Mitsubishi ขอโทษ!!! กรณี บังคับใช้แรงงานทหารมะกัน!!! ที่ตกเป็นเชลย ในสงครามโลกครั้งที่ 2!!!
20 กรกฎาคม 2558 - โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ยูกิโอะ โอกาโมโตะ ที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ (ซ้าย), ฮิคารุ คิมุระ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของ มิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ (กลาง) จับมือทักทาย เจมส์ เมอร์ฟี อดีตทหารอเมริกันวัย 94 ปีที่เคยถูกเกณฑ์ไปทำงานในเหมืองทองแดงของมิตซูบิชิในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เชลยศึกชาวอเมริกันหามร่างเพื่อนร่วมชาติที่เสียชีวิตเนื่องจากขาดน้ำและอาหาร
ระหว่างการเดินมรณะบาตาอาน (Bataan Death March)
ยูกิโอะ โอกาโมโตะ ที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ (ซ้าย), ฮิคารุ คิมุระ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของ มิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ (กลาง) จับมือทักทาย เจมส์ เมอร์ฟี อดีตทหารอเมริกันวัย 94 ปีที่เคยถูกเกณฑ์ไปทำงานในเหมืองทองแดงของมิตซูบิชิในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ภาพ - เอพี)
เอเจนซีส์ - บริษัท มิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ คอร์ป ประกาศขออภัยอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) จากกรณีที่บริษัทเคยนำทหารอเมริกันที่ถูกจับเป็นเชลยมาใช้แรงงานเยี่ยงทาสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมแสดงความสำนึกผิดต่อ “เหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เกิดขึ้นในอดีต” ซึ่งถือเป็นบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นแห่งแรกที่ออกมากล่าวขอโทษเรื่องนี้
ผู้แทนของมิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ ได้กล่าวขออภัยในนาม มิตซูบิชิ ไมนิง โค
ชื่อเดิมของบริษัท ในกิจกรรมพิเศษจึงจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ของศูนย์ไซมอนวีเซนทัลในนครลอสแองเจลิส
“วันนี้เราขออภัยต่อทุกท่าน และรู้สึกสำนึกผิดต่อเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เกิดขึ้นในอดีต” ฮิคารุ คิมุระ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของมิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ กล่าวต่อผู้ร่วมงานที่พิพิธภัณฑ์แห่งการอดทนอดกลั้น (Museum of Tolerance) แห่งศูนย์ไซมอนวีเซนทัล
แรบไบ อบราฮัม คูเปอร์ รองหัวหน้าศูนย์ไซมอนวีเซนทัล ระบุว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีทหารอเมริกันราว 12,000 คนตกเป็นเชลย และถูกทางการญี่ปุ่นบังคับใช้แรงงานทาส เนื่องจากสงครามทำให้บริษัทเอกชนในแดนอาทิตย์อุทัยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน
ผลของการถูกใช้งานอย่างหนักทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตไปมากกว่า 1,100 นาย
ด้านศูนย์วิจัย เอเชีย พอลิซี พอยท์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ระบุว่า
มิตซูบิชิเคยมีส่วนพัวพันกับค่ายเชลยสงคราม 6 แห่ง ซึ่งเวลานั้นมีเชลยที่ถูกคุมขัง 2,041 คน
และมากกว่า 1,000 คนเป็นชาวอเมริกัน
ขณะที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามในปี 1945 มิตซูบิชิ ไมนิง โค เป็นผู้บริหารค่ายเชลย 4 แห่ง
ซึ่งมีทหารอเมริกันอยู่ทั้งสิ้น 876 นาย และในค่ายเหล่านี้มีทหารอเมริกันเสียชีวิตไป 27 คน
แม้อดีตนายกรัฐมนตรีแดนปลาดิบหลายคนจะเคยแถลงขออภัยในพฤติกรรมป่าเถื่อนก้าวร้าวของญี่ปุ่น
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทว่าบริษัทเอกชนใหญ่ๆ แทบไม่เคยแสดงท่าทีสำนึกผิดมาก่อน
คิมุระ ได้กล่าวขออภัยโดยมี ยูกิโอะ โอกาโมโตะ ที่ปรึกษาพิเศษ
ของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ยืนเคียงข้าง พร้อมรูปธงชาติอเมริกันและญี่ปุ่น
ส่วนผู้ฟังเป็นอดีตทหารอเมริกันที่รอดชีวิตและครอบครัวของพวกเขา
“วันนี้เป็นวันที่ดียิ่ง” เจมส์ เมอร์ฟี อดีตทหารอเมริกันวัย 94 ปี กล่าว เขาเป็นเชลยคนหนึ่งที่รอดชีวิตจากการทำงานในเหมืองทองแดงโอซาริซาวะของมิตซูบิชิ และเคยถูกบังคับให้เดินเท้ากว่า 100 กิโลเมตรระหว่างการเคลื่อนย้ายเชลยศึกชาวอเมริกันและฟิลิปปินส์ไปยังค่ายโอดอนเนลหลังเสร็จสิ้นยุทธการบาตาอาน หรือที่เรียกกันว่า “การเดินมรณะบาตาอาน” (Bataan Death March)
“พวกเรารอที่จะได้ยินคำนี้มานานถึง 70 ปี” เขากล่าว
ลูกหลานชาวจีนหลายร้อยคนที่ถูกญี่ปุ่นจับเป็นเชลยและบังคับใช้แรงงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าชดเชยหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัทแห่งหนึ่งในเครือมิตซูบิชิ
รวมถึงกิจการร่วมทุนระหว่างมิตซูบิชิคอร์ป และมิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ คอร์ป
คิมุระ ปฏิเสธที่จะชี้แจงเรื่องคดีความ และไม่ขอแสดงความเห็นว่าบริษัทอื่นๆ
ที่เคยนำเชลยศึกไปใช้แรงงานทาสจะออกมาแถลงขอโทษเช่นเดียวกับมิตซูบิชิหรือไม่
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000081734
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Mitsubishi เหรอเนี่ย!!! Mitsubishi ขอโทษ!!! กรณี บังคับใช้แรงงานทหารมะกัน!!! ที่ตกเป็นเชลย ในสงครามโลกครั้งที่ 2!!!
20 กรกฎาคม 2558 - โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ยูกิโอะ โอกาโมโตะ ที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ (ซ้าย), ฮิคารุ คิมุระ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของ มิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ (กลาง) จับมือทักทาย เจมส์ เมอร์ฟี อดีตทหารอเมริกันวัย 94 ปีที่เคยถูกเกณฑ์ไปทำงานในเหมืองทองแดงของมิตซูบิชิในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เชลยศึกชาวอเมริกันหามร่างเพื่อนร่วมชาติที่เสียชีวิตเนื่องจากขาดน้ำและอาหาร
ระหว่างการเดินมรณะบาตาอาน (Bataan Death March)
ยูกิโอะ โอกาโมโตะ ที่ปรึกษาพิเศษของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ (ซ้าย), ฮิคารุ คิมุระ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของ มิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ (กลาง) จับมือทักทาย เจมส์ เมอร์ฟี อดีตทหารอเมริกันวัย 94 ปีที่เคยถูกเกณฑ์ไปทำงานในเหมืองทองแดงของมิตซูบิชิในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ภาพ - เอพี)
เอเจนซีส์ - บริษัท มิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ คอร์ป ประกาศขออภัยอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (19 ก.ค.) จากกรณีที่บริษัทเคยนำทหารอเมริกันที่ถูกจับเป็นเชลยมาใช้แรงงานเยี่ยงทาสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พร้อมแสดงความสำนึกผิดต่อ “เหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เกิดขึ้นในอดีต” ซึ่งถือเป็นบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นแห่งแรกที่ออกมากล่าวขอโทษเรื่องนี้
ผู้แทนของมิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ ได้กล่าวขออภัยในนาม มิตซูบิชิ ไมนิง โค
ชื่อเดิมของบริษัท ในกิจกรรมพิเศษจึงจัดขึ้นที่พิพิธภัณฑ์ของศูนย์ไซมอนวีเซนทัลในนครลอสแองเจลิส
“วันนี้เราขออภัยต่อทุกท่าน และรู้สึกสำนึกผิดต่อเหตุการณ์อันน่าเศร้าที่เกิดขึ้นในอดีต” ฮิคารุ คิมุระ เจ้าหน้าที่บริหารระดับสูงของมิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ กล่าวต่อผู้ร่วมงานที่พิพิธภัณฑ์แห่งการอดทนอดกลั้น (Museum of Tolerance) แห่งศูนย์ไซมอนวีเซนทัล
แรบไบ อบราฮัม คูเปอร์ รองหัวหน้าศูนย์ไซมอนวีเซนทัล ระบุว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีทหารอเมริกันราว 12,000 คนตกเป็นเชลย และถูกทางการญี่ปุ่นบังคับใช้แรงงานทาส เนื่องจากสงครามทำให้บริษัทเอกชนในแดนอาทิตย์อุทัยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน
ผลของการถูกใช้งานอย่างหนักทำให้ทหารอเมริกันเสียชีวิตไปมากกว่า 1,100 นาย
ด้านศูนย์วิจัย เอเชีย พอลิซี พอยท์ ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ระบุว่า
มิตซูบิชิเคยมีส่วนพัวพันกับค่ายเชลยสงคราม 6 แห่ง ซึ่งเวลานั้นมีเชลยที่ถูกคุมขัง 2,041 คน
และมากกว่า 1,000 คนเป็นชาวอเมริกัน
ขณะที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามในปี 1945 มิตซูบิชิ ไมนิง โค เป็นผู้บริหารค่ายเชลย 4 แห่ง
ซึ่งมีทหารอเมริกันอยู่ทั้งสิ้น 876 นาย และในค่ายเหล่านี้มีทหารอเมริกันเสียชีวิตไป 27 คน
แม้อดีตนายกรัฐมนตรีแดนปลาดิบหลายคนจะเคยแถลงขออภัยในพฤติกรรมป่าเถื่อนก้าวร้าวของญี่ปุ่น
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทว่าบริษัทเอกชนใหญ่ๆ แทบไม่เคยแสดงท่าทีสำนึกผิดมาก่อน
คิมุระ ได้กล่าวขออภัยโดยมี ยูกิโอะ โอกาโมโตะ ที่ปรึกษาพิเศษ
ของนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ยืนเคียงข้าง พร้อมรูปธงชาติอเมริกันและญี่ปุ่น
ส่วนผู้ฟังเป็นอดีตทหารอเมริกันที่รอดชีวิตและครอบครัวของพวกเขา
“วันนี้เป็นวันที่ดียิ่ง” เจมส์ เมอร์ฟี อดีตทหารอเมริกันวัย 94 ปี กล่าว เขาเป็นเชลยคนหนึ่งที่รอดชีวิตจากการทำงานในเหมืองทองแดงโอซาริซาวะของมิตซูบิชิ และเคยถูกบังคับให้เดินเท้ากว่า 100 กิโลเมตรระหว่างการเคลื่อนย้ายเชลยศึกชาวอเมริกันและฟิลิปปินส์ไปยังค่ายโอดอนเนลหลังเสร็จสิ้นยุทธการบาตาอาน หรือที่เรียกกันว่า “การเดินมรณะบาตาอาน” (Bataan Death March)
“พวกเรารอที่จะได้ยินคำนี้มานานถึง 70 ปี” เขากล่าว
ลูกหลานชาวจีนหลายร้อยคนที่ถูกญี่ปุ่นจับเป็นเชลยและบังคับใช้แรงงานในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าชดเชยหลายล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัทแห่งหนึ่งในเครือมิตซูบิชิ
รวมถึงกิจการร่วมทุนระหว่างมิตซูบิชิคอร์ป และมิตซูบิชิ แมทีเรียลส์ คอร์ป
คิมุระ ปฏิเสธที่จะชี้แจงเรื่องคดีความ และไม่ขอแสดงความเห็นว่าบริษัทอื่นๆ
ที่เคยนำเชลยศึกไปใช้แรงงานทาสจะออกมาแถลงขอโทษเช่นเดียวกับมิตซูบิชิหรือไม่
http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000081734
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------