ทุกวันนี้ เราเข้าใจ เข้าถึง สสารมืด (Dark matter) มากแค่ไหนคะ แล้วมีการยอมรับการมีอยู่ของสสารมืดขนาดไหนแล้ว

แต่ก่อนเคยได้ยิน เราคิดว่าไม่ใช่เรื่องจริงด้วยซ้ำ เพราะมันรู้สึกแปลกๆ และขัดสามัญสำนึกมาก
แต่อย่างว่า เข้าถึงยุคที่ "ขึ้นชื่อว่าวิทยาศาสตร์ อะไรก็เป็นไปได้" มานานมากแล้วสินะ
รู้สึกตอนนั้นยังมองมันเป็นแค่สิ่งที่ ก็อาจจะมีแต่ไม่มีหรอก แบบ graviton อะไรเทือกนั้น
( อ้ะ หรือ graviton ก็มีโอกาสมีอยู่จริง 0.o )

แต่พอหลังๆ เริ่มได้ยินชื่อมากขึ้น เลยชักสงสัยว่าหรือที่เราเข้าใจมามันอาจจะผิด เลยอยากอัพเดทน่ะค่ะ ว่าทุกวันนี้ วงการเชื่อขนาดไหนว่าอาจจะมีสสารมืดอยู่จริงๆ แล้วมีการค้นพบ มีการศึกษามากแค่ไหนคะ
หากพิสูจน์ได้ว่ามีมันอยู่ จะส่งผลอะไรบ้างต่อวงการวิทยาศาสตร์คะ

ขอบคุณค่ะ

ปล.ไม่ได้เรียนจบฟิสิกส์ดาราศาสตร์มาโดยตรงนะคะ อาจจะไม่ค่อยเข้าใจอะไรเรื่องพวกนี้ แต่จะพยายามศึกษาค่ะ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
เรื่องของสสารมืด (Dark matter) นี้  ปัจจุบันก็ยังมืดเหมือนชื่อนะครับ  นักวิทยาศาสตร์กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่

และกำลังมีความก้าวหน้าไปเรื่อย ๆ  เพราะมีการค้นพบที่สำคัญเกี่ยวกับการหมุนของแกแลคซี่ทางช้างเผือกครับ
กล่าวคือ ..... ทิศทางการเคลื่อนที่ของดาวฤกษ์ไปรอบ ๆ แกนกลางแกแลคซี่ทางช้างเผือก นั้น
จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือเคลื่อนตามหลังกันไปเรื่อย ๆ โคจรรอบแกนกลางแกแลคซี่
โดยมีความเร็วเกือบเท่า ๆ กันตั้งแต่ดาวฤกษ์ที่ใกล้  Core  ไปจนถึงปลาย ๆ แขน
ซึ่ง .... เป็นเรื่องที่แปลกใจมาก  เพราะตำแหน่งของดาวฤกษ์  และ  rotation curve  ของด้านใน และ ริม ๆ  นั้น
มันแทบจะเท่ากันเลย   ต่างจากที่คำนวณด้วยทฤษฏี Kepler's law ซึ่งความเร็วด้านใน ควรเร็วกว่าด้านแขนริม ๆ
และที่เอง  ที่นักวิทยาศาสตร์สรุปว่าเป็นผลจากการยึดโยงของ Dark matter ครับ


จากคลิปนี้  แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของ Rotation curve ของทางช้างเผือก
ด้านซ้าย คือ curve การหมุนแบบที่คาดการณ์ใว้ด้วย software
แต่ด้านขวา คือ curve จริงที่ plot จากตำแหน่งดาวฤกษ์  ซึ่งไม่เป็นไปตามทฤษฏีที่คาดการณ์ใว้
นักวิทยาศาสตร์จึงมีสมมุติฐานว่าน่าจะเกิดจากการยึดโยงจาก Dark matter ทั่วทั้งทางช้างเผือก
ซึ่งยังตรวจจับไม่ได้ด้วยอุปกรณ์ยุคปัจจุบัน  เพราะยังไม่มีทฤษฏีโครงสร้างของมันเลย

   ภาพทางซ้าย นั้น  เป็นการประมาณการหมุนของดาวฤกษ์ทั้งหมดในทางช้างเผือก
ซึ่งตามการจำลองด้วย software โดยอิงหลักการของกฏ Kepler แล้ว  ตรงกลางทางช้างเผือกที่เป็นปื้นขาวสว่าง
จะหมุนเร็วสุด  แต่ดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกไปตรงช่วงกลางไปจนถึงปลายแขนแกแลคซี่  จะต้องหมุนช้ากว่า  (ตามภาพ)
   แต่ ..... ภาพทางขวา  มาจากการตรวจตำแหน่งดาวฤกษ์  และกรรมวิธีตรวจชั้นพลังงานของ Hydrogen 21 cm.
กลับแสดงผลออกมาว่า .... ทั้งตรงใกล้แกนกลางแกแลคซี่ (ปื้นขาว ๆ ) กับตรงปลายแขน
ดาวฤกษ์กลับหมุนรอบทางช้างเผือกด้วยความเร็วที่ใกล้เคียงกัน (ดูความเร็วการหมุนวนที่ปลายแขนเทียบกันอีกที)

ดังนั้น  จึงได้มีการตั้งสมมุติฐานว่า  จะต้องมีอะไรสักอย่างที่  " ยึดโยง "  จำนวนดาวฤกษ์มหาศาล
ทั้งแผ่แกแลคซี่ใว้ด้วยกัน  ดาวฤกษ์ด้านวงนอก ๆ จึงหมุนเร็วเท่าด้านใน ๆ ครับ
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่