คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
พนักงานเอกชนโลดครับ กรณีนี้
กรณีนี้ถ้าจะให้สูสี ต้องเทียบกับ ข้าราชการ หรือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ครับ
ผมขออธิบายประเภทของบุคลากรภาครัฐให้นะครับ
1. ข้าราชการ (เป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของงานราชการ สามารถก้าวหน้าขึ้นเป็น ระดับอำนวยการ และระดับบริหารได้)
2. พนักงานราชการ (เป็นตำแหน่งบรรจุแทนที่ลูกจ้างประจำ ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ และเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดชีพ ไม่มีการเลื่อนขั้นไปรับตำแหน่งที่สูงขึ้น มีแต่การเลื่อนเงินเดือน)
3. ลูกจ้างประจำ (เป็นลูกน้องข้าราชการเช่นกัน แต่สวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ ปัจจุบันไม่มีบรรจุเพิ่มแล้ว (เว้นแต่ในบางหน่วยงานยังมีบรรจุอยู่ เช่น กทม. เป็นต้น))
4. ลูกจ้างชั่วคราว (เป็นตำแหน่งที่จะบรรจุเป็นลูกจ้างประจำต่อไป ไม่มีสิทธิสวัสดิการใดๆ ปัจจุบันก็ไม่มีเปิดรับแล้วเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ)
5. พนักงานจ้างเหมา (พนักงานจ้างตามโครงการ ทำสัญญาจ้างเหมาเข้าทำงานซักชิ้น ถ้าหมดสัญญาอาจจะไม่จ้างต่อ ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้แต่เงินเดือน อย่างร้ายอาจไม่มีสิทธิลา)
6. พนักงานมหาวิทยาลัย (จะเทียบเท่าใกล้เคียงกับพนักงานราชการคือมีการต่อสัญญา แต่มียศขั้นแบบข้าราชการ ถูกบรรจุแทนข้าราชการประจำในมหาวิทยาลัย สิทธิสวัสดิการแล้วแต่มหาวิทยาลัย)
7. พนักงานรัฐวิสาหกิจ (มีสิทธิสวัสดิการคล้ายข้าราชการ มีขั้นและตำแหน่ง ก้าวหน้าเติบโตได้ตามลำดับขั้น ฐานเงินเดือนแล้วแต่องค์กรที่สังกัด มีโบนัส)
ทีนี้ผมว่า ลูกจ้างชั่วคราว ในกรณีของ จขกท. ผมว่าน่าจะเป็นพนักงานจ้างเหมามากกว่าครับ (แต่ทำไมได้เงินเดือนเยอะจัง)
ลูกจ้างชั่วคราว กับ จ้างเหมา ไม่มีดีอะไรเลยครับ เป็นแรงงานสำคัญจริง แต่สถานะไม่ค่อยดีครับ ไม่มั่นคง ไม่มีสิทธิสวัสดิการ
สถานะของ พนักงานเอกชน โบนัส (4 เดือน) เบี้ยขยัน ค่าอาหาร และอื่นๆ ดีกว่าเยอะครับ
กรณีนี้ถ้าจะให้สูสี ต้องเทียบกับ ข้าราชการ หรือ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ครับ
ผมขออธิบายประเภทของบุคลากรภาครัฐให้นะครับ
1. ข้าราชการ (เป็นอาชีพขั้นสุดแล้วของงานราชการ สามารถก้าวหน้าขึ้นเป็น ระดับอำนวยการ และระดับบริหารได้)
2. พนักงานราชการ (เป็นตำแหน่งบรรจุแทนที่ลูกจ้างประจำ ฐานเงินเดือนสูงกว่าข้าราชการ แต่ไม่มีสวัสดิการใดๆ และเป็นลูกน้องข้าราชการตลอดชีพ ไม่มีการเลื่อนขั้นไปรับตำแหน่งที่สูงขึ้น มีแต่การเลื่อนเงินเดือน)
3. ลูกจ้างประจำ (เป็นลูกน้องข้าราชการเช่นกัน แต่สวัสดิการเทียบเท่าข้าราชการ ปัจจุบันไม่มีบรรจุเพิ่มแล้ว (เว้นแต่ในบางหน่วยงานยังมีบรรจุอยู่ เช่น กทม. เป็นต้น))
4. ลูกจ้างชั่วคราว (เป็นตำแหน่งที่จะบรรจุเป็นลูกจ้างประจำต่อไป ไม่มีสิทธิสวัสดิการใดๆ ปัจจุบันก็ไม่มีเปิดรับแล้วเช่นเดียวกับลูกจ้างประจำ)
5. พนักงานจ้างเหมา (พนักงานจ้างตามโครงการ ทำสัญญาจ้างเหมาเข้าทำงานซักชิ้น ถ้าหมดสัญญาอาจจะไม่จ้างต่อ ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสิทธิประโยชน์ใดๆ ได้แต่เงินเดือน อย่างร้ายอาจไม่มีสิทธิลา)
6. พนักงานมหาวิทยาลัย (จะเทียบเท่าใกล้เคียงกับพนักงานราชการคือมีการต่อสัญญา แต่มียศขั้นแบบข้าราชการ ถูกบรรจุแทนข้าราชการประจำในมหาวิทยาลัย สิทธิสวัสดิการแล้วแต่มหาวิทยาลัย)
7. พนักงานรัฐวิสาหกิจ (มีสิทธิสวัสดิการคล้ายข้าราชการ มีขั้นและตำแหน่ง ก้าวหน้าเติบโตได้ตามลำดับขั้น ฐานเงินเดือนแล้วแต่องค์กรที่สังกัด มีโบนัส)
ทีนี้ผมว่า ลูกจ้างชั่วคราว ในกรณีของ จขกท. ผมว่าน่าจะเป็นพนักงานจ้างเหมามากกว่าครับ (แต่ทำไมได้เงินเดือนเยอะจัง)
ลูกจ้างชั่วคราว กับ จ้างเหมา ไม่มีดีอะไรเลยครับ เป็นแรงงานสำคัญจริง แต่สถานะไม่ค่อยดีครับ ไม่มั่นคง ไม่มีสิทธิสวัสดิการ
สถานะของ พนักงานเอกชน โบนัส (4 เดือน) เบี้ยขยัน ค่าอาหาร และอื่นๆ ดีกว่าเยอะครับ
แสดงความคิดเห็น
ลูกจ้างชั่วคราว กับ พนักงานเอกชน จะเลือกทางไหนดีครับ
รบกวนพี่ๆ หรือผู้มีประสบการณ์ แนะนำ บอกกล่าวกันหน่อยครับ โดยเท่าที่ผมทราบมาก้คือว่า
1. เงินเดือน ลูกจ้างชั่วคราว (รัฐบาล) 20 K พนักงานเอกชน (บ.ต่างชาติ) 25K โดยประมาณทั้ง 2 ที่ ครับ
2. สวัสดิการ ลูกจ้างชั่วคราว (ผมไม่ทราบไรเลย รบกวนบอกหน่อยครับ) พนักงานเอกชน โบนัส(4 เดือน) เบี้ยขยัน ค่าอาหาร ....อื่นๆ
3. โอกาสความก้าวหน้า มั่นคง ลูกจ้างชั่วคราว กับ พนักงานเอกชน
4. อื่นๆ ที่พอจะแนะนำผมหน่อยได้ครับ
แน่นอน หากมองถึงความสบาย ไม่เครียดมาก เวลาการทำงาน และอื่นๆ ลูกจ้างชั่วคราว สบายกว่า
แต่หากมองถึงเรื่องเงิน พนักงานเอกชน เงินดีกว่าพอสมควร มีโบนัส......อื่นๆ แต่อาจจะเหนื่อยกับงาน
ผมกลัวว่าหากเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งผิดไป อาจจะเสียโอกาสด้วยครับ
ผมควรคิดอย่างไรดี (เครียดจัง)
ขอบคุณล่วงหน้าครับสำหรับคำแนะนำ