การสอนแบบอุปนัยและนิรนัย (Inductive and Deductive Instruction)
เมื่อเสาร์ที่ 18 ก.ค. 58 ที่ผ่านมาได้สอนปริญญาโทวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา (English for Graduate Studies) ที่ไม่สอนท่องจำไวยกรณ์ แต่สอนการอ่านและเข้าใจภาษาอังกฤษในสาขาที่ศึกษาและภาษาอังกฤษที่ใช้ในการวิจัยร่วมกับ ดร.สัมฤทธิ์ กางเพ็ง ผมได้เอ่ยถึง การสอน (instruction) หรือการเรียนรู้ (learning) แบบอุปนัยและนิรนัยให้นักศึกษา และสัญญาว่าจะไปทำการบ้านหาข้อมูลเพิ่มเติม
วันนี้ไปที่เวป
http://www.educ.ualberta.ca/staff/olenka.bilash/best%20of%20bilash/inductivedeductive.html
ก็ขอถ่ายทอดสั้นๆ ว่า การสอนทั้งสองแบบมีประโยชน์ต่างกัน แต่ที่แตกต่างกันที่สุดก็คือบทบาทของผู้สอน (role of the teacher) ในการสอนแบบนิรนัย (deductive instruction) ผู้สอนให้บทเรียนโดยอธิบายแนวคิดให้ผู้เรียนและคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถปฏิบัติตามแนวคิดได้ ซึ่งเป็นแบบที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางมาก (teacher centered)
ในทางตรงกันข้าม การสอนแบบอุปนัย (inductive instruction) เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered) ที้ใช้กลยุทธ์ให้ผู้เรียนสังเกตและเข้าใจความหมายเอง (noticing)
เราอาจเขียนแนวคิดทั้งสองแบบการสอนได้ดังนี้
การสอนแบบนิรนัย (deductive instruction)
เริ่มที่การให้กฎหรือแนวคิดกว้างๆ (generalization หรือ rule) ก่อน ตามมาด้วย ตัวอย่างหรือกิจกรรมเฉพาะ (examples or activities)
การสอนแบบอุปนัย (inductive instruction)
เริ่มที่ต้วอย่างหรือกิจกรรมเฉพาะก่อน ตามมาด้วย การให้กฎหรือแนวคิดกว้างๆ (generalization หรือ rule)
ไปดูรายละเอียดที่ลิงค์ครับ
อ้างอิง
"Inductive and Deductive Instruction." Best of Bilash: Improving Second Language Education. Retrieved July 30, 2015.
http://www.educ.ualberta.ca/staff/olenka.bilash/best%20of%20bilash/inductivedeductive.html
... สรายุทธ กันหลง พฤหัส 30 กรกฏาคม 2558 9.50 น. กรุงเทพ
yuthxx@gmail.com
http://www.facebook.com/sarayuth.kunlong
Line ID: 0853260440
ดูบทความออนไลน์อื่นๆที่เขียนใน kroobannok.com
http://kroobannok.com/yuthxx
การสอนแบบอุปนัยและนิรนัย (Inductive and Deductive Instruction)
เมื่อเสาร์ที่ 18 ก.ค. 58 ที่ผ่านมาได้สอนปริญญาโทวิชาภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา (English for Graduate Studies) ที่ไม่สอนท่องจำไวยกรณ์ แต่สอนการอ่านและเข้าใจภาษาอังกฤษในสาขาที่ศึกษาและภาษาอังกฤษที่ใช้ในการวิจัยร่วมกับ ดร.สัมฤทธิ์ กางเพ็ง ผมได้เอ่ยถึง การสอน (instruction) หรือการเรียนรู้ (learning) แบบอุปนัยและนิรนัยให้นักศึกษา และสัญญาว่าจะไปทำการบ้านหาข้อมูลเพิ่มเติม
วันนี้ไปที่เวป http://www.educ.ualberta.ca/staff/olenka.bilash/best%20of%20bilash/inductivedeductive.html
ก็ขอถ่ายทอดสั้นๆ ว่า การสอนทั้งสองแบบมีประโยชน์ต่างกัน แต่ที่แตกต่างกันที่สุดก็คือบทบาทของผู้สอน (role of the teacher) ในการสอนแบบนิรนัย (deductive instruction) ผู้สอนให้บทเรียนโดยอธิบายแนวคิดให้ผู้เรียนและคาดหวังว่าผู้เรียนจะสามารถปฏิบัติตามแนวคิดได้ ซึ่งเป็นแบบที่เน้นครูเป็นศูนย์กลางมาก (teacher centered)
ในทางตรงกันข้าม การสอนแบบอุปนัย (inductive instruction) เป็นแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (student-centered) ที้ใช้กลยุทธ์ให้ผู้เรียนสังเกตและเข้าใจความหมายเอง (noticing)
เราอาจเขียนแนวคิดทั้งสองแบบการสอนได้ดังนี้
การสอนแบบนิรนัย (deductive instruction)
เริ่มที่การให้กฎหรือแนวคิดกว้างๆ (generalization หรือ rule) ก่อน ตามมาด้วย ตัวอย่างหรือกิจกรรมเฉพาะ (examples or activities)
การสอนแบบอุปนัย (inductive instruction)
เริ่มที่ต้วอย่างหรือกิจกรรมเฉพาะก่อน ตามมาด้วย การให้กฎหรือแนวคิดกว้างๆ (generalization หรือ rule)
ไปดูรายละเอียดที่ลิงค์ครับ
อ้างอิง
"Inductive and Deductive Instruction." Best of Bilash: Improving Second Language Education. Retrieved July 30, 2015. http://www.educ.ualberta.ca/staff/olenka.bilash/best%20of%20bilash/inductivedeductive.html
... สรายุทธ กันหลง พฤหัส 30 กรกฏาคม 2558 9.50 น. กรุงเทพ
yuthxx@gmail.com
http://www.facebook.com/sarayuth.kunlong
Line ID: 0853260440
ดูบทความออนไลน์อื่นๆที่เขียนใน kroobannok.com
http://kroobannok.com/yuthxx