่นที่เล็กในขณะนั้น พกสะดวก แต่สำหรับผมมีข้อเสีย คือ ไม่มีเกมส์ (เป็นเด็กติดเกมส์ครับ) และน้ำหนักเยอะไปนิด
แต่ยังไงก็ขอพกพาสะดวก สามาถใส่กระเป๋ากางเกงได้เป็นตัวตัดสินใจเลือกก่อนครับ
4.โทรศัพท์เครื่องที่ 3 : Motorola T190
หลังจากใช้งาน Ericsson A2618s และ Ericsson T10s เปลี่ยนซิมสลับเครื่องใช้ไปมาเพราะอวดชาวบ้านว่ามีหลายเครื่อง
เพราะความไม่ลงตัวกับผม (อ้างไป) จึงต้องหาเครื่องเล็กๆ และมีเกมส์ด้วย จนปี 2545 Motorola T190 ออกวางจำหน่าย
ในราคา 5,900 บาท ราคาไม่สูง เครื่องเล็ก น้ำหนักเบา และมีเกมส์ และยุคนั้นโทรศัพท์เครื่องนี้สามารถแต่ง Ringtone สำหรับ
เสียงเรียกเข้าได้แล้ว มีหนังสือแต่งเพลงของแต่ละยี่ห้อวางจำหน่ายกันมากมาย ต้องระวังไม่ให้แต่งเพลงซ้ำกับคนอื่น
ไม่งั้น สับสนว่าโทรศัพท์ของใครดัง
5.โทรศัพท์เครื่องที่ 4 : Siemens M55
มาถึงยุคที่โทรศัพท์จอขาวดำตกรุ่น จอสีเข้ามาแทนที่ Siemens M55 จึงถูกเลือกเป็นโทรศัพท์ประจำตำแหน่งในช่วงปี 2546
ราคาจำไม่ได้ น่าจะประมาณ 9,000 บาท ด้วยดีไซน์ที่ดุดัน ไฟระยิบระยับที่ตัวเครื่องเมื่อมีสายเข้า ขนาดเล็ก พกพาสะดวก
สามารถท่องอินเตอร์เน็ทผ่านทาง WAP สำหรับ Siemens M55 เป็นโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้ แต่ต้องซื้อกล้องมาต่อพวงเพิ่มเติม
เครื่องนี้ถูกใจมาก แต่ด้วยความเลินเล่อ พลาดทำโทรศัพท์ตกจากชั้นสอง จอแตกครับ ใช้งานได้แค่ปีเดียว จึงซ่อมด้วยการเปลี่ยนจอใหม่
ค่าซ่อมฟาดเคราะห์ไป 1,500 บาท แต่ก็ใช้ไม่ดีเหมือนเดิม เครื่องก็แฮงค์บ่อย แต่ก็ฝืนใช้ต่อไป
6.โทรศัพท์เครื่องที่ 6 : Motorola E380
มาจนถึงยุคที่นิยมโทรศัพท์แบบฝาพับ ช่วงปี 2546-2547 ทำให้กิเลสเริ่มถูกครอบงำอีกครั้ง Siemens M55 ที่ใช้อยู่ก็แฮงค์บ่อย
ซะยิ่งกะไร แต่ด้วยงบประมาณที่มีอยู่จำกัด จึงเลือก Motorola E380 ราคาตอนนั้น 5,900 บาท มาใช้แก้ขัด ถึงแม้รูปทรงไม่ถูกใจ
แต่ ณ ตอนนั้นต้องหาโทรศัพท์ราคาไม่แพงมาใช้ก่อน โทรศัพท์ฝาพับจะมีจุดอ่อนที่ฝาพับ เปิดปิดบ่อยๆเข้าวงจรไฟฟ้าที่จุดพับฝา
จึงขาด ทำให้ไม่ได้ยินเสียงคู่สนทนา
7.โทรศัพท์เครื่องที่ 6 : Nokia 3230
ซื้อมาในช่วงปี 2548 ราคา 12,000 บาท เป็นโทรศัพท์เครื่องแรกที่ราคาเกินหมื่น เพื่อไม่ให้ล้าหลังเพื่อนฝูง ไม่งั้นจะโดนหาว่าใช้
โทรศัพท์หลงยุคได้ โทรศัพท์รุ่นนี้ทำให้ผมรู้จัก ระบบปฏิบัติการ: Symbian มีหน่วยความจำภายนอกเป็น Mini SD Card สามารถ
ฟังเพลงระบบ Mono, ถ่ายรูปได้ ,เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านบลูทูธ ทำให้คอมพิวเตอร์ที่บ้านสามารถเล่นเน็ตได้ สำหรับเกมส์และ
โปรแกรมสามารถโหลดเล่นได้ ราคานั้นขึ้นอยู่กับเกมส์และโปรแกรมที่ต้องการ หรือซื้อแผ่นโปรแกรมที่วางขายตามแผง CD ในท้องตลาด
ในขณะนั้นจะประหยัดกว่ามาก
8.โทรศัพท์เครื่องที่ 7 : Nokia N72
เครื่องนี้ไม่มีเหตุผลที่ซื้ออย่างอื่นเลยนอกจากอยากได้เครื่องใหม่ ซื้อมาช่วงต้นปี 2550 ราคาประมาณ 9,000 บาท ราคาลงต่ำกว่า
ตอนเปิดตัวลูกเล่นมากมาย ดีไซน์สวย (ในเมื่อกิเลสครอบงำ จะปฏิเสธได้อย่างไร)
9.โทรศัพท์เครื่องที่ 8 : Nokia 5800 Xpress Music
มาถึงยุคจอสัมผัส ในปี 2552 ช่วงเวลานั้นถือว่า Nokia 5800 Xpress Music มีคู่แข่งอย่าง ไอโฟนเข้ามาประชัน และยังมี Black Berry
เข้ามาแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดกัน แต่สำหรับผม ยังไม่คุ้นเคยกับ Iphone และ BlackBerry ฉะนั้น Nokia 5800 Xpress Music
จึงตอบโจทย์กว่าโทรศัพท์รุ่นนี้ เป็นรุ่น Xpress Music แต่เสียงเบาไปหน่อยไม่ค่อยซะใจขาโหด ที่ชอบอีกอย่างสามารถลง
โปรแกรมแผนที่นำทางได้ เหมาะสำหรับเดินทาง ราคาที่ซื้อประมาณ 15,000 บาท
10.โทรศัพท์เครื่องที่ 9 : Iphone 4 เครื่องปัจจุบัน
มาเป็นสาวก สตีฟ จ๊อบ ในช่วงปี 2555 ราคาตอนนั้น 22,000 บาท จอใหญ่ ภาพชัด ก็ต้องจัดไป ถึงตอนนี้ยังใช้งานอยู่
เริ่มมีปัญหา เครื่องอืด ไม่สามารถอัพ ios หรือลง แอพใหม่ๆ ที่ไม่รองรับได้
ตั้งแต่ปี 2544 - 2558 ระยะเวลา 14 ปี ใช้โทรศัพท์มาแล้ว 9 เครื่อง เฉลี่ยการใช้งานแล้ว 1.5 ปี/เครื่อง
อาจเป็นเพราะอายุมากขึ้น ทำให้ใช้ของได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ฉะนั้นการหาโทรศัพท์เครื่องที่ 10 จึงใช้เวลามากขึ้น
ศึกษาถึงข้อดีข้อเสีย และความจำเป็นมากกว่าเดิม
เพื่อนๆ สมาชิก PANTIP ใช้โทรศัพท์กันมาแล้วกี่เครื่อง รุ่นอะไรกันบ้างครับ ถือเป็นการระลึกความหลังครับ
เครดิตภาพประกอบจาก www.siamphone.com ขอบคุณครับ
ระลึกความหลัง ตั้งแต่ มีโทรศัพท์มือถือ เพื่อนๆใช้โทรศัพท์รุ่นอะไรกันบ้าง???
ผมขอย้อนเวลากลับไป เมื่อครั้งยังละอ่อน เพื่อระลึกถึง เพจเจอร์และโทรศัพท์มือถือ ที่ซื้อมา ตั้งแต่ปี 2540 มาจนถึงเครื่องปัจจุบัน
เครดิตภาพประกอบจาก www.siamphone.com
1.เริ่มกันที่ ปี 2540 ยังไม่มีโทรศัพท์ แต่ใช้เพจเจอร์เครื่องแรก โมโตโรล่า รุ่นสคริปเตอร์ ทู
โมโตโรล่า รุ่นสคริปเตอร์ ทู
เพจเจอร์เครื่องแรกและเครื่องเดียว ราคาเครื่องตอนนั้นประมาณ 5,000 บาท แต่ที่หนักกว่าค่าเครื่องคือค่าบริการรายเดือน เดือนละ 500 บาท
เหตุผลจากใจที่ซื้อ ไม่มีอะไรมากเพราะอยากโชว์หญิง ข้อความที่ส่งที่รับเนื้อหาสาระไม่ค่อยมี มีแต่ส่งข้อความ หรือ กลอนหยอดกันไปมา
ถ้าเป็นตอนนี้คงจะอายโอเปอเรเตอร์น่าดู ยุคนั้นจะจีบสาวๆ ละก้อถ้าไม่มีมือถือ ยังไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่มีเพจถือว่าลำบาก นัดเดทก็ยาก
สำหรับเพจเจอร์เครื่องนี้ใช้จนเรียนจบ ปี 2543 ใช้ติดต่อสมัครงาน จนได้งานทำ(เพิ่งจะใช้งานมีสาระหลังจากเรียนจบ)
2.โทรศัพท์เครื่องแรก : Ericsson A2618s
ซื้อช่วงปี 2544 ซื้อมาในราคา 5,900 บาท เครื่องนี้ทางบ้านเป็นสปอนเซอร์ซื้อให้ เพราะงานที่ทำต้องออกเซอร์วิสลูกค้า
กลับบ้านไม่เป็นเวลา เพจเจอร์จึงไม่เหมาะ และยุคนั้นราคา อีกอย่างช่วงนั้นโทรศัพท์มือถือราคาลดลงมาก โทรศัพท์ราคาโปรโมชั่นมีหลายรุ่น
ที่นิยมกันจะเป็น Nokia 5130 เปลี่ยนหน้ากากด้านหน้าได้ เพื่อที่จะไม่ซ้าแบบคนอื่นในตอนนั้น จึงเลือก Ericsson A2618s
ที่สามารถเปลี่ยนหน้ากากหน้า-หลัง ได้
3.โทรศัพท์เครื่องที่ 2 : Ericsson T10s
เป็นเพราะเครื่องเก่า Ericsson A2618s มีขนาดใหญ่ พกพาลำบาก เลยซื้อตัวนี้มาช่วงปลายปี 2544 ในราคา 5,900 บาท
ถือว่าเป็นรุ่นที่เล็กในขณะนั้น พกสะดวก แต่สำหรับผมมีข้อเสีย คือ ไม่มีเกมส์ (เป็นเด็กติดเกมส์ครับ) และน้ำหนักเยอะไปนิด
แต่ยังไงก็ขอพกพาสะดวก สามาถใส่กระเป๋ากางเกงได้เป็นตัวตัดสินใจเลือกก่อนครับ
4.โทรศัพท์เครื่องที่ 3 : Motorola T190
หลังจากใช้งาน Ericsson A2618s และ Ericsson T10s เปลี่ยนซิมสลับเครื่องใช้ไปมาเพราะอวดชาวบ้านว่ามีหลายเครื่อง
เพราะความไม่ลงตัวกับผม (อ้างไป) จึงต้องหาเครื่องเล็กๆ และมีเกมส์ด้วย จนปี 2545 Motorola T190 ออกวางจำหน่าย
ในราคา 5,900 บาท ราคาไม่สูง เครื่องเล็ก น้ำหนักเบา และมีเกมส์ และยุคนั้นโทรศัพท์เครื่องนี้สามารถแต่ง Ringtone สำหรับ
เสียงเรียกเข้าได้แล้ว มีหนังสือแต่งเพลงของแต่ละยี่ห้อวางจำหน่ายกันมากมาย ต้องระวังไม่ให้แต่งเพลงซ้ำกับคนอื่น
ไม่งั้น สับสนว่าโทรศัพท์ของใครดัง
5.โทรศัพท์เครื่องที่ 4 : Siemens M55
มาถึงยุคที่โทรศัพท์จอขาวดำตกรุ่น จอสีเข้ามาแทนที่ Siemens M55 จึงถูกเลือกเป็นโทรศัพท์ประจำตำแหน่งในช่วงปี 2546
ราคาจำไม่ได้ น่าจะประมาณ 9,000 บาท ด้วยดีไซน์ที่ดุดัน ไฟระยิบระยับที่ตัวเครื่องเมื่อมีสายเข้า ขนาดเล็ก พกพาสะดวก
สามารถท่องอินเตอร์เน็ทผ่านทาง WAP สำหรับ Siemens M55 เป็นโทรศัพท์ที่ถ่ายรูปได้ แต่ต้องซื้อกล้องมาต่อพวงเพิ่มเติม
เครื่องนี้ถูกใจมาก แต่ด้วยความเลินเล่อ พลาดทำโทรศัพท์ตกจากชั้นสอง จอแตกครับ ใช้งานได้แค่ปีเดียว จึงซ่อมด้วยการเปลี่ยนจอใหม่
ค่าซ่อมฟาดเคราะห์ไป 1,500 บาท แต่ก็ใช้ไม่ดีเหมือนเดิม เครื่องก็แฮงค์บ่อย แต่ก็ฝืนใช้ต่อไป
6.โทรศัพท์เครื่องที่ 6 : Motorola E380
มาจนถึงยุคที่นิยมโทรศัพท์แบบฝาพับ ช่วงปี 2546-2547 ทำให้กิเลสเริ่มถูกครอบงำอีกครั้ง Siemens M55 ที่ใช้อยู่ก็แฮงค์บ่อย
ซะยิ่งกะไร แต่ด้วยงบประมาณที่มีอยู่จำกัด จึงเลือก Motorola E380 ราคาตอนนั้น 5,900 บาท มาใช้แก้ขัด ถึงแม้รูปทรงไม่ถูกใจ
แต่ ณ ตอนนั้นต้องหาโทรศัพท์ราคาไม่แพงมาใช้ก่อน โทรศัพท์ฝาพับจะมีจุดอ่อนที่ฝาพับ เปิดปิดบ่อยๆเข้าวงจรไฟฟ้าที่จุดพับฝา
จึงขาด ทำให้ไม่ได้ยินเสียงคู่สนทนา
7.โทรศัพท์เครื่องที่ 6 : Nokia 3230
ซื้อมาในช่วงปี 2548 ราคา 12,000 บาท เป็นโทรศัพท์เครื่องแรกที่ราคาเกินหมื่น เพื่อไม่ให้ล้าหลังเพื่อนฝูง ไม่งั้นจะโดนหาว่าใช้
โทรศัพท์หลงยุคได้ โทรศัพท์รุ่นนี้ทำให้ผมรู้จัก ระบบปฏิบัติการ: Symbian มีหน่วยความจำภายนอกเป็น Mini SD Card สามารถ
ฟังเพลงระบบ Mono, ถ่ายรูปได้ ,เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านบลูทูธ ทำให้คอมพิวเตอร์ที่บ้านสามารถเล่นเน็ตได้ สำหรับเกมส์และ
โปรแกรมสามารถโหลดเล่นได้ ราคานั้นขึ้นอยู่กับเกมส์และโปรแกรมที่ต้องการ หรือซื้อแผ่นโปรแกรมที่วางขายตามแผง CD ในท้องตลาด
ในขณะนั้นจะประหยัดกว่ามาก
8.โทรศัพท์เครื่องที่ 7 : Nokia N72
เครื่องนี้ไม่มีเหตุผลที่ซื้ออย่างอื่นเลยนอกจากอยากได้เครื่องใหม่ ซื้อมาช่วงต้นปี 2550 ราคาประมาณ 9,000 บาท ราคาลงต่ำกว่า
ตอนเปิดตัวลูกเล่นมากมาย ดีไซน์สวย (ในเมื่อกิเลสครอบงำ จะปฏิเสธได้อย่างไร)
9.โทรศัพท์เครื่องที่ 8 : Nokia 5800 Xpress Music
มาถึงยุคจอสัมผัส ในปี 2552 ช่วงเวลานั้นถือว่า Nokia 5800 Xpress Music มีคู่แข่งอย่าง ไอโฟนเข้ามาประชัน และยังมี Black Berry
เข้ามาแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดกัน แต่สำหรับผม ยังไม่คุ้นเคยกับ Iphone และ BlackBerry ฉะนั้น Nokia 5800 Xpress Music
จึงตอบโจทย์กว่าโทรศัพท์รุ่นนี้ เป็นรุ่น Xpress Music แต่เสียงเบาไปหน่อยไม่ค่อยซะใจขาโหด ที่ชอบอีกอย่างสามารถลง
โปรแกรมแผนที่นำทางได้ เหมาะสำหรับเดินทาง ราคาที่ซื้อประมาณ 15,000 บาท
10.โทรศัพท์เครื่องที่ 9 : Iphone 4 เครื่องปัจจุบัน
มาเป็นสาวก สตีฟ จ๊อบ ในช่วงปี 2555 ราคาตอนนั้น 22,000 บาท จอใหญ่ ภาพชัด ก็ต้องจัดไป ถึงตอนนี้ยังใช้งานอยู่
เริ่มมีปัญหา เครื่องอืด ไม่สามารถอัพ ios หรือลง แอพใหม่ๆ ที่ไม่รองรับได้
ตั้งแต่ปี 2544 - 2558 ระยะเวลา 14 ปี ใช้โทรศัพท์มาแล้ว 9 เครื่อง เฉลี่ยการใช้งานแล้ว 1.5 ปี/เครื่อง
อาจเป็นเพราะอายุมากขึ้น ทำให้ใช้ของได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น ฉะนั้นการหาโทรศัพท์เครื่องที่ 10 จึงใช้เวลามากขึ้น
ศึกษาถึงข้อดีข้อเสีย และความจำเป็นมากกว่าเดิม
เพื่อนๆ สมาชิก PANTIP ใช้โทรศัพท์กันมาแล้วกี่เครื่อง รุ่นอะไรกันบ้างครับ ถือเป็นการระลึกความหลังครับ
เครดิตภาพประกอบจาก www.siamphone.com ขอบคุณครับ