บันทึกของคนเดินเท้า
ชีวิตที่มีขั้นตอน
เทพารักษ์
ท่านอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ ได้แสดงธรรมไว้เมื่อ ๒๒ - ๒๔ เมษายน ๒๕๑๓ ใน หัวข้อ ฆราวาสธรรม ซึ่งบางตอนได้แสดงไว้ว่า อายุขัยของมนุษย์ มีอยู่สี่ระดับด้วยกัน เรียกว่าอาศรม
อาศรม ๔ คือ ความเป็นพรหมจารี, ความเป็นคฤหัสถ์, ความเป็นวนปรัสถ์, ความเป็นสันยาสี
อาศรมที่ ๑ ความเป็น พรหมจารี คือเด็ก ๆ รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว ที่ยังไม่ครองเรือน ที่ยังไม่มีสามีภรรยา เขาเรียกพรหมจารีมาตั้งแต่เกิด จนถึงวาระสุดท้ายของการเป็นโสดเรียกว่าพรหมจารี
อาศรมที่ ๒ ถัดจากพรหมจารีก็มีสามีภรรยา ครองเรือน; เรียกว่าคฤหัสถ์ หรือ ฆราวาส
อาศรมที่ ๓ คฤหัสถ์ผู้มีสติปัญญา ต่อมารู้สึกเบื่อ รู้สึกเอือมระอา ต่อความซ้ำซากของความเป็นคฤหัสถ์ จึงหลีกออกไปสู่ที่สงัด บำเพ็ญตนเป็นนักบวช คือไม่ยุ่งเรื่องเหย้าเรือนอีกต่อไป เรียกว่า วนปรัสถ์ แปลว่าอยู่ป่า, คืออยู่ในที่สงบสงัด
อาศรมที่ ๔ เมื่อพอใจในความเป็นอย่างนั้นแล้ว ในที่สุดก็ออกเที่ยวสั่งสอน ท่องเที่ยวไปในหมู่มนุษย์อีก, แต่ไม่ใช่ไปอย่างผู้ครองเรือน ไม่ใช่สึกไปครองเรือนเหมือนพวกเราสมัยนี้, เขาเที่ยวสั่งสอนประชาชน เรียกว่า สันยาสี คือผู้ที่ท่องเที่ยวปะปนไปในหมู่ประชาชน............
นี่ก็ทำให้นึกถึงนิทานสมมตที่เล่ากันเล่นสนุก ๆ ว่าตอนเป็นชีวิตฆราวาสแท้ ๆ มันไปเอาของวัวมา ไปเอาชีวิต ๒๐ ปี ที่พระเจ้าลดให้วัวมา เพราะความโง่ เพราะความโลภ เลยก็ได้เป็นวัวราว ๒๐ ปี คือพ่อบ้านแม่เรือนที่หนักอึ้ง เหมือนวัวลากเกวียน ๒๐ ปี จึงค่อยถอนตนออกไปเป็นอย่างอื่น คือ เป็นวนปรัสถ์ เป็นสันยาสี ก็รอดตัวไปที
แต่ถ้าไปเกิดเป็นสุนัข ไปเกิดเป็นลิงเข้าอีกก็แย่ คือเป็นฆราวาสตลอด ๒๐ ปี หนักอึ้งแล้ว พอแก่ไปกว่านั้นอีกก็ไปมีเรื่องวิตกกังวล ห่วงลูก ห่วงหลาน ห่วงเหลนอะไรมากต่อไปอีก ก็เป็นสุนัขที่เฝ้าทรัพย์นอนหลับไม่ได้ นี้ด้วยเหตุที่ว่าไม่ได้ทำใจไว้ให้ดี ชีวิตนี้ไม่ได้รับการศึกษาฝึกฝนให้เป็นไปอย่างดี; พออายุมากเข้ามันก็ป้ำเป๋อ มันเลอะเลือนฟั่นเฟือน มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ก็กลายเป็นลิงไป คือเป็นตัวตลกให้เด็ก ๆ หัวเราะ
เพราะฉะนั้นจะต้องรู้ไว้ด้วยว่า จะต้องเป็นพรหมจารีให้ถูกต้อง เป็นฆราวาสคฤหัสถ์ให้ถูกต้อง แล้วพอสิ้นยุคของฆราวาสนี้ ก็จะต้องพยายามเป็นวนปรัศถ์ให้มาก คือพยายามเป็นผู้สลัดเรื่องยุ่ง ๆ ของฆราวาสนั้น ให้มากที่สุดที่จะมากได้ แล้วอยู่ด้วยความสงบ แม้ที่บ้านที่เรือน ที่เรียกว่าฆราวาสนั่นแหละ
เราไม่เป็นฆราวาสอย่างอายุ ๒๐ ปีนั้นแล้ว เราเป็นคนระลึกนึกคิด ฝึกฝนจิตใจกันเสียใหม่ให้ดีที่สุด และอายุต่อไปในบั้นปลายของชีวิต จะไม่ป้ำเป๋อเลอะเลือนเหมือนคนทั่ว ๆ ไป; จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์จนวินาทีสุดท้าย; แล้วเราก็มีโอกาสที่จะใช้ชีวิตบั้นปลายสุดท้ายถึงที่สุด แม้ว่าจะแก่ชราลุกไปไหนไม่ได้แล้ว ก็นั่งเป็นสันยาสีอยู่ที่ตรงนั้นก็ได้; คือว่า สอนลูก สอนหลาน สอนเหลน ให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เพราะว่าเราผ่านโลกมาอย่างถูกต้อง เป็นเวลาเกือบร้อยปี
คนแก่ชนิดนี้มีประโยชน์มาก ที่จะตอบปัญหาของเด็ก ๆ ได้หมดทุกอย่างทุกประการ; มีไว้ในบ้านในเรือนก็เหมือนมีพระเจ้าอยู่องค์หนึ่ง สำหรับให้แสงสว่าง คนแก่อายุตั้ง ๙๐ ปีนั้น ย่อมรอบรู้อะไรมาก จิตใจไม่ฟั่นเฟือนเลอะเลือนเลย ไม่เสียสติสัมปชัญญะเลย เพราะอบรมจิตมาดี
ถ้าผู้ใดกลัวว่าอายุมาก ๙๐ ปี ๑๐๐ ปี แล้วจะฟั่นเฟือนเลอะเลือนเหมือนที่เห็น ๆ กันอยู่โดยมากนั้น ขอบอกว่ามีทางป้องกัน อย่าให้ความทุกข์เกิดในชีวิตฆราวาสตอนนี้ นั่นคือพยายามฝึกจิตตามหลักพระพุทธศาสนาให้มาก ที่เขาเรียกว่าฝึกสติ นั่นแหละ
เราฝึกสติให้เป็นระเบียบอยู่ทุกวัน ๆ ตอนแก่อายุ ๙๐ ปี ๑๐๐ ปี มันไม่หลง ถ้าเราปล่อยให้กิเลสตัณหาครอบงำเราทุกวัน ๆ ไม่ต้องสงสัย อายุ ๙๐ ปี ๑๐๐ ปี มันจะหลงจะฟั่นเฟือน เพราะฉะนั้นเราจะต้องเสียสละ: เมื่ออายุมันมากพอแล้ว งานก็ทำมามากพอแล้ว ก็ยอมเสียสละ เอาเวลามาฝึกจิตให้ถูกวิธีที่จะฝึก โดยเฉพาะเช่น อานาปานสติ นี้อยู่เป็นประจำ..............
ดังนั้นอายุขัยของมนุษย์ ไม่ว่าจะสั้นหรือยืนยาวไปถึงเพียงใด ถ้าได้ปฏิบัติตามธรรมะที่ท่านอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ สรุปไว้ว่า เป็นคนให้ถูกต้อง ในทุกขั้นตอน ทั้ง ๔ ขั้น ก็จะทำให้ไม่เป็นทุกข์ตลอดชีวิต อย่างแน่นอน
##########
วารสารข่าวทหารอากาศ
พฤษภาคม ๒๕๔๙
ชีวิตที่มีขั้นตอน ๑๙ ก.ค.๕๘
ชีวิตที่มีขั้นตอน
เทพารักษ์
ท่านอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ ได้แสดงธรรมไว้เมื่อ ๒๒ - ๒๔ เมษายน ๒๕๑๓ ใน หัวข้อ ฆราวาสธรรม ซึ่งบางตอนได้แสดงไว้ว่า อายุขัยของมนุษย์ มีอยู่สี่ระดับด้วยกัน เรียกว่าอาศรม
อาศรม ๔ คือ ความเป็นพรหมจารี, ความเป็นคฤหัสถ์, ความเป็นวนปรัสถ์, ความเป็นสันยาสี
อาศรมที่ ๑ ความเป็น พรหมจารี คือเด็ก ๆ รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว ที่ยังไม่ครองเรือน ที่ยังไม่มีสามีภรรยา เขาเรียกพรหมจารีมาตั้งแต่เกิด จนถึงวาระสุดท้ายของการเป็นโสดเรียกว่าพรหมจารี
อาศรมที่ ๒ ถัดจากพรหมจารีก็มีสามีภรรยา ครองเรือน; เรียกว่าคฤหัสถ์ หรือ ฆราวาส
อาศรมที่ ๓ คฤหัสถ์ผู้มีสติปัญญา ต่อมารู้สึกเบื่อ รู้สึกเอือมระอา ต่อความซ้ำซากของความเป็นคฤหัสถ์ จึงหลีกออกไปสู่ที่สงัด บำเพ็ญตนเป็นนักบวช คือไม่ยุ่งเรื่องเหย้าเรือนอีกต่อไป เรียกว่า วนปรัสถ์ แปลว่าอยู่ป่า, คืออยู่ในที่สงบสงัด
อาศรมที่ ๔ เมื่อพอใจในความเป็นอย่างนั้นแล้ว ในที่สุดก็ออกเที่ยวสั่งสอน ท่องเที่ยวไปในหมู่มนุษย์อีก, แต่ไม่ใช่ไปอย่างผู้ครองเรือน ไม่ใช่สึกไปครองเรือนเหมือนพวกเราสมัยนี้, เขาเที่ยวสั่งสอนประชาชน เรียกว่า สันยาสี คือผู้ที่ท่องเที่ยวปะปนไปในหมู่ประชาชน............
นี่ก็ทำให้นึกถึงนิทานสมมตที่เล่ากันเล่นสนุก ๆ ว่าตอนเป็นชีวิตฆราวาสแท้ ๆ มันไปเอาของวัวมา ไปเอาชีวิต ๒๐ ปี ที่พระเจ้าลดให้วัวมา เพราะความโง่ เพราะความโลภ เลยก็ได้เป็นวัวราว ๒๐ ปี คือพ่อบ้านแม่เรือนที่หนักอึ้ง เหมือนวัวลากเกวียน ๒๐ ปี จึงค่อยถอนตนออกไปเป็นอย่างอื่น คือ เป็นวนปรัสถ์ เป็นสันยาสี ก็รอดตัวไปที
แต่ถ้าไปเกิดเป็นสุนัข ไปเกิดเป็นลิงเข้าอีกก็แย่ คือเป็นฆราวาสตลอด ๒๐ ปี หนักอึ้งแล้ว พอแก่ไปกว่านั้นอีกก็ไปมีเรื่องวิตกกังวล ห่วงลูก ห่วงหลาน ห่วงเหลนอะไรมากต่อไปอีก ก็เป็นสุนัขที่เฝ้าทรัพย์นอนหลับไม่ได้ นี้ด้วยเหตุที่ว่าไม่ได้ทำใจไว้ให้ดี ชีวิตนี้ไม่ได้รับการศึกษาฝึกฝนให้เป็นไปอย่างดี; พออายุมากเข้ามันก็ป้ำเป๋อ มันเลอะเลือนฟั่นเฟือน มีสติสัมปชัญญะไม่สมบูรณ์ ก็กลายเป็นลิงไป คือเป็นตัวตลกให้เด็ก ๆ หัวเราะ
เพราะฉะนั้นจะต้องรู้ไว้ด้วยว่า จะต้องเป็นพรหมจารีให้ถูกต้อง เป็นฆราวาสคฤหัสถ์ให้ถูกต้อง แล้วพอสิ้นยุคของฆราวาสนี้ ก็จะต้องพยายามเป็นวนปรัศถ์ให้มาก คือพยายามเป็นผู้สลัดเรื่องยุ่ง ๆ ของฆราวาสนั้น ให้มากที่สุดที่จะมากได้ แล้วอยู่ด้วยความสงบ แม้ที่บ้านที่เรือน ที่เรียกว่าฆราวาสนั่นแหละ
เราไม่เป็นฆราวาสอย่างอายุ ๒๐ ปีนั้นแล้ว เราเป็นคนระลึกนึกคิด ฝึกฝนจิตใจกันเสียใหม่ให้ดีที่สุด และอายุต่อไปในบั้นปลายของชีวิต จะไม่ป้ำเป๋อเลอะเลือนเหมือนคนทั่ว ๆ ไป; จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์จนวินาทีสุดท้าย; แล้วเราก็มีโอกาสที่จะใช้ชีวิตบั้นปลายสุดท้ายถึงที่สุด แม้ว่าจะแก่ชราลุกไปไหนไม่ได้แล้ว ก็นั่งเป็นสันยาสีอยู่ที่ตรงนั้นก็ได้; คือว่า สอนลูก สอนหลาน สอนเหลน ให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้ เพราะว่าเราผ่านโลกมาอย่างถูกต้อง เป็นเวลาเกือบร้อยปี
คนแก่ชนิดนี้มีประโยชน์มาก ที่จะตอบปัญหาของเด็ก ๆ ได้หมดทุกอย่างทุกประการ; มีไว้ในบ้านในเรือนก็เหมือนมีพระเจ้าอยู่องค์หนึ่ง สำหรับให้แสงสว่าง คนแก่อายุตั้ง ๙๐ ปีนั้น ย่อมรอบรู้อะไรมาก จิตใจไม่ฟั่นเฟือนเลอะเลือนเลย ไม่เสียสติสัมปชัญญะเลย เพราะอบรมจิตมาดี
ถ้าผู้ใดกลัวว่าอายุมาก ๙๐ ปี ๑๐๐ ปี แล้วจะฟั่นเฟือนเลอะเลือนเหมือนที่เห็น ๆ กันอยู่โดยมากนั้น ขอบอกว่ามีทางป้องกัน อย่าให้ความทุกข์เกิดในชีวิตฆราวาสตอนนี้ นั่นคือพยายามฝึกจิตตามหลักพระพุทธศาสนาให้มาก ที่เขาเรียกว่าฝึกสติ นั่นแหละ
เราฝึกสติให้เป็นระเบียบอยู่ทุกวัน ๆ ตอนแก่อายุ ๙๐ ปี ๑๐๐ ปี มันไม่หลง ถ้าเราปล่อยให้กิเลสตัณหาครอบงำเราทุกวัน ๆ ไม่ต้องสงสัย อายุ ๙๐ ปี ๑๐๐ ปี มันจะหลงจะฟั่นเฟือน เพราะฉะนั้นเราจะต้องเสียสละ: เมื่ออายุมันมากพอแล้ว งานก็ทำมามากพอแล้ว ก็ยอมเสียสละ เอาเวลามาฝึกจิตให้ถูกวิธีที่จะฝึก โดยเฉพาะเช่น อานาปานสติ นี้อยู่เป็นประจำ..............
ดังนั้นอายุขัยของมนุษย์ ไม่ว่าจะสั้นหรือยืนยาวไปถึงเพียงใด ถ้าได้ปฏิบัติตามธรรมะที่ท่านอาจารย์ พุทธทาสภิกขุ สรุปไว้ว่า เป็นคนให้ถูกต้อง ในทุกขั้นตอน ทั้ง ๔ ขั้น ก็จะทำให้ไม่เป็นทุกข์ตลอดชีวิต อย่างแน่นอน
##########
วารสารข่าวทหารอากาศ
พฤษภาคม ๒๕๔๙