Credit s2m
ก่อนเถียงเรื่องถ่านหิน รู้ไว้ใช่ว่า
คดีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ : ทางตันของยุคถ่านหิน
Blogpost โดย Supang Chatuchinda -- เมษายน 9, 2558 ที่ 11:55เพิ่มความคิดเห็น
หลังจากมีคำพิพากษาของศาลปกครอง และศาลสูงสุด ต่อคดีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะแล้ว เมื่อ 6 เมษายนที่ผ่านมา ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และกลุ่มจับตาพลังงาน ได้จัดเวที Press Briefing ภายใต้หัวข้อ “สังคมไทยควรเรียนรู้อะไรจากกรณีแม่เมาะ” เพื่อรายงานสถานการณ์หลังคำตัดสินของศาล และตระหนักถึงผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยมีนักวิชาการและชาวบ้านในอำเภอแม่เมาะเข้าร่วมพูดคุยในเวทีนี้ เพื่อเป็นบทเรียนให้กับทุก ๆ คนในสังคมไทยได้รับรู้ว่า ชาวแม่เมาะ ต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง และเป็นบทเรียนอันสำคัญที่บอกเราว่าประเทศไทยไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีก
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ล้มไม่เป็นท่า
จากมุมมองของนักกฎหมายสิ่งแวดล้อม สุรชัย ตรงงาม จากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความเห็นว่า แม้ว่าคดีที่ชาวบ้านฟ้องร้องกฟผ.นี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และเมื่อสิทธินี้มีความสำคัญแล้ว การประกอบกิจการใด ๆ ที่ละเมิดต่อสิทธิดังกล่าวก็ถือเป็นความผิด อย่างไรก็ดีตนเองมีคำถามเกี่ยวกับศักยภาพของมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกระบวนการ EIA/EHIA
“ในปี พ.ศ.2538-2544 มีการกำหนดค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศใน 1 ชั่วโมง ของประชาชนทั่วประเทศกับประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่เมาะไม่เท่ากัน หมายความว่าประชาชนในพื้นที่แม่เมาะแข็งแรงกว่าประชากรทั่วประเทศหรืออย่างไร? นอกจากนี้ยังมีประเด็นในเรื่องของรายงานผลกระทบทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) ยังมีปัญหาอยู่คือ หากรายงานฉบับนั้นไม่ผ่านการพิจารณา ผู้จัดทำก็สามารถนำกลับไปแก้ไขจนผ่านโดยที่ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไข”
กรณีนี้แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกระบวนการ EIA/EHIA ยังไม่ใช่หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิประชาชน และควรมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
กรีนพีซปล่อยบอลลูนแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ “ปกป้องโลกจากภาวะโลกร้อน” บริเวณโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ
ความต้องการถ่านหินทำให้ชุมชนแม่เมาะล่มสลาย
เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ จากกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา กล่าวถึงส่วนของเหมืองว่า เหมืองแม่เมาะเริ่มทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 จนถึงก่อน พ.ศ.2510 ช่วงนั้นยังไม่มีการควบคุมจากพ.ร.บ.ต่าง ๆ แต่หลังปี 2535 มีการเข้มงวดการทำเหมืองมากขึ้นเพราะถูกบังคับให้ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA และ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510
สำหรับเหมืองแม่เมาะมี ประทานบัตร (ปบ.) ยังไม่สิ้นอายุทั้งหมด 78 แปลง ถือเป็นเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พื้นที่ขนาดใหญ่เหล่านี้ การขอ ปบ. ติดต่อกันหมายความว่ามีชั้นลิกไนต์แผ่กระจายกว้างมาก
“แต่ทำไมจึงต้องเร่งรีบเปิดหน้าดินเยอะขนาดนั้น แทนการขอ ปบ. เป็นกลุ่มพื้นที่ไป ? คำตอบก็คือเพราะ ความสะดวก และลงทุนต่ำ ถ้าไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจจริง ๆ ไม่สามารถขอปบ.ได้เยอะขนาดนี้ กฟผ.ต้องการเป็นเจ้าของถ่านหินในแอ่งแม่เมาะทั้งหมด กินพื้นที่ชุมชนแม่เมาะ ทำให้แหล่งอารยธรรมชุมชนแม่เมาะล่มสลายซึ่งการทำแบบนี้เป็นวิธีการทำเหมืองที่ผิดพลาด”
นอกจากชุมชนและสิ่งแวดล้อมแล้ว แม้แต่แหล่งโบราณสถานซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ เช่น ภาพเขียนสีบนดอยผาตูบ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในประทานบัตรเหมืองแม่เมาะอาจถูกทำลายไป เพราะทางโรงไฟฟ้ามีแผนจะระเบิดภูเขาบริเวณนั้นเพื่อนำหินปูนมาใช้ในการเผาไหม้ถ่านหินเพิ่มเติม
ใครว่าถ่านหินสะอาด?
ดร.อาภา หวังเกียรติ จากวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พูดถึงผลกระทบของโรงไฟฟ้าต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยยกตัวอย่างสารที่เหลือจากกระบวนการเผาไหม้เช่น เถ้าหนัก เถ้าลอย เหล่านี้จะมีสารหนู สารตะกั่ว สารปรอท สังกะสี สารหนูมีผลกระทบต่อระบบประสาท มะเร็งในปอด หากสัมผัสจะมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนัง สารปรอทมีผลกระทบต่อระบบประสาท ทำให้การพัฒนาสมองไม่เต็มที่ ซึ่งเถ้าที่ถมอยู่ในแม่เมาะจะถูกชะล้างเวลาฝนตก เถ้าเหล่านี้ก็จะสะสมลงสู่ระบบนิเวศของแม่เมาะ ทุกๆกระบวนการของการผลิตถ่านหิน ตั้งแต่การทำเหมือง การขนส่ง การเผาไหม้ การระบายน้ำเสีย มีสารโลหะหนักถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ดิน หรืออากาศ สารโลหะหนักเหล่านี้จะไปปนเปื้อนและสะสมในสิ่งมีชีวิต
ทั้งนี้ยังเสริมในเรื่องของโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดอีกว่า “สังคมไทยควรทำความเข้าใจถ่านหินและมลสารของถ่านหิน ไม่ว่าจะเป็นถ่านหินชนิดที่มีคุณภาพดีแค่ไหนก็จะมีโลหะหนักสะสมในถ่านหิน เช่น สารปรอท สารหนู เป็นต้น สังคมต้องทราบว่าถ่านหินมีสารอื่น ๆ อีกนอกจากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ถ่านหินสะอาดไม่ใช่มูลความจริงทั้งหมด”
ชาวแม่เมาะคือผู้รับเคราะห์ในที่สุด
ตัวแทนชุมชนแม่เมาะคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะได้ระบายความในใจผ่านเวทีนี้ว่า ลูกสาวของเธอป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจเนื่องจากสูดดมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ในขณะที่ปู่ของลูกสาวซึ่งเป็นหนึ่งในชาวบ้าน 131 คนที่ฟ้องร้องเรียกเงินชดเชยได้เสียชีวิตลงด้วยโรคทางเดินหายใจเช่นกัน ส่วนค่าชดเชยจะมีให้เฉพาะชาวบ้านที่ฟ้องร้องเท่านั้น
ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมและชุมชนในบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะเชื่อว่าเป็นผลกระทบจากมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
เงินชดเชยที่ศาลพิพากษาให้กฟผ.ต้องชดใช้ก็มีแค่ ค่าเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกาย สุขภาพและอนามัย กับค่าสูญเสียด้านจิตใจ แต่กฟผ.ไม่ต้องชดเชย ค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดประโยชน์จากการประกอบวิชาชีพ ค่าสูญเสียโอกาสที่จะดำรงชีวิตอย่างคนปกติจนกว่าจะเสียชีวิต และค่าเสียหายในอนาคต โดยศาลกล่าวว่าชาวบ้านไม่มีพยานหลักฐานให้ศาล คำถามคือชาวบ้านจะเข้าถึงพยานหลักฐานตรงนี้ได้อย่างไร ชีวิตความเป็นอยู่ก็ลำบากเพราะพืชผักที่ปลูกโดนฝนกรด จนเสียหาย ทำให้ขาดรายได้
“เราพึ่งข้าราชการในแม่เมาะไม่ได้แล้ว ทั้งเจ้าหน้าที่และแพทย์ที่อยู่ในอำเภอหรือแม้กระทั่งในจังหวัดลำปาง ไม่มีใครกล้าพูดถึงซัลเฟอร์ไดออกไซด์เลย”
เมื่อศาลตัดสินออกมาว่าชาวบ้านป่วยเพราะซัลเฟอร์ไดออกไซด์จริง แม้ว่าจะได้รับค่าชดเชยแล้ว แต่ก็ยังมีชาวบ้านอีกกว่า 40 หมู่บ้านที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ตอนนี้ก็ยังมีชาวบ้านที่ฟ้องพร้อมกัน แต่ไม่ได้ค่าชดเชยเหมือนกัน ยกตัวอย่าง สามีได้รับค่าชดเชย แต่ภรรยายังไม่ได้ ทั้งนี้ กฟผ.ควรใส่ใจกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพทุกคน ไม่ใช่แค่คนที่ฟ้องร้องเท่านั้น เพราะพวกเขาป่วยเพราะมลพิษโรงไฟฟ้าถ่านหิน
เช่นเดียวกับคำสั่งอพยพชาวบ้านภายในรัศมี 5 กิโลเมตรออกจากพื้นที่ จนกระทั่งตอนนี้ล่วงเลยไปกว่า 60 วันจากระยะเวลาที่กำหนด 90 วันแล้ว แต่ไม่เคยมีใครหรือหน่วยงานใดเข้ามาติดต่อให้ชาวบ้านอพยพ ชาวบ้านไม่สามารถอพยพเองได้เนื่องจากไม่มีทุนมากพอ และเมื่ออพยพไปแล้วก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน พื้นที่ทำกินก็ไม่มี
ความจริงแล้วไม่ใช่แค่ชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตรเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากสารพิษกระจายออกไปเป็นวงกว้างมากกว่า 20 กิโลเมตร ตัวแทนชาวแม่เมาะได้ฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ว่า ขอร้องให้ทุก ๆ ฝ่ายช่วยเหลือชาวแม่เมาะตามคำสั่งศาล เพราะชาวแม่เมาะอยากเห็นความรับผิดชอบของหน่วยงาน
ชาวแม่เมาะได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งแต่รุ่นปู่จนถึงรุ่นหลาน จนกระทั่งตอนนี้ เหมืองถ่านหินก็ไม่ได้ปิดลง ยิ่งไปกว่านั้น กฟผ.กำลังดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แทนโรงไฟฟ้าเก่าที่กำลังจะหมดอายุ หากยังละเลยในเรื่องของผลกระทบอยู่ ก็ไม่ทราบว่าในอนาคต ชาวแม่เมาะจะต้องอยู่กับโรคภัยไปอีกกี่ปี? บทเรียนจากคดีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะครั้งนี้บอกเราว่า หน่วยงานที่เข้าไปดูแลรับผิดชอบพื้นที่นั้นไร้ศักยภาพ ไม่สามารถควบคุมมลพิษได้อย่างแท้จริง รวมถึงยังละเลยต่อสุขภาพของคนในชุมชนบริเวณใกล้เคียง
“โฆษณาของกฟผ. ที่บอกว่าอากาศที่แม่เมาะบริสุทธิ์เท่าๆ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มันไม่จริงเลย เป็นโฆษณาชวนเชื่อทั้งนั้น พวกเราชาวแม่เมาะดูแล้วหดหู่ใจ” ตัวแทนชุมชนแม่เมาะกล่าว
ในอนาคต กฟผ.มีแผนที่จะผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 14 แห่งทั่วประเทศไทย โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่เพียงแค่บทเรียนจากคดีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะก็เป็นเครื่องบอกเราว่าเราควรหยุดใช้ถ่านหิน
หากกรณีของปัญหาผลกระทบที่แม่เมาะยังไม่สามารถจัดการแก้ไขและเยียวยาได้ อีกทั้งยังขาดมาตรการจัดการกับผลกระทบที่รัดกุมและเหมาะสมอย่างแท้จริง นอกเหนือจากคำโฆษณาชวนเชื่อว่า “ถ่านหินสะอาด” แล้ว เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสุขภาพ และไม่ทำลายแหล่งชุมชนที่เราอาศัยอยู่
การมุ่งหน้าสู่ความมั่นคงทางด้านพลังงานโดยการเพิ่มโรงไฟฟ้าจากถ่านหินจึงไม่ใช่ทางออกของความยั่งยืนทางพลังงาน ไม่ว่าจะมองในมิติไหนก็ตาม สังคมไทยมีบทเรียนมากเพียงพอแล้วจากกรณีแม่เมาะกว่า 46 ปี (ตามข้อมูลจาก รัฐบาลตราพ.ร.บ.จัดตั้งกฟผ.ในปี 2511 และรวมกิจการเหมืองแม่เมาะให้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2512) แต่ทางออกที่ยั่งยืนนั่นก็คือ “แหล่งพลังงานหมุนเวียน” ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเรา
ข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, รายงานพลังงานของประเทศไทย และรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2556 รายงานว่า จากสถิติกำลังผลิตติดตั้งของพลังงานหมุนเวียนปี 2537 – 2556 นั้นแม้ว่ามูลค่าการลงทุนพลังงานหมุนเวียนยังผันผวนเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันในแต่ละปี แต่ประเทศไทยมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพและลม
ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, รายงานพลังงานของประเทศไทย และรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2556
ประเทศไทยสามารถพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจังได้ ซึ่งทุกภูมิภาคในประเทศมีศักยภาพทางด้านพลังงานหมุนเวียนมาก รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย ขาดแต่เพียงนโยบายที่สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนของรัฐบาล ตั้งแต่การเริ่มต้นวางแผน หรือกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอย่างแท้จริง
บทเรียนแม่เมาะ แชร์กัน
ก่อนเถียงเรื่องถ่านหิน รู้ไว้ใช่ว่า
คดีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ : ทางตันของยุคถ่านหิน
Blogpost โดย Supang Chatuchinda -- เมษายน 9, 2558 ที่ 11:55เพิ่มความคิดเห็น
หลังจากมีคำพิพากษาของศาลปกครอง และศาลสูงสุด ต่อคดีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะแล้ว เมื่อ 6 เมษายนที่ผ่านมา ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม ร่วมกับคณะทำงานเพื่อโลกเย็นที่เป็นธรรม มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม และกลุ่มจับตาพลังงาน ได้จัดเวที Press Briefing ภายใต้หัวข้อ “สังคมไทยควรเรียนรู้อะไรจากกรณีแม่เมาะ” เพื่อรายงานสถานการณ์หลังคำตัดสินของศาล และตระหนักถึงผลกระทบของโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยมีนักวิชาการและชาวบ้านในอำเภอแม่เมาะเข้าร่วมพูดคุยในเวทีนี้ เพื่อเป็นบทเรียนให้กับทุก ๆ คนในสังคมไทยได้รับรู้ว่า ชาวแม่เมาะ ต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง และเป็นบทเรียนอันสำคัญที่บอกเราว่าประเทศไทยไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มอีก
มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ล้มไม่เป็นท่า
จากมุมมองของนักกฎหมายสิ่งแวดล้อม สุรชัย ตรงงาม จากมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความเห็นว่า แม้ว่าคดีที่ชาวบ้านฟ้องร้องกฟผ.นี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของสิทธิทางด้านสิ่งแวดล้อม หรือสิทธิในการดำรงชีวิตอยู่อย่างปกติสุขในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และเมื่อสิทธินี้มีความสำคัญแล้ว การประกอบกิจการใด ๆ ที่ละเมิดต่อสิทธิดังกล่าวก็ถือเป็นความผิด อย่างไรก็ดีตนเองมีคำถามเกี่ยวกับศักยภาพของมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกระบวนการ EIA/EHIA
“ในปี พ.ศ.2538-2544 มีการกำหนดค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศใน 1 ชั่วโมง ของประชาชนทั่วประเทศกับประชาชนในพื้นที่อำเภอแม่เมาะไม่เท่ากัน หมายความว่าประชาชนในพื้นที่แม่เมาะแข็งแรงกว่าประชากรทั่วประเทศหรืออย่างไร? นอกจากนี้ยังมีประเด็นในเรื่องของรายงานผลกระทบทางด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) ยังมีปัญหาอยู่คือ หากรายงานฉบับนั้นไม่ผ่านการพิจารณา ผู้จัดทำก็สามารถนำกลับไปแก้ไขจนผ่านโดยที่ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการแก้ไข”
กรณีนี้แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมและกระบวนการ EIA/EHIA ยังไม่ใช่หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิประชาชน และควรมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
กรีนพีซปล่อยบอลลูนแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ “ปกป้องโลกจากภาวะโลกร้อน” บริเวณโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ
ความต้องการถ่านหินทำให้ชุมชนแม่เมาะล่มสลาย
เลิศศักดิ์ คำคงศักดิ์ จากกลุ่มนิเวศวัฒนธรรมศึกษา กล่าวถึงส่วนของเหมืองว่า เหมืองแม่เมาะเริ่มทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 จนถึงก่อน พ.ศ.2510 ช่วงนั้นยังไม่มีการควบคุมจากพ.ร.บ.ต่าง ๆ แต่หลังปี 2535 มีการเข้มงวดการทำเหมืองมากขึ้นเพราะถูกบังคับให้ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม EIA และ พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510
สำหรับเหมืองแม่เมาะมี ประทานบัตร (ปบ.) ยังไม่สิ้นอายุทั้งหมด 78 แปลง ถือเป็นเหมืองถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พื้นที่ขนาดใหญ่เหล่านี้ การขอ ปบ. ติดต่อกันหมายความว่ามีชั้นลิกไนต์แผ่กระจายกว้างมาก
“แต่ทำไมจึงต้องเร่งรีบเปิดหน้าดินเยอะขนาดนั้น แทนการขอ ปบ. เป็นกลุ่มพื้นที่ไป ? คำตอบก็คือเพราะ ความสะดวก และลงทุนต่ำ ถ้าไม่ใช่ผู้ที่มีอำนาจจริง ๆ ไม่สามารถขอปบ.ได้เยอะขนาดนี้ กฟผ.ต้องการเป็นเจ้าของถ่านหินในแอ่งแม่เมาะทั้งหมด กินพื้นที่ชุมชนแม่เมาะ ทำให้แหล่งอารยธรรมชุมชนแม่เมาะล่มสลายซึ่งการทำแบบนี้เป็นวิธีการทำเหมืองที่ผิดพลาด”
นอกจากชุมชนและสิ่งแวดล้อมแล้ว แม้แต่แหล่งโบราณสถานซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ เช่น ภาพเขียนสีบนดอยผาตูบ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในประทานบัตรเหมืองแม่เมาะอาจถูกทำลายไป เพราะทางโรงไฟฟ้ามีแผนจะระเบิดภูเขาบริเวณนั้นเพื่อนำหินปูนมาใช้ในการเผาไหม้ถ่านหินเพิ่มเติม
ใครว่าถ่านหินสะอาด?
ดร.อาภา หวังเกียรติ จากวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต พูดถึงผลกระทบของโรงไฟฟ้าต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมโดยยกตัวอย่างสารที่เหลือจากกระบวนการเผาไหม้เช่น เถ้าหนัก เถ้าลอย เหล่านี้จะมีสารหนู สารตะกั่ว สารปรอท สังกะสี สารหนูมีผลกระทบต่อระบบประสาท มะเร็งในปอด หากสัมผัสจะมีโอกาสเป็นมะเร็งผิวหนัง สารปรอทมีผลกระทบต่อระบบประสาท ทำให้การพัฒนาสมองไม่เต็มที่ ซึ่งเถ้าที่ถมอยู่ในแม่เมาะจะถูกชะล้างเวลาฝนตก เถ้าเหล่านี้ก็จะสะสมลงสู่ระบบนิเวศของแม่เมาะ ทุกๆกระบวนการของการผลิตถ่านหิน ตั้งแต่การทำเหมือง การขนส่ง การเผาไหม้ การระบายน้ำเสีย มีสารโลหะหนักถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ดิน หรืออากาศ สารโลหะหนักเหล่านี้จะไปปนเปื้อนและสะสมในสิ่งมีชีวิต
ทั้งนี้ยังเสริมในเรื่องของโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดอีกว่า “สังคมไทยควรทำความเข้าใจถ่านหินและมลสารของถ่านหิน ไม่ว่าจะเป็นถ่านหินชนิดที่มีคุณภาพดีแค่ไหนก็จะมีโลหะหนักสะสมในถ่านหิน เช่น สารปรอท สารหนู เป็นต้น สังคมต้องทราบว่าถ่านหินมีสารอื่น ๆ อีกนอกจากซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ถ่านหินสะอาดไม่ใช่มูลความจริงทั้งหมด”
ชาวแม่เมาะคือผู้รับเคราะห์ในที่สุด
ตัวแทนชุมชนแม่เมาะคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตรของโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะได้ระบายความในใจผ่านเวทีนี้ว่า ลูกสาวของเธอป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจเนื่องจากสูดดมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตั้งแต่อายุน้อย ๆ ในขณะที่ปู่ของลูกสาวซึ่งเป็นหนึ่งในชาวบ้าน 131 คนที่ฟ้องร้องเรียกเงินชดเชยได้เสียชีวิตลงด้วยโรคทางเดินหายใจเช่นกัน ส่วนค่าชดเชยจะมีให้เฉพาะชาวบ้านที่ฟ้องร้องเท่านั้น
ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ซึ่งนักกิจกรรมสิ่งแวดล้อมและชุมชนในบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะเชื่อว่าเป็นผลกระทบจากมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน
เงินชดเชยที่ศาลพิพากษาให้กฟผ.ต้องชดใช้ก็มีแค่ ค่าเสื่อมสมรรถภาพทางร่างกาย สุขภาพและอนามัย กับค่าสูญเสียด้านจิตใจ แต่กฟผ.ไม่ต้องชดเชย ค่ารักษาพยาบาล ค่าขาดประโยชน์จากการประกอบวิชาชีพ ค่าสูญเสียโอกาสที่จะดำรงชีวิตอย่างคนปกติจนกว่าจะเสียชีวิต และค่าเสียหายในอนาคต โดยศาลกล่าวว่าชาวบ้านไม่มีพยานหลักฐานให้ศาล คำถามคือชาวบ้านจะเข้าถึงพยานหลักฐานตรงนี้ได้อย่างไร ชีวิตความเป็นอยู่ก็ลำบากเพราะพืชผักที่ปลูกโดนฝนกรด จนเสียหาย ทำให้ขาดรายได้
“เราพึ่งข้าราชการในแม่เมาะไม่ได้แล้ว ทั้งเจ้าหน้าที่และแพทย์ที่อยู่ในอำเภอหรือแม้กระทั่งในจังหวัดลำปาง ไม่มีใครกล้าพูดถึงซัลเฟอร์ไดออกไซด์เลย”
เมื่อศาลตัดสินออกมาว่าชาวบ้านป่วยเพราะซัลเฟอร์ไดออกไซด์จริง แม้ว่าจะได้รับค่าชดเชยแล้ว แต่ก็ยังมีชาวบ้านอีกกว่า 40 หมู่บ้านที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ ตอนนี้ก็ยังมีชาวบ้านที่ฟ้องพร้อมกัน แต่ไม่ได้ค่าชดเชยเหมือนกัน ยกตัวอย่าง สามีได้รับค่าชดเชย แต่ภรรยายังไม่ได้ ทั้งนี้ กฟผ.ควรใส่ใจกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบทางสุขภาพทุกคน ไม่ใช่แค่คนที่ฟ้องร้องเท่านั้น เพราะพวกเขาป่วยเพราะมลพิษโรงไฟฟ้าถ่านหิน
เช่นเดียวกับคำสั่งอพยพชาวบ้านภายในรัศมี 5 กิโลเมตรออกจากพื้นที่ จนกระทั่งตอนนี้ล่วงเลยไปกว่า 60 วันจากระยะเวลาที่กำหนด 90 วันแล้ว แต่ไม่เคยมีใครหรือหน่วยงานใดเข้ามาติดต่อให้ชาวบ้านอพยพ ชาวบ้านไม่สามารถอพยพเองได้เนื่องจากไม่มีทุนมากพอ และเมื่ออพยพไปแล้วก็ไม่รู้จะไปอยู่ที่ไหน พื้นที่ทำกินก็ไม่มี
ความจริงแล้วไม่ใช่แค่ชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตรเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษของโรงไฟฟ้าถ่านหิน แต่ชาวบ้านได้รับผลกระทบจากสารพิษกระจายออกไปเป็นวงกว้างมากกว่า 20 กิโลเมตร ตัวแทนชาวแม่เมาะได้ฝากถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ว่า ขอร้องให้ทุก ๆ ฝ่ายช่วยเหลือชาวแม่เมาะตามคำสั่งศาล เพราะชาวแม่เมาะอยากเห็นความรับผิดชอบของหน่วยงาน
ชาวแม่เมาะได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหินตั้งแต่รุ่นปู่จนถึงรุ่นหลาน จนกระทั่งตอนนี้ เหมืองถ่านหินก็ไม่ได้ปิดลง ยิ่งไปกว่านั้น กฟผ.กำลังดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่แทนโรงไฟฟ้าเก่าที่กำลังจะหมดอายุ หากยังละเลยในเรื่องของผลกระทบอยู่ ก็ไม่ทราบว่าในอนาคต ชาวแม่เมาะจะต้องอยู่กับโรคภัยไปอีกกี่ปี? บทเรียนจากคดีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะครั้งนี้บอกเราว่า หน่วยงานที่เข้าไปดูแลรับผิดชอบพื้นที่นั้นไร้ศักยภาพ ไม่สามารถควบคุมมลพิษได้อย่างแท้จริง รวมถึงยังละเลยต่อสุขภาพของคนในชุมชนบริเวณใกล้เคียง
“โฆษณาของกฟผ. ที่บอกว่าอากาศที่แม่เมาะบริสุทธิ์เท่าๆ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน มันไม่จริงเลย เป็นโฆษณาชวนเชื่อทั้งนั้น พวกเราชาวแม่เมาะดูแล้วหดหู่ใจ” ตัวแทนชุมชนแม่เมาะกล่าว
ในอนาคต กฟผ.มีแผนที่จะผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินอีก 14 แห่งทั่วประเทศไทย โครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่เพียงแค่บทเรียนจากคดีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะก็เป็นเครื่องบอกเราว่าเราควรหยุดใช้ถ่านหิน
หากกรณีของปัญหาผลกระทบที่แม่เมาะยังไม่สามารถจัดการแก้ไขและเยียวยาได้ อีกทั้งยังขาดมาตรการจัดการกับผลกระทบที่รัดกุมและเหมาะสมอย่างแท้จริง นอกเหนือจากคำโฆษณาชวนเชื่อว่า “ถ่านหินสะอาด” แล้ว เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าโรงไฟฟ้าถ่านหินจะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายสุขภาพ และไม่ทำลายแหล่งชุมชนที่เราอาศัยอยู่
การมุ่งหน้าสู่ความมั่นคงทางด้านพลังงานโดยการเพิ่มโรงไฟฟ้าจากถ่านหินจึงไม่ใช่ทางออกของความยั่งยืนทางพลังงาน ไม่ว่าจะมองในมิติไหนก็ตาม สังคมไทยมีบทเรียนมากเพียงพอแล้วจากกรณีแม่เมาะกว่า 46 ปี (ตามข้อมูลจาก รัฐบาลตราพ.ร.บ.จัดตั้งกฟผ.ในปี 2511 และรวมกิจการเหมืองแม่เมาะให้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2512) แต่ทางออกที่ยั่งยืนนั่นก็คือ “แหล่งพลังงานหมุนเวียน” ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเรา
ข้อมูลจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, รายงานพลังงานของประเทศไทย และรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2556 รายงานว่า จากสถิติกำลังผลิตติดตั้งของพลังงานหมุนเวียนปี 2537 – 2556 นั้นแม้ว่ามูลค่าการลงทุนพลังงานหมุนเวียนยังผันผวนเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกันในแต่ละปี แต่ประเทศไทยมีการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ชีวมวล ก๊าซชีวภาพและลม
ที่มา: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน, รายงานพลังงานของประเทศไทย และรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2556
ประเทศไทยสามารถพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนอย่างจริงจังได้ ซึ่งทุกภูมิภาคในประเทศมีศักยภาพทางด้านพลังงานหมุนเวียนมาก รวมถึงกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย ขาดแต่เพียงนโยบายที่สนับสนุนพลังงานหมุนเวียนของรัฐบาล ตั้งแต่การเริ่มต้นวางแผน หรือกฎหมายพลังงานหมุนเวียนที่เอื้อต่อการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนอย่างแท้จริง