ม้าเฉียว เป็นหนึ่งในห้าทหารเสือของพระเจ้าเล่าปี่ มีฝีมือเข้มแข็งดุดัน ไร้คู่ต่อกร จนมีคนเปรียบเปรยไว้ว่า ม้าเฉียวมีฝีมือระดับเดียวกันกับลิโป้ เทพสงครามแห่งยุคสามก๊ก แต่นั่นก็เป็นเพียงเรื่องในวรรณกรรม เพราะในบันทึกทางประวัติศาสตร์ จากจดหมายเหตุของตันซิ่ว ม้าเฉียวเคยถูกนักรบหนุ่มคนหนึ่งไล่ต้อนจนสาหัสปางตายมาแล้ว
ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่15 ประวัติของเตียวกี๋ ขุนพลฝ่ายวุย ได้กล่าวถึงชื่อของขุนพลผู้หนึ่ง ผู้ได้เข้ารบกับม้าเฉียว และสามารถทำให้ม้าเฉียวบาดเจ็บสาหัส แต่ขุนพลผู้นี้ไม่มีชื่อปรากฏในวรรณกรรม ทำให้ชื่อของเขาไม่เป็นที่รู้จัก เขามีนามว่า "เอียนชิง"
ประวัติของเอียนชิง
เอียนชิง (Yan Xing , 閻行) ชื่อรอง เอียนหมิง (Yanming , 彥明) ภายหลังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เอียนเอี๋ยน (Yan Yan , 閻艷) เกิดที่เมืองจิ้นเฉิง ในวัยหนุ่มมีชื่อเสียงด้านพละกำลัง ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นทหารในสังกัดของหันซุย
ในปี ค.ศ.197 ครั้งนั้นหันซุยเกิดบาดหมางกับม้าเท้งจึงสู้รบกัน เอียนชิงได้ออกรบกับม้าเฉียวบุตรของม้าเท้งแบบตัวต่อตัว ม้าเฉียวพลาดท่าได้รับบาดเจ็บสาหัส เกือบจะเสียทีถูกเอียนชิงสังหาร แต่ก็หนีรอดพ้นไปได้
ในปี ค.ศ.209 หันซุยมอบหมายให้เอียนชิงเป็นฑูตไปเจรจากับโจโฉ โจโฉต้อนรับเอียนชิงอย่างดีและตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเจียนเว่ย ชายแดนเมืองเอ๊กจิ๋วซึ่งก็เป็นเพียงตำแหน่งลอย ๆ เพราะอยู่ไกลมาก นอกจากนั้นโจโฉยังได้ฝากเอียนชิงส่งจดหมายเกลี้ยกล่อมให้หันซุยมาเข้าด้วย
เอียนชิงแนะนำให้หันซุยยอมเข้าด้วยโจโฉ โดยให้ส่งบุตรชายเป็นประกันไปยังเมืองหลวง ซึ่งในการนี้เอียนชิงก็ได้ส่งบิดาและมารดาของตนไปอยู่กับฝ่ายวุยด้วย
หลังจากนั้นไม่นาน หันซุยยกกองทัพไปรบกับเตียวเมิงที่เมืองวูเว่ย และให้เอียนชิงอยู่รักษาเมืองจิ้นเฉิง ในศึกครั้งนั้นหันซุยได้ตัวม้าเฉียวมาเป็นพันธมิตร แต่เอียนชิงคัดค้าน เพราะการรับม้าเฉียวเข้ามาอยู่ด้วยจะทำให้โจโฉไม่พอใจ และทำให้เกิดความบาดหมางใจกันขึ้น
เอียนชิงคาดการณ์ไว้ไม่ผิด เพราะในปี ค.ศ.211 โจโฉยกทัพมาปราบหันซุยที่ตำบลฮัวหยิน โจโฉเห็นเอียนชิงก็จำได้และคิดใช้อุบายทำให้หันซุยและเอียนชิงแตกคอกัน โดยโจโฉได้สังหารบุตรและหลานของหันซุยที่เป็นตัวประกัน แต่กลับไว้ชิวิตบิดา มารดาของเอียนชิง
หันซุย ระแวงว่าเอียนชิงจะหนีไปอยู่กับโจโฉจึงคิดผูกใจโดยยกลูกสาวของตนให้เอียนชิง และมอบอำนาจให้เอียนชิงอย่างเต็มที่ แต่กระนั้นก็ยังไม่อาจซื้อใจเอียนชิงได้ คืนหนึ่งเอียนชิงจึงก่อการกบฏขึ้น แต่หันซุยก็ปราบไว้ได้และค่อย ๆ รวบรวมกำลังจากชนเผ่าเกี๋ยงและชาวนอกด่านขึ้นมาใหม่
ในปี ค.ศ.214 โจโฉส่งแฮหัวเอี๋ยนมายึดเมืองฮันเอี๋ยง ซึ่งเป็นด่านหน้าของหันซุยไว้ได้ เอียนชิงจึงนำสมัครพรรคพวกไปอยู่กับโจโฉ เอียนชิงจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยา
เอียนชิง ผู้ถูกลืม
เอียนชิง เป็นขุนพลที่ถูกลืม การศึกษาสามก๊กจากวรรณกรรมเพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้เรารู้จักเรื่องราวที่แท้จริงของสามก๊กได้หมด เอียนชิงผู้นี้แทบจะเป็นผู้เดียวที่เอาชนะม้าเฉียวได้ แต่เรื่องราวของเขาก็กลับถูกเขียนแทรกไว้ในประวัติของผู้อื่นอย่างลับ ๆ จวบจนปัจจุบันชื่อของเขาก็ยังมิได้รับการยกย่อง และมีปรากฎอยู่แต่ในเกมสามก๊กเท่านั้น
คนจะเด่นจะดังล้วนอยู่ที่ปลายปากกาทั้งสิ้น
ที่มา
http://samkok911.blogspot.com/2013/10/Yan-Xing.html
เอียนชิงชนะม้าเฉียว แต่กลับไร้นาม
ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่15 ประวัติของเตียวกี๋ ขุนพลฝ่ายวุย ได้กล่าวถึงชื่อของขุนพลผู้หนึ่ง ผู้ได้เข้ารบกับม้าเฉียว และสามารถทำให้ม้าเฉียวบาดเจ็บสาหัส แต่ขุนพลผู้นี้ไม่มีชื่อปรากฏในวรรณกรรม ทำให้ชื่อของเขาไม่เป็นที่รู้จัก เขามีนามว่า "เอียนชิง"
ประวัติของเอียนชิง
เอียนชิง (Yan Xing , 閻行) ชื่อรอง เอียนหมิง (Yanming , 彥明) ภายหลังเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เอียนเอี๋ยน (Yan Yan , 閻艷) เกิดที่เมืองจิ้นเฉิง ในวัยหนุ่มมีชื่อเสียงด้านพละกำลัง ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นทหารในสังกัดของหันซุย
ในปี ค.ศ.197 ครั้งนั้นหันซุยเกิดบาดหมางกับม้าเท้งจึงสู้รบกัน เอียนชิงได้ออกรบกับม้าเฉียวบุตรของม้าเท้งแบบตัวต่อตัว ม้าเฉียวพลาดท่าได้รับบาดเจ็บสาหัส เกือบจะเสียทีถูกเอียนชิงสังหาร แต่ก็หนีรอดพ้นไปได้
ในปี ค.ศ.209 หันซุยมอบหมายให้เอียนชิงเป็นฑูตไปเจรจากับโจโฉ โจโฉต้อนรับเอียนชิงอย่างดีและตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเจียนเว่ย ชายแดนเมืองเอ๊กจิ๋วซึ่งก็เป็นเพียงตำแหน่งลอย ๆ เพราะอยู่ไกลมาก นอกจากนั้นโจโฉยังได้ฝากเอียนชิงส่งจดหมายเกลี้ยกล่อมให้หันซุยมาเข้าด้วย
เอียนชิงแนะนำให้หันซุยยอมเข้าด้วยโจโฉ โดยให้ส่งบุตรชายเป็นประกันไปยังเมืองหลวง ซึ่งในการนี้เอียนชิงก็ได้ส่งบิดาและมารดาของตนไปอยู่กับฝ่ายวุยด้วย
หลังจากนั้นไม่นาน หันซุยยกกองทัพไปรบกับเตียวเมิงที่เมืองวูเว่ย และให้เอียนชิงอยู่รักษาเมืองจิ้นเฉิง ในศึกครั้งนั้นหันซุยได้ตัวม้าเฉียวมาเป็นพันธมิตร แต่เอียนชิงคัดค้าน เพราะการรับม้าเฉียวเข้ามาอยู่ด้วยจะทำให้โจโฉไม่พอใจ และทำให้เกิดความบาดหมางใจกันขึ้น
เอียนชิงคาดการณ์ไว้ไม่ผิด เพราะในปี ค.ศ.211 โจโฉยกทัพมาปราบหันซุยที่ตำบลฮัวหยิน โจโฉเห็นเอียนชิงก็จำได้และคิดใช้อุบายทำให้หันซุยและเอียนชิงแตกคอกัน โดยโจโฉได้สังหารบุตรและหลานของหันซุยที่เป็นตัวประกัน แต่กลับไว้ชิวิตบิดา มารดาของเอียนชิง
หันซุย ระแวงว่าเอียนชิงจะหนีไปอยู่กับโจโฉจึงคิดผูกใจโดยยกลูกสาวของตนให้เอียนชิง และมอบอำนาจให้เอียนชิงอย่างเต็มที่ แต่กระนั้นก็ยังไม่อาจซื้อใจเอียนชิงได้ คืนหนึ่งเอียนชิงจึงก่อการกบฏขึ้น แต่หันซุยก็ปราบไว้ได้และค่อย ๆ รวบรวมกำลังจากชนเผ่าเกี๋ยงและชาวนอกด่านขึ้นมาใหม่
ในปี ค.ศ.214 โจโฉส่งแฮหัวเอี๋ยนมายึดเมืองฮันเอี๋ยง ซึ่งเป็นด่านหน้าของหันซุยไว้ได้ เอียนชิงจึงนำสมัครพรรคพวกไปอยู่กับโจโฉ เอียนชิงจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยา
เอียนชิง ผู้ถูกลืม
เอียนชิง เป็นขุนพลที่ถูกลืม การศึกษาสามก๊กจากวรรณกรรมเพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้เรารู้จักเรื่องราวที่แท้จริงของสามก๊กได้หมด เอียนชิงผู้นี้แทบจะเป็นผู้เดียวที่เอาชนะม้าเฉียวได้ แต่เรื่องราวของเขาก็กลับถูกเขียนแทรกไว้ในประวัติของผู้อื่นอย่างลับ ๆ จวบจนปัจจุบันชื่อของเขาก็ยังมิได้รับการยกย่อง และมีปรากฎอยู่แต่ในเกมสามก๊กเท่านั้น
คนจะเด่นจะดังล้วนอยู่ที่ปลายปากกาทั้งสิ้น
ที่มา http://samkok911.blogspot.com/2013/10/Yan-Xing.html