เฉินกงอิง 成公英
เกิดราว ๆ ปี ค.ศ.180 เป็นชาวเมืองจินเซิง เข้าร่วมก่อการกบฎกับหันซุยที่แดนเมืองเหลียง ในปี ค.ศ.211
เพื่อต่อต้านโจโฉแต่กระทำการไม่สำเร็จ ถูกโจโฉปราบจนราบคาบแตกทัพกระจัดกระจาย กองทัพกบฎหันซุย
แตกพ่าย ทั้งนายทั้งพลทหารหนีทัพกันระส่ำระสาย แม้แต่เอียนชิง ยอดขุนพลเอกของหันซุยก็ยังแปรพักต์ไป
เข้ากับโจโฉคงเหลือแต่เพียงเฉินกงอิงเท่านั้นที่ยังคงติดตามหันซุยกลับค่าย ด้วยหัวใจที่จงรักภักดี
ในปี ค.ศ.214 แฮหัวเอี๋ยนยกทัพขับไล่หันซุยออกจากแผ่นดินเมืองฮันเอี๋ยงหันซุยจึงคิดที่จะขอลี้ภัยไปทางตอน
ใต้แล้วเข้าไปสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ แต่เฉินกงอิง แนำนำว่าควรที่จะลองขอความช่วยเหลือชาวชาวเมืองเผ่าเกี๋ยงและ
พวกชาวเมืองนอกด่านดูก่อน ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จเพราะหันซุยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้สามารถเอาชนะ
เอียนชิง อดีตขุนพลแปรพักต์ได้และยึดคืนพื้นที่เมืองจินเซิงได้สำเร็จ
ปี ค.ศ.215 หันซุยในวัย 70 เสียชีวิตลง (สาเหตุการตายไม่แน่ชัด บ้างว่าแก่ชรา บ้างว่าถูกลูกน้องทรยศตัดศีรษะไปให้โจโฉ)
เฉินกงอิงจึงยอมสวามิภักดิ์เข้าเป็นพวกโจโฉ ได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนางที่ปรึกษาด้านการทหาร ครั้งหนึ่งโจโฉชวนเฉินกงอิง
ออกไปขี่ม้าล่าสัตว์ในป่า เผอิญมีกวาง 3 ตัววิ่งผ่านหน้า โจโฉจึงให้เฉินกงอิงแสดงฝีมือเกาทัณฑ์ เฉินกงอิงจึงคว้าเกาทัณฑ์
มายิงกวางทั้ง 3 ตัวนั้น ด้วยลูกเกาทัณฑ์เพียง 3 ดอก โจโฉปรบมือชอบใจเป็นอย่างมาก
ความประทับใจในฝีมือเกาทัณฑ์ว่ามากแล้ว แต่เมื่อโจโฉถามเฉินกงอิงอย่างตรงไปตรงมาว่า ขอให้เฉินกงอิงรับราชการกับเขา
ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีอย่างที่มีให้หันซุยได้หรือไม่ เมื่อเฉินกงอิงได้ยินดังนั้น จึงรีบลงจากม้าแล้วก้มหน้าคุกเข่า ร้องไห้แล้วว่า
"ข้าพเจ้ามิอาจตกปากรับคำของท่านได้ หากแม้นหันซุยยังมีชีวิตดีอยู่ ก็หามีทางเป็นไปได้เลยที่ข้าพเจ้าจะมารับราชการด้วยกันกับท่าน"
โจโฉได้ฟังคำของเฉินกงอิงดังนี้ ก็ยิ่งนิยมชมชอบและประทับในในความซื่อสัตย์จงรักภักดีของเฉินกงอิง ตั้งแต่นั้นมาโจโฉก็ให้เกียรติ
เฉินกงอิงด้วยดีเสมอมาในปี ค.ศ. 220 พระเจ้าโจผีส่งเฉินกงอิงให้ไปช่วยปฏิบัติราชการกับ โซเจ็ก และเตียวเจ ในการฟื้นฟูการปกครอง
ในอาณาบริเวณเขตแดนเมืองเหลียง เพื่อควบคุมเส้นทางการติดต่อกับดินแดนห่างใกลทางตอนกลางของทวีปเอเซีย ซึ่งในภารกิจนี้ได้
กลายเป็นภารกิจสุดท้ายเพราะเฉินกงอิงได้ล้มป่วยและเสียชีวิตลง
เฉินกงอิง ผู้ซื่อตรง
เฉินกงอิง 成公英
เกิดราว ๆ ปี ค.ศ.180 เป็นชาวเมืองจินเซิง เข้าร่วมก่อการกบฎกับหันซุยที่แดนเมืองเหลียง ในปี ค.ศ.211
เพื่อต่อต้านโจโฉแต่กระทำการไม่สำเร็จ ถูกโจโฉปราบจนราบคาบแตกทัพกระจัดกระจาย กองทัพกบฎหันซุย
แตกพ่าย ทั้งนายทั้งพลทหารหนีทัพกันระส่ำระสาย แม้แต่เอียนชิง ยอดขุนพลเอกของหันซุยก็ยังแปรพักต์ไป
เข้ากับโจโฉคงเหลือแต่เพียงเฉินกงอิงเท่านั้นที่ยังคงติดตามหันซุยกลับค่าย ด้วยหัวใจที่จงรักภักดี
ในปี ค.ศ.214 แฮหัวเอี๋ยนยกทัพขับไล่หันซุยออกจากแผ่นดินเมืองฮันเอี๋ยงหันซุยจึงคิดที่จะขอลี้ภัยไปทางตอน
ใต้แล้วเข้าไปสวามิภักดิ์ต่อเล่าปี่ แต่เฉินกงอิง แนำนำว่าควรที่จะลองขอความช่วยเหลือชาวชาวเมืองเผ่าเกี๋ยงและ
พวกชาวเมืองนอกด่านดูก่อน ซึ่งก็เป็นผลสำเร็จเพราะหันซุยได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้สามารถเอาชนะ
เอียนชิง อดีตขุนพลแปรพักต์ได้และยึดคืนพื้นที่เมืองจินเซิงได้สำเร็จ
ปี ค.ศ.215 หันซุยในวัย 70 เสียชีวิตลง (สาเหตุการตายไม่แน่ชัด บ้างว่าแก่ชรา บ้างว่าถูกลูกน้องทรยศตัดศีรษะไปให้โจโฉ)
เฉินกงอิงจึงยอมสวามิภักดิ์เข้าเป็นพวกโจโฉ ได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนางที่ปรึกษาด้านการทหาร ครั้งหนึ่งโจโฉชวนเฉินกงอิง
ออกไปขี่ม้าล่าสัตว์ในป่า เผอิญมีกวาง 3 ตัววิ่งผ่านหน้า โจโฉจึงให้เฉินกงอิงแสดงฝีมือเกาทัณฑ์ เฉินกงอิงจึงคว้าเกาทัณฑ์
มายิงกวางทั้ง 3 ตัวนั้น ด้วยลูกเกาทัณฑ์เพียง 3 ดอก โจโฉปรบมือชอบใจเป็นอย่างมาก
ความประทับใจในฝีมือเกาทัณฑ์ว่ามากแล้ว แต่เมื่อโจโฉถามเฉินกงอิงอย่างตรงไปตรงมาว่า ขอให้เฉินกงอิงรับราชการกับเขา
ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีอย่างที่มีให้หันซุยได้หรือไม่ เมื่อเฉินกงอิงได้ยินดังนั้น จึงรีบลงจากม้าแล้วก้มหน้าคุกเข่า ร้องไห้แล้วว่า
"ข้าพเจ้ามิอาจตกปากรับคำของท่านได้ หากแม้นหันซุยยังมีชีวิตดีอยู่ ก็หามีทางเป็นไปได้เลยที่ข้าพเจ้าจะมารับราชการด้วยกันกับท่าน"
โจโฉได้ฟังคำของเฉินกงอิงดังนี้ ก็ยิ่งนิยมชมชอบและประทับในในความซื่อสัตย์จงรักภักดีของเฉินกงอิง ตั้งแต่นั้นมาโจโฉก็ให้เกียรติ
เฉินกงอิงด้วยดีเสมอมาในปี ค.ศ. 220 พระเจ้าโจผีส่งเฉินกงอิงให้ไปช่วยปฏิบัติราชการกับ โซเจ็ก และเตียวเจ ในการฟื้นฟูการปกครอง
ในอาณาบริเวณเขตแดนเมืองเหลียง เพื่อควบคุมเส้นทางการติดต่อกับดินแดนห่างใกลทางตอนกลางของทวีปเอเซีย ซึ่งในภารกิจนี้ได้
กลายเป็นภารกิจสุดท้ายเพราะเฉินกงอิงได้ล้มป่วยและเสียชีวิตลง