รถซิ่งรถแต่งโหลดเตี้ย โมเครื่องแรงเสียงดังไฟหลากสีล้อโตอวบทะลักหางหลังใหญ่โตยังกับราวตากผ้าอ้อม ขับเข้าด่านตำรวจครั้งใดก็มีแต่ความเสียวว่าจะโดนจับปรับหรือเปล่า ลดกระจกส่งยิ้มให้จ่าแล้วก็ยังไม่รอด โดนหลายกระทงข้อหาดัดแปลงสภาพ หนักหน่อยก็พวกเอกสารสำเนาทะเบียนกับป้ายทะเบียนปลอมที่อาจเล่นกันถึงคุกตะราง มาดู 13 ข้อควรระวังในการตกแต่งรถยนต์สุดที่รักของคุณกันดีกว่าว่าแบบไหนทำได้แบบไหนผิดกฎหมายระวังโดนจับปรับ
1-เปลี่ยนป้ายทะเบียนให้ยาวขึ้น ผมผิดหรือเปล่าครับจ่า
ป้ายทะเบียนที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกนั้น มีหลายท่านนำมาดัดแปลงตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว การกระทำกับป้ายทะเบียนเดิมๆให้เปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ คุณจะโดนข้อหาดัดแปลงสภาพป้ายทะเบียน ผิดเต็มประตูไม่ต้องเถียงเลยครับ การปรับเปลี่ยนแปลงร่างป้ายทะเบียนซึ่งถือเป็นเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถเรียกปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกันการไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดอีกเช่นกันปรับ 500 บาท
ส่วนการติดป้ายที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนดแต่ถ้าเป็นป้ายปลอมที่ทำขึ้นเองโดยไม่มีตราประทับของกรมการขนส่งทางบก เมื่อตำรวจจราจรขอตรวจดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย จะต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่ 100,000 บาท หากหมายเลขป้ายทะเบียนไม่ตรงกับป้ายวงกลม รวมถึงยังไม่ตรงกับสำเนารถ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิ์ยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับซึ่งมีบางท่านโดนปรับกันหลักแสนหลักล้านบาทมาแล้ว
2-โหลดเตี้ยแบบรถแข่งในสนาม
เป็นความพยายามและความเข้าใจของคนแต่งรถว่ารถที่เตี้ยต่ำจะยึดเกาะกับถนนได้ดีขึ้นซึ่งก็จริงแต่ไม่ทั้งหมด การยึดเกาะที่ดีของรถยนต์ยังเกิดขึ้นจากช่วงล่างที่สมบูรณ์ ยางที่สดใหม่และอยู่ในสภาพดี สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการโหลดรถ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้ โดยยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมการขนส่งทางบก และผู้วินิจฉัยผล ตรอ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกันนะจ๊ะ
3-ยกสูงแบบ Big Foot เอาไว้ลุยเท่ๆ
รถยนต์แบบออฟโรดที่มีสัดส่วนความสูงมากกว่ารถเก๋งเนื่องจากสภาพการใช้งานที่ต้องบุกป่าฝ่าทางวิบาก หากใต้ท้องรถไม่สูงมากพอก็อาจติดกับร่องทางหรือหล่มโคลนจนไปต่อไม่ได้ ในพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถโด่งโจ้งมาก มีการดัดแปลงสภาพมากทั้งเสริมโช้กยกตัวถัง การปรับแต่งรถแบบยกสูงมากนั้นต้องมีหนังสือจากวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบกว่ามีการดัดแปลงเพื่อใช้งานในเขตทุรกันดาน แต่ถ้ายกไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินจนล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าคุณจ่าคิดว่าสิ่งที่ยื่นออกมานั้นอาจเป็นอันตรายต่อการใช้รถของผู้อื่นคุณก็จะเสี่ยงกับความผิดทันที
4-ใส่ล้อ 20 หรือ 22 แบบเต็มซุ้มเพื่อความหล่อและอำนาจของการยึดเกาะ
ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18-19-20 หรือจะ 22 ก็สามารถทำได้แบบสะดวกโยธิน แต่ถ้าใส่แล้วยางล้นเกินออกมานอกบังโคลนล้อข้างละหลายนิ้ว เจ้าหน้าที่ที่ตั้งด่านได้ตรวจพบว่าอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น (เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้ม การทำแบบนั้นนอกจากรถจะไม่เกาะถนนแล้วยังเป็นการทำร้ายช่วงล่างอย่างรุนแรงอีกด้วย มุมอินเอาต์ต่างๆ ที่ผิดเพี้ยนไปจากการคำนวณของวิศวกรจะทำให้คุณควบคุมรถล้อแบะได้ยากขึ้น แถมยังกินยางและดูแลรักษายากอีกด้วยนะครับ
5-โป่งซุ้มล้อไซส์ยักษ์
การทำโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ในปัจจุบันลดน้อยลงไปมากเนื่องจากรถยนต์สมัยใหม่มีโป่งล้อมาให้แบบจุใจ ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนในเรื่องของโป่งล้อ แต่ก็มีระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งยื่นออกมามาก เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็โชคดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม
6-ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรง หลังคาคาร์บอนไฟเบอร์
นักเลงรถแรงส่วนมากมักนิยมเปลี่ยนฝากระโปรงแบบเดิมให้กลายเป็นฝาแบบคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อลดน้ำหนักและเพิ่มความขลังในมุมมอง หากทำการพ่นเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้ เช่น ในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าที่พินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจารณาในแต่ละบุคคล) แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
7-เปลี่ยนท่อไอเสีย ตีเฮดเดอร์ใหม่ทั้งเส้น
จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่มีหม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่) ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า รถยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียงที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล (การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾ รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดังสนั่นหวั่นโลกจนชาวบ้านร้านตลาดตกกะใจ ระวังต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
8-ไฟหน้าหลายสี
ไฟซีนอนกำลังส่องสว่างแรงสูง ไฟท้ายขาวใสแนวซิ่ง โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำที่โคมไฟหน้าและไฟท้าย ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศา และต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน ส่วนเรื่องสีของไฟ โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง 2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว ถ้าเป็นสีอื่น เช่น สีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวใสหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าหลอดไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่ทางการกำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีเพี้ยนไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายระวังโดนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
9-ไฟสปอร์ตไลต์และโคมไฟตัดหมอก ติดตั้งอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
โคมไฟสปอร์ตไลต์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็ดขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำ ล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลต์หรือไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง) ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร และไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลืองหรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน 55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
การเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่น มีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพรื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
10-ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือเปล่า
กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ รวมถึงความแน่นหนา (เช่น เอามือจับแล้วโยกได้) ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่น มีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ข้อหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ
11-ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง) และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มีกระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะ
ถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไข
13 ข้อควรระวัง แต่งรถยังไงไม่ให้ผิด พ.ร.บ. จราจร
รถซิ่งรถแต่งโหลดเตี้ย โมเครื่องแรงเสียงดังไฟหลากสีล้อโตอวบทะลักหางหลังใหญ่โตยังกับราวตากผ้าอ้อม ขับเข้าด่านตำรวจครั้งใดก็มีแต่ความเสียวว่าจะโดนจับปรับหรือเปล่า ลดกระจกส่งยิ้มให้จ่าแล้วก็ยังไม่รอด โดนหลายกระทงข้อหาดัดแปลงสภาพ หนักหน่อยก็พวกเอกสารสำเนาทะเบียนกับป้ายทะเบียนปลอมที่อาจเล่นกันถึงคุกตะราง มาดู 13 ข้อควรระวังในการตกแต่งรถยนต์สุดที่รักของคุณกันดีกว่าว่าแบบไหนทำได้แบบไหนผิดกฎหมายระวังโดนจับปรับ
1-เปลี่ยนป้ายทะเบียนให้ยาวขึ้น ผมผิดหรือเปล่าครับจ่า
ป้ายทะเบียนที่ออกให้โดยกรมการขนส่งทางบกนั้น มีหลายท่านนำมาดัดแปลงตัดต่ออัดกรอบใหม่เป็นป้ายยาว การกระทำกับป้ายทะเบียนเดิมๆให้เปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่ คุณจะโดนข้อหาดัดแปลงสภาพป้ายทะเบียน ผิดเต็มประตูไม่ต้องเถียงเลยครับ การปรับเปลี่ยนแปลงร่างป้ายทะเบียนซึ่งถือเป็นเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรสามารถเรียกปรับไม่เกิน 2,000 บาท รวมถึงการติดป้ายเอียง แบบแหงนขึ้น – แหงนลง มีวัสดุมาปิดทับ เจ้าหน้าที่อาจฟันธงว่า มองเห็นไม่ชัดเจนก็มีโทษปรับเช่นเดียวกันการไม่ติดป้าย หรือวางไว้ที่กระจกหน้ารถ ผิดอีกเช่นกันปรับ 500 บาท
ส่วนการติดป้ายที่ทำขึ้นเอง เช่นทำด้วยกระดาษ หรือใช้การเขียน แต่หมายเลขตรงกับทะเบียนรถ ผิดข้อหา ไม่ใช้เอกสารที่ทางราชการกำหนดแต่ถ้าเป็นป้ายปลอมที่ทำขึ้นเองโดยไม่มีตราประทับของกรมการขนส่งทางบก เมื่อตำรวจจราจรขอตรวจดูสำเนาแล้วไม่ตรงกับป้าย จะต้องคดีข้อหาปลอมแปลงเอกสารของทางราชการ เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกปรับ หรือส่งฟ้องเพื่อทำการเรียกปรับที่ชั้นศาล โดยระบุโทษไว้ที่ 100,000 บาท หากหมายเลขป้ายทะเบียนไม่ตรงกับป้ายวงกลม รวมถึงยังไม่ตรงกับสำเนารถ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีสิทธิ์ยึดรถ เพื่อส่งเข้ากองพิสูจน์หลักฐาน เพื่อหาที่มาของตัวรถและผู้ขับขี่ต้องไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจ รวบรวมสำนวน ส่งให้ศาลตัดสินค่าปรับซึ่งมีบางท่านโดนปรับกันหลักแสนหลักล้านบาทมาแล้ว
2-โหลดเตี้ยแบบรถแข่งในสนาม
เป็นความพยายามและความเข้าใจของคนแต่งรถว่ารถที่เตี้ยต่ำจะยึดเกาะกับถนนได้ดีขึ้นซึ่งก็จริงแต่ไม่ทั้งหมด การยึดเกาะที่ดีของรถยนต์ยังเกิดขึ้นจากช่วงล่างที่สมบูรณ์ ยางที่สดใหม่และอยู่ในสภาพดี สำหรับกฎหมายเกี่ยวกับการโหลดรถ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รถที่โหลดเตี้ยจะต่ำแค่ไหนก็ได้ โดยยึดหลักเพียงการวัดระยะกึ่งกลางไฟหน้า กับระดับพื้นถนนต้องไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ถ้าต่ำกว่าถือว่าผิด แต่ถ้าไฟหน้าสูงกว่าแต่รถใส่สปอยเลอร์จนเตี้ยต่ำแทบจะลากพื้น จะใช้กฎการพินิจจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนายช่างตรวจสภาพกรมการขนส่งทางบก และผู้วินิจฉัยผล ตรอ. ว่าเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง และผู้อื่นหรือไม่ ถ้าฟันธงว่าเสี่ยงก็ถือว่าผิดได้เช่นกันนะจ๊ะ
3-ยกสูงแบบ Big Foot เอาไว้ลุยเท่ๆ
รถยนต์แบบออฟโรดที่มีสัดส่วนความสูงมากกว่ารถเก๋งเนื่องจากสภาพการใช้งานที่ต้องบุกป่าฝ่าทางวิบาก หากใต้ท้องรถไม่สูงมากพอก็อาจติดกับร่องทางหรือหล่มโคลนจนไปต่อไม่ได้ ในพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า จะยกสูงแค่ไหน แต่ต้องวัดระดับกึ่งกลางไฟหน้ากับพื้นถนนต้องไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร แต่ถ้าไฟหน้าสูงไม่เกิน แต่รถโด่งโจ้งมาก มีการดัดแปลงสภาพมากทั้งเสริมโช้กยกตัวถัง การปรับแต่งรถแบบยกสูงมากนั้นต้องมีหนังสือจากวิศวกรรองรับการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบกว่ามีการดัดแปลงเพื่อใช้งานในเขตทุรกันดาน แต่ถ้ายกไม่สูงมาก แต่ใส่ยางใหญ่เกินจนล้นออกมาข้างตัวรถมากๆ เกินบังโคลนล้อ ก็ต้องใช้หลักดุลพินิจอีกเช่นกันว่าเสี่ยงต่อผู้ร่วมใช้ถนนหรือไม่ ถ้าคุณจ่าคิดว่าสิ่งที่ยื่นออกมานั้นอาจเป็นอันตรายต่อการใช้รถของผู้อื่นคุณก็จะเสี่ยงกับความผิดทันที
4-ใส่ล้อ 20 หรือ 22 แบบเต็มซุ้มเพื่อความหล่อและอำนาจของการยึดเกาะ
ในกฎหมายไม่มีการระบุขนาดของล้อและขนาดก็ไม่ได้มีผลการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ดังนั้น จะใส่ล้อใหญ่ขอบ 18-19-20 หรือจะ 22 ก็สามารถทำได้แบบสะดวกโยธิน แต่ถ้าใส่แล้วยางล้นเกินออกมานอกบังโคลนล้อข้างละหลายนิ้ว เจ้าหน้าที่ที่ตั้งด่านได้ตรวจพบว่าอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น (เช่นทำให้ผู้อื่นกะระยะรถผิดในขณะสวนหรือเลี้ยว) ก็ถือว่าผิดได้ หรือใส่ล้อใหญ่จนต้องแบะล้อเพื่อหลบซุ้ม การทำแบบนั้นนอกจากรถจะไม่เกาะถนนแล้วยังเป็นการทำร้ายช่วงล่างอย่างรุนแรงอีกด้วย มุมอินเอาต์ต่างๆ ที่ผิดเพี้ยนไปจากการคำนวณของวิศวกรจะทำให้คุณควบคุมรถล้อแบะได้ยากขึ้น แถมยังกินยางและดูแลรักษายากอีกด้วยนะครับ
5-โป่งซุ้มล้อไซส์ยักษ์
การทำโป่งซุ้มล้อหรือที่เรียกกันว่า Wide Body ในปัจจุบันลดน้อยลงไปมากเนื่องจากรถยนต์สมัยใหม่มีโป่งล้อมาให้แบบจุใจ ในกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนในเรื่องของโป่งล้อ แต่ก็มีระบุไว้ว่า ส่วนที่ตียื่นต้องมีลักษณะเป็นชิ้นเดียวกับตัวรถ หรือถ้าเป็นวัสดุคนละชนิดกัน ต้องมีการยึดติดอย่างแน่นหนา ถ้าไม่แน่นหนาหรือตีโป่งยื่นออกมามาก เจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ขอตรวจดูสำเนาการจดทะเบียน ว่ามีการดัดแปลงเกินกว่าที่จดทะเบียนไว้หรือไม่ โดยอ้างอิงจากบริษัทผู้ผลิตถึงขนาดตัวรถ และฐานล้อ ซึ่งต้องใช้วิศวกรรับรองการดัดแปลงสภาพ และต้องแจ้งกับกรมการขนส่งทางบก ถ้าขนส่งตรวจแล้วลงความเห็นว่าผ่านก็โชคดีไป แต่ถ้าลงความเห็นว่าไม่ผ่านต้องเลาะออกกลับสภาพเดิม
6-ฝากระโปรงหน้า–หลังดำ ฝากระโปรง หลังคาคาร์บอนไฟเบอร์
นักเลงรถแรงส่วนมากมักนิยมเปลี่ยนฝากระโปรงแบบเดิมให้กลายเป็นฝาแบบคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อลดน้ำหนักและเพิ่มความขลังในมุมมอง หากทำการพ่นเป็นสีเดียวกับสีรถ ที่จดทะเบียนไว้ถือว่าไม่ผิด แต่ถ้าเปลี่ยนสีฝากระโปรงเป็นสีดำ หรือสีอื่น ที่ไม่ตรงกับสีตัวรถ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาตามกฎที่ว่า รถยนต์ที่จดทะเบียนจะมีการระบุสีตัวรถไว้อย่างชัดเจนไม่รวมสีของกันชนรถ โดยสีอื่นต้องมีไม่เกินครึ่งหนึ่งของสีหลักที่จดทะเบียนไว้ เช่น ในกรณีรถระบุไว้ในทะเบียนว่าเป็นสีขาวแต่ฝากระโปรงหน้าเป็นสีดำ เจ้าหน้าที่พินิจแล้วไม่เกินครึ่งหนึ่งก็ถือว่าไม่ผิด แต่พินิจว่าผิดก็ถือว่าผิดได้เช่นกัน (การพินิจหมายถึง การใช้หลักพิจารณาในแต่ละบุคคล) แต่ถ้าดำทั้งฝากระโปรงหน้าและหลัง ส่วนมากจะพินิจว่าผิด เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของสีหลัก ซึ่งเจ้าของรถต้องนำรถเข้าไปแจ้งเปลี่ยนสี ว่าเป็นรถสองสี (ทูโทน) กับกรมการขนส่งทางบกเสียก่อน ถ้าไม่แจ้งก็อาจต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
7-เปลี่ยนท่อไอเสีย ตีเฮดเดอร์ใหม่ทั้งเส้น
จะเปลี่ยนท่อใหญ่ 3 นิ้ว 4 นิ้ว จะมีหม้อพักกี่ใบ หรือจะไม่มีหม้อพักเลยก็ได้แต่หม้อพักต้องปล่อยออกทางท้ายรถเท่านั้น (ยกเว้นเสียแต่พวกรถพ่วง รถโดยสารขนาดใหญ่) ถ้าออกข้างตัวถังรถก็ถือว่าผิดทันที ตามกฎหมายจะระบุไว้แค่การวัดเสียงดังที่ปล่อยออกจากปลายท่อตามพระราชบัญญัติรถยนต์ระบุว่า รถยนต์ที่เกิน 7 ปี ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สถานตรวจสภาพ เพื่อตรวจวัดระดับเสียงที่ปลายท่อไอเสียด้วยเครื่อง Sound level Meter ผลที่ได้ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล (การตรวจวัดแบบ O.5 เมตร) สำหรับเครื่องยนต์เบนซิลวัดที่ ¾ รอบที่ให้แรงม้าสูงสุด และรอบสูงสุดสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ถ้าท่านใดถูกจับในข้อหาเสียงท่อดังสนั่นหวั่นโลกจนชาวบ้านร้านตลาดตกกะใจ ระวังต้องโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
8-ไฟหน้าหลายสี
ไฟซีนอนกำลังส่องสว่างแรงสูง ไฟท้ายขาวใสแนวซิ่ง โคมขาว โคมดำ พ่นสีดำที่โคมไฟหน้าและไฟท้าย ปัจจุบันไฟหน้าแบบซีนอน ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับ จึงอนุญาตให้ติดได้ เพียงแต่ติดตั้งแล้วเมื่อเข้าเครื่องมือทดสอบโคมไฟ ลำแสงต้องมีองศาตกลงจากแนวระนาบ ไม่น้อยกว่า 2 องศา และต้องไม่เบนไปทางขวา ถึงเรียกว่าผ่าน ส่วนเรื่องสีของไฟ โคมไฟหน้าทางกรมกำหนดไว้เพียง 2 สี เท่านั้นคือ สีเหลืองอ่อน และสีขาว ถ้าเป็นสีอื่น เช่น สีฟ้า สีม่วง สีเหลืองเข้มหรือสีเขียว มีความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนไฟหยุด (ไฟเบรก) ต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน ไฟส่องป้ายต้องเป็นสีขาวมองเห็นป้ายทะเบียนได้ไกลไม่น้อยกว่า 20 เมตร การเปลี่ยนโคมไฟเป็นสีขาวใสหรือพ่นโคมเป็นสีดำ ต้องพิจารณาขณะเปิดไฟเลี้ยว ไฟเบรก ถ้าหลอดไฟที่แสดงออกมาชัดเจนและเป็นสีที่ทางการกำหนดก็ถือว่าผ่าน ถ้าผิดสีเพี้ยนไปจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายระวังโดนปรับไม่เกิน 2,000 บาท
9-ไฟสปอร์ตไลต์และโคมไฟตัดหมอก ติดตั้งอย่างไรถึงจะว่าไม่ผิด
โคมไฟสปอร์ตไลต์หมายถึงโคมไฟแสงพุ่งไกล แบบกระจายวงกว้าง แบบนี้ห้ามติดโดยเด็ดขาดแม้จะมีฝาครอบปิด ผิดพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนไฟตัดหมอกมีลักษณะเป็นไฟแสงพุ่งต่ำ ล่าสุดปี พ.ร.บ. 2536 อนุญาตให้รถยนต์ติดไฟสปอร์ตไลต์หรือไฟตัดหมอกเพิ่มได้ ข้างละ 1 ดวง (เท่ากับ 2 ดวง) ในระดับแนวเดียวกัน ความสูงจากพื้นถนนไม่ต่ำกว่า 40 เซนติเมตร และไม่สูงกว่า 135 เซนติเมตร ต้องเป็นแสงสีเหลืองหรือสีขาว กำลังไฟไม่เกิน 55 วัตต์ ไม่เกินกว่าระดับโคมไฟแสงพุ่งไกลและโคมไฟแสงพุ่งต่ำศูนย์รวมแสงต้องต่ำกว่าแนวขนานกับพื้นราบไม่น้อยกว่า 2 องศา หรือ 0.20 เมตร ในระยะ 7.50 เมตร และไม่เฉไปทางขวา
การเปิดไฟตัดหมอกนั้นทำได้เมื่อมีอุปสรรค์ในการขับขี่ เช่น มีหมอกควัน หรือฝนตกหนัก มองเห็นสิ่งกีดขวางหรือรถที่สวนทางมาในระยะไม่เกิน 150 เมตร ถ้าติดไม่ถูกต้อง หรือเปิดไฟพร่ำเพรื่อมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
รวมถึงการติดไฟนีออนใต้ท้อง หรือกรอบป้ายทะเบียน ก็เป็นสิ่งต้องห้าม ผิดอีกเช่นเดียวกันโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
10-ตีโรลบาร์แบบรถแข่ง ผิดด้วยหรือเปล่า
กฎหมายว่าด้วยห้องโดยสารมีเพียงข้อกำหนด เรื่องของจำนวนที่นั่ง มาตราวัดความเร็ว และไฟห้องโดยสารเท่านั้น ส่วนการตีโรลบาร์ยังไม่มีกฎหมายออกมารองรับจึงไม่ผิด แต่การถอดเบาะหลังออกแล้วตีโรลบาร์ จะผิดกฎหมายเรื่องการระบุลักษณะรถ และจำนวนตอน ถือว่าผิดครับ รวมถึงความแน่นหนา (เช่น เอามือจับแล้วโยกได้) ความเสี่ยงต่ำการเกิดอุบัติเหตุ (เช่น มีส่วนแหลมคมพุ่งเข้าหาผู้ขับขี่และผู้โดยสาร) ก็ถือว่าผิดได้อีกเช่นกัน ยิ่งถอดเบาะออกเหลือตัวเดียวหรือตัดตัวถังรถออกบางส่วน แล้วตีโรล์บาร์ยึดแบบ Spec Frame แบบนี้ถือว่าผิด ข้อหาดัดแปลงสภาพที่มีผลต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวรถ
11-ใส่กระจกมองข้างแบบเล็กๆ หรือกระจกซิ่ง ผิดไหม
ตามกฎหมายอีกเช่นกันระบุไว้ว่า รถยนต์ต้องมีเครื่องส่องหลัง (กระจกมองหลัง) และเครื่องส่องหลังภายนอก (กระจกมองข้าง) อย่างน้อย 1 อัน ซึ่งไม่ได้ระบุถึงขนาดและรูปแบบ ถ้าเปลี่ยนเป็นกระจกมองข้างแบบไฟเบอร์ หรือแบบกระจกซิ่งทรงแข่ง ถ้ามี 2 ด้าน หรือด้านเดียวก็ถือว่าถูกกฎหมาย แต่ถ้าไม่มีกระจกมองข้าง หรือกระจกมองหลัง หรือเจ้าหน้าที่ตรวจสภาพ ฟันธงว่า มีเครื่องส่องหลังจริง แต่ชำรุดหรือมองเห็นไม่ชัดเจน (กระจกแตก เล็กมาก) ก็จะ
ถือว่าผิด ต้องกลับมาแก้ไข