สืบเนื่องจากพักนี้เห็นใน Pantip เริ่มมีกระทู้เกี่ยวกับกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดกระบี่ขึ้นมาค่อนข้างเยอะ
ผมในฐานะบุคลากที่ทำงานอยู่ในตัวโรง ก็เลยอยากจะลองนำข้อมูลในด้านคุณภาพอากาศ
มาเผยแพร่ให้สังคมได้รับรู้ว่าจริงๆแล้วที่เค้าบอกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกนักสกปรกหนา จริงๆแล้วมันเป็นยังไง
โดยจะขอยกตัวอย่างจาก โรงไฟฟ้าถ่านหินที่เรารู้จักกันดี คือ โรงไฟฟ้าแม่เมาะนั่นเอง ซึ่งในอดีตเมื่อปี 2535-41 เคยได้รับการร้องเรียน
เรื่องการปล่อย SO2 จนทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา ซึ่งหลังจากนั้น กฟผ. ก็ได้ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ดักจับฝุ่นละอองและก๊าซ
ที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเราจะมาดูกันว่าคุณภาพอากาศใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
ที่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีกลุ่มคนคอยให้ข้อมูลโดยหวังผลให้ประชาชนกลัวนักกลัวหนานั่นเป็นยังไงกันบ้างเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ
โดยข้อมูลอ้างอิงในครั้งนี้จะมาจากเวบไซต์กรมควบคุมมลพิษนะครับ
http://aqmthai.com/
ข้อมูลดัชนี้ชี้วัดคุณภาพอากาศ บริเวณ กทม และปริมณฑล
ข้อมูลดัชนี้ชี้วัดคุณภาพอากาศ บริเวณ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง (ที่มีกรอบสีแดง)
ข้อมูลดัชนี้ชี้วัดคุณภาพอากาศ บริเวณ ภาคเหนือ และ จังหวัดระยอง (ในกรอบสีแดง)
ซึ่งจากข้อมูลเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่า ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ
นั้นล้วนแล้วแต่บ่งชี้ว่า สภาพอากาศ ใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นั้น ดีกว่า ใน กทม. และปริมณฑล ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะ SO2 NOX ที่มีปริมาณการปนเปื้อนในบรรยากาศ มากกว่า อ.แม่เมาะ 2-15 เท่า
และ PM10 ที่มีปริมาณการปนเปื้อนในชั้นบรรยากาศมากกว่า อ.แม่เมาะถึง 2-3 เท่า
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่อัพเดทแบบรายชั่วโมง ข้อมูล ณ ขณะที่นำมาแสดงนั้นเป็นเวลา ตี 1 ซึ่ง
โรงไฟฟ้าแม่เมาะนั้นตะอยู่ในสถานะที่เดินเครื่องตามปกติปกติ ซึ่งจะแตกต่างกันกับบกทม. และปริมณฑล
ที่มีปริมาณรถยนต์หรือกิจกรรมจากโรงงานที่น้อยกว่าในช่วงกลางวันซึ่งเป็นเวลาทำงานปกติ
จากนั้นเมื่อเรามาเทียบคุณภาพอากาศของ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เทียบกับ จังหวัดอื่นๆในภาคเหนือด้วยกัน
เช่น แพร่ น่าน พะเยา ลำพูน ก็จะพบว่า คุณภาพอากาศก็ยังดีกว่าซะเป็นส่วนใหญ่อีกเช่นกัน
และลำดับสุดท้ายที่เราจะนำมาเปรียบเทียบด้วยก็คือ นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด ใน จ.ระยอง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ข้อมูลจะแสดงให้เห็นว่า
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการปนเปื้อนของ SO2 NOX ในชั้นบรรยากาศ 7-14 เท่า และ PM10 2 เท่า เมื่อเทียบกับ อ.แม่เมาะ
ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าข้อกล่าวหาที่มีคนพยายามปลุกปั่นให้ประชาชนและชาวบ้านเข้าใจกันไปว่า
โรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นก่อให้เกิดมลพิษตามมามากมายนั้นล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น
ดังจะเห็นได้ว่า กฟผ. ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
จนแทบที่จะไม่เกิดผลกระทบใดๆต่อชุมชนและสิ่งมีชีวิตรอบโรงไฟฟ้าเลยด้วยซ้ำ
หนำซ้ำยังมีการอุดหนุนเงินเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
โดยทุก 1 หน่วยการผลิตไฟฟ้าจะมีการเก็บเงินเข้ากองทุนดังกล่าว 0.05 สตางค์ ซึ่งสำหรับในพื้นที่ของ อ.แม่เมาะแล้ว
ในแต่ละปีจะมีการอุดหนุนงบประมาณเข้ากองทุนฯ ดังกล่าวประมาณปีละ 300 ล้าน
โดยเงินดังกล่าวนั้นจะถูกบริหารโดยส่วนราชการและผู้แทนของชุมชน
เพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าทั้งในด้านคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืนครับ
ใครที่ยังไม่ทราบข้อมูลข่าวสาร หรือยังทราบข้อมูลข่าวสารมาผิดๆตลอดมา ก็ขอให้ท่านลองเปิดใจรับฟังข้อมูลข่าวสารจากทางเราบ้างเถอะครับ
ใครอยากทราบว่าจริงๆแล้วเป็นยังไงท่านสามารถมาเยี่ยมชมอำเภอแม่เมาะหรือโรงไฟฟ้าได้แทบจะตลอดทั้งปี เช่นกันครับ ทาง กฟผ. เอง
ก็พยายามสื่อสารภารกิจของหน่วยงานและมาตรฐานการดำเนินงานให้บุคคลภายนอกทราบมาโดยตลอดเช่นกันครับ
ดังนั้นแล้ว ขอเถอะครับ ประชาชนคนไทยทุกคน โปรดให้โอกาส กฟผ. ได้ทำให้ภารกิจของเราที่ว่า
ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ได้ลุล่วงไปด้วยดีเถอะครับ ขอบคุณครับ
อ่ะ มาดูกันโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ว่าสกปรกนักสกปรกหนาถ้าเทียบกับ อากาศที่จังหวัดอื่นๆแล้วเป็นยังไงกันบ้าง
ผมในฐานะบุคลากที่ทำงานอยู่ในตัวโรง ก็เลยอยากจะลองนำข้อมูลในด้านคุณภาพอากาศ
มาเผยแพร่ให้สังคมได้รับรู้ว่าจริงๆแล้วที่เค้าบอกว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินสกปรกนักสกปรกหนา จริงๆแล้วมันเป็นยังไง
โดยจะขอยกตัวอย่างจาก โรงไฟฟ้าถ่านหินที่เรารู้จักกันดี คือ โรงไฟฟ้าแม่เมาะนั่นเอง ซึ่งในอดีตเมื่อปี 2535-41 เคยได้รับการร้องเรียน
เรื่องการปล่อย SO2 จนทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพตามมา ซึ่งหลังจากนั้น กฟผ. ก็ได้ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ดักจับฝุ่นละอองและก๊าซ
ที่เกิดจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ซึ่งเราจะมาดูกันว่าคุณภาพอากาศใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
ที่มีโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีกลุ่มคนคอยให้ข้อมูลโดยหวังผลให้ประชาชนกลัวนักกลัวหนานั่นเป็นยังไงกันบ้างเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ
โดยข้อมูลอ้างอิงในครั้งนี้จะมาจากเวบไซต์กรมควบคุมมลพิษนะครับ http://aqmthai.com/
ข้อมูลดัชนี้ชี้วัดคุณภาพอากาศ บริเวณ กทม และปริมณฑล
ข้อมูลดัชนี้ชี้วัดคุณภาพอากาศ บริเวณ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง (ที่มีกรอบสีแดง)
ข้อมูลดัชนี้ชี้วัดคุณภาพอากาศ บริเวณ ภาคเหนือ และ จังหวัดระยอง (ในกรอบสีแดง)
ซึ่งจากข้อมูลเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่า ดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ
นั้นล้วนแล้วแต่บ่งชี้ว่า สภาพอากาศ ใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นั้น ดีกว่า ใน กทม. และปริมณฑล ทั้งสิ้น
โดยเฉพาะ SO2 NOX ที่มีปริมาณการปนเปื้อนในบรรยากาศ มากกว่า อ.แม่เมาะ 2-15 เท่า
และ PM10 ที่มีปริมาณการปนเปื้อนในชั้นบรรยากาศมากกว่า อ.แม่เมาะถึง 2-3 เท่า
ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่อัพเดทแบบรายชั่วโมง ข้อมูล ณ ขณะที่นำมาแสดงนั้นเป็นเวลา ตี 1 ซึ่ง
โรงไฟฟ้าแม่เมาะนั้นตะอยู่ในสถานะที่เดินเครื่องตามปกติปกติ ซึ่งจะแตกต่างกันกับบกทม. และปริมณฑล
ที่มีปริมาณรถยนต์หรือกิจกรรมจากโรงงานที่น้อยกว่าในช่วงกลางวันซึ่งเป็นเวลาทำงานปกติ
จากนั้นเมื่อเรามาเทียบคุณภาพอากาศของ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง เทียบกับ จังหวัดอื่นๆในภาคเหนือด้วยกัน
เช่น แพร่ น่าน พะเยา ลำพูน ก็จะพบว่า คุณภาพอากาศก็ยังดีกว่าซะเป็นส่วนใหญ่อีกเช่นกัน
และลำดับสุดท้ายที่เราจะนำมาเปรียบเทียบด้วยก็คือ นิคมอุตสาหกรรม มาบตาพุด ใน จ.ระยอง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ข้อมูลจะแสดงให้เห็นว่า
นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีการปนเปื้อนของ SO2 NOX ในชั้นบรรยากาศ 7-14 เท่า และ PM10 2 เท่า เมื่อเทียบกับ อ.แม่เมาะ
ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าข้อกล่าวหาที่มีคนพยายามปลุกปั่นให้ประชาชนและชาวบ้านเข้าใจกันไปว่า
โรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นก่อให้เกิดมลพิษตามมามากมายนั้นล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงทั้งสิ้น
ดังจะเห็นได้ว่า กฟผ. ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการผลิตไฟฟ้าให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
จนแทบที่จะไม่เกิดผลกระทบใดๆต่อชุมชนและสิ่งมีชีวิตรอบโรงไฟฟ้าเลยด้วยซ้ำ
หนำซ้ำยังมีการอุดหนุนเงินเข้ากองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
โดยทุก 1 หน่วยการผลิตไฟฟ้าจะมีการเก็บเงินเข้ากองทุนดังกล่าว 0.05 สตางค์ ซึ่งสำหรับในพื้นที่ของ อ.แม่เมาะแล้ว
ในแต่ละปีจะมีการอุดหนุนงบประมาณเข้ากองทุนฯ ดังกล่าวประมาณปีละ 300 ล้าน
โดยเงินดังกล่าวนั้นจะถูกบริหารโดยส่วนราชการและผู้แทนของชุมชน
เพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าทั้งในด้านคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืนครับ
ใครที่ยังไม่ทราบข้อมูลข่าวสาร หรือยังทราบข้อมูลข่าวสารมาผิดๆตลอดมา ก็ขอให้ท่านลองเปิดใจรับฟังข้อมูลข่าวสารจากทางเราบ้างเถอะครับ
ใครอยากทราบว่าจริงๆแล้วเป็นยังไงท่านสามารถมาเยี่ยมชมอำเภอแม่เมาะหรือโรงไฟฟ้าได้แทบจะตลอดทั้งปี เช่นกันครับ ทาง กฟผ. เอง
ก็พยายามสื่อสารภารกิจของหน่วยงานและมาตรฐานการดำเนินงานให้บุคคลภายนอกทราบมาโดยตลอดเช่นกันครับ
ดังนั้นแล้ว ขอเถอะครับ ประชาชนคนไทยทุกคน โปรดให้โอกาส กฟผ. ได้ทำให้ภารกิจของเราที่ว่า
ผลิตไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทย ได้ลุล่วงไปด้วยดีเถอะครับ ขอบคุณครับ