พญ.รัชนีกร เอี่ยมผ่อง จิตแพทย์สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวถึงผู้ที่แอบถ่ายใต้กระโปรงผู้หญิงสาวๆ ว่าเข้าข่ายเป็น “โรคจิต” หรือไม่ว่า
ผู้กระทำเช่นนี้ ไม่เข้าข่ายโรคจิต แต่เป็นปัญหาสุขภาพจิต อยู่ในกลุ่มผิดปกติทางเพศ ส่วนโรคจิต (Psychotic Disorder) ทางการแพทย์ หมายถึง คนวิกลจริต มีความคิด ความเข้าใจ ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง อาจมีลักษณะ หูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน ซึ่งคงไม่ใช่กลุ่มที่ชอบแอบถ่ายคลิปใครแน่นอน แต่ผู้ที่กระทำเช่นนี้ คนส่วนใหญ่ มักมองว่า เป็นพวกโรคจิต หรือบ้ากามอาจเนื่องมาจากภาษาพูดหรือการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนมากกว่า
พญ.รัชนีกร กล่าวต่อว่า สำหรับความผิดปกติทางเพศ หรือ การมีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การแอบถ่าย ถ้ำมอง การขโมยกางเกงใน การโชว์อวัยวะเพศ การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์หรือสิ่งของ รวมถึงเซ็กซ์โฟน (Sex Phone) ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า ผู้กระทำเช่นนี้มักไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง ไม่กล้าเผชิญหน้ากับเพศตรงข้าม ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ พบในชายมากกว่าหญิง ซึ่งการแอบถ่ายถือเป็นการสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้กระทำ ทำแล้วมีความสุข เป็นการกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้ควรได้รับการดูแลรักษาด้านสุขภาพจิต ซึ่งถ้ามีการใช้สารเสพติดหรือมีโรคทางจิตเวชร่วมด้วย อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมล่วงละเมิดที่ร้ายแรง เป็นอันตรายต่อตนเองและคนรอบข้างได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ป่วยคดีที่มีปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติหรือไม่เหมาะสม มีไม่มากนัก ถ้าเทียบกับคดีการฆ่าที่เกิดจากโรคจิต คดีลักทรัพย์ หรือ คดียาเสพติด ทั้งนี้ พบประมาณ 10 รายต่อปี อย่างไรก็ตาม ในสังคมน่าจะมีปัญหาลักษณะนี้มากกว่านี้ เบื้องต้นพบว่า จากการให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่ สุดท้ายแล้วก็มักจะปรึกษาปัญหาของคนในครอบครัวที่มีพฤติกรรมทางเพศผิดปกติ เช่น เห็นลูกสาวมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยง หรือปัญหาเซ็กซ์โฟนฯลฯ
ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิดความผิดปกติทางเพศ จากการได้พูดคุยกับคนไข้คดีประเภทนี้ พบว่า จริงๆแล้ว สาเหตุเกิดจากการเรียนรู้ทางเพศ ที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็กส่งผลมาถึงวัยผู้ใหญ่ อาทิ เด็ก 4-6 ขวบ จะมีพัฒนาการSex Play คล้ายกับการช่วยตัวเองในวัยผู้ใหญ่ ถ้าเด็กไม่มีเพื่อนเล่น ผู้ใหญ่ไม่มีเวลาให้ เขาก็จะมีเวลาในการสำรวจตนเองและจะเล่นกับตัวเองมาก ซึ่งถือเป็นพัฒนาการปกติ แต่ทั้งนี้จะส่งผลผิดปกติเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ได้ ถ้าผู้ปกครองไม่เข้าใจพฤติกรรมที่เกิดขึ้น มีการด่าว่ารุนแรง หรือตีรุนแรง บอกว่าเป็นเรื่องน่าอาย เด็กเหล่านั้นก็จะฝังใจ ถูกกดดัน มองว่าการเปิดเผยความสนใจด้านเพศเป็นสิ่งผิด เมื่อโตขึ้นอาจไม่กล้าสนใจเพศตรงข้ามหรือมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับถ้าได้เรียนรู้ผ่านสื่อลามกหรือมีต้นแบบที่ไม่เหมาะสม ก็อาจเลียนแบบ ยึดติด หรือหมกมุ่นกับพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติได้ในที่สุด
“คดีที่เกิดขึ้น ถือเป็นคดีอนาจาร ล่วงละเมิด ที่อาจไม่ใช่คดีอาญาร้ายแรงแต่ก็สร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคม ทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจหรือเป็นการล่วงล้ำสิทธิของผู้อื่น สามารถยอมความกันได้ แต่โจทย์ก็จะมีเงื่อนไขว่าต้องให้ผู้กระทำมารับการรักษา ซึ่งการบำบัดรักษาจะให้ยาที่จะช่วยลดความต้องการด้านเพศรวมถึงการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้นและมีการหาความสุขทางเพศได้อย่างเหมาะสม รวมทั้ง หากิจกรรมเสริมให้ทำเพื่อไม่ให้หมกมุ่นทางเพศมากเกินไป ซึ่งใช้เวลารักษาเป็นเดือน ทั้งนี้ ถ้าคนในครอบครัว เข้าใจ และให้กำลังใจก็จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้เข้าสู่ภาวะปกติได้ดียิ่งขึ้น” พญ.รัชนีกร กล่าว
พญ.รัชนีกร กล่าวอีกว่า สำหรับการป้องกันตัวเองสำหรับผู้หญิง คงต้องสังเกตว่าสถานที่ใดบ้างมีความเสี่ยงและใคร มีพฤติกรรมพิรุธบ้าง ซึ่งคนเหล่านี้อาจแยกตัวอยู่คนเดียว และโดยทั่วไป จะพบตามที่อับ มุมตึก สะพานลอย ตามที่เป็นข่าว ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น ทางที่ดี ควรอยู่ในชุมชนเวลากลางวัน แต่งตัวอย่างมิดชิด และมีความรู้ในการป้องกันตัวเองบ้างและถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น อย่ามองว่าเป็นเรื่องน่าอาย ควรดำเนินการทางด้านกฎหมายทันที เพื่อให้ผู้กระทำผิดรับผลจากการกระทำนั้น นอกจากนี้ สำหรับการป้องกันระยะยาว เพื่อไม่ให้บุคคลเกิดความผิดปกติทางเพศเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องสร้างภูมิต้านทานทางจิตใจให้ตั้งแต่เด็ก ให้พวกเขารู้ว่าความภูมิใจของตนเอง อยู่ที่การมีคุณธรรม มีจิตใจที่ดี ไม่ใช่อยู่ที่พฤติกรรมทางเพศที่ท้าทาย
เครดิต http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000013232&TabID=1&#Commenttab
จิตแพทย์เผย ถ้ำมอง/ช่วยตัวเอง ไม่ใช่ "โรคจิต" อย่างที่คนไทยเข้าใจ !
พญ.รัชนีกร เอี่ยมผ่อง จิตแพทย์สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ กล่าวถึงผู้ที่แอบถ่ายใต้กระโปรงผู้หญิงสาวๆ ว่าเข้าข่ายเป็น “โรคจิต” หรือไม่ว่า ผู้กระทำเช่นนี้ ไม่เข้าข่ายโรคจิต แต่เป็นปัญหาสุขภาพจิต อยู่ในกลุ่มผิดปกติทางเพศ ส่วนโรคจิต (Psychotic Disorder) ทางการแพทย์ หมายถึง คนวิกลจริต มีความคิด ความเข้าใจ ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง อาจมีลักษณะ หูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน ซึ่งคงไม่ใช่กลุ่มที่ชอบแอบถ่ายคลิปใครแน่นอน แต่ผู้ที่กระทำเช่นนี้ คนส่วนใหญ่ มักมองว่า เป็นพวกโรคจิต หรือบ้ากามอาจเนื่องมาจากภาษาพูดหรือการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนมากกว่า
พญ.รัชนีกร กล่าวต่อว่า สำหรับความผิดปกติทางเพศ หรือ การมีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ เกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ การแอบถ่าย ถ้ำมอง การขโมยกางเกงใน การโชว์อวัยวะเพศ การมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์หรือสิ่งของ รวมถึงเซ็กซ์โฟน (Sex Phone) ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า ผู้กระทำเช่นนี้มักไม่มีความภาคภูมิใจในตนเอง ไม่กล้าเผชิญหน้ากับเพศตรงข้าม ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ พบในชายมากกว่าหญิง ซึ่งการแอบถ่ายถือเป็นการสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้กระทำ ทำแล้วมีความสุข เป็นการกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศได้ อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้ควรได้รับการดูแลรักษาด้านสุขภาพจิต ซึ่งถ้ามีการใช้สารเสพติดหรือมีโรคทางจิตเวชร่วมด้วย อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมล่วงละเมิดที่ร้ายแรง เป็นอันตรายต่อตนเองและคนรอบข้างได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งผู้ป่วยคดีที่มีปัญหาพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติหรือไม่เหมาะสม มีไม่มากนัก ถ้าเทียบกับคดีการฆ่าที่เกิดจากโรคจิต คดีลักทรัพย์ หรือ คดียาเสพติด ทั้งนี้ พบประมาณ 10 รายต่อปี อย่างไรก็ตาม ในสังคมน่าจะมีปัญหาลักษณะนี้มากกว่านี้ เบื้องต้นพบว่า จากการให้บริการปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่ สุดท้ายแล้วก็มักจะปรึกษาปัญหาของคนในครอบครัวที่มีพฤติกรรมทางเพศผิดปกติ เช่น เห็นลูกสาวมีเพศสัมพันธ์กับสัตว์เลี้ยง หรือปัญหาเซ็กซ์โฟนฯลฯ
ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิดความผิดปกติทางเพศ จากการได้พูดคุยกับคนไข้คดีประเภทนี้ พบว่า จริงๆแล้ว สาเหตุเกิดจากการเรียนรู้ทางเพศ ที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็กส่งผลมาถึงวัยผู้ใหญ่ อาทิ เด็ก 4-6 ขวบ จะมีพัฒนาการSex Play คล้ายกับการช่วยตัวเองในวัยผู้ใหญ่ ถ้าเด็กไม่มีเพื่อนเล่น ผู้ใหญ่ไม่มีเวลาให้ เขาก็จะมีเวลาในการสำรวจตนเองและจะเล่นกับตัวเองมาก ซึ่งถือเป็นพัฒนาการปกติ แต่ทั้งนี้จะส่งผลผิดปกติเมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ได้ ถ้าผู้ปกครองไม่เข้าใจพฤติกรรมที่เกิดขึ้น มีการด่าว่ารุนแรง หรือตีรุนแรง บอกว่าเป็นเรื่องน่าอาย เด็กเหล่านั้นก็จะฝังใจ ถูกกดดัน มองว่าการเปิดเผยความสนใจด้านเพศเป็นสิ่งผิด เมื่อโตขึ้นอาจไม่กล้าสนใจเพศตรงข้ามหรือมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ประกอบกับถ้าได้เรียนรู้ผ่านสื่อลามกหรือมีต้นแบบที่ไม่เหมาะสม ก็อาจเลียนแบบ ยึดติด หรือหมกมุ่นกับพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติได้ในที่สุด
“คดีที่เกิดขึ้น ถือเป็นคดีอนาจาร ล่วงละเมิด ที่อาจไม่ใช่คดีอาญาร้ายแรงแต่ก็สร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคม ทำให้ผู้อื่นไม่สบายใจหรือเป็นการล่วงล้ำสิทธิของผู้อื่น สามารถยอมความกันได้ แต่โจทย์ก็จะมีเงื่อนไขว่าต้องให้ผู้กระทำมารับการรักษา ซึ่งการบำบัดรักษาจะให้ยาที่จะช่วยลดความต้องการด้านเพศรวมถึงการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม เพื่อให้ผู้ป่วยภาคภูมิใจในตัวเองมากขึ้นและมีการหาความสุขทางเพศได้อย่างเหมาะสม รวมทั้ง หากิจกรรมเสริมให้ทำเพื่อไม่ให้หมกมุ่นทางเพศมากเกินไป ซึ่งใช้เวลารักษาเป็นเดือน ทั้งนี้ ถ้าคนในครอบครัว เข้าใจ และให้กำลังใจก็จะช่วยให้บุคคลเหล่านี้เข้าสู่ภาวะปกติได้ดียิ่งขึ้น” พญ.รัชนีกร กล่าว
พญ.รัชนีกร กล่าวอีกว่า สำหรับการป้องกันตัวเองสำหรับผู้หญิง คงต้องสังเกตว่าสถานที่ใดบ้างมีความเสี่ยงและใคร มีพฤติกรรมพิรุธบ้าง ซึ่งคนเหล่านี้อาจแยกตัวอยู่คนเดียว และโดยทั่วไป จะพบตามที่อับ มุมตึก สะพานลอย ตามที่เป็นข่าว ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น ทางที่ดี ควรอยู่ในชุมชนเวลากลางวัน แต่งตัวอย่างมิดชิด และมีความรู้ในการป้องกันตัวเองบ้างและถ้าเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น อย่ามองว่าเป็นเรื่องน่าอาย ควรดำเนินการทางด้านกฎหมายทันที เพื่อให้ผู้กระทำผิดรับผลจากการกระทำนั้น นอกจากนี้ สำหรับการป้องกันระยะยาว เพื่อไม่ให้บุคคลเกิดความผิดปกติทางเพศเพิ่มมากขึ้น จำเป็นต้องสร้างภูมิต้านทานทางจิตใจให้ตั้งแต่เด็ก ให้พวกเขารู้ว่าความภูมิใจของตนเอง อยู่ที่การมีคุณธรรม มีจิตใจที่ดี ไม่ใช่อยู่ที่พฤติกรรมทางเพศที่ท้าทาย
เครดิต http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000013232&TabID=1&#Commenttab