จากประสบการณ์การศึกษาทั้งในระดับมัธยมปลาย และระดับอุดมศึกษา ผมคิดว่าการศึกษาไทยพยายามผลิตคนแบบ Mass Production ไม่ส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ครับ
เริ่มจากระดับมัธยม หลายโรงเรียนยังคงยึดถือกฎระเบียบหยุมหยิมเป็นสำคัญ เช่น ระเบียบทรงผม รวมถึงการห้ามพกพาโทรศัพท์มือถือไปโรงเรียน ซึ่งผมมองว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบต่อสังคมที่ก้าวสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ครับ แทนที่โรงเรียนจะได้สอนให้นักเรียนรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างเท่าทันกลับใช้คำว่า"ห้าม" ซึ่งเป็นการผิดกั้นความคิดเด็กตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้นักเรียนขาดการเรียนรู้อย่างถูกต้อง
แม้แต่ในระดับอุดมศึกษากีมีกฎบังคับหยุมหยิม เช่น เรื่องการแต่งกายของบางมหาวิยาลัยที่ผมมองว่าเป็นการสร้างต้นทุนในการเข้าสู่มหาวิทยาลัย หรือต้นทุนในการเข้าเรียนโดยใช่เหตุ หรือประเพณีรับน้องที่โหดร้ายรวมถึงการใช้ตำว่าประเพณี มาบล๊อคความคิดของนักศึกษาในการแสดงออกและแสดงความคิดอย่างปัญญาชน การเรียนการสอนในทุกด้านก็มุ่งเน้นแต่ตอบสนองต่อตลาดแรงงานราคาถูก (Perfect competition หรือ Monopolistic competition) ไม่ได้สอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเป็นเจ้าของกิจการ หรือการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆครับ โดยการทำให้ทุกคนออกมาในลักษณะเดียวกัน มีสภาพเหมือนๆกัน ไร้ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างบูรณาการครับ
ทั้งหมดนี้ทำให้น่าเป็นห่วงว่าประเทศไทยจะสามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle income trap) ได้อย่างไร เราไม่มีทุนทั้งทุนมนุษย์และทุนกายภาพที่ดีพอในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของประเทศเลยครับ หากจะแก้ปัญหาประเทศสุดท้ายผมยังคงมองว่าต้องแก้การผลิตคนแบบ Mass Production ที่พยายามให้ทุกคนออกมาเหมือนกันให้หมดไปครับ
ขอเชิญทุกท่านแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ
ขอบคุณครับ
การศึกษาไทยผลิตแบบ Mass Production
เริ่มจากระดับมัธยม หลายโรงเรียนยังคงยึดถือกฎระเบียบหยุมหยิมเป็นสำคัญ เช่น ระเบียบทรงผม รวมถึงการห้ามพกพาโทรศัพท์มือถือไปโรงเรียน ซึ่งผมมองว่าเป็นการปัดความรับผิดชอบต่อสังคมที่ก้าวสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ครับ แทนที่โรงเรียนจะได้สอนให้นักเรียนรู้จักใช้เทคโนโลยีอย่างเท่าทันกลับใช้คำว่า"ห้าม" ซึ่งเป็นการผิดกั้นความคิดเด็กตั้งแต่เริ่มแรก ทำให้นักเรียนขาดการเรียนรู้อย่างถูกต้อง
แม้แต่ในระดับอุดมศึกษากีมีกฎบังคับหยุมหยิม เช่น เรื่องการแต่งกายของบางมหาวิยาลัยที่ผมมองว่าเป็นการสร้างต้นทุนในการเข้าสู่มหาวิทยาลัย หรือต้นทุนในการเข้าเรียนโดยใช่เหตุ หรือประเพณีรับน้องที่โหดร้ายรวมถึงการใช้ตำว่าประเพณี มาบล๊อคความคิดของนักศึกษาในการแสดงออกและแสดงความคิดอย่างปัญญาชน การเรียนการสอนในทุกด้านก็มุ่งเน้นแต่ตอบสนองต่อตลาดแรงงานราคาถูก (Perfect competition หรือ Monopolistic competition) ไม่ได้สอนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเป็นเจ้าของกิจการ หรือการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆครับ โดยการทำให้ทุกคนออกมาในลักษณะเดียวกัน มีสภาพเหมือนๆกัน ไร้ทักษะการคิดวิเคราะห์อย่างบูรณาการครับ
ทั้งหมดนี้ทำให้น่าเป็นห่วงว่าประเทศไทยจะสามารถหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle income trap) ได้อย่างไร เราไม่มีทุนทั้งทุนมนุษย์และทุนกายภาพที่ดีพอในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของประเทศเลยครับ หากจะแก้ปัญหาประเทศสุดท้ายผมยังคงมองว่าต้องแก้การผลิตคนแบบ Mass Production ที่พยายามให้ทุกคนออกมาเหมือนกันให้หมดไปครับ
ขอเชิญทุกท่านแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับ
ขอบคุณครับ