ผมมีโอกาสได้ไปจังหวัดหนองคาย กับ อุดรธานี
ด้วยความที่ไปที่ไหน ก็จะแวะพิพิธภัณฑ์เป็นหลัก เพราะ พิพิธภัณฑ์ใน ตปท. ส่วนใหญ่จะมีของที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีให้ดู
มาถึงหนองคาย สิ่งที่เจอคือ ตึกเก่าชั้นเดียว (อาจเป็นจวนผู้ว่าสมัยก่อน) สภาพแย่พอสมควร ไม่มีภัณฑารักษ์ หรือ มีก็คงนั่งในออฟฟิตด้านหลัง
ของที่จัดข้างในมีประมาณไม่ถึงสิบห้อง สภาพฝุ่นจับ (คงเป็นเพราะ แล้งจัด ขาดน้ำ)
การจัดน่าสนใจโดยเฉพาะห้องแรก ที่มีการจำลอง จังหวัดหนองคาย รวมถึงสิ่งก่อสร้างเล็กๆ และพึ่งทราบว่า หนองคาย นอกจาก ไทย ลาว
แล้วยังมี เชื้อสายเวียดนามอีกด้วย ส่วนสิ่งของมีค่า หรือ ของเก่า ก็คงเป็นพวก ศิลาเกะสลัก ตามความเชื่อในพุทธศาสนา
ยังดีพิพิธภัณฑ์ที่หนองคาย พื้นที่ไม่รก จอดรถสะดวก
ส่วนพิพิธภัณฑ์จังหวัดอุดรธานี (พื้นที่พิพิธภัณฑ์กว้างกว่าที่หนองคายมาก) ขับเข้ามาเจอ คนโฑมีลาย วงรีวนไปรอบๆ ก็นึกถึง "บ้านเชียง" ทันที
ตอนแรกไม่แน่ใจว่าเปิดหรือเปล่า เพราะ ตึกเก่าสองชั้นดูโบราณดี กำลังปรับปรุงอยู่ และทางรถที่วิงเข้าก็มีหญ้าขึ้นรกพอสมควร เข้าไปใกล้ถึงตัวอาคาร
ก็พบว่า ที่ๆสามารถจอดรถได้ ก็จอดเต็มหมด (จอดได้ประมาณสิบกว่าคัน) ที่ตรงอื่นๆ ก็หญ้าขึ้นรก สรุป ก็เลยไม่ได้เข้าไปเยี่ยมชม
ทั้งๆที่คิดว่า "บ้านเชียง" น่าจะมีอะไรให้เราได้ชม
ผมคิดว่า พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด ส่วนใหญ่ มีพื้นที่ชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะ อยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวกมาก
แต่สิ่งที่นักท่องเที่ยวไม่เข้า เพราะ ไม่รู้จะเข้าไปดูอะไร ขอเสนอแนะดังนี้
๑. พิพิธภัณฑ์ กับ ททท. ประจำจังหวัด ควรมีที่ตั้งที่เดียวกัน หรือ อยู่ในรั่วเดียวกัน
คนท่องเที่ยวปัจจุบันแม้จะหาข้อมูลทางเน็ต แต่บางคนก็แวะเข้าไป ททท. ถ้าหน่วยงานทั้งสองมาอยู่ที่เดียวกัน มันก็จะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้น
ที่นักท่องเที่ยวจะได้รู้จักจังหวัดนั้นๆ ทั้งในแง่การท่องเที่ยว และในแง่ประวัติศาสตร์ บางครั้งอาจมีบางมุม ที่นักท่องเที่ยวไม่รู้ ก็จะรู้ได้จาก
การมาพิพิธภัณฑ์
๒. ภัณฑารักษ์ สำคัญมาก การมีภัณฑารักษ์จะทำให้การดูพิพิธภัณฑ์ น่าสนใจมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินแนะนำทุกจุด เพราะ พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด
ไม่ได้ใหญ่มาก เอาแค่แนะนำ หรือ บอกเล่าสิ่งสำคัญ ตำนาน ของสิ่งที่จะไปดู เช่น ในพิพิธภัณฑ์หนองคาย มีศิลาแกะสลัก อย่างน้อย ถ้ามีการบอก
เล่า (ด้วยคำพูด) ก็น่าจะเพิ่มความสนใจได้มาก (จนท. อาจไม่ใช่ ขรช.ประจำ เป็น นักศึกษาฝึกงานก็ได้) (จากประสบการณ์ ที่ไปคุ้มเจ้าบุรีรัตน์
เชียงใหม่ แม้จะเป็นคุ้มไม่ใหญ่มาก แต่มี จนท. จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาแนะนำ และยังแนะนำไปเที่ยวอีกที่ ที่นักท่องเที่ยวไปค่อยทราบ
ดีมากๆ)
๓. อันนี้สำคัญมาก มุมที่ทุกคนมาแล้ว ต้องมาถ่ายรูป นักท่องเที่ยวปัจจุบัน ใช้โซเชียลมากขึ้น การลงรูปเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าพิพิธภัณฑ์ มีจุด
หรือมุม ที่ทำให้คนมาถ่ายรูป (ปีนัง ทำสำเร็จมาแล้ว กับ Street Art) นักท่องเที่ยวก็จะมามากขึ้น มุมถ่ายรูป อาจจะเป็น การจำลอง บ้านวัฒนธรรม
ชาวลาว เวียดนาม ร้านค้าที่ยังเป็นแบบสมัยก่อน สิ่งของเก่าๆ เช่น เกวียน คานหาม(สำหรับคนฐานะดีสมัยก่อน)
๔.พิพิธภัณฑ์ เป็นจุดเริ่มของข้อมูลของคนในชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์สิงค์โปร จะเน้นคำว่า "ความปรองดอง(Harmony)" เพราะ เค้าเป็นเพียงเกาะเล็กๆ
แถมยังมีคนหลายเชื่อชาติมาอยู่รวมกัน พิพิธภัณฑ์จึงเป็นจุดที่บอกที่มาของแต่ละเชื้อชาติ ค่านิยม อาหารการกิน การอยู่ร่วมกันของคนต่างเชื้อชาติ
๕. ของมีค่า เช่น ของใช้ของเจ้าเมืองสมัยก่อน เครื่องถมเงิน ถมทอง เครื่องประดับยศเจ้าเมือง ตราเจ้าเมือง ของใช้คนมีฐานะ เครื่องแต่งกาย
ที่ย่างกุ้ง ก็จะมี พระราชบัลลังของกษัตริย์พม่า ที่ทางการพม่าไปของคืนจากอังกฤษ (ได้มาครบชุดเลย) พระสุพรรณบัตร เครื่องทองราชูปโภค
ที่สิงคโปร์ มาเก๊า ก็จะมีแบบบ้านจำลอง วีถีชีวิตของคนเชื้อสายต่างๆ ในพื้นที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อสาย มลายู แขก จีน ยุโรป
เวียดนาม ประเทศที่เจอสงครามเน้นๆ ก็ยังมี ลูกระเบิด และการดีไซด์ที่เก๋ไก๋ สะท้อนความเจ็บปวดในช่วงสงคราม ให้คนมาถ่ายรูป
จีน ในส่วนที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ก็จะมี มงกุฎ ห้องประทับแบบจริงๆ ของฮองเต้ ไว้ให้ชม (ในพระราชวังต้องห้าม)
สรุป ผมอยากให้พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด พัฒนาขึ้นจริงๆ ไม่ต้องเปิดแอร์ แต่ทำให้สวย ให้เก๋ ให้เป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ไทยมีข้อดี
ที่อาคารสถานที่ แม้จะเก่า แต๋ก็ปรับปรุงให้สวยงามได้ พื้นที่กว้างขวาง ปรับภูมิทัศน์ให้ดี ให้มีมุมถ่ายรูปได้มากมาย จะเก็บเงินก็ไม่มีใครว่า
นักเรียน นักศึกษาฟรี คนไทย ราคาหนึ่ง ต่างชาติราคาหนึ่ง แต่ขอให้เข้าไปแล้วมีอะไร ให้เรียนรู้ มีอะไรให้ถ่ายรูปลงโซเชียลได้
นักท่องเที่ยวไปเที่ยวๆแน่ๆ
ปล. คนไปเที่ยวเยอะๆ ได้อะไร ก็ได้ลูกค้า ได้ขายของนะครับ ของที่ระลึก ของสารพัดอย่าง แค่ขายน้ำชา กาแฟได้ก็น่าจะคุ้มแล้ว
((คนชอบเที่ยวพิพิธภัณฑ์)) เมื่อพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดเป็นเพียง เศษซากตึกเก่า กับที่วางของให้ฝุ่นจับ ภัณฑารักษ์ท่าน......
ด้วยความที่ไปที่ไหน ก็จะแวะพิพิธภัณฑ์เป็นหลัก เพราะ พิพิธภัณฑ์ใน ตปท. ส่วนใหญ่จะมีของที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีให้ดู
มาถึงหนองคาย สิ่งที่เจอคือ ตึกเก่าชั้นเดียว (อาจเป็นจวนผู้ว่าสมัยก่อน) สภาพแย่พอสมควร ไม่มีภัณฑารักษ์ หรือ มีก็คงนั่งในออฟฟิตด้านหลัง
ของที่จัดข้างในมีประมาณไม่ถึงสิบห้อง สภาพฝุ่นจับ (คงเป็นเพราะ แล้งจัด ขาดน้ำ)
การจัดน่าสนใจโดยเฉพาะห้องแรก ที่มีการจำลอง จังหวัดหนองคาย รวมถึงสิ่งก่อสร้างเล็กๆ และพึ่งทราบว่า หนองคาย นอกจาก ไทย ลาว
แล้วยังมี เชื้อสายเวียดนามอีกด้วย ส่วนสิ่งของมีค่า หรือ ของเก่า ก็คงเป็นพวก ศิลาเกะสลัก ตามความเชื่อในพุทธศาสนา
ยังดีพิพิธภัณฑ์ที่หนองคาย พื้นที่ไม่รก จอดรถสะดวก
ส่วนพิพิธภัณฑ์จังหวัดอุดรธานี (พื้นที่พิพิธภัณฑ์กว้างกว่าที่หนองคายมาก) ขับเข้ามาเจอ คนโฑมีลาย วงรีวนไปรอบๆ ก็นึกถึง "บ้านเชียง" ทันที
ตอนแรกไม่แน่ใจว่าเปิดหรือเปล่า เพราะ ตึกเก่าสองชั้นดูโบราณดี กำลังปรับปรุงอยู่ และทางรถที่วิงเข้าก็มีหญ้าขึ้นรกพอสมควร เข้าไปใกล้ถึงตัวอาคาร
ก็พบว่า ที่ๆสามารถจอดรถได้ ก็จอดเต็มหมด (จอดได้ประมาณสิบกว่าคัน) ที่ตรงอื่นๆ ก็หญ้าขึ้นรก สรุป ก็เลยไม่ได้เข้าไปเยี่ยมชม
ทั้งๆที่คิดว่า "บ้านเชียง" น่าจะมีอะไรให้เราได้ชม
ผมคิดว่า พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด ส่วนใหญ่ มีพื้นที่ชัยภูมิที่เหมาะสม เพราะ อยู่ใจกลางเมือง เดินทางสะดวกมาก
แต่สิ่งที่นักท่องเที่ยวไม่เข้า เพราะ ไม่รู้จะเข้าไปดูอะไร ขอเสนอแนะดังนี้
๑. พิพิธภัณฑ์ กับ ททท. ประจำจังหวัด ควรมีที่ตั้งที่เดียวกัน หรือ อยู่ในรั่วเดียวกัน
คนท่องเที่ยวปัจจุบันแม้จะหาข้อมูลทางเน็ต แต่บางคนก็แวะเข้าไป ททท. ถ้าหน่วยงานทั้งสองมาอยู่ที่เดียวกัน มันก็จะเป็นเหมือนจุดเริ่มต้น
ที่นักท่องเที่ยวจะได้รู้จักจังหวัดนั้นๆ ทั้งในแง่การท่องเที่ยว และในแง่ประวัติศาสตร์ บางครั้งอาจมีบางมุม ที่นักท่องเที่ยวไม่รู้ ก็จะรู้ได้จาก
การมาพิพิธภัณฑ์
๒. ภัณฑารักษ์ สำคัญมาก การมีภัณฑารักษ์จะทำให้การดูพิพิธภัณฑ์ น่าสนใจมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินแนะนำทุกจุด เพราะ พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด
ไม่ได้ใหญ่มาก เอาแค่แนะนำ หรือ บอกเล่าสิ่งสำคัญ ตำนาน ของสิ่งที่จะไปดู เช่น ในพิพิธภัณฑ์หนองคาย มีศิลาแกะสลัก อย่างน้อย ถ้ามีการบอก
เล่า (ด้วยคำพูด) ก็น่าจะเพิ่มความสนใจได้มาก (จนท. อาจไม่ใช่ ขรช.ประจำ เป็น นักศึกษาฝึกงานก็ได้) (จากประสบการณ์ ที่ไปคุ้มเจ้าบุรีรัตน์
เชียงใหม่ แม้จะเป็นคุ้มไม่ใหญ่มาก แต่มี จนท. จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาแนะนำ และยังแนะนำไปเที่ยวอีกที่ ที่นักท่องเที่ยวไปค่อยทราบ
ดีมากๆ)
๓. อันนี้สำคัญมาก มุมที่ทุกคนมาแล้ว ต้องมาถ่ายรูป นักท่องเที่ยวปัจจุบัน ใช้โซเชียลมากขึ้น การลงรูปเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าพิพิธภัณฑ์ มีจุด
หรือมุม ที่ทำให้คนมาถ่ายรูป (ปีนัง ทำสำเร็จมาแล้ว กับ Street Art) นักท่องเที่ยวก็จะมามากขึ้น มุมถ่ายรูป อาจจะเป็น การจำลอง บ้านวัฒนธรรม
ชาวลาว เวียดนาม ร้านค้าที่ยังเป็นแบบสมัยก่อน สิ่งของเก่าๆ เช่น เกวียน คานหาม(สำหรับคนฐานะดีสมัยก่อน)
๔.พิพิธภัณฑ์ เป็นจุดเริ่มของข้อมูลของคนในชุมชน เช่น พิพิธภัณฑ์สิงค์โปร จะเน้นคำว่า "ความปรองดอง(Harmony)" เพราะ เค้าเป็นเพียงเกาะเล็กๆ
แถมยังมีคนหลายเชื่อชาติมาอยู่รวมกัน พิพิธภัณฑ์จึงเป็นจุดที่บอกที่มาของแต่ละเชื้อชาติ ค่านิยม อาหารการกิน การอยู่ร่วมกันของคนต่างเชื้อชาติ
๕. ของมีค่า เช่น ของใช้ของเจ้าเมืองสมัยก่อน เครื่องถมเงิน ถมทอง เครื่องประดับยศเจ้าเมือง ตราเจ้าเมือง ของใช้คนมีฐานะ เครื่องแต่งกาย
ที่ย่างกุ้ง ก็จะมี พระราชบัลลังของกษัตริย์พม่า ที่ทางการพม่าไปของคืนจากอังกฤษ (ได้มาครบชุดเลย) พระสุพรรณบัตร เครื่องทองราชูปโภค
ที่สิงคโปร์ มาเก๊า ก็จะมีแบบบ้านจำลอง วีถีชีวิตของคนเชื้อสายต่างๆ ในพื้นที่นั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น เชื้อสาย มลายู แขก จีน ยุโรป
เวียดนาม ประเทศที่เจอสงครามเน้นๆ ก็ยังมี ลูกระเบิด และการดีไซด์ที่เก๋ไก๋ สะท้อนความเจ็บปวดในช่วงสงคราม ให้คนมาถ่ายรูป
จีน ในส่วนที่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ก็จะมี มงกุฎ ห้องประทับแบบจริงๆ ของฮองเต้ ไว้ให้ชม (ในพระราชวังต้องห้าม)
สรุป ผมอยากให้พิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัด พัฒนาขึ้นจริงๆ ไม่ต้องเปิดแอร์ แต่ทำให้สวย ให้เก๋ ให้เป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยว พิพิธภัณฑ์ไทยมีข้อดี
ที่อาคารสถานที่ แม้จะเก่า แต๋ก็ปรับปรุงให้สวยงามได้ พื้นที่กว้างขวาง ปรับภูมิทัศน์ให้ดี ให้มีมุมถ่ายรูปได้มากมาย จะเก็บเงินก็ไม่มีใครว่า
นักเรียน นักศึกษาฟรี คนไทย ราคาหนึ่ง ต่างชาติราคาหนึ่ง แต่ขอให้เข้าไปแล้วมีอะไร ให้เรียนรู้ มีอะไรให้ถ่ายรูปลงโซเชียลได้
นักท่องเที่ยวไปเที่ยวๆแน่ๆ
ปล. คนไปเที่ยวเยอะๆ ได้อะไร ก็ได้ลูกค้า ได้ขายของนะครับ ของที่ระลึก ของสารพัดอย่าง แค่ขายน้ำชา กาแฟได้ก็น่าจะคุ้มแล้ว