อองลอง 王朗 ชื่อรอง จิ่งซิง 景興 ชาวเมืองตงไห่ เดิมทีมีชื่อว่าอองเอี๋ยนแต่เปลี่ยนชื่อใหม่
เชี่ยวชาญในสรรพตำราโบราณโดยเฉพาะคัมภีร์อี้จิง สามารถแต่งตำราวิชาการรวบรวมข้อคิดต่างๆ
จนได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางเมืองเพงเฉิง หัวเมืองทางตอนใต้ เคยแต่งตำราเล่มหนึ่งร่วมกับเตียว
เจียวว่าเรื่องการใช้นามต้องห้ามในบุราณ แต่ลาออกจากราชการไปอยู่บ้านเกิดพักหนึ่งเนื่องจาก หยังซื่อ
ครูผู้อุปการะเสียชีวิต แม้ว่าทางเมืองหลวงจะเชิญให้ไปปฏิบัติราชการด้วย แต่อองลองก็ปฏิเสธ
ปี ค.ศ.191 อองลองกลับเข้ารับราชการอีกครั้งกับโตเกี๋ยม ผู้ตรวจการเมืองชีจิ๋ว เขาแนะนำให้โตเกี๋ยม
ไปเยี่ยมคำนับราชสำนัก ซึ่งในขณะนั้นมีตั๋งโต๊ะยึดอำนาจอยู่ที่เมืองเตียงอัน ทำให้โตเกี๋ยมได้รับบำเหน็จแต่ง
ตั้งเป็นเจ้าเมืองและบรรดาศักดิ์เป็นนายพล ส่วนอองลองได้ไปปกครองเมืองห้อยเข สร้างที่ว่าการอันโอ่โถง
เจรจาความเรื่องประเพณีการปกครองตามธรรมเนียมโบราณร่วมกับยีหวน ซึ่งการสนทนาของคนทั้งสองมี
บันทึกไว้อยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์จีน
ปี ค.ศ. 196 ซุนเซ็กยกทัพมาบุกเข้าตี อองลองซึ่งตั้งรับอยู่ริมแม่น้ำเซ ไม่สามารถต้านทานได้จึงลงเรือหนี
ตามชายฝั่งเข้าไปในเขตเมืองเจียวซุนเซ็กไล่ติดตามไปจับตัวถึงเมืองตงหยี หรือฟูโจวในปัจจุบัน แต่อองลอง
ปฏิเสธไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจซุนเซ็ก ปี ค.ศ.198 ซุนเซ็กเป็นพันธมิตรกับโจโฉ จึงส่งอองลองไปให้ราชสำนักที่
เมืองฮูโต๋ แม้อองลองจะพ่ายศึกแต่โจโฉก็รับอองลองไว้เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาทางทหาร
ปี ค.ศ.213 อองลองเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาที่เสนอให้โจโฉตั้งตนขึ้นเป็นอ๋องเขาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น
ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักมีอำนาจในการควบคุมดูแลกิจการภายในอาณาจักรทั้งหมด อองลองเป็นผู้นำใน
การต่อต้านกฎหมายอันทารุณของตันกุ๋น ที่เสนอให้ใช้การตัดแขนขาแทนการโบยตี
เมื่อโจผีรับช่วงต่อจากโจโฉในปี ค.ศ. 220 อองลองมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาระดับสูง ด้วยประสบการณ์ที่เขา
คุ้นเคยกับแผ่นดินทางตอนใต้ เขาจึงสามารถให้คำแนะนำ และวางแผนรับมือเมืองง่อของซุนกวนได้เป็นอย่างดี
นโยบายหนึ่งที่อองลองให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษก็คือการลดอาชญากรรม เขาพยายามผลักดันและให้ความ
สำคัญกับการศึกษาเพราะเชื่อว่า องค์ความรู้จะช่วยลดการกระทำความผิด และช่วยให้ไม่ต้องมีการลงโทษอย่าง
โหดร้ายทารุณ
ปี ค.ศ. 227 โจยอยคิดจะนำการลงโทษด้วยการตัดแขนขามาใช้ อองลองจึงออกมาคัดค้านอย่างเต็มกำลัง
โดยให้เหตุผลว่าวิธีการนี้ล้าหลัง ทารุณ และจะถูกต่อต้านจากมวลมหาประชาชน รวมทั้งยังตำหนิการใช้เงินท้องพระคลัง
อย่างสุรุ่ยสุร่ายของราชสำนักอย่างตรงไปตรงมา
อองลองเสียชีวิตในปีถัดมา ได้สร้างความดีความชอบรวมทั้งผลงานทางวิชาการอันเป็นที่น่าจดจำไว้มากมาย ภายหลัง
เขามีศักดิ์เป็นทวดของพระเจ้าแผ่นดิน เพราะ อองซก บุตรชายของอองลอง มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ อองหยวนจีได้สมรสกับ
สุมาเจียวและให้กำเนิดสุมาเอี๋ยน ผู้รวบรวมแผ่นจีนทั้งสามก๊กให้เป็นปึกแผ่นนั่นเอง
อองลอง ขุนนางน้ำดี
อองลอง 王朗 ชื่อรอง จิ่งซิง 景興 ชาวเมืองตงไห่ เดิมทีมีชื่อว่าอองเอี๋ยนแต่เปลี่ยนชื่อใหม่
เชี่ยวชาญในสรรพตำราโบราณโดยเฉพาะคัมภีร์อี้จิง สามารถแต่งตำราวิชาการรวบรวมข้อคิดต่างๆ
จนได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางเมืองเพงเฉิง หัวเมืองทางตอนใต้ เคยแต่งตำราเล่มหนึ่งร่วมกับเตียว
เจียวว่าเรื่องการใช้นามต้องห้ามในบุราณ แต่ลาออกจากราชการไปอยู่บ้านเกิดพักหนึ่งเนื่องจาก หยังซื่อ
ครูผู้อุปการะเสียชีวิต แม้ว่าทางเมืองหลวงจะเชิญให้ไปปฏิบัติราชการด้วย แต่อองลองก็ปฏิเสธ
ปี ค.ศ.191 อองลองกลับเข้ารับราชการอีกครั้งกับโตเกี๋ยม ผู้ตรวจการเมืองชีจิ๋ว เขาแนะนำให้โตเกี๋ยม
ไปเยี่ยมคำนับราชสำนัก ซึ่งในขณะนั้นมีตั๋งโต๊ะยึดอำนาจอยู่ที่เมืองเตียงอัน ทำให้โตเกี๋ยมได้รับบำเหน็จแต่ง
ตั้งเป็นเจ้าเมืองและบรรดาศักดิ์เป็นนายพล ส่วนอองลองได้ไปปกครองเมืองห้อยเข สร้างที่ว่าการอันโอ่โถง
เจรจาความเรื่องประเพณีการปกครองตามธรรมเนียมโบราณร่วมกับยีหวน ซึ่งการสนทนาของคนทั้งสองมี
บันทึกไว้อยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์จีน
ปี ค.ศ. 196 ซุนเซ็กยกทัพมาบุกเข้าตี อองลองซึ่งตั้งรับอยู่ริมแม่น้ำเซ ไม่สามารถต้านทานได้จึงลงเรือหนี
ตามชายฝั่งเข้าไปในเขตเมืองเจียวซุนเซ็กไล่ติดตามไปจับตัวถึงเมืองตงหยี หรือฟูโจวในปัจจุบัน แต่อองลอง
ปฏิเสธไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจซุนเซ็ก ปี ค.ศ.198 ซุนเซ็กเป็นพันธมิตรกับโจโฉ จึงส่งอองลองไปให้ราชสำนักที่
เมืองฮูโต๋ แม้อองลองจะพ่ายศึกแต่โจโฉก็รับอองลองไว้เป็นหนึ่งในที่ปรึกษาทางทหาร
ปี ค.ศ.213 อองลองเป็นหนึ่งในคณะที่ปรึกษาที่เสนอให้โจโฉตั้งตนขึ้นเป็นอ๋องเขาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็น
ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักมีอำนาจในการควบคุมดูแลกิจการภายในอาณาจักรทั้งหมด อองลองเป็นผู้นำใน
การต่อต้านกฎหมายอันทารุณของตันกุ๋น ที่เสนอให้ใช้การตัดแขนขาแทนการโบยตี
เมื่อโจผีรับช่วงต่อจากโจโฉในปี ค.ศ. 220 อองลองมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาระดับสูง ด้วยประสบการณ์ที่เขา
คุ้นเคยกับแผ่นดินทางตอนใต้ เขาจึงสามารถให้คำแนะนำ และวางแผนรับมือเมืองง่อของซุนกวนได้เป็นอย่างดี
นโยบายหนึ่งที่อองลองให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษก็คือการลดอาชญากรรม เขาพยายามผลักดันและให้ความ
สำคัญกับการศึกษาเพราะเชื่อว่า องค์ความรู้จะช่วยลดการกระทำความผิด และช่วยให้ไม่ต้องมีการลงโทษอย่าง
โหดร้ายทารุณ
ปี ค.ศ. 227 โจยอยคิดจะนำการลงโทษด้วยการตัดแขนขามาใช้ อองลองจึงออกมาคัดค้านอย่างเต็มกำลัง
โดยให้เหตุผลว่าวิธีการนี้ล้าหลัง ทารุณ และจะถูกต่อต้านจากมวลมหาประชาชน รวมทั้งยังตำหนิการใช้เงินท้องพระคลัง
อย่างสุรุ่ยสุร่ายของราชสำนักอย่างตรงไปตรงมา
อองลองเสียชีวิตในปีถัดมา ได้สร้างความดีความชอบรวมทั้งผลงานทางวิชาการอันเป็นที่น่าจดจำไว้มากมาย ภายหลัง
เขามีศักดิ์เป็นทวดของพระเจ้าแผ่นดิน เพราะ อองซก บุตรชายของอองลอง มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ อองหยวนจีได้สมรสกับ
สุมาเจียวและให้กำเนิดสุมาเอี๋ยน ผู้รวบรวมแผ่นจีนทั้งสามก๊กให้เป็นปึกแผ่นนั่นเอง