สวัสดีครับเพื่อนๆชาว social network
ก่อนหน้านี้ได้รับเมล์ ร่วมลงชื่อคัดค้านเรื่องต่างๆใน change.org เรื่อยๆมา ก็ร่วมลงชื่อไปบ้าง
มาถึงฉบับนี้ (คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน) อ่านแล้วเห็นว่ายังให้ข้อมูลผิดๆอยู่มากกับประชาชน
จึงอยากมาแบ่งปันให้เพื่อนๆใน social network ได้ทราบข้อเท็จจริง และช่วยเผยแพร่กันต่อๆไป
ด้วยเหตุที่ว่า ทั้งกระทรวงพลังงานและกฟผ ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จในการเล่าเรื่องราวของโรงไฟฟ้า ให้ประชาชนทราบเลย ด้วยว่าเป็นเรื่องเทคนิคสลับซับซ้อนจนไม่ค่อยมีใครทำให้เข้าใจได้ง่ายๆ จนคนรับสารไม่เบื่อ อ่านฟังดูได้จนจบ และเข้าใจสามารถให้ความร่วมมือได้ถูกต้อง
ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอดีตปัจจุบันและอนาคต
อันความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งจากบ้านเรือน ร้านค้า และภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเติบโตมาเรื่อยๆทันกับความต้องการเสมอมา
%ขยายตัวเฉลี่ย 4.2% จะสูงกว่า GDP Growth เฉลี่ย 4% นิดหนึ่ง (สังคมที่เติบโตทางเศรษฐกิจย่อมต้องการใช้ไฟมากขึ้น ในทางกลับกันไฟฟ้าที่พอเพียงก็ทำให้เศรษฐกิจเติบโตด้วย) เฉลี่ยใน20ปีข้างหน้า เราต้องมีโรงไฟฟ้าสร้างเสร็จขึ้นมาเกือบปีละ 2,900 MW รวมที่ชดเชยกับโรงที่เก่าต้องปลดออกด้วย
ระบบไฟฟ้า และธรรมชาติของไฟฟ้าที่ต้องทราบ
โรง ไฟฟ้าแบบต่างๆ เล็กๆ 1-10 MW จนถึงโรงใหญ่ๆ เป็น 1000 MW นับร้อยๆโรงกระจัดกระจายทั่วประเทศ
ร้อยต่อกันเป็นระบบ network เครือข่ายของสายส่ง (ที่เราเห็นเสาสูงๆสายโยงไปไกลๆ) อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยพยายามจ่ายไฟไปไกลน้อยที่สุดเพื่อลด loss และลดความเสี่ยงของระบบส่ง
มีเรื่องที่แม้แต่คนมีความรู้ก็ไม่รู้คือ โรงไฟฟ้าจะจ่ายไฟ realtime ไปกับการใช้ไฟในแต่ละวินาที โดยไม่มีstorage หรือแบตเตอรี่เก็บเลย (เทคโนโลยีการเก็บไฟฟ้ายังแสนแพงครับ)
แปลว่าพอเราท่านเปิดไฟ เปิดแอร์ สัก 900 W โรงไฟฟ้า(โรงเดียวหรือหลายโรง)ก็ต้องจ่ายไฟเพิ่มทันทีกว่า 900 W (+lossนิดหน่อย)เป็นเช่นนี้ ทุกวินาที ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วัน
โดยมีศูนย์ควบคุมสั่งการอยู่ที่ กฟผ ศูนย์ยังคอยดูแลกรณีบางโรงไฟฟ้าหยุด หรือหลุดออกจากระบบ อันเป็นไปตามแผน หรือขัดข้องฉุกเฉิน ให้มีโรงอื่นที่ stand by รีบขึ้นมารับโหลด
หรือความต้องการใช้ไฟให้ทันท่วงที นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราต้องมีราว 15% มากกว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด อันเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากด้วยความไม่เข้าใจ
โรงไฟฟ้าแต่ละโรงจากที่คิดสร้างต้องผ่านกระบวนการต่างๆเชิงเทคนิค เชิงความคุ้มค่าทางการเงิน เชิงสิ่งแวดล้อม เชิงสังคม ใช้เวลาหลายๆปี เช่น 2-5 ปี เป็นต้น
ดังนั้นเราจึงต้องคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าล่วงหน้านับสิบๆปี และวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าแบบและขนาดต่างๆให้ทัน โดยต้องมีมากกว่าความต้องการซัก15%เป็นอย่างน้อย เผื่อโรงหยุดซ่อม โรงดับไฟกระทันหันบ้าง
ประเทศไทยทำตรงนี้ดีมากมาตลอด ในขณะที่หลายๆประเทศที่ล้มเหลวตรงนี้ จะต้องเวียนดับไฟฟ้าตามเขตต่างๆ โดยเฉพาะในช่วง ความต้องการใช้ไฟสูงในรอบวัน อย่างที่ฟิลิปปินส์ และอีกหลายๆประเทศ หน้าบริษัท ห้างร้าน หน้าบ้านที่มีฐานะ เขาต้องตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าเอาไว้เดินเวลาไฟดับกัน หากเราล้มเหลวเช่นนั้น ลองจินตนาการถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านและตัวเราดู ยิ่งในภาคอุตสาหกรรม ไม่ต้องคิดมาก นักลงทุนทั้งภายนอก ภายในประเทศทีไหนจะมาลงทุน ความเลวร้าย หายนะเช่นนี้ไม่เคยเกิดกับบ้านเรา ผู้คนทั่วไปจึงไม่ตระหนัก
ตอนนี้ทุกคนต้องยอมรับว่าต้องมีแผนและสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ GDP ยังคงเติบโต ปีละ 2,900 MW (ซึ่งตัวเลขนี้อาจทบทวนและปรับเปลี่ยนไปได้บ้าง)
มี2ประเด็นคือ
1) โรงแบบไหนใช้พลังงานอะไร
โรง ไฟฟ้ามี 2 อย่าง พวกที่ใช้พลังงานหลัก ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส ปรมาณู กับที่พึ่งเฟื่องฟูในระยะหลังคือ พวกพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ ไบโอแมส(แกลบ เศษไม้ กากปาล์ม) ไบโอแก๊ส (จากน้ำเสียจากการหีบลูกปาล์ม จากขี้หมู) แสงอาทิตย์ ลม และน้ำ(เขื่อน)ซึ่งก็จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนด้วย
โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหลักอย่างถ่านหิน ปรมาณู ราคาถูก ก็รังเกียจกัน น้ำมันอย่างน้ำมันเตานั้นก็แทบไม่ทำกันแล้วเพราะประสิทธิภาพต่ำ ต้นทุนสูงมาก
ใครๆที่คัดค้านโรงไฟฟ้าพลังงานหลักก็จะเสนอให้ไปสร้างโรงไฟฟ้าทางเลือกต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วมีความจำกัดในขนาดอยู่มาก ทดแทนได้นิดเดียว ไม่สามารถทดแทนทั้งหมดที่จำเป็นได้ ซึ่งผมขอให้ข้อเท็จจริงดังนี้:
โรงไฟฟ้าที่ราคาถูกมาก คือเขื่อนพลังน้ำที่ราคาค่าไฟถูกมาก แต่จุดที่ทำโดยอาศัยภูมิประเทศที่เหมาะเจอะก็ทำไปหมดแล้ว จะพยายามทำเพิ่มก็ไม่มีใครอยากทำลายป่า สิ่งแวดล้อมอีกต่อไป
Biomass, Biogas พวกแกลบ กากปาล์ม น้ำเสียจากการบีบปาล์ม เหง้ามัน ฯลฯ พวกนี้ต้นทุนไม่แพง
แต่จำกัดที่แหล่งเชื้อเพลิงมีจำกัดทำได้เต็มที่ไม่เกิน 10% ของความต้องการใช้ไฟรวมทั้งประเทศ
โรงที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจมักจะเป็นโรงที่ใช้เศษ ใช้กาก ใช้ของเสีย มาเป็นพลังงาน กล่าวคือลงทุนกับพลังงานต้นทางน้อยมาก แต่โครงการทีคิดๆจะหาที่ดินมาปลูกพืชพลังงาน เพื่อเอาไปผลิตไฟฟ้านั้น มักไม่คุ้มค่าในการลงทุน และยังมีคำถามว่า ในขณะที่โลกยังขาดแคลนอาหารอยู่มาก แผ่นดินโดยเฉพาะที่อุดมสมบูรณ์อย่างประเทศไทยน่าจะเอาไว้ปลูกพืชอาหารมากกว่าเอาไปเผาเป็นพลังงานหรือไม่อีกด้วย
ขยะ
1)การฝังกลบ
จริงๆขยะนั้นการจัดการที่เหมาะสมประหยัดที่สุดถ้ามีที่ดินเพียงพอก็คือการฝังกลบ แต่ไม่ใช่สักแต่ขุดๆกลบๆไป ต้องทำเป็นระบบที่มั่นคง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมคือ ต้องเตรียมก้นหลุมให้เป็นพลาสติกพิเศษบุกันน้ำสกปรกรั่วไหลออกไป บางทีวางท่อเก็บแก๊สที่ก้นหลุม รวบรวมแก๊สขึ้นมาใด้พลังงานทำไฟฟ้าขนาดเล็กๆ ยังต้องมีท่อที่คอยสูบน้ำใต้ดินบริเวณใกล้เคียงเพื่อระวังการปนเปื้อนฯลฯ
2)การเผา
คำว่าโรงไฟฟ้าขยะที่นิยมพูดกันนั้นจริงๆไม่ตรง เขาเรียกโรงกำจัด หรือเผาขยะมากกว่า ซึ่งอาจได้พลังงานมานิดหน่อยพอผลิตไฟฟ้าได้ อย่างเช่นขยะทั้งจังหวัดภูเก็ต อาจเหลือเป็นไฟฟ้าเพียง 1-2 MW หรือล่าๆอาจได้มากกว่านี้เล็กน้อย ลองเทียบกับความต้องการใช้ไฟภูเก็ตนั้นใช้ไฟฟ้าสูงสุดถึง 392 MW
เมืองไทยนั้นเราคัดแยกขยะกันตั้งแต่ที่บ้าน ท้ายรถเก็บขยะ ขยะยังเปียกอีก พอจะไปคิดเผาทำไฟฟ้า กลับพบว่าเผาไม่ติด ในหลายกรณีต้องใช้น้ำมันเผาอีกต่างหากด้วยซ้ำ มีตัวอย่างโรงเผาขยะที่ทำไฟฟ้า ตั้งใจว่าจะได้ไฟฟ้าเป็นเงินเท่านั้นเท่านี้ ถึงเวลามันไม่ทำรายได้แต่ต้องเสียค่าน้ำมันสำหรับเผา ก็เลยต้องทิ้งร้างไว้
ลม : ประเทศไทยเราลมสงบ จุดที่ทำไฟฟ้าจากลมจึงมีจำกัดมาก ราคาก็ยังแพงอยู่มาก รัฐต้อง subsidize หน่วยละ 4 บาท จาก base price ราว 3 บาท รวมแล้ว หน่วยละ 7 บาท! (กฟผ คำนวณรวมไว้ 5.2 บาท)
(หลายๆประเทศ โชคดี ลมแรงมาก โดยเฉพาะในทะเลเหนือนั้น ขณะนี้สามารถผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนใกล้เคียงต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในยุโรปได้แล้ว แต่ลมของเขานั้นเร็วกว่าเรา 2-3 เท่า ไฟที่ผลิตได้นั้นเป็นกำลังสามของความเร็วลม นั่นคือเขาจ่ายไฟได้มากกว่าเราที่กังหันแบบเดียวกัน 8-27 เท่า นะครับ และค่าไฟเขาก็แพงกว่าเราด้วย)
แสงอาทิตย์ : รัฐต้อง subsidize หน่วยละ 6.5(ลดจากเดิม8.5) บาท จาก base price ราว 3 บาท รวมแล้ว หน่วยละ 9.5 บาท! (กฟผคำนวณรวมไว้ 12.5 บาท)
มีข้อจำกัดที่คนไม่ค่อยทราบกับคือความที่มันผลิตได้มากน้อยตามแสงที่ตกกระทบ เซลล์ เป็นอันว่าเพื่อไม่ให้ไฟฟ้าบริเวณนั้นแรงดันvoltage ตกทำความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
ระบบจึงจะต้องมีโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ (แบบที่เราไม่ชอบกันนั่นแหละ) เดินเบาๆ(กินเชื้อเพลิงมาก)รอเร่งเครื่องขึ้นรับโหลดแทนเวลาแสงอาทิตย์หายไป
โดยเทคโนโลยี่ปัจจุบันไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จึงยังแพงอยู่มาก โดยเฉพาะเมื่อมองในภาพรวมทั้งระบบ ในทางเทคนิค %penetration คือสัดส่วนที่เอาโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ หรือลม ต่อไฟฟ้าทั้งหมดนั้น มีได้ไม่ควรเกิน 10%
การที่รัฐsubsidize โรงไฟฟ้าทางเลือกข้างต้นนั้น ก็เงินเรานั่นแหละครับ (เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีพูดกัน) ค่าไฟสูงขึ้นแต่ยังไม่มาก เพราะยังมีน้อย แต่ถ้ามีมากๆค่าไฟที่แสนแพงนั้น ประชาชนจะรับไม่ได้ อุตสาหกรรมก็จะถูกกระทบมาก นักลงทุนก็ไม่ชอบจะมาลงทุน
แก๊ส : ในอ่าวไทยมีเราก็ใช้จวนจะหมดอยู่แล้ว หันไปพึ่งพม่า ก็จำกัด และจะมีปัญหาอย่างที่เห็นเวลาเขาหยุดซ่อม ปัจจุบันเราใช้แก๊สจากท่อที่เดินในอ่าวไทยเกือบ 70% ซึ่งหากเกิดท่อแตก ลองจินตนาการถึงหายนะดูนะครับ หายนะจริงๆ ตรงนี้คนที่ต่อต้านจะต้องทำความเข้าใจในความเสี่ยงอันน่ากลัวนี้ วันนี้ยังมีโชคที่มันยังไม่พัง วันหน้าหากเกิดเหตุ ประเทศไทยต้องดับไฟครึ่งค่อนประเทศ ใครจะรับผิดชอบความหายนะนี้กันได้ครับ
เชื้อเพลิงระยะกลางคือ LNG ซึ่งต้องใส่เรือแช่เย็นมาจากกาตาร์ อินโดนีเซีย ก็จะแย่งกันและราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าไฟฟ้าอาจจะแพงเป็นหน่วยละ 5-6 บาท และแพงมากขึ้นๆ เพราะแหล่งผลิต และปริมาณมีไม่มาก หลายประเทศจะแย่งกันซื้อมากขึ้นๆ เราจึงจะพึ่งพาในระยะกลางเท่านั้น และในขนาด MW ที่จำกัด
จะเห็นในที่สุดว่า พลังงานหมุนเวียนที่เรียกร้องกันนั้น มีได้อย่างมากก็ 20% ของทั้งหมด (ผมเองคิดว่า สัก 10% ด้วยซ้า) ทีนี้ที่เหลือ 80% คือ 2,300 MW ก็หนีไม่พ้นต้องใช้พลังงานหลักครับ ถ่านหิน ปรมาณู ซึ่งเราไม่ชอบทั้งคู่
เรื่องระบบไฟฟ้านั้นไม่สามารถอธิบายสั้นๆได้ ที่พยายามบรรยายมาก็เผื่อหลายๆคนที่อ่านจะได้เข้าใจว่า ประเทศไทยเรามีความจำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหลักแบบใดแบบหนึ่งขึ้น มา ได้แก่ ถ่านหิน ที่ยังมีสำรองในโลกอีกมาก ปรมาณูก็เป็นอีกทางเลือก นํ้ามันนั้นแพงมาก กำลังจะหมดไปในเร็ววัน ทางเลือกทั้งสอง(สาม) ดูจะไม่เป็นที่พอใจนัก ปรมาณูคนจะกลัวมากเรื่องความปลอดภัย ถ่านหินจะติดเรื่องมลภาวะอันหลอนมาจากโครงการแม่เมาะ ซึ่งแม้ว่าต่อมา กฟผ แก้ไขไปมากแต่ก็ลบภาพเก่าๆได้ยาก ทั้งที่เรามีโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ๆสร้างขึ้นมาภายหลัง เช่น 2 โรงที่ระยอง ซึ่งก็สะอาด สามารถรักษาค่ามลภาวะตามกฎกระทรวงได้ แต่ก็ไม่เป็นที่รู้จักกัน
เรื่องมลภาวะนั้นอาจจะมีอยู่จริง เพียงแต่เราจะต้องควบคุม ตรวจสอบ เคร่งครัด เช่นนานาอารยะประเทศที่เขาก็มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีโรงไฟฟ้าปรมาณู เขาก็ควบคุม ตรวจสอบกัน โรงไฟฟ้าใดขัดข้องปล่อยของเสียเกินกำหนดก็ให้หยุดกันไป หรือจะลงโทษอะไรก็ว่ากันไป
2)สร้างที่ไหน
เมื่อยอมรับว่าต้องสร้าง เราก็ต้องสร้างที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย ที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสมด้วยประการต่างๆ ทั้งนี้จำเป็นที่ประชาชนชาวไทยจะต้องเข้าใจ และที่สำคัญคือพร้อมเสียสละ ด้วยว่าถ้าไม่มีชุมชนใดต้องการให้มี ให้สร้างโรงไฟฟ้าในชุมชนของตัวเองเลย ทั้งๆที่ทุกคนก็ต้องใช้ไฟฟ้า แล้วเราจะทำอย่างไรกัน
ถึงเวลาแล้วที่เราคนไทยจะต้องพยายามทำความเข้าใจเรื่องนี้ ร่วมกันรับผิดชอบ เลือกทางเดินไปข้างหน้าอย่างเฉลียวฉลาด
ผมเข้าใจครับว่าที่ออกมาต่อต้านกัน ก็ด้วยเจตนาที่ดี ผมจึงนำเรื่องนี้มาแบ่งปันกันเพื่อจะได้เห็นในอีกมุมหนึ่ง
ผมยังเชื่อนะครับว่าถ้าประชาชนเข้าใจ เราจะร่วมมือและเสียสละยอมให้สร้างโรงไฟฟ้า
เพียงแต่เราจะเล่าเรื่องแสนยากทั้งหมดให้ประชาชนทั้งหลายเข้าใจได้อย่างไร
ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถทำให้คนไทยเข้าใจในความจำเป็นข้างต้นที่ผมเรียบเรียงมา เลือดรักชาติของคนไทยยังไม่เสื่อมสูญ คนไทยที่รักชาติย่อมต้องออกมามิใช่ต่อต้านโรงไฟฟ้า หากแต่เรียกร้องพร้อมเสียสละให้มาสร้างโรงไฟฟ้าในชุมชนของตน เพื่อความผาสุกของคนไทย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ท่านใดมีคำถาม ถามได้นะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินกับนิวเคลียร์ทั่วโลก
โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกมี ประมาณ 2,300 โรง ( 7,000 units ) ผลิตไฟฟ้า 1,759,000 MW ในปี2010 คาดว่าจะเป็น 2,384,000 ในปี 2020
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกมี ประมาณ 438 units ผลิตไฟฟ้าได้ 379,261 MW
ตัวอย่างสัดส่วนการใช้โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินต่อพลังงานชนิดอื่นในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษอยู่ที่ 40% หรือ ฮ่องกง 96.6%
ถ้าต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้จาก link ข้างล่างนี้ครับ
http://www.blcp.co.th/2011/th/file/coal.pdf
http://www.eppo.go.th/power/power2554.pdf
ทำไมต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ในไทย? (ควรอ่านถ้ารักประเทศ)
ก่อนหน้านี้ได้รับเมล์ ร่วมลงชื่อคัดค้านเรื่องต่างๆใน change.org เรื่อยๆมา ก็ร่วมลงชื่อไปบ้าง
มาถึงฉบับนี้ (คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน) อ่านแล้วเห็นว่ายังให้ข้อมูลผิดๆอยู่มากกับประชาชน
จึงอยากมาแบ่งปันให้เพื่อนๆใน social network ได้ทราบข้อเท็จจริง และช่วยเผยแพร่กันต่อๆไป
ด้วยเหตุที่ว่า ทั้งกระทรวงพลังงานและกฟผ ที่ผ่านมาไม่ประสบความสำเร็จในการเล่าเรื่องราวของโรงไฟฟ้า ให้ประชาชนทราบเลย ด้วยว่าเป็นเรื่องเทคนิคสลับซับซ้อนจนไม่ค่อยมีใครทำให้เข้าใจได้ง่ายๆ จนคนรับสารไม่เบื่อ อ่านฟังดูได้จนจบ และเข้าใจสามารถให้ความร่วมมือได้ถูกต้อง
ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอดีตปัจจุบันและอนาคต
อันความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งจากบ้านเรือน ร้านค้า และภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยเติบโตมาเรื่อยๆทันกับความต้องการเสมอมา
%ขยายตัวเฉลี่ย 4.2% จะสูงกว่า GDP Growth เฉลี่ย 4% นิดหนึ่ง (สังคมที่เติบโตทางเศรษฐกิจย่อมต้องการใช้ไฟมากขึ้น ในทางกลับกันไฟฟ้าที่พอเพียงก็ทำให้เศรษฐกิจเติบโตด้วย) เฉลี่ยใน20ปีข้างหน้า เราต้องมีโรงไฟฟ้าสร้างเสร็จขึ้นมาเกือบปีละ 2,900 MW รวมที่ชดเชยกับโรงที่เก่าต้องปลดออกด้วย
ระบบไฟฟ้า และธรรมชาติของไฟฟ้าที่ต้องทราบ
โรง ไฟฟ้าแบบต่างๆ เล็กๆ 1-10 MW จนถึงโรงใหญ่ๆ เป็น 1000 MW นับร้อยๆโรงกระจัดกระจายทั่วประเทศ
ร้อยต่อกันเป็นระบบ network เครือข่ายของสายส่ง (ที่เราเห็นเสาสูงๆสายโยงไปไกลๆ) อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยพยายามจ่ายไฟไปไกลน้อยที่สุดเพื่อลด loss และลดความเสี่ยงของระบบส่ง
มีเรื่องที่แม้แต่คนมีความรู้ก็ไม่รู้คือ โรงไฟฟ้าจะจ่ายไฟ realtime ไปกับการใช้ไฟในแต่ละวินาที โดยไม่มีstorage หรือแบตเตอรี่เก็บเลย (เทคโนโลยีการเก็บไฟฟ้ายังแสนแพงครับ)
แปลว่าพอเราท่านเปิดไฟ เปิดแอร์ สัก 900 W โรงไฟฟ้า(โรงเดียวหรือหลายโรง)ก็ต้องจ่ายไฟเพิ่มทันทีกว่า 900 W (+lossนิดหน่อย)เป็นเช่นนี้ ทุกวินาที ตลอด 24 ชั่วโมง ตลอด 365 วัน
โดยมีศูนย์ควบคุมสั่งการอยู่ที่ กฟผ ศูนย์ยังคอยดูแลกรณีบางโรงไฟฟ้าหยุด หรือหลุดออกจากระบบ อันเป็นไปตามแผน หรือขัดข้องฉุกเฉิน ให้มีโรงอื่นที่ stand by รีบขึ้นมารับโหลด
หรือความต้องการใช้ไฟให้ทันท่วงที นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เราต้องมีราว 15% มากกว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด อันเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากด้วยความไม่เข้าใจ
โรงไฟฟ้าแต่ละโรงจากที่คิดสร้างต้องผ่านกระบวนการต่างๆเชิงเทคนิค เชิงความคุ้มค่าทางการเงิน เชิงสิ่งแวดล้อม เชิงสังคม ใช้เวลาหลายๆปี เช่น 2-5 ปี เป็นต้น
ดังนั้นเราจึงต้องคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าล่วงหน้านับสิบๆปี และวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าแบบและขนาดต่างๆให้ทัน โดยต้องมีมากกว่าความต้องการซัก15%เป็นอย่างน้อย เผื่อโรงหยุดซ่อม โรงดับไฟกระทันหันบ้าง
ประเทศไทยทำตรงนี้ดีมากมาตลอด ในขณะที่หลายๆประเทศที่ล้มเหลวตรงนี้ จะต้องเวียนดับไฟฟ้าตามเขตต่างๆ โดยเฉพาะในช่วง ความต้องการใช้ไฟสูงในรอบวัน อย่างที่ฟิลิปปินส์ และอีกหลายๆประเทศ หน้าบริษัท ห้างร้าน หน้าบ้านที่มีฐานะ เขาต้องตั้งเครื่องปั่นไฟฟ้าเอาไว้เดินเวลาไฟดับกัน หากเราล้มเหลวเช่นนั้น ลองจินตนาการถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านและตัวเราดู ยิ่งในภาคอุตสาหกรรม ไม่ต้องคิดมาก นักลงทุนทั้งภายนอก ภายในประเทศทีไหนจะมาลงทุน ความเลวร้าย หายนะเช่นนี้ไม่เคยเกิดกับบ้านเรา ผู้คนทั่วไปจึงไม่ตระหนัก
ตอนนี้ทุกคนต้องยอมรับว่าต้องมีแผนและสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ GDP ยังคงเติบโต ปีละ 2,900 MW (ซึ่งตัวเลขนี้อาจทบทวนและปรับเปลี่ยนไปได้บ้าง)
มี2ประเด็นคือ
1) โรงแบบไหนใช้พลังงานอะไร
โรง ไฟฟ้ามี 2 อย่าง พวกที่ใช้พลังงานหลัก ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส ปรมาณู กับที่พึ่งเฟื่องฟูในระยะหลังคือ พวกพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ ไบโอแมส(แกลบ เศษไม้ กากปาล์ม) ไบโอแก๊ส (จากน้ำเสียจากการหีบลูกปาล์ม จากขี้หมู) แสงอาทิตย์ ลม และน้ำ(เขื่อน)ซึ่งก็จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนด้วย
โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหลักอย่างถ่านหิน ปรมาณู ราคาถูก ก็รังเกียจกัน น้ำมันอย่างน้ำมันเตานั้นก็แทบไม่ทำกันแล้วเพราะประสิทธิภาพต่ำ ต้นทุนสูงมาก
ใครๆที่คัดค้านโรงไฟฟ้าพลังงานหลักก็จะเสนอให้ไปสร้างโรงไฟฟ้าทางเลือกต่างๆ ซึ่งจริงๆแล้วมีความจำกัดในขนาดอยู่มาก ทดแทนได้นิดเดียว ไม่สามารถทดแทนทั้งหมดที่จำเป็นได้ ซึ่งผมขอให้ข้อเท็จจริงดังนี้:
โรงไฟฟ้าที่ราคาถูกมาก คือเขื่อนพลังน้ำที่ราคาค่าไฟถูกมาก แต่จุดที่ทำโดยอาศัยภูมิประเทศที่เหมาะเจอะก็ทำไปหมดแล้ว จะพยายามทำเพิ่มก็ไม่มีใครอยากทำลายป่า สิ่งแวดล้อมอีกต่อไป
Biomass, Biogas พวกแกลบ กากปาล์ม น้ำเสียจากการบีบปาล์ม เหง้ามัน ฯลฯ พวกนี้ต้นทุนไม่แพง
แต่จำกัดที่แหล่งเชื้อเพลิงมีจำกัดทำได้เต็มที่ไม่เกิน 10% ของความต้องการใช้ไฟรวมทั้งประเทศ
โรงที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจมักจะเป็นโรงที่ใช้เศษ ใช้กาก ใช้ของเสีย มาเป็นพลังงาน กล่าวคือลงทุนกับพลังงานต้นทางน้อยมาก แต่โครงการทีคิดๆจะหาที่ดินมาปลูกพืชพลังงาน เพื่อเอาไปผลิตไฟฟ้านั้น มักไม่คุ้มค่าในการลงทุน และยังมีคำถามว่า ในขณะที่โลกยังขาดแคลนอาหารอยู่มาก แผ่นดินโดยเฉพาะที่อุดมสมบูรณ์อย่างประเทศไทยน่าจะเอาไว้ปลูกพืชอาหารมากกว่าเอาไปเผาเป็นพลังงานหรือไม่อีกด้วย
ขยะ
1)การฝังกลบ
จริงๆขยะนั้นการจัดการที่เหมาะสมประหยัดที่สุดถ้ามีที่ดินเพียงพอก็คือการฝังกลบ แต่ไม่ใช่สักแต่ขุดๆกลบๆไป ต้องทำเป็นระบบที่มั่นคง ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมคือ ต้องเตรียมก้นหลุมให้เป็นพลาสติกพิเศษบุกันน้ำสกปรกรั่วไหลออกไป บางทีวางท่อเก็บแก๊สที่ก้นหลุม รวบรวมแก๊สขึ้นมาใด้พลังงานทำไฟฟ้าขนาดเล็กๆ ยังต้องมีท่อที่คอยสูบน้ำใต้ดินบริเวณใกล้เคียงเพื่อระวังการปนเปื้อนฯลฯ
2)การเผา
คำว่าโรงไฟฟ้าขยะที่นิยมพูดกันนั้นจริงๆไม่ตรง เขาเรียกโรงกำจัด หรือเผาขยะมากกว่า ซึ่งอาจได้พลังงานมานิดหน่อยพอผลิตไฟฟ้าได้ อย่างเช่นขยะทั้งจังหวัดภูเก็ต อาจเหลือเป็นไฟฟ้าเพียง 1-2 MW หรือล่าๆอาจได้มากกว่านี้เล็กน้อย ลองเทียบกับความต้องการใช้ไฟภูเก็ตนั้นใช้ไฟฟ้าสูงสุดถึง 392 MW
เมืองไทยนั้นเราคัดแยกขยะกันตั้งแต่ที่บ้าน ท้ายรถเก็บขยะ ขยะยังเปียกอีก พอจะไปคิดเผาทำไฟฟ้า กลับพบว่าเผาไม่ติด ในหลายกรณีต้องใช้น้ำมันเผาอีกต่างหากด้วยซ้ำ มีตัวอย่างโรงเผาขยะที่ทำไฟฟ้า ตั้งใจว่าจะได้ไฟฟ้าเป็นเงินเท่านั้นเท่านี้ ถึงเวลามันไม่ทำรายได้แต่ต้องเสียค่าน้ำมันสำหรับเผา ก็เลยต้องทิ้งร้างไว้
ลม : ประเทศไทยเราลมสงบ จุดที่ทำไฟฟ้าจากลมจึงมีจำกัดมาก ราคาก็ยังแพงอยู่มาก รัฐต้อง subsidize หน่วยละ 4 บาท จาก base price ราว 3 บาท รวมแล้ว หน่วยละ 7 บาท! (กฟผ คำนวณรวมไว้ 5.2 บาท)
(หลายๆประเทศ โชคดี ลมแรงมาก โดยเฉพาะในทะเลเหนือนั้น ขณะนี้สามารถผลิตไฟฟ้าที่มีต้นทุนใกล้เคียงต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยในยุโรปได้แล้ว แต่ลมของเขานั้นเร็วกว่าเรา 2-3 เท่า ไฟที่ผลิตได้นั้นเป็นกำลังสามของความเร็วลม นั่นคือเขาจ่ายไฟได้มากกว่าเราที่กังหันแบบเดียวกัน 8-27 เท่า นะครับ และค่าไฟเขาก็แพงกว่าเราด้วย)
แสงอาทิตย์ : รัฐต้อง subsidize หน่วยละ 6.5(ลดจากเดิม8.5) บาท จาก base price ราว 3 บาท รวมแล้ว หน่วยละ 9.5 บาท! (กฟผคำนวณรวมไว้ 12.5 บาท)
มีข้อจำกัดที่คนไม่ค่อยทราบกับคือความที่มันผลิตได้มากน้อยตามแสงที่ตกกระทบ เซลล์ เป็นอันว่าเพื่อไม่ให้ไฟฟ้าบริเวณนั้นแรงดันvoltage ตกทำความเสียหายกับอุปกรณ์ไฟฟ้า
ระบบจึงจะต้องมีโรงไฟฟ้าชนิดอื่นๆ (แบบที่เราไม่ชอบกันนั่นแหละ) เดินเบาๆ(กินเชื้อเพลิงมาก)รอเร่งเครื่องขึ้นรับโหลดแทนเวลาแสงอาทิตย์หายไป
โดยเทคโนโลยี่ปัจจุบันไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์จึงยังแพงอยู่มาก โดยเฉพาะเมื่อมองในภาพรวมทั้งระบบ ในทางเทคนิค %penetration คือสัดส่วนที่เอาโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ หรือลม ต่อไฟฟ้าทั้งหมดนั้น มีได้ไม่ควรเกิน 10%
การที่รัฐsubsidize โรงไฟฟ้าทางเลือกข้างต้นนั้น ก็เงินเรานั่นแหละครับ (เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยมีพูดกัน) ค่าไฟสูงขึ้นแต่ยังไม่มาก เพราะยังมีน้อย แต่ถ้ามีมากๆค่าไฟที่แสนแพงนั้น ประชาชนจะรับไม่ได้ อุตสาหกรรมก็จะถูกกระทบมาก นักลงทุนก็ไม่ชอบจะมาลงทุน
แก๊ส : ในอ่าวไทยมีเราก็ใช้จวนจะหมดอยู่แล้ว หันไปพึ่งพม่า ก็จำกัด และจะมีปัญหาอย่างที่เห็นเวลาเขาหยุดซ่อม ปัจจุบันเราใช้แก๊สจากท่อที่เดินในอ่าวไทยเกือบ 70% ซึ่งหากเกิดท่อแตก ลองจินตนาการถึงหายนะดูนะครับ หายนะจริงๆ ตรงนี้คนที่ต่อต้านจะต้องทำความเข้าใจในความเสี่ยงอันน่ากลัวนี้ วันนี้ยังมีโชคที่มันยังไม่พัง วันหน้าหากเกิดเหตุ ประเทศไทยต้องดับไฟครึ่งค่อนประเทศ ใครจะรับผิดชอบความหายนะนี้กันได้ครับ
เชื้อเพลิงระยะกลางคือ LNG ซึ่งต้องใส่เรือแช่เย็นมาจากกาตาร์ อินโดนีเซีย ก็จะแย่งกันและราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าไฟฟ้าอาจจะแพงเป็นหน่วยละ 5-6 บาท และแพงมากขึ้นๆ เพราะแหล่งผลิต และปริมาณมีไม่มาก หลายประเทศจะแย่งกันซื้อมากขึ้นๆ เราจึงจะพึ่งพาในระยะกลางเท่านั้น และในขนาด MW ที่จำกัด
จะเห็นในที่สุดว่า พลังงานหมุนเวียนที่เรียกร้องกันนั้น มีได้อย่างมากก็ 20% ของทั้งหมด (ผมเองคิดว่า สัก 10% ด้วยซ้า) ทีนี้ที่เหลือ 80% คือ 2,300 MW ก็หนีไม่พ้นต้องใช้พลังงานหลักครับ ถ่านหิน ปรมาณู ซึ่งเราไม่ชอบทั้งคู่
เรื่องระบบไฟฟ้านั้นไม่สามารถอธิบายสั้นๆได้ ที่พยายามบรรยายมาก็เผื่อหลายๆคนที่อ่านจะได้เข้าใจว่า ประเทศไทยเรามีความจำเป็นจะต้องสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหลักแบบใดแบบหนึ่งขึ้น มา ได้แก่ ถ่านหิน ที่ยังมีสำรองในโลกอีกมาก ปรมาณูก็เป็นอีกทางเลือก นํ้ามันนั้นแพงมาก กำลังจะหมดไปในเร็ววัน ทางเลือกทั้งสอง(สาม) ดูจะไม่เป็นที่พอใจนัก ปรมาณูคนจะกลัวมากเรื่องความปลอดภัย ถ่านหินจะติดเรื่องมลภาวะอันหลอนมาจากโครงการแม่เมาะ ซึ่งแม้ว่าต่อมา กฟผ แก้ไขไปมากแต่ก็ลบภาพเก่าๆได้ยาก ทั้งที่เรามีโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาดใหญ่ๆสร้างขึ้นมาภายหลัง เช่น 2 โรงที่ระยอง ซึ่งก็สะอาด สามารถรักษาค่ามลภาวะตามกฎกระทรวงได้ แต่ก็ไม่เป็นที่รู้จักกัน
เรื่องมลภาวะนั้นอาจจะมีอยู่จริง เพียงแต่เราจะต้องควบคุม ตรวจสอบ เคร่งครัด เช่นนานาอารยะประเทศที่เขาก็มีโรงไฟฟ้าถ่านหิน มีโรงไฟฟ้าปรมาณู เขาก็ควบคุม ตรวจสอบกัน โรงไฟฟ้าใดขัดข้องปล่อยของเสียเกินกำหนดก็ให้หยุดกันไป หรือจะลงโทษอะไรก็ว่ากันไป
2)สร้างที่ไหน
เมื่อยอมรับว่าต้องสร้าง เราก็ต้องสร้างที่ใดที่หนึ่งในประเทศไทย ที่พิจารณาแล้วว่าเหมาะสมด้วยประการต่างๆ ทั้งนี้จำเป็นที่ประชาชนชาวไทยจะต้องเข้าใจ และที่สำคัญคือพร้อมเสียสละ ด้วยว่าถ้าไม่มีชุมชนใดต้องการให้มี ให้สร้างโรงไฟฟ้าในชุมชนของตัวเองเลย ทั้งๆที่ทุกคนก็ต้องใช้ไฟฟ้า แล้วเราจะทำอย่างไรกัน
ถึงเวลาแล้วที่เราคนไทยจะต้องพยายามทำความเข้าใจเรื่องนี้ ร่วมกันรับผิดชอบ เลือกทางเดินไปข้างหน้าอย่างเฉลียวฉลาด
ผมเข้าใจครับว่าที่ออกมาต่อต้านกัน ก็ด้วยเจตนาที่ดี ผมจึงนำเรื่องนี้มาแบ่งปันกันเพื่อจะได้เห็นในอีกมุมหนึ่ง
ผมยังเชื่อนะครับว่าถ้าประชาชนเข้าใจ เราจะร่วมมือและเสียสละยอมให้สร้างโรงไฟฟ้า
เพียงแต่เราจะเล่าเรื่องแสนยากทั้งหมดให้ประชาชนทั้งหลายเข้าใจได้อย่างไร
ผมเชื่อว่าถ้าเราสามารถทำให้คนไทยเข้าใจในความจำเป็นข้างต้นที่ผมเรียบเรียงมา เลือดรักชาติของคนไทยยังไม่เสื่อมสูญ คนไทยที่รักชาติย่อมต้องออกมามิใช่ต่อต้านโรงไฟฟ้า หากแต่เรียกร้องพร้อมเสียสละให้มาสร้างโรงไฟฟ้าในชุมชนของตน เพื่อความผาสุกของคนไทย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ท่านใดมีคำถาม ถามได้นะครับ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าถ่านหินกับนิวเคลียร์ทั่วโลก
โรงไฟฟ้าถ่านหินทั่วโลกมี ประมาณ 2,300 โรง ( 7,000 units ) ผลิตไฟฟ้า 1,759,000 MW ในปี2010 คาดว่าจะเป็น 2,384,000 ในปี 2020
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วโลกมี ประมาณ 438 units ผลิตไฟฟ้าได้ 379,261 MW
ตัวอย่างสัดส่วนการใช้โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินต่อพลังงานชนิดอื่นในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อังกฤษอยู่ที่ 40% หรือ ฮ่องกง 96.6%
ถ้าต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้จาก link ข้างล่างนี้ครับ
http://www.blcp.co.th/2011/th/file/coal.pdf
http://www.eppo.go.th/power/power2554.pdf