คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
จิตรกรรมลายรดน้ำรูปทหารม้าของหอเขียนวังสวนผักกาด สมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่มีการซ่อมสมัยรัตนโกสินทร์
1.ตามพระอัยการนาพลเรือนสมัยอยุทธยา(และใช้ต่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์) กรมที่ดูแลเกี่ยวกับม้าคือกรมพระอัศวราช มีกรมย่อย ๔ กรม คือ กรมม้าต้น กรมม้าแซงใน กรมม้าแซงนอก และกรมม้าเกราะทองครับ
กรมม้าแซงในและกรมม้าแซงนอก ทำหน้าที่เป็นกองทหารร่วมในการถวายอารักขาพระมหากษัตริย์ทั้งในยามศึกและยามเสด็จพระราชดำเนินปกติ หากการปฏิบัติหน้าที่จะต้องขึ้นกับกรมพระตำรวจใน และกรมพระตำรวจนอก เพราะสองกรมนี้มีหน้าที่ถวายอารักขาพระมหากษัตริย์ ส่วนกรมทหารม้าเกราะทองนั้นน่าจะจัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ทหารม้าจะสวมชุดเกราะสีทอง กรมนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของกรมทหารอาสาที่เรียกว่า 'อาสาเกราะทอง' มีความเป็นไปได้ที่กรมทหารม้าเกราะทองพัฒนามาจากกองทหารราชองครักษ์ต่างชาติ
สมัยธนบุรีโดยหลักๆก็ไม่น่าจะต่างจากสมัยอยุทธยามาก แต่อาจจะไม่ได้มีครบสมบูรณ์ทุกตำแหน่งเหมือนสมัยอยุทธยาครับ เพราะปรากฏหลายครั้งว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ทรงยึดถือแบบธรรมเนียมปฏิบัติที่สมบูรณ์เหมือนครั้งกรุงศรีอยุทธยา ตำแหน่งก็อาจจะคงไว้เฉพาะที่จำเป็นต่อสภาพบ้านเมืองตอนนั้นครับ เพราะบ้านเมืองกำลังฟื้นฟูจากภาวะสงคราม พวกทหารที่เป็นกองตามเสด็จอย่างทหารม้าเกราะทองอาจจะไม่มี เพราะพอมีหลักฐานว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ทรงถือธรรมเนียมว่าต้องมีขบวนเสด็จใหญ่โตเหมือนพระเจ้าแผ่นดินอยุทธยา บางครั้งก็มีปรากฏว่าเสด็จไปพระราชทานข้าวให้ประชาชนด้วยพระองค์เอง(ซึ่งกษัตรย์อยุทธยาคงไม่ทำครับ)
ถ้าดูจากพงศาวดารที่ชำระสมัยธนบุรีแล้วพบว่าแทบไม่ปรากฏการใช้ทหารม้าเลยครับ เพราะแทบไม่มีการระบุจำนวนทหารม้าในการรบแต่ละครั้ง แต่พอกล่าวถึงกองทัพพม่ากลับบอกจำนวนม้า และผิดกับสมัยอยุทธยาที่มักจะบอกเสมอว่ายกทัพไปมีกี่ม้า(หรืออาจจะมีแต่รวมๆไว้) เมื่อดูจากจดหมายรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี คราวปราบเมืองพุทไธมาศและเขมร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ ก็ไม่มีการใช้ม้าเลย ถึงแม้ศึกนี้จะยกทัพไปทางน้ำถ้าอยากใช้ม้าเมื่อขึ้นบกก็น่าจะขนขึ้นสำเภา(มี ๕๙ ลำ)ไปได้ แต่ก็ไม่ปรากฏเลยครับ อาจจะเป็นเพราะหาม้าดีๆที่เหมาะกับการรบลำบากจากสภาพเศรษฐกิจฝืดเคืองในต้นรัชสมัย เพราะส่วนใหญ่แล้วสมัยอยุทธยามักสั่งซื้อม้าชั้นดีจากต่างประเทศ(เช่นจากเมืองท่าทวาย มะริด ตะนาวศรีซึ่งตอนนั้นตกอยู่ใต้อำนาจพม่า)มากกว่าใช้ม้าพิ้นเมือง และพอมีหลักฐานอยู่ว่าคนไทยนิยมใช้ช้างรบมากกว่าม้าครับ
2.เรื่องเพลงทวนไม่ทราบครับ แต่ตามพระอัยการนาทหารหัวเมืองมี กรมทวนทองซ้าย กรมทวนทองขวา เป็นหนึ่งในกรมอาสาหกเหล่าครับ ซึ่งก็คงเป็นทหารทวนตามชื่อแหละครับ
3.ดูจากเครื่องยศพระราชทานเช่นพวกหีบหมาก คนโท กระโถน พานเงินพานทอง คานหาม ร่ม จำนวนไพร่ในสังกัด แล้วก็ผ้านุ่งอย่างพวกผ้าสมปักครับ ในกฎมณเฑียรบาลก็มีระบุความแตกต่างของเครื่องยศที่ได้ตามจำนวนศักดินาครับ แต่ดูจากรูปศัพท์ที่เป็นคำเก่ามากน่าจะเป็นลักษณะเครื่องยศแบบสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมัยหลังไม่น่าจะใช้ตามนี้ครับ
"ไอยการบันดาศักดิ์นา ๑๐๐๐๐ ในเมืองขี่ยั่วกันชิงหุ้มผ้าขาว บันดาศักดิ์ ๑๐๐๐๐ หัวเมืองขี่คานหามเก้าอี้กันชิงหุ้มผ้าขาว
บันดาศักดิ์หัวเมืองนา ๕๐๐๐ ขี่ยั่วร่มทงยู บันดาศักดิ์นา ๓๐๐๐ ขี่ยาน
ไอยการนา ๑๐๐๐๐ กินเมืองทัง ๔ ฝ่ายมีร่มปลิกสองคน ทานตระวันเบื้อคู่หนึ่ง กันชิงหุ้มผ้าแดงคันหนึ่ง เรือกูบแมงดาคฤ ๓ ตอนบดบาดสาวตคุกหัวท้ายนั่งหน้าสอง คามหามเก้าอี้ทอง ศิรเพศมวยทอง แตรลางโพง ๓ คู่แลปี่กลอง ครั้นมาถึงขนอนหลวง ลดเครื่องทังปวง ไว้แต่กันชิงคานหาม
ฝ่ายท้าวนั่งเมือง ศิรเพศมวยทอง กันชิงหุ้มผ้าขาว หย้อนมากหย้อนน้ำรองตลุ่ม เรือคฤ ๓ ตอนบดลาด คานหามทอง เก้าอี้ทอง
นา ๑๐๐๐๐ กินเมือง หมวกล่วมทอง ขี่ยั่วยานกันชิงหุ้มผ้าขาว เรือคฤ ๓ ตอนบดลาด ขี่ลานลายทองทังสรรพาง
[นา ๕๐๐๐?]กิน[เมือง] เจียดถมยาดำรองตลุ่ม เรือคฤ ๓ ตอนเลวหาบดลาดมิได้ กแอเลี่ยมทอง
นา ๑๖๐๐ กินเมือง เจียดเบื้ออหักรองตลุ่ม กั้งกแอทาชาต"
เครื่องประดับศีรษะอย่างลอมพอก หรือหีบหมากก็มีการแบ่งตามบรรดาศักดิ์ครับ ซึ่งนิโกลาส์ แชรแวส(Nicolas Gervaise)ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้บันทึกเรื่องนี้กับสิ่งของที่ใช้แบ่งลำดับชั้นยศขุนนางไว้ดังนี้ครับ
"...อันบรรดาศักดิ์ของขุนนางนั้นมีอยู่ห้าชั้นด้วยกัน ตามความสำคัญลดหลั่นกันไป
จำพวกแรกได้แก่พวกออกญา ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในราชการแผ่นดิน เป็นชนชั้นปกครองสูงสุดดังได้กล่าวมาแล้ว หีบหมากของเขาทำด้วยฝีมือประณีตกว่าของขุนนางชั้นอื่นๆ และในขณะที่โดยเสด็จพระราชดำเนินนั้น วงทองคำอันรัดขอบลอมพอกยอดแหลมนั้นประดับด้วยช่อมาลา
ผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นรองคือจำพวกออกพระ ซึ่งทุกวันนี้มีจำนวนมากกว่าออกญาเป็นอันมาก เพราะเหตุว่าอำนาจหน้าที่นั้นด้อยกว่าออกญาและไม่อยู่ในสถานะจะสนับสนุนนราชบัลลังก์ได้มากนัก เมื่อออกพระคนใดสิ้นไปแล้ว จึงมิค่อยได้ทรงพระกรุณาแต่งตั้งผู้อื่นขึ้นมาแทนที่ และทรงมอบราชภารกิจให้ออกพระทำเป็นอย่างๆ ไป เป็นพวกขุนนางชั้นสอง ซึ่งมักทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตพิเศษ ส่งไปเจริญทางพระราชไมตรีกับเจ้าประเทศที่ทรงอำนาจในกรณีที่สำคัญๆ หีบหมากของพวกออกพระทำด้วยทองคำ มีความงามน้อยกว่าของพวกออกญา และขอบลอมพอกนั้นประดับด้วยช่อชัยพฤกษ์
ออกหลวงผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสามทำหน้าที่เป็นทูตสามัญสำหรับส่งไปประเทศเล็กๆ หีบหมากที่ได้รับพระราชทานนั้นทำด้วยเงิน ประดับกิ่งและใบชัยพฤกษ์ ขอบลอมพอกกว้างเพียงสองนิ้ว และฝีมือประณีตน้อยกว่าพวกออกพระ
จำพวกออกขุนและออกหมื่น เป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสี่และห้าตามลำดับ มักรับตำแหน่งหน้าที่ในสำนักพระราชวัง เป็นคนเฝ้าตำหนักพระที่นั่ง ปลัดกรมในข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตุลาการหัวเมือง รวมความว่ารับราชการในตำแหน่งที่ไม่สู้มีความสลักสำคัญเท่าใดนัก หีบหมากพระราชทานกับขอบลอมพอกนั้นทำด้วยทองคำหรือเนื้อเงินเกลี้ยง...
ออกพระวิสุทสุนธร(ปาน) ราชทูตที่ไปฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๙
ลอมพอกมีขอบทองประดับทองไม้ไหวครับ
ซ้าย : ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูตที่ไปฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๙ ลอมพอกมีขอบประดับดอกไม้ไหว
ขวา : ออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูตที่ไปฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๙ ลอมพอกมีขอบไม่มีดอกไม้ไหว
"...เราจะรู้จักความสำคัญของขุนนางเหล่านี้ในที่สาธารณะได้ ไม่เพียงจากหีบหมากพระราชทาน จากรูปพรรณและเนื้อโลหะล้อมขอบลอมพอก จากฐานะของเรือที่ใช้เป็นยานพาหนะ จากดาบที่มีผู้เชิญไปข้างหน้าเท่านั้น แต่ยังจะรู้ได้จากจำนวนทาสติดหน้าตามหลังอีกด้วย เพราะโดยปรกตินั้นได้กำหนดจำนวนทาสติดตามไว้เป็นการแน่นอน..."
พวกหมวกปีกที่ทหารใส่กันก็น่าจะมีการแบ่งตามลำดับชั้นยศทหารครับ ดูจากภาพกระบวนกฐินพยุหยาตราสถลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน 'สมุดภาพจำลองมาจากวัดยมกรุงเก่า' มีการประดับขอบหรือยอดแตกต่างกันไป แต่จะแบ่งยังไงนั้นก็ไม่แน่ชัดครับ
จิตรกรรมลายรดน้ำรูปทหารม้าของหอเขียนวังสวนผักกาด สมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่มีการซ่อมสมัยรัตนโกสินทร์
1.ตามพระอัยการนาพลเรือนสมัยอยุทธยา(และใช้ต่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์) กรมที่ดูแลเกี่ยวกับม้าคือกรมพระอัศวราช มีกรมย่อย ๔ กรม คือ กรมม้าต้น กรมม้าแซงใน กรมม้าแซงนอก และกรมม้าเกราะทองครับ
กรมม้าแซงในและกรมม้าแซงนอก ทำหน้าที่เป็นกองทหารร่วมในการถวายอารักขาพระมหากษัตริย์ทั้งในยามศึกและยามเสด็จพระราชดำเนินปกติ หากการปฏิบัติหน้าที่จะต้องขึ้นกับกรมพระตำรวจใน และกรมพระตำรวจนอก เพราะสองกรมนี้มีหน้าที่ถวายอารักขาพระมหากษัตริย์ ส่วนกรมทหารม้าเกราะทองนั้นน่าจะจัดตั้งขึ้นเพื่อประกอบพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ทหารม้าจะสวมชุดเกราะสีทอง กรมนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของกรมทหารอาสาที่เรียกว่า 'อาสาเกราะทอง' มีความเป็นไปได้ที่กรมทหารม้าเกราะทองพัฒนามาจากกองทหารราชองครักษ์ต่างชาติ
สมัยธนบุรีโดยหลักๆก็ไม่น่าจะต่างจากสมัยอยุทธยามาก แต่อาจจะไม่ได้มีครบสมบูรณ์ทุกตำแหน่งเหมือนสมัยอยุทธยาครับ เพราะปรากฏหลายครั้งว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ทรงยึดถือแบบธรรมเนียมปฏิบัติที่สมบูรณ์เหมือนครั้งกรุงศรีอยุทธยา ตำแหน่งก็อาจจะคงไว้เฉพาะที่จำเป็นต่อสภาพบ้านเมืองตอนนั้นครับ เพราะบ้านเมืองกำลังฟื้นฟูจากภาวะสงคราม พวกทหารที่เป็นกองตามเสด็จอย่างทหารม้าเกราะทองอาจจะไม่มี เพราะพอมีหลักฐานว่าพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ทรงถือธรรมเนียมว่าต้องมีขบวนเสด็จใหญ่โตเหมือนพระเจ้าแผ่นดินอยุทธยา บางครั้งก็มีปรากฏว่าเสด็จไปพระราชทานข้าวให้ประชาชนด้วยพระองค์เอง(ซึ่งกษัตรย์อยุทธยาคงไม่ทำครับ)
ถ้าดูจากพงศาวดารที่ชำระสมัยธนบุรีแล้วพบว่าแทบไม่ปรากฏการใช้ทหารม้าเลยครับ เพราะแทบไม่มีการระบุจำนวนทหารม้าในการรบแต่ละครั้ง แต่พอกล่าวถึงกองทัพพม่ากลับบอกจำนวนม้า และผิดกับสมัยอยุทธยาที่มักจะบอกเสมอว่ายกทัพไปมีกี่ม้า(หรืออาจจะมีแต่รวมๆไว้) เมื่อดูจากจดหมายรายวันทัพสมัยกรุงธนบุรี คราวปราบเมืองพุทไธมาศและเขมร เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๔ ก็ไม่มีการใช้ม้าเลย ถึงแม้ศึกนี้จะยกทัพไปทางน้ำถ้าอยากใช้ม้าเมื่อขึ้นบกก็น่าจะขนขึ้นสำเภา(มี ๕๙ ลำ)ไปได้ แต่ก็ไม่ปรากฏเลยครับ อาจจะเป็นเพราะหาม้าดีๆที่เหมาะกับการรบลำบากจากสภาพเศรษฐกิจฝืดเคืองในต้นรัชสมัย เพราะส่วนใหญ่แล้วสมัยอยุทธยามักสั่งซื้อม้าชั้นดีจากต่างประเทศ(เช่นจากเมืองท่าทวาย มะริด ตะนาวศรีซึ่งตอนนั้นตกอยู่ใต้อำนาจพม่า)มากกว่าใช้ม้าพิ้นเมือง และพอมีหลักฐานอยู่ว่าคนไทยนิยมใช้ช้างรบมากกว่าม้าครับ
2.เรื่องเพลงทวนไม่ทราบครับ แต่ตามพระอัยการนาทหารหัวเมืองมี กรมทวนทองซ้าย กรมทวนทองขวา เป็นหนึ่งในกรมอาสาหกเหล่าครับ ซึ่งก็คงเป็นทหารทวนตามชื่อแหละครับ
3.ดูจากเครื่องยศพระราชทานเช่นพวกหีบหมาก คนโท กระโถน พานเงินพานทอง คานหาม ร่ม จำนวนไพร่ในสังกัด แล้วก็ผ้านุ่งอย่างพวกผ้าสมปักครับ ในกฎมณเฑียรบาลก็มีระบุความแตกต่างของเครื่องยศที่ได้ตามจำนวนศักดินาครับ แต่ดูจากรูปศัพท์ที่เป็นคำเก่ามากน่าจะเป็นลักษณะเครื่องยศแบบสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมัยหลังไม่น่าจะใช้ตามนี้ครับ
"ไอยการบันดาศักดิ์นา ๑๐๐๐๐ ในเมืองขี่ยั่วกันชิงหุ้มผ้าขาว บันดาศักดิ์ ๑๐๐๐๐ หัวเมืองขี่คานหามเก้าอี้กันชิงหุ้มผ้าขาว
บันดาศักดิ์หัวเมืองนา ๕๐๐๐ ขี่ยั่วร่มทงยู บันดาศักดิ์นา ๓๐๐๐ ขี่ยาน
ไอยการนา ๑๐๐๐๐ กินเมืองทัง ๔ ฝ่ายมีร่มปลิกสองคน ทานตระวันเบื้อคู่หนึ่ง กันชิงหุ้มผ้าแดงคันหนึ่ง เรือกูบแมงดาคฤ ๓ ตอนบดบาดสาวตคุกหัวท้ายนั่งหน้าสอง คามหามเก้าอี้ทอง ศิรเพศมวยทอง แตรลางโพง ๓ คู่แลปี่กลอง ครั้นมาถึงขนอนหลวง ลดเครื่องทังปวง ไว้แต่กันชิงคานหาม
ฝ่ายท้าวนั่งเมือง ศิรเพศมวยทอง กันชิงหุ้มผ้าขาว หย้อนมากหย้อนน้ำรองตลุ่ม เรือคฤ ๓ ตอนบดลาด คานหามทอง เก้าอี้ทอง
นา ๑๐๐๐๐ กินเมือง หมวกล่วมทอง ขี่ยั่วยานกันชิงหุ้มผ้าขาว เรือคฤ ๓ ตอนบดลาด ขี่ลานลายทองทังสรรพาง
[นา ๕๐๐๐?]กิน[เมือง] เจียดถมยาดำรองตลุ่ม เรือคฤ ๓ ตอนเลวหาบดลาดมิได้ กแอเลี่ยมทอง
นา ๑๖๐๐ กินเมือง เจียดเบื้ออหักรองตลุ่ม กั้งกแอทาชาต"
เครื่องประดับศีรษะอย่างลอมพอก หรือหีบหมากก็มีการแบ่งตามบรรดาศักดิ์ครับ ซึ่งนิโกลาส์ แชรแวส(Nicolas Gervaise)ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาในเมืองไทยสมัยสมเด็จพระนารายณ์ได้บันทึกเรื่องนี้กับสิ่งของที่ใช้แบ่งลำดับชั้นยศขุนนางไว้ดังนี้ครับ
"...อันบรรดาศักดิ์ของขุนนางนั้นมีอยู่ห้าชั้นด้วยกัน ตามความสำคัญลดหลั่นกันไป
จำพวกแรกได้แก่พวกออกญา ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในราชการแผ่นดิน เป็นชนชั้นปกครองสูงสุดดังได้กล่าวมาแล้ว หีบหมากของเขาทำด้วยฝีมือประณีตกว่าของขุนนางชั้นอื่นๆ และในขณะที่โดยเสด็จพระราชดำเนินนั้น วงทองคำอันรัดขอบลอมพอกยอดแหลมนั้นประดับด้วยช่อมาลา
ผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นรองคือจำพวกออกพระ ซึ่งทุกวันนี้มีจำนวนมากกว่าออกญาเป็นอันมาก เพราะเหตุว่าอำนาจหน้าที่นั้นด้อยกว่าออกญาและไม่อยู่ในสถานะจะสนับสนุนนราชบัลลังก์ได้มากนัก เมื่อออกพระคนใดสิ้นไปแล้ว จึงมิค่อยได้ทรงพระกรุณาแต่งตั้งผู้อื่นขึ้นมาแทนที่ และทรงมอบราชภารกิจให้ออกพระทำเป็นอย่างๆ ไป เป็นพวกขุนนางชั้นสอง ซึ่งมักทำหน้าที่เป็นเอกอัครราชทูตพิเศษ ส่งไปเจริญทางพระราชไมตรีกับเจ้าประเทศที่ทรงอำนาจในกรณีที่สำคัญๆ หีบหมากของพวกออกพระทำด้วยทองคำ มีความงามน้อยกว่าของพวกออกญา และขอบลอมพอกนั้นประดับด้วยช่อชัยพฤกษ์
ออกหลวงผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสามทำหน้าที่เป็นทูตสามัญสำหรับส่งไปประเทศเล็กๆ หีบหมากที่ได้รับพระราชทานนั้นทำด้วยเงิน ประดับกิ่งและใบชัยพฤกษ์ ขอบลอมพอกกว้างเพียงสองนิ้ว และฝีมือประณีตน้อยกว่าพวกออกพระ
จำพวกออกขุนและออกหมื่น เป็นผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นสี่และห้าตามลำดับ มักรับตำแหน่งหน้าที่ในสำนักพระราชวัง เป็นคนเฝ้าตำหนักพระที่นั่ง ปลัดกรมในข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตุลาการหัวเมือง รวมความว่ารับราชการในตำแหน่งที่ไม่สู้มีความสลักสำคัญเท่าใดนัก หีบหมากพระราชทานกับขอบลอมพอกนั้นทำด้วยทองคำหรือเนื้อเงินเกลี้ยง...
ออกพระวิสุทสุนธร(ปาน) ราชทูตที่ไปฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๙
ลอมพอกมีขอบทองประดับทองไม้ไหวครับ
ซ้าย : ออกหลวงกัลยาราชไมตรี อุปทูตที่ไปฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๙ ลอมพอกมีขอบประดับดอกไม้ไหว
ขวา : ออกขุนศรีวิสารวาจา ตรีทูตที่ไปฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๙ ลอมพอกมีขอบไม่มีดอกไม้ไหว
"...เราจะรู้จักความสำคัญของขุนนางเหล่านี้ในที่สาธารณะได้ ไม่เพียงจากหีบหมากพระราชทาน จากรูปพรรณและเนื้อโลหะล้อมขอบลอมพอก จากฐานะของเรือที่ใช้เป็นยานพาหนะ จากดาบที่มีผู้เชิญไปข้างหน้าเท่านั้น แต่ยังจะรู้ได้จากจำนวนทาสติดหน้าตามหลังอีกด้วย เพราะโดยปรกตินั้นได้กำหนดจำนวนทาสติดตามไว้เป็นการแน่นอน..."
พวกหมวกปีกที่ทหารใส่กันก็น่าจะมีการแบ่งตามลำดับชั้นยศทหารครับ ดูจากภาพกระบวนกฐินพยุหยาตราสถลมารคสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน 'สมุดภาพจำลองมาจากวัดยมกรุงเก่า' มีการประดับขอบหรือยอดแตกต่างกันไป แต่จะแบ่งยังไงนั้นก็ไม่แน่ชัดครับ
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบประวัติของทหารม้า สมัยกรุงธนบุรี
1 ทหารม้า สมัยกรุงธนบุรี มีบ้างไหม มีตำแหน่งอะไรบ้าง
2 เพลงทวน เพลงหอกว่ามีประวัติยังไงบ้าง ตำแหน่งขุนนางไหนใช้อาวุธพวกนี้บ้างครับ พอดีอยากหาความรู้เสริม ครับ
เพราะสนใจเรื่องราวสมัยกรุงธนบุรีครับ แต่ข้อมูลมีไม่มาก
3 คนเมื่อก่อนสังเกตอย่างไรว่า คนนี้เป็นระดบ หมื่น ขุน หลวง สังเกตที่เสื้อผ้า หรือมีการสักอะไรหรือเปล่าครับ