จิตวิทยาง่ายๆ ในการฝึกตนเองให้เป็น "จ่าฝูง" ของสุนัข

กระทู้สนทนา
เห็นหลาย ๆ ครั้งที่สุนัขปล่อยปละละเลยทำความเดือดร้อนให้เจ้าของ แม้กระทั่งเรื่องที่สุนัขถูกกินที่สกลนคร อันนั้นเองก็เริ่มจากสุนัขถูกปล่อยตามใจและเจ้าของเองไม่ได้ใส่ใจ เห็นบทความนี้เลยลองเอามาให้ดูกันครับ เพื่อฝึกการควบคุมสุนัขด้วย ซึ่งอาจช่วยลดปัญหาสุนัขถุกปล่อยปละไปบ้าง



... "จ่าฝูง" ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินคำคำนี้จากสารคดีสัตว์โลกต่างๆ โดยธรรมชาติของสัตว์ที่อยู่กันเป็นฝูง ในฝูงนั้น สัตว์ตัวที่แข็งแรงที่สุดในฝูงก็จะได้รับการยอมรับให้เป็น "จ่าฝูง" เพื่อคอยดูแลและควบคุมสมาชิกในฝูงซึ่งอ่อนแอกว่า

     สำหรับสุนัขเองก็เป็นสัตว์สังคม โดยในอดีตสุนัขก็เหมือนสัตว์ป่าทั่วไปที่อาศัยอยู่กันเป็นฝูง และตัวที่แข็งแรงที่สุดก็คือ "จ่าฝูง" แต่สำหรับในปัจจุบันสุนัขได้กลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงแสนรักประจำบ้าน และเพื่อนที่แสนดีของมนุษย์ โอกาสที่จะใช้ชีวิตอยู่กันเป็นฝูงกับสุนัขด้วยกันก็อาจจะน้อยลง เพราะชีวิตส่วนใหญ่ของสุนัขจะอยู่ใกล้ชิดกับเจ้าของมากขึ้น
 
แต่ถึงแม้รูปแบบการใช้ชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไป แต่สัญชาตญาณของสัตว์สังคมยังคมอยู่ ... จะสังเกตได้ว่าเมื่อเราเลี้ยงสุนัขรวมกันหลายๆ ตัว จะมีสุนัขตัวที่แข็งแรงที่สุดแสดงอำนาจออกมาเพื่อให้สุนัขตัวอื่นๆ รู้ว่าเขามีพลังเหนือกว่า เพื่อให้สุนัขตัวอื่นยอมรับเขาเป็นจ่าฝูง และอยู่ภายใต้อำนาจของเขา

     หรือในบ้านที่เลี้ยงสุนัขตัวเดียว โดยเลี้ยงให้อยู่ใกล้ๆ เจ้าของตลอดเวลา เจ้าของคอยตามใจ สุนัขก็จะพฤติกรรมที่เจ้าของไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ทำลายข้าวของ , ขู่ หรือมีท่าทางว่าจะทำร้าย เมื่อเจ้าของขัดใจ และไม่ฟังคำสั่งเจ้าของ ... ส่วนใหญ่เมื่อเจ้าของพบว่าสุนัขของตัวเองมีพฤติกรรมแบบนี้ก็มักจะมีวิธีแก้โดยการดุ หรือทำโทษ หรือไม่ก็ปล่อยเลยตามเลยเพราะคิดว่าเขาก็เป็นแค่สุนัข จะไปดุ ไปตี ไปทำโทษยังไงเขาก็คงไม่เข้าใจ -*-


... แต่ในความเป็นจริงแล้วพฤติกรรมดังกล่าวของสุนัขนั้นกำลังบ่งบอกถึง การแสดงอำนาจที่เหนือกว่าเจ้าของ หรือ แสดงความเป็น "จ่าฝูง" นั่นเอง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า สุนัขจะมองว่าครอบครัวของเจ้าของคือฝูงของเขา สมาชิกในครอบครัวก็คือสมาชิกในฝูง ดังนั้นถ้าเขาเห็นว่าสมาชิกคนไหนอ่อนแอ ยอมให้เขาเมื่อเขาแสดงอำนาจหรือมีพฤติกรรมก้าวร้าวใส่ เขาก็จะเข้าใจว่าสมาชิกคนนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าเขา เขาก็จะวางตัวอยู่เหนือกว่าเสมอ นี่เองจึงเป็นสาเหตุที่ ส่วนใหญ่สุนัขที่ได้รับการตามใจจนเคยตัว มักจะไม่ฟังคำสั่งเจ้าของ และมีพฤติกรรมก้าวร้าวเมื่อถูกขัดใจ

     วิธีเดียวที่จะป้องกันไม่ให้พฤติกรรมแบบนี้เกิดขึ้นกับสุนัขที่เราเลี้ยงได้ก็คือ เจ้าของจะต้องรู้จักวางตัวให้เป็น "จ่าฝูง" และวางลำดับให้ฝูง (ในครอบครัว) ให้สุนัขอยู่ในระดับต่ำสุด คือ ต้องเชื่อฟังคำสั่งของสมาชิกทุกคนในครอบครัวของเจ้าของนั่นเอง ...

     สิ่งแรกที่เจ้าของจะต้องทำคือ การทำให้สุนัขยอมรับตัวของเจ้าของเป็นจ่าฝูง การทำให้สุนัขยอมรับเจ้าของเป็นจ่าฝูงนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีรุนแรง แต่เราอาจจะใช้หลักจิตวิทยาง่ายๆ ที่จะทำให้สุนัขยอมสยบและเชื่อฟังคำสั่งของเจ้าของ โดยสามารถเริ่มได้จากการที่เจ้าของจะต้องมองเรื่องเหล่านี้ในแบบที่สุนัขมองเท่านั้นเอง

    อย่างในแง่จิตวิทยาของการอยู่รวมกันเป็นฝูงของสุนัข สุนัขตัวที่เป็นจ่าฝูงจะได้กินอาหารก่อนตัวอื่นๆ เมื่อเข้าใจหลักจิตวิทยาในส่วนนี้แล้ว เจ้าของก็สามารถนำมาปรับใช้กับสุนัขของตัวเองได้โดยการที่ก่อนจะให้อาหารสุนัข เจ้าของและสมาชิกในบ้านจะต้องกินอาหารให้เรียบร้อยก่อน หรืออย่างน้อย ก็ควรจะกินของว่าง หรือขนม ให้สุนัขเห็นก่อนว่า จ่าฝูงกินแล้ว ต่อไปลูกฝูงถึงจะได้กิน



     และอีกสิ่งที่ต้องทำอย่างเคคร่งครัดก็คือระหว่างที่จ่าฝูงกินอาหาร ไม่ควรส่งอาหารบนโต๊ะให้สุนัขเป็นอันขาด เจ้าของจะต้องใจแข็ง และไม่ยอมใจอ่อนตามสายตาเว้าวอนของสุนัขนะ ที่ต้องห้ามยื่นอาหารบนโต๊ะให้สุนัขก็เพราะว่า การที่เจ้าของยื่นอาหารของตนให้สุนัขก็เหมือนกับว่า สุนัขมีอำนาจมากกว่าเจ้าของ เจ้าของจะต้องแบ่งอาหารของตนให้สุนัขกิน

เช่นเดียวกับการพาสุนัขออกไปเดินเล่น ทุกครั้งเจ้าของจะต้องเป็นผู้ชวนเขาออกไม่เล่น ไม่ใช่ให้สุนัขมาชวนเจ้าของ ที่ต้องทำแบบนี้เพื่อให้สุนัขเรียนรู้ว่าเขามีสิทธิ์ที่จะทำสิ่งต่างๆ ได้ก็ต่อเมื่อเจ้าของสั่งให้ทำหรืออนุญาตเท่านั้น เวลาจูงสุนัขเจ้าของก็ควรเป็นผู้เดินนำสุนัขออกไปข้างนอก ไม่ใช่สุนัขออกไปแล้วเจ้าของตามไปทีหลัง เพราะการทำแบบนั้นจะแสดงถึงการที่เจ้าของเป็นลูกฝูงของสุนัข



     ส่วนวิธีที่เจ้าของจะทราบว่าสุนัขยอมรับให้ตนเป็นจ่าฝูงหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยการ "แอบจ้องตา"  ... ให้เจ้าของลองแอบจ้องตาสุนัขที่เลี้ยงไว้ ถ้าหากเขาหลบตาก่อน แสดงว่าเขายังมองเจ้าของเป็นจ่าฝูง แต่ถ้าหากเขาจ้องตากลับ หรือใช้เวลานานกว่าจะหลบสายตา แสดงว่าเขาเริ่มมองว่าเจ้าของไม่ใช่จ่าฝูงแล้วล่ะ เจ้าของจะต้องเริ่มปฏิบัติการปรับพฤติกรรมของเขาใหม่โดยใช้วิธีอย่างที่มะเหมี่ยวได้บอกไปในตอนต้นก็ได้

     เพื่อนๆ สามารถสร้างอำนาจความเป็นจ่าฝูงให้กับตัวเองได้ทุกวันโดยผ่านกิจวัตรประจำวันต่างๆ ที่เรากับสุนัขทำร่วมกันค่ะ เช่น การเล่นโยนลูกบอล เจ้าของจะต้องเป็นผู้หยิบลูกบอลและโยนให้สุนัขไปเก็บมาให้ เมื่อสุนัขเก็บมาแล้ว เจ้าของจะต้องสั่งให้เขาเอามาคืนโดยที่เจ้าของไม่ต้องแย่งจากปาก และถ้าหากจะเลิกเล่น เจ้าของจะต้องเป็นผู้กำหนดเท่านั้นว่าจะหยุดเล่นเมื่อไหร่ และต้องเก็บของเล่นทุกครั้งเพื่อนไม่ให้สุนัขเล่นของเล่นได้ตามอำเภอใจ วิธีนี้จะช่วยให้สุนัขเรียนรู้ว่าเขาจะได้เล่นก็ต่อเมื่อจ่าฝูงอนุญาเท่านั้น

     หรือทุกครั้งที่เจ้าของจะเดินผ่านบริเวณที่สุนัขนอนอยู่ เจ้าของจะไม่ใช้วิธีเดินเลี่ยงหรือเดินข้ามสุนัข แต่ให้ใช้วิธีสั่งให้สุนัขหลบทางที่จะเดิน วิธีนี้จะเป็นการแสดงถึงอำนาจของจ่าฝูง ที่สามารถควบคุมให้สุนัขทำตามคำสั่งได้

     ยังไงก็ลองนำหลักจิตวิทยาง่ายๆ เหล่านี้ไปใช้ดูนะคะ ท่องจำไว้ให้ขึ้นใจเสมอว่า เจ้าของต้องเป็นจ่าฝูงเสมอ เพื่อที่เราจะได้ควบคุมให้สุนัขอยู่ภายใต้คำสั่งของเราได้ และเมื่อเราควบคุมเขาได้แล้วเรื่องของการปรับพฤติกรรม การสอนให้ทำตามคำสั่งต่างๆ รวมไปถึงการพาไปเข้าสังคม ก็จะเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาเลยทีเดียวล่ะ


ที่มา : จิตวิทยาง่ายๆ ในการฝึกตนเองให้เป็น "จ่าฝูง" ของสุนัข
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่