ช่วงนี้เทรนด์บ้านทรุดกำลังมาแรง เจออันนี้น่าสนใจเลยหยิบมาฝากครับ
วิธีตรวจสอบโครงสร้างง่ายๆก่อน "บ้านทรุด"
คัดลอกมาจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.ddproperty.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/2015/7/100692/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%94
การซื้อหรือสร้างบ้านสักหลัง นอกจากความสวยงามที่ปรากฏต่อสายตาแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือโครงสร้างของบ้านหลังนั้นมีความแข็งแรง ปลอดภัยเพียงใด วันนี้ DDproperty มีคำแนะนำจากกูรูในการตรวจบ้านที่จะมาแชร์ความรู้ในการตรวจสอบโครงสร้างบ้านง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดที่อาจเกิดขึ้นได้
การตรวจสอบโครงสร้างนั้น มี 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : หลักฐานการทดสอบเสาเข็ม
หากทางโครงการได้มีการทดสอบเสาเข็มตามมาตรฐานวิศวกรรมแล้วจะต้องมีเอกสารรับรอง โดยระบุวันและเวลาที่ทดสอบอย่างชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปผลิตภัณฑ์แนวราบ (บ้านเดี่ยว/บ้านแฝด/ทาวน์เฮาส์) จะทดสอบอยู่ 2 ประการ
1) Blow Count เป็นวิธีการประเมินกำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็ม
2) Seismic Test หรือ การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มซึ่งการทดสอบดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นเข็มประเภทใดจะต้องทำการตรวจสอบทุกต้น 100%
ขั้นตอนที่ 2: การตรวจสอบ
ขั้นตอนแรกที่ผู้อยู่อาศัยเข้าเยี่ยมชมบ้านที่ซื้อไว้ครั้งแรกจะอยู่ในช่วงโครงการนัดหมายเพื่อเข้าตรวจรับบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปให้สังเกตุประเภทรอยร้าวการทรุดตัวของโครงสร้าง โดยทั่วไปประเภทยรอยร้าวที่อันตรายจะมีอยู่ดังนี้
– รอยร้าวที่คาน
– รอยร้าวผนัง (ที่เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลัง)
– รอยร้าวที่พื้น
– รอยร้าวในเสา (ที่เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลัง)
– รอยร้าวเนื่องจากฐานรากทรุดตัว (ที่พบในข่าวปัจจุบัน)
โดยสังเกตุรอยร้าวลักษณะนี้ได้จากรอยร้าวด้านบนจะกว้างกว่าด้านล่าง หรือ เกิดรอยร้าวลักษณะเฉียง 45 องศา หากพบรอยร้าวลักษณะดังกล่าวควรสันนิษฐานได้ว่าเกิดการทรุดตัวของฐานรากหรือเสา
ขั้นตอนที่ 3: สังเกตุการณ์พฤติกรรมโครงสร้าง
ให้สังเกตุพฤติกรรมโครงสร้างจากรอยร้าวที่เกิดขึ้น ซึ่งหากมีรอยร้าวขนาดร่องความกว้างมากกว่า 1 มม.ขึ้นไป (หรือเทียบแล้วคือเอาหัวปากกาจิ้มลงไปได้) ให้ทำการสังเกตุพฤกติกรรมของรอยร้าวว่ามีการขยายตัวมากน้อยเพียงใด ซึ่งโดยทั่วไปจะมีหลักการง่ายๆคือ นำเทปมาติดรอยร้าว(หรือดินสอขีดไว้) และสังเกตุพฤกติกรรมในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป (ตามภาพด้านล่าง)
ขั้นตอนที่ 4 (ขั้นตอนเพิ่มเติม): กรณีต่อเติมบ้าน
หลายคนทำการต่อเติมบ้านเนื่องจากต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติมจากบริเวณรอบบ้าน ซึ่งโดยมากจะเป็นด้านหลังบ้านเพื่อใช้ในการต่อเติมครัว ซึ่งเสาเข็มที่ใช้นั้นจะมีขนาดไม่เท่ากับตัวบ้าน นั่นหมายความว่าอัตราการทรุดตัวจะไม่เท่ากัน ดังนั้นห้ามมิให้ส่วนหนึ่งส่วนใตของพื้นที่ต่อเติมเชื่อมกับโครงสร้างหลักของตัวบ้าน มิเช่นนั้นจะทำให้ดึงบ้านทรุดตัวตามไปด้วย
หมายเหตุ: หากเกิดกรณีโครงสร้างบ้านทรุดเกิดขึ้น หรือ ไม่แน่ใจว่าเข้าข่ายกรณีนี้หรือไม่ ให้ผู้อยู่อาศัยทำการติดต่อไปยังหน่วยงานกลางอย่างสภาวิศวกรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบ
ที่มา
คัดลอกมาจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://www.ddproperty.com/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/2015/7/100692/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%86%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%94
วิธีตรวจสอบโครงสร้างง่ายๆก่อน "บ้านทรุด"
วิธีตรวจสอบโครงสร้างง่ายๆก่อน "บ้านทรุด"
คัดลอกมาจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
การซื้อหรือสร้างบ้านสักหลัง นอกจากความสวยงามที่ปรากฏต่อสายตาแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงอีกอย่างคือโครงสร้างของบ้านหลังนั้นมีความแข็งแรง ปลอดภัยเพียงใด วันนี้ DDproperty มีคำแนะนำจากกูรูในการตรวจบ้านที่จะมาแชร์ความรู้ในการตรวจสอบโครงสร้างบ้านง่ายๆ ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาบ้านทรุดที่อาจเกิดขึ้นได้
การตรวจสอบโครงสร้างนั้น มี 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 : หลักฐานการทดสอบเสาเข็ม
หากทางโครงการได้มีการทดสอบเสาเข็มตามมาตรฐานวิศวกรรมแล้วจะต้องมีเอกสารรับรอง โดยระบุวันและเวลาที่ทดสอบอย่างชัดเจน ซึ่งโดยทั่วไปผลิตภัณฑ์แนวราบ (บ้านเดี่ยว/บ้านแฝด/ทาวน์เฮาส์) จะทดสอบอยู่ 2 ประการ
1) Blow Count เป็นวิธีการประเมินกำลังการรับน้ำหนักของเสาเข็ม
2) Seismic Test หรือ การทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็มซึ่งการทดสอบดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นเข็มประเภทใดจะต้องทำการตรวจสอบทุกต้น 100%
ขั้นตอนที่ 2: การตรวจสอบ
ขั้นตอนแรกที่ผู้อยู่อาศัยเข้าเยี่ยมชมบ้านที่ซื้อไว้ครั้งแรกจะอยู่ในช่วงโครงการนัดหมายเพื่อเข้าตรวจรับบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปให้สังเกตุประเภทรอยร้าวการทรุดตัวของโครงสร้าง โดยทั่วไปประเภทยรอยร้าวที่อันตรายจะมีอยู่ดังนี้
– รอยร้าวที่คาน
– รอยร้าวผนัง (ที่เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลัง)
– รอยร้าวที่พื้น
– รอยร้าวในเสา (ที่เกิดจากการบรรทุกน้ำหนักเกินกำลัง)
– รอยร้าวเนื่องจากฐานรากทรุดตัว (ที่พบในข่าวปัจจุบัน)
โดยสังเกตุรอยร้าวลักษณะนี้ได้จากรอยร้าวด้านบนจะกว้างกว่าด้านล่าง หรือ เกิดรอยร้าวลักษณะเฉียง 45 องศา หากพบรอยร้าวลักษณะดังกล่าวควรสันนิษฐานได้ว่าเกิดการทรุดตัวของฐานรากหรือเสา
ขั้นตอนที่ 3: สังเกตุการณ์พฤติกรรมโครงสร้าง
ให้สังเกตุพฤติกรรมโครงสร้างจากรอยร้าวที่เกิดขึ้น ซึ่งหากมีรอยร้าวขนาดร่องความกว้างมากกว่า 1 มม.ขึ้นไป (หรือเทียบแล้วคือเอาหัวปากกาจิ้มลงไปได้) ให้ทำการสังเกตุพฤกติกรรมของรอยร้าวว่ามีการขยายตัวมากน้อยเพียงใด ซึ่งโดยทั่วไปจะมีหลักการง่ายๆคือ นำเทปมาติดรอยร้าว(หรือดินสอขีดไว้) และสังเกตุพฤกติกรรมในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไป (ตามภาพด้านล่าง)
ขั้นตอนที่ 4 (ขั้นตอนเพิ่มเติม): กรณีต่อเติมบ้าน
หลายคนทำการต่อเติมบ้านเนื่องจากต้องการพื้นที่ใช้สอยเพิ่มเติมจากบริเวณรอบบ้าน ซึ่งโดยมากจะเป็นด้านหลังบ้านเพื่อใช้ในการต่อเติมครัว ซึ่งเสาเข็มที่ใช้นั้นจะมีขนาดไม่เท่ากับตัวบ้าน นั่นหมายความว่าอัตราการทรุดตัวจะไม่เท่ากัน ดังนั้นห้ามมิให้ส่วนหนึ่งส่วนใตของพื้นที่ต่อเติมเชื่อมกับโครงสร้างหลักของตัวบ้าน มิเช่นนั้นจะทำให้ดึงบ้านทรุดตัวตามไปด้วย
หมายเหตุ: หากเกิดกรณีโครงสร้างบ้านทรุดเกิดขึ้น หรือ ไม่แน่ใจว่าเข้าข่ายกรณีนี้หรือไม่ ให้ผู้อยู่อาศัยทำการติดต่อไปยังหน่วยงานกลางอย่างสภาวิศวกรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบ
ที่มา
คัดลอกมาจาก
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้