ผมได้มีโอกาสกลับมาเยี่ยมโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยอีกครั้งในรอบ 10 ปี โดยในครั้งก่อนไปในฐานะที่ปรึกษาโครงการฯ ของกระทรวงพลังงาน แต่ครั้งนี้กลับมาอีกครั้งในฐานะนักวิชาการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ตามคำเชิญของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในช่วงวันที่ 19-21 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา
สิ่งที่ดึงดูดและเป็นที่สนใจจนทำให้ผมต้องกลับมาในครั้งนี้คงเป็นไลน์การผลิตไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. (MM-T1) ซึ่งพึ่งถูกติดตั้งแล้วเสร็จ ขนาดกำลังการผลิต 655 MW ซึ่งใช้ทดแทนไลน์การผลิตเดิมซึ่งถูกปลดประจำการไปตามอายุการใช้งาน ซึ่งไลน์การผลิตใหม่นี้ใช้เทคโนโลยีใหม่ Ultra-supercritical Boiler ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีล่าสุดของโลกและถูกนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศไทย จากข้อมูลในเบื้องต้นก็คือ จะใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้น้อยกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยลง ฯลฯ
ในวันนี้โรงไฟฟ้าแม่เมาะหรือเหมืองแม่เมาะที่หลายคนชอบเรียกกันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ลบภาพเก่าๆในอดีตซึ่งเคยเป็นดินแดนสนธยาและถูกกล่าวหาว่าเป็นแหล่งผลิตมลพิษของประเทศไปจนแทบจะหมดสิ้น
การเดินทางมาของผมในครั้งนี้มิใช้เพียงเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสเดินทางไปยังชุมชนในพื้นที่โดยรอบของโรงไฟฟ้าฯ เพื่อพบปะและพูดคุยกับประชาชนซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
คงต้องต้องยอมรับว่าในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเคยเป็นแหล่งสร้างมลพิษของประเทศจริง แต่วันนี้ผมรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ผสมผสานด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันดูเหมือนว่ากำลังจะประสบผลสัมฤทธิ์
วันนี้เหมืองแม่เมาะในอดีตกลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอันดับต้นๆของจังหวัดลำปาง และเป็นสถานที่ซึ่งผู้คนอยากจะเข้ามาท่องเที่ยว เช็คอิน ทำกิจกรรมกลางแจ้ง แค้มปิ้งและกางเต้นท์พักแรมกัน หากถามผมเมื่อหลายสิบปีก่อนก็คงยากที่จะจินตนาการได้
ผมได้มีโอกาสเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่งในพื้นที่ เช่น พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา ศูนย์พัฒนาอาชีพของชุมชน ทุ่งบัวตอง และเยี่ยมชมการฟื้นฟูสภาพเหมืองแม่เมาะ ซึ่งในแต่ละสถานที่ก็จะพบนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวกันอย่างไม่ขาดสาย
แน่นอนครับว่าผมจะต้องพักในบ้านพักรับรองซึ่งทาง กฟผ. จัดไว้ให้ ซึ่งอยู่ในบริเวณรอบ ๆ เหมืองถ่านหิน ทำให้สามารถมองเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ในเหมืองได้แบบเรียลไทม์ โดยไม่มีอะไรปิดบัง ซึ่งก็คงจะเป็นอีกบรรยากาศซึ่งไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
ก่อนเดินทางกลับผมรีบตื่นเช้าเพื่อออกไปวิ่งจ๊อกกิ้งและสำรวจพื้นที่โดยรอบ สภาพอากาศในช่วงนี้เย็นสบาย หายใจขณะวิ่งได้เป็นปกติ ไม่รู้สึกเจ็บคอหรือแสบจมูกเหมือนกับวิ่งในเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าคุณภาพอากาศยังคงปกติดี อาจมีบางครั้งที่หายใจไม่สะดวกอยู่บ้างก็คงจะเป็นช่วงที่รถยนต์หรือรถบรรทุกวิ่งผ่านซึ่งก่อให้เกิดไอเสียและฝุ่นละอองบนถนนฟุ้งกระจายขึ้นมา แต่ในกรณีดังกล่าวก็คงจะไปว่าอะไรเขาไม่ได้เพราะสาเหตุไม่ใช่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่อยู่ข้างๆ
เขียนมาขนาดนี้ หลายคนอาจจะถามผมว่า “สงสัยอาจารย์ถูก กฟผ. ล้างสมองไปแล้ว” เนื่องจากเพราะผมเป็นนักวิชาการด้านพลังงานหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพยายามรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งผมก็ขอตอบทุกคนในที่นี้เลยว่า ไม่ใช่หรอกครับ เพราะในวันนี้ผมก็ยังคงยึดมั่นและมีแนวคิดในการส่งเสริมให้ทุก ๆ คนมาร่วมกันใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมกันเช่นเดิม
แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเดินทางในครั้งนี้ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับผม ทำให้ได้มีโอกาสเห็นกระบวนการในการทำงานที่หลากหลายมิติ ของแต่ละหน่วยงานภายใน กฟผ. ซึ่งดำเนินการภายใต้แรงกดดันจากภายในและภายนอก รวมถึงการบริหารจัดการแบบเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งก็น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมและก่อให้เกิดการพัฒนาในอนาคตได้อย่างยั่งยืนร่วมกัน
ผมคงไม่สรุปในที่นี้หรอกว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร แต่ในโลกของความเป็นจริง เชื้อเพลิงประเภทนี้ ก็ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาของประเทศของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนของเรายังมีไม่เพียงพอกับต่อความต้องการของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ภาคธุรกิจ รวมถึงอุตสาหกรรม อีกทั้งการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆในประเทศเกิดขึ้นได้ยากมาก แม้ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนก็ไม่ใช่ว่าจะสร้างกันได้ง่ายๆ จากประสบการณ์ของผมที่ผ่านมาในการเป็นที่ปรึกษา ออกแบบ หรือมีส่วนร่วมในการก่อสร้าง
ดังนั้น ในวันนี้ก็คงเป็นการยากที่จะปฏิเสธเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งในที่นี้ผมหมายถึงโรงไฟฟ้าแม่เมาะนั่นเอง แต่ประเด็นหลักก็คือแล้วเราจะใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างไร ซึ่งก็คงจะต้องเริ่มศึกษาข้อมูลที่แท้จริง ทำความเข้าใจ จนกระทั้งหมดข้อสงสัย แล้วจึงเปิดใจยอมรับในที่สุด
สุดท้ายสำหรับสิ่งที่ได้รับจากการเดินทางในครั้งนี้ก็คือ ผมได้เห็นถึงแบบอย่างของความพยายามในการที่จะแก้ปัญหาของ กฟผ. กับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชาชนในอดีต ซึ่งต้องใช้เวลา งบประมาณ รวมถึงการดำเนินการที่ยาวนานอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญที่สุด ก็คือ จะต้องทำอย่างจริงใจ จริงจัง และเปิดเผย เพื่อที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในสังคม โดยมีเป้าหมายก็คือ สามารถก้าวเดินไปด้วยกันได้อย่างผาสุก บริหารการผลิตได้อย่างมีเสถียรภาพ เพื่อที่จะเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มศักยภาพความมั่นคงในด้านพลังงานให้กับประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ผศ.ดร.ฐกฤต ปานขลิบ คณบดีคณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
บอกเล่า ถึงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน :)
สิ่งที่ดึงดูดและเป็นที่สนใจจนทำให้ผมต้องกลับมาในครั้งนี้คงเป็นไลน์การผลิตไฟฟ้าใหม่ของ กฟผ. (MM-T1) ซึ่งพึ่งถูกติดตั้งแล้วเสร็จ ขนาดกำลังการผลิต 655 MW ซึ่งใช้ทดแทนไลน์การผลิตเดิมซึ่งถูกปลดประจำการไปตามอายุการใช้งาน ซึ่งไลน์การผลิตใหม่นี้ใช้เทคโนโลยีใหม่ Ultra-supercritical Boiler ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีล่าสุดของโลกและถูกนำมาใช้ครั้งแรกในประเทศไทย จากข้อมูลในเบื้องต้นก็คือ จะใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้น้อยกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยลง ฯลฯ
ในวันนี้โรงไฟฟ้าแม่เมาะหรือเหมืองแม่เมาะที่หลายคนชอบเรียกกันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ลบภาพเก่าๆในอดีตซึ่งเคยเป็นดินแดนสนธยาและถูกกล่าวหาว่าเป็นแหล่งผลิตมลพิษของประเทศไปจนแทบจะหมดสิ้น
การเดินทางมาของผมในครั้งนี้มิใช้เพียงเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสเดินทางไปยังชุมชนในพื้นที่โดยรอบของโรงไฟฟ้าฯ เพื่อพบปะและพูดคุยกับประชาชนซึ่งมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาในด้านต่างๆ ทั้งในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
คงต้องต้องยอมรับว่าในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเคยเป็นแหล่งสร้างมลพิษของประเทศจริง แต่วันนี้ผมรู้สึกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ความพยายามในการแก้ปัญหาด้วยวิธีต่างๆ ผสมผสานด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันดูเหมือนว่ากำลังจะประสบผลสัมฤทธิ์
วันนี้เหมืองแม่เมาะในอดีตกลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอันดับต้นๆของจังหวัดลำปาง และเป็นสถานที่ซึ่งผู้คนอยากจะเข้ามาท่องเที่ยว เช็คอิน ทำกิจกรรมกลางแจ้ง แค้มปิ้งและกางเต้นท์พักแรมกัน หากถามผมเมื่อหลายสิบปีก่อนก็คงยากที่จะจินตนาการได้
ผมได้มีโอกาสเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ อีกหลายแห่งในพื้นที่ เช่น พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา ศูนย์พัฒนาอาชีพของชุมชน ทุ่งบัวตอง และเยี่ยมชมการฟื้นฟูสภาพเหมืองแม่เมาะ ซึ่งในแต่ละสถานที่ก็จะพบนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวกันอย่างไม่ขาดสาย
แน่นอนครับว่าผมจะต้องพักในบ้านพักรับรองซึ่งทาง กฟผ. จัดไว้ให้ ซึ่งอยู่ในบริเวณรอบ ๆ เหมืองถ่านหิน ทำให้สามารถมองเห็นการทำงานของเจ้าหน้าที่ในเหมืองได้แบบเรียลไทม์ โดยไม่มีอะไรปิดบัง ซึ่งก็คงจะเป็นอีกบรรยากาศซึ่งไม่สามารถหาได้จากที่อื่น
ก่อนเดินทางกลับผมรีบตื่นเช้าเพื่อออกไปวิ่งจ๊อกกิ้งและสำรวจพื้นที่โดยรอบ สภาพอากาศในช่วงนี้เย็นสบาย หายใจขณะวิ่งได้เป็นปกติ ไม่รู้สึกเจ็บคอหรือแสบจมูกเหมือนกับวิ่งในเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าคุณภาพอากาศยังคงปกติดี อาจมีบางครั้งที่หายใจไม่สะดวกอยู่บ้างก็คงจะเป็นช่วงที่รถยนต์หรือรถบรรทุกวิ่งผ่านซึ่งก่อให้เกิดไอเสียและฝุ่นละอองบนถนนฟุ้งกระจายขึ้นมา แต่ในกรณีดังกล่าวก็คงจะไปว่าอะไรเขาไม่ได้เพราะสาเหตุไม่ใช่เกิดจากการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่อยู่ข้างๆ
เขียนมาขนาดนี้ หลายคนอาจจะถามผมว่า “สงสัยอาจารย์ถูก กฟผ. ล้างสมองไปแล้ว” เนื่องจากเพราะผมเป็นนักวิชาการด้านพลังงานหมุนเวียนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งพยายามรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งผมก็ขอตอบทุกคนในที่นี้เลยว่า ไม่ใช่หรอกครับ เพราะในวันนี้ผมก็ยังคงยึดมั่นและมีแนวคิดในการส่งเสริมให้ทุก ๆ คนมาร่วมกันใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมกันเช่นเดิม
แต่ก็ต้องยอมรับว่าการเดินทางในครั้งนี้ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ให้กับผม ทำให้ได้มีโอกาสเห็นกระบวนการในการทำงานที่หลากหลายมิติ ของแต่ละหน่วยงานภายใน กฟผ. ซึ่งดำเนินการภายใต้แรงกดดันจากภายในและภายนอก รวมถึงการบริหารจัดการแบบเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งก็น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมและก่อให้เกิดการพัฒนาในอนาคตได้อย่างยั่งยืนร่วมกัน
ผมคงไม่สรุปในที่นี้หรอกว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไร แต่ในโลกของความเป็นจริง เชื้อเพลิงประเภทนี้ ก็ยังคงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาของประเทศของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนของเรายังมีไม่เพียงพอกับต่อความต้องการของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคประชาชน ภาคธุรกิจ รวมถึงอุตสาหกรรม อีกทั้งการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ๆในประเทศเกิดขึ้นได้ยากมาก แม้ว่าจะเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนก็ไม่ใช่ว่าจะสร้างกันได้ง่ายๆ จากประสบการณ์ของผมที่ผ่านมาในการเป็นที่ปรึกษา ออกแบบ หรือมีส่วนร่วมในการก่อสร้าง
ดังนั้น ในวันนี้ก็คงเป็นการยากที่จะปฏิเสธเทคโนโลยีดังกล่าว ซึ่งในที่นี้ผมหมายถึงโรงไฟฟ้าแม่เมาะนั่นเอง แต่ประเด็นหลักก็คือแล้วเราจะใช้ชีวิตร่วมกันได้อย่างไร ซึ่งก็คงจะต้องเริ่มศึกษาข้อมูลที่แท้จริง ทำความเข้าใจ จนกระทั้งหมดข้อสงสัย แล้วจึงเปิดใจยอมรับในที่สุด
สุดท้ายสำหรับสิ่งที่ได้รับจากการเดินทางในครั้งนี้ก็คือ ผมได้เห็นถึงแบบอย่างของความพยายามในการที่จะแก้ปัญหาของ กฟผ. กับสิ่งที่เคยเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อประชาชนในอดีต ซึ่งต้องใช้เวลา งบประมาณ รวมถึงการดำเนินการที่ยาวนานอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญที่สุด ก็คือ จะต้องทำอย่างจริงใจ จริงจัง และเปิดเผย เพื่อที่จะทำให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในสังคม โดยมีเป้าหมายก็คือ สามารถก้าวเดินไปด้วยกันได้อย่างผาสุก บริหารการผลิตได้อย่างมีเสถียรภาพ เพื่อที่จะเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มศักยภาพความมั่นคงในด้านพลังงานให้กับประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป
ผศ.ดร.ฐกฤต ปานขลิบ คณบดีคณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม