ลักษณะธุรกิจ
ผู้ให้บริการ จัดหา แปรรูป และจำหน่ายสเตนเลสรีดเย็นชนิดม้วนและแผ่น ผลิตและจำหน่ายท่อสเตนเลส ได้แก่ ท่อสเตนเลสสำหรับงานตกแต่ง ท่อสเตนเลสสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ แปรรูปและจำหน่ายเหล็กชุบสังกะสี และเหล็กเคลือบสังกะสีชนิดม้วนและแผ่น ให้บริการด้านการตัด เจาะ และขัดผิวสเตนเลส ตามความต้องการของ
ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ
โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่
เมื่อดูสัดส่วนการถือหุ้นย้อนหลังช่วงปี 2008 และ ปี 2015 (ล่าสุด) พบว่า
สัดส่วนของกลุ่มอัครพงศ์พิศักดิ์ ยังถือหุ้นโดยรวมประมาณ 60% กว่าๆ ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในระดับที่เสมอต้นเสมอปลาย
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทางกลุ่มอัครพงศ์พิศักดิ์ ยังไม่ได้ปล่อยหุ้นออกมาให้รายย่อยเลย ตั้งแต่นำกิจการเข้าตลาดหุ้นนั่นเอง
และอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ น้องสี่แนะนำให้สังเกตตรง Shares in Minor Shareholders หรือก็คือ เปอร์เซ็นต์การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย นั้น
พบว่า สัดส่วนของรายย่อยที่ถือหุ้นนั้น มีอยู่ราวๆ 18% ทั้งปี 2008 และปี 2015 ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ยิ่งแสดงให้เห็นเลยว่า
ทางกลุ่มอัครพงศ์พิศักดิ์ ไม่ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมาให้รายย่อยเลยครับ
และเมื่อไปที่หัวข้อ "ค้นหาข้อมูลแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหาร" หรือ แบบ 59-2
ซึ่งเป็นข้อมูลการซื้อขายของผู้บริหาร/ผู้จัดทำ ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาครับ
ด้านงบการเงิน
เพื่อให้เห็นภาพว่าธุรกิจของ LHK แข็งแรงหรือไม่นั้น
น้องสี่จะนำอัตราส่วนทางการเงินของทาง LHK ไปเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มเหล็ก นะครับ
อัตราส่วนทางการเงินเฉลี่ยของกลุ่มเหล็ก
จากรูปจะเป็นอัตราส่วนทางการเงินล่าสุดนะครับ จะสังเกตได้ว่า
อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ของ LHK มีทิศทางไปในทางที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มเหล็ก ทุกค่าเลยครับ
แสดงเห็นถึงความมีประสิทธิภาพของตัวธุรกิจของเค้าเองว่า มีการปรับตัวต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ได้ดีเลยทีเดียว
ทำให้มองได้ว่า Products ของทาง LHK ยังสามารถขายได้อยู่ครับ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ LHK ไม่ได้ขายแค่เหล็กครับ
แต่ยังมีสินค้าอื่นๆ ให้มาชดเชยในจุดนี้ได้ครับ
โดยเมื่อเปรียบเทียบกำไรของกลุ่มบริษัทเหล็กแล้ว บริษัทส่วนใหญ่ กำไรได้หายไปเป็นจำนวนมาก
จากสภาวะราคาของสินค้า Commodities มีราคาที่ลดลง ซึ่งหนึ่งในปัจจัยนั้นก็คือ ราคาน้ำมัน ที่ลดลงอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา
ทำให้ราคาเหล็กตกลงไปด้วยเช่นกันครับ ซึ่งการที่ราคาเหล็กตกลงไปแรงนั้น ส่งผลให้กิจการที่ขายเหล็กโดนผลกระทบไปพอสมควร
จากการที่ต้องขาดทุน Stock สินค้าครับ แบบว่า ซื้อมา 100 บาท แต่ราคาขาย ต้องขายออกไป 70 - 80 บาท
ถ้าไม่ขายก็ไม่ได้อีก เพราะเหล็กยิ่งเก็บนานคุณภาพอาจเสื่อมลงได้ คืออาจจะขึ้นสนิมได้ เป็นต้น
วิเคราะห์แนวโน้ม Financial Ratio ของตัวกิจการ
1. ด้าน RoA และ RoE
มีแนวโน้มลดลง คือจากปี 2554 ทำได้อยู่ที่ 13% กับ 17%
แต่ปี 2558 ล่าสุด กลับทำได้เพียง 9% และ 10% ซึ่งจุดนี้หากในปีถัดๆ ไปยังมีค่าลดลงเรื่อยๆ
จะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของกิจการอาจมีความด้อยลง
2. ด้าน อัตรากำไรสุทธฺ หรือ Net Profit Margin
ตัวนี้เมื่อลองมาเทียบกัน ปี 2554 ทำได้ 5.66% , ส่วนปี 2015 ทำได้เพียง 4%
ความหมายก็คือ การขายสินค้า ทุกๆ 100 บาท เราจะได้กำไร กี่บาท?
อย่างปี 2554 ทุกๆ 100 บาท เราได้ กำไร 5.66 บาท
แต่ปี 2558 ทุกๆ 100 บาท เราได้ กำไรเพียง 4 บาท
สิ่งนี้กำลังบอกเราว่า ต้องมีต้นทุนอะไรบางอย่างที่สูงขึ้นแน่ๆ เลย
อาจจะเป็น ต้นทุนสินค้าขาย , ต้นทุนจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร หรือ มาจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย เอ๊ะ หรือต้นทุนจากภาษีนะ?
ซึ่งในจุดนี้ เราต้องไปดูในเรื่องของงบกำไรขาดทุน อีกทีนึง เพราะจะได้เห็นเลยว่า ต้นทุนที่สูงขึ้นมาจากส่วนไหนกันนะ
3. ด้าน P/E
อยู่ราวๆ 10 เท่า น้องสี่มองว่าราคาหุ้นอยู่ในโซนที่ไม่แพงมากนัก แต่หากถามว่าจะมี Growth ไหม?
อันนี้ต้องลองไปดูในส่วนของการลงทุนเพิ่มของกิจการว่า มีการขยายโรงงาน หรือ พัฒนาสินค้าอะไรใหม่ๆ หรือเปล่านะ
4. ด้าน P/BV หรือ มูลค่าบัญชีต่อหุ้น
จะเห็นว่า P/BV หุ้นของ LHK จะอยู่ที่ประมาณ 0.90 - 1 เท่านนิดๆ เว้นแต่ปี 2555 ที่ P/BV 1.25 เท่า
เนื่องจากปี 2555 รับรู้กำไรจากโครงการรถคันแรก ทำให้กิจการมีกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว
ส่วนปัจจุบัน ราคาหุ้นของ LHK ก็กลับมาที่เดิมอีกแล้ว โดยมี P/BV อยู่ที่ 0.93 เท่า ถ้าซื้อ ณ ราคานี้
แปลว่า เราจะได้หุ้นที่มีราคาถูกกว่ากิจการนั่นเอง
(แต่ไม่ได้หมายความว่า การซื้อหุ้นต่ำ Book Value จะทำให้เรา Success เสมอไปนะ
เพราะเราต้องไปวิเคราะห์ในส่วนอื่นๆ ของกิจการด้วย อาทิเช่น กำไรในอนาคตจะโตไหม? ยอดขายเป็นอย่างไร?
สินค้ายังขายได้หรือเปล่า? นโยบายภาครัฐบาลมีการส่งเสริมเหมือนที่ผ่านมาไหม? อื่นๆ ที่จำเป็น)
5. อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (Yield)
จะเห็นได้ว่า Yield เฉลี่ย 5 ปี จะอยู่ที่ราวๆ 6.5% ก็ถือว่าชนะดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารอยู่นะ
โดยปันผลที่จ่าย จะจ่ายปีละประมาณ 20 สตางค์ จ้า
** เสริม ถ้าสังเกตในช่วง ปี 2007 - 2009 ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ทำให้ปันผลที่ว่าจะได้ 20 สตางค์ กลับได้ไม่ถึง 10 สตางค์เลย ดังนั้น ทางที่ดีเราควรตระหนักด้วยว่า
หากเกิดวิกฤตครั้งใหม่ โอกาสที่กำไรจะลดลง และได้ปันผลน้อย ก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน **
6. นโยบายการจ่ายเงินปันผล
ด้านรายได้
เมื่อแยกรายได้ออกมาว่า มาจากการขายอะไรบ้างจะได้ดังนี้ครับ
น้องสี่อยากจะบอกพี่ๆ เพื่อนๆ ว่า การเจาะข้อมูลมาดูในส่วนของรายได้ที่แยกตามประเภทสินค้านี้
ทำให้น้องสี่ เข้าใจเลยว่า ทำไม LHK ถึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กที่ตกอย่างรุนแรง เหมือนกิจการขายเหล็กโดยตรง
ก็เพราะว่า สินค้าที่ทำรายได้ในสัดส่วนที่สูงมาจากสินค้าประเภท สเตนเลส + ทองแดง นั่นเอง
ลักษณะลูกค้า
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2558
Link :
http://goo.gl/pnCPGs
ด้านสินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ด้านสินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
น้องสี่มองโดยรวมไม่ได้มีปัญหาอะไร สภาพคล่องยังใช้ได้อยู่ เช่น D/E Ratio ก็ยังน้อยกว่า 1 เท่า ครับ
แต่จุดที่ย้ำเสมออีกจุดหนึ่งก็คือ "มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว" ซึ่งในการวิเคราะห์หุ้น จุดนี้ก็สำคัญนะ
เพราะถ้าเราลืมจุดนี้ไป เวลาเอาไปคิด EPS (กำไรต่อหุ้น) จะทำให้ได้ EPS ที่ผิดพลาดได้ อย่าง 100 หุ้น กับ 200 หุ้น ต่างกันเท่าตัวเลยนะ
ด้านกราฟ Week
ลักษณะแท่งเทียนปิดแบบ Doji (+) ถ้าลองสังเกตจากครั้งก่อนก็เป็นจุดกลับตัวพอดีเลย
แต่!!! อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ควรลองไปดู Indicator อื่นๆ ประกอบด้วยครับ
ส่วนตัว น้องสี่มองแนวรับแถวๆ บริเวณ 2.50 - 3 บาท ถ้าราคามาถึง ณ บริเวณนั้นน่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจในระดับหนึ่งครับ
แต่หลักๆ แล้ว หุ้นตัว LHK นี้ ค่อนข้างจะอิงกับภาวะเศรษฐกิจ และ นโยบายภาครัฐ อย่างเช่น โครงการรถคันแรกเมื่อปี 2555
ทำให้กำไรของทาง LHK พุ่งเป็นอย่างมาก แต่ถ้าช่วงไหน เศรษฐกิจชะลอ ก็อาจต้องระวังกันหน่อยจ้า
ด้าน Volume Trade
จริงๆ Volume ตั้ง Bid และ Offer จะน้อยกว่านี้นะครับ แบบว่า ตั้งฝั่งละไม่กี่หมื่นหุ้นครับ
ดังนั้น ควรจัด Port ให้เหมาะสมครับ ไม่ Over Trade มากจนเกินไปครับ
จุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งของหุ้น LHK ก็คือ Set Opportunity Day ครับ
น้องสี่พบว่า ผู้บริหารมารายงานผลการดำเนินงานทุกไตรมาสเลยครับ
ตั้งแต่ปี 2009 ถึงปี 2015 ข้อดีของนักลงทุนก็คือ สามารถพบปะกับผู้บริหารและสอบถามข้อมูลได้โดยตรงเลยครับ
อันนี้น้องสี่ขอนับถือและชื่นชมท่านผู้บริหารจริงๆ ครับ ขยันมามากๆ ซึ่งหาได้น้อยมากกับบริษัทเล็กๆ ที่จะมานำเสนอข้อมูลแบบนี้ครับ
Link :
http://goo.gl/1sozZK
ข้อมูลเพิ่มเติม
น้องสี่แนะนำว่า ถ้าสนใจหุ้นนี้ ควรไปอ่านเพิ่มเติมครับ เพราะว่าข้อมูลของกิจการยังมีอีกเยอะมาก ที่นำมาเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งครับ
1. รายงานประจำปีฉบับล่าสุดปี 2558
2. แบบ 56-1 ล่าสุดปี 2558
3. งบการเงินล่าสุด งบปี/2558
Link :
http://goo.gl/xuQypT
▂ ▃ ▄ ▅ ▆ ▇ █ 22. วิเคราะห์หุ้น LHK : บริษัท โลหะกิจ เม็ททอล จำกัด (มหาชน) █ ▇ ▆ ▅ ▄ ▃ ▂
ลักษณะธุรกิจ
ผู้ให้บริการ จัดหา แปรรูป และจำหน่ายสเตนเลสรีดเย็นชนิดม้วนและแผ่น ผลิตและจำหน่ายท่อสเตนเลส ได้แก่ ท่อสเตนเลสสำหรับงานตกแต่ง ท่อสเตนเลสสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ แปรรูปและจำหน่ายเหล็กชุบสังกะสี และเหล็กเคลือบสังกะสีชนิดม้วนและแผ่น ให้บริการด้านการตัด เจาะ และขัดผิวสเตนเลส ตามความต้องการของ
ลักษณะผลิตภัณฑ์และบริการ
โครงสร้างผู้ถือหุ้นรายใหญ่
เมื่อดูสัดส่วนการถือหุ้นย้อนหลังช่วงปี 2008 และ ปี 2015 (ล่าสุด) พบว่า
สัดส่วนของกลุ่มอัครพงศ์พิศักดิ์ ยังถือหุ้นโดยรวมประมาณ 60% กว่าๆ ซึ่งก็ถือว่าอยู่ในระดับที่เสมอต้นเสมอปลาย
หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทางกลุ่มอัครพงศ์พิศักดิ์ ยังไม่ได้ปล่อยหุ้นออกมาให้รายย่อยเลย ตั้งแต่นำกิจการเข้าตลาดหุ้นนั่นเอง
และอีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจ น้องสี่แนะนำให้สังเกตตรง Shares in Minor Shareholders หรือก็คือ เปอร์เซ็นต์การถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย นั้น
พบว่า สัดส่วนของรายย่อยที่ถือหุ้นนั้น มีอยู่ราวๆ 18% ทั้งปี 2008 และปี 2015 ซึ่งตัวเลขเหล่านี้ยิ่งแสดงให้เห็นเลยว่า
ทางกลุ่มอัครพงศ์พิศักดิ์ ไม่ได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ออกมาให้รายย่อยเลยครับ
และเมื่อไปที่หัวข้อ "ค้นหาข้อมูลแบบรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ของผู้บริหาร" หรือ แบบ 59-2
ซึ่งเป็นข้อมูลการซื้อขายของผู้บริหาร/ผู้จัดทำ ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมาครับ
ด้านงบการเงิน
เพื่อให้เห็นภาพว่าธุรกิจของ LHK แข็งแรงหรือไม่นั้น
น้องสี่จะนำอัตราส่วนทางการเงินของทาง LHK ไปเทียบกับค่าเฉลี่ยของกลุ่มเหล็ก นะครับ
อัตราส่วนทางการเงินเฉลี่ยของกลุ่มเหล็ก
จากรูปจะเป็นอัตราส่วนทางการเงินล่าสุดนะครับ จะสังเกตได้ว่า
อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ ของ LHK มีทิศทางไปในทางที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มเหล็ก ทุกค่าเลยครับ
แสดงเห็นถึงความมีประสิทธิภาพของตัวธุรกิจของเค้าเองว่า มีการปรับตัวต่อภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ได้ดีเลยทีเดียว
ทำให้มองได้ว่า Products ของทาง LHK ยังสามารถขายได้อยู่ครับ ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการที่ LHK ไม่ได้ขายแค่เหล็กครับ
แต่ยังมีสินค้าอื่นๆ ให้มาชดเชยในจุดนี้ได้ครับ
โดยเมื่อเปรียบเทียบกำไรของกลุ่มบริษัทเหล็กแล้ว บริษัทส่วนใหญ่ กำไรได้หายไปเป็นจำนวนมาก
จากสภาวะราคาของสินค้า Commodities มีราคาที่ลดลง ซึ่งหนึ่งในปัจจัยนั้นก็คือ ราคาน้ำมัน ที่ลดลงอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา
ทำให้ราคาเหล็กตกลงไปด้วยเช่นกันครับ ซึ่งการที่ราคาเหล็กตกลงไปแรงนั้น ส่งผลให้กิจการที่ขายเหล็กโดนผลกระทบไปพอสมควร
จากการที่ต้องขาดทุน Stock สินค้าครับ แบบว่า ซื้อมา 100 บาท แต่ราคาขาย ต้องขายออกไป 70 - 80 บาท
ถ้าไม่ขายก็ไม่ได้อีก เพราะเหล็กยิ่งเก็บนานคุณภาพอาจเสื่อมลงได้ คืออาจจะขึ้นสนิมได้ เป็นต้น
วิเคราะห์แนวโน้ม Financial Ratio ของตัวกิจการ
1. ด้าน RoA และ RoE
มีแนวโน้มลดลง คือจากปี 2554 ทำได้อยู่ที่ 13% กับ 17%
แต่ปี 2558 ล่าสุด กลับทำได้เพียง 9% และ 10% ซึ่งจุดนี้หากในปีถัดๆ ไปยังมีค่าลดลงเรื่อยๆ
จะเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ประสิทธิภาพของกิจการอาจมีความด้อยลง
2. ด้าน อัตรากำไรสุทธฺ หรือ Net Profit Margin
ตัวนี้เมื่อลองมาเทียบกัน ปี 2554 ทำได้ 5.66% , ส่วนปี 2015 ทำได้เพียง 4%
ความหมายก็คือ การขายสินค้า ทุกๆ 100 บาท เราจะได้กำไร กี่บาท?
อย่างปี 2554 ทุกๆ 100 บาท เราได้ กำไร 5.66 บาท
แต่ปี 2558 ทุกๆ 100 บาท เราได้ กำไรเพียง 4 บาท
สิ่งนี้กำลังบอกเราว่า ต้องมีต้นทุนอะไรบางอย่างที่สูงขึ้นแน่ๆ เลย
อาจจะเป็น ต้นทุนสินค้าขาย , ต้นทุนจากค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร หรือ มาจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่าย เอ๊ะ หรือต้นทุนจากภาษีนะ?
ซึ่งในจุดนี้ เราต้องไปดูในเรื่องของงบกำไรขาดทุน อีกทีนึง เพราะจะได้เห็นเลยว่า ต้นทุนที่สูงขึ้นมาจากส่วนไหนกันนะ
3. ด้าน P/E
อยู่ราวๆ 10 เท่า น้องสี่มองว่าราคาหุ้นอยู่ในโซนที่ไม่แพงมากนัก แต่หากถามว่าจะมี Growth ไหม?
อันนี้ต้องลองไปดูในส่วนของการลงทุนเพิ่มของกิจการว่า มีการขยายโรงงาน หรือ พัฒนาสินค้าอะไรใหม่ๆ หรือเปล่านะ
4. ด้าน P/BV หรือ มูลค่าบัญชีต่อหุ้น
จะเห็นว่า P/BV หุ้นของ LHK จะอยู่ที่ประมาณ 0.90 - 1 เท่านนิดๆ เว้นแต่ปี 2555 ที่ P/BV 1.25 เท่า
เนื่องจากปี 2555 รับรู้กำไรจากโครงการรถคันแรก ทำให้กิจการมีกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์เลยทีเดียว
ส่วนปัจจุบัน ราคาหุ้นของ LHK ก็กลับมาที่เดิมอีกแล้ว โดยมี P/BV อยู่ที่ 0.93 เท่า ถ้าซื้อ ณ ราคานี้
แปลว่า เราจะได้หุ้นที่มีราคาถูกกว่ากิจการนั่นเอง
(แต่ไม่ได้หมายความว่า การซื้อหุ้นต่ำ Book Value จะทำให้เรา Success เสมอไปนะ
เพราะเราต้องไปวิเคราะห์ในส่วนอื่นๆ ของกิจการด้วย อาทิเช่น กำไรในอนาคตจะโตไหม? ยอดขายเป็นอย่างไร?
สินค้ายังขายได้หรือเปล่า? นโยบายภาครัฐบาลมีการส่งเสริมเหมือนที่ผ่านมาไหม? อื่นๆ ที่จำเป็น)
5. อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (Yield)
จะเห็นได้ว่า Yield เฉลี่ย 5 ปี จะอยู่ที่ราวๆ 6.5% ก็ถือว่าชนะดอกเบี้ยเงินฝากในธนาคารอยู่นะ
โดยปันผลที่จ่าย จะจ่ายปีละประมาณ 20 สตางค์ จ้า
** เสริม ถ้าสังเกตในช่วง ปี 2007 - 2009 ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ
ทำให้ปันผลที่ว่าจะได้ 20 สตางค์ กลับได้ไม่ถึง 10 สตางค์เลย ดังนั้น ทางที่ดีเราควรตระหนักด้วยว่า
หากเกิดวิกฤตครั้งใหม่ โอกาสที่กำไรจะลดลง และได้ปันผลน้อย ก็อาจจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน **
6. นโยบายการจ่ายเงินปันผล
ด้านรายได้
เมื่อแยกรายได้ออกมาว่า มาจากการขายอะไรบ้างจะได้ดังนี้ครับ
น้องสี่อยากจะบอกพี่ๆ เพื่อนๆ ว่า การเจาะข้อมูลมาดูในส่วนของรายได้ที่แยกตามประเภทสินค้านี้
ทำให้น้องสี่ เข้าใจเลยว่า ทำไม LHK ถึงไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากราคาเหล็กที่ตกอย่างรุนแรง เหมือนกิจการขายเหล็กโดยตรง
ก็เพราะว่า สินค้าที่ทำรายได้ในสัดส่วนที่สูงมาจากสินค้าประเภท สเตนเลส + ทองแดง นั่นเอง
ลักษณะลูกค้า
คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2558
Link : http://goo.gl/pnCPGs
ด้านสินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ด้านสินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
น้องสี่มองโดยรวมไม่ได้มีปัญหาอะไร สภาพคล่องยังใช้ได้อยู่ เช่น D/E Ratio ก็ยังน้อยกว่า 1 เท่า ครับ
แต่จุดที่ย้ำเสมออีกจุดหนึ่งก็คือ "มูลค่าหุ้นที่เรียกชำระแล้ว" ซึ่งในการวิเคราะห์หุ้น จุดนี้ก็สำคัญนะ
เพราะถ้าเราลืมจุดนี้ไป เวลาเอาไปคิด EPS (กำไรต่อหุ้น) จะทำให้ได้ EPS ที่ผิดพลาดได้ อย่าง 100 หุ้น กับ 200 หุ้น ต่างกันเท่าตัวเลยนะ
ด้านกราฟ Week
ลักษณะแท่งเทียนปิดแบบ Doji (+) ถ้าลองสังเกตจากครั้งก่อนก็เป็นจุดกลับตัวพอดีเลย
แต่!!! อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น ควรลองไปดู Indicator อื่นๆ ประกอบด้วยครับ
ส่วนตัว น้องสี่มองแนวรับแถวๆ บริเวณ 2.50 - 3 บาท ถ้าราคามาถึง ณ บริเวณนั้นน่าจะเป็นจุดที่น่าสนใจในระดับหนึ่งครับ
แต่หลักๆ แล้ว หุ้นตัว LHK นี้ ค่อนข้างจะอิงกับภาวะเศรษฐกิจ และ นโยบายภาครัฐ อย่างเช่น โครงการรถคันแรกเมื่อปี 2555
ทำให้กำไรของทาง LHK พุ่งเป็นอย่างมาก แต่ถ้าช่วงไหน เศรษฐกิจชะลอ ก็อาจต้องระวังกันหน่อยจ้า
ด้าน Volume Trade
จริงๆ Volume ตั้ง Bid และ Offer จะน้อยกว่านี้นะครับ แบบว่า ตั้งฝั่งละไม่กี่หมื่นหุ้นครับ
ดังนั้น ควรจัด Port ให้เหมาะสมครับ ไม่ Over Trade มากจนเกินไปครับ
จุดที่น่าสนใจอีกจุดหนึ่งของหุ้น LHK ก็คือ Set Opportunity Day ครับ
น้องสี่พบว่า ผู้บริหารมารายงานผลการดำเนินงานทุกไตรมาสเลยครับ
ตั้งแต่ปี 2009 ถึงปี 2015 ข้อดีของนักลงทุนก็คือ สามารถพบปะกับผู้บริหารและสอบถามข้อมูลได้โดยตรงเลยครับ
อันนี้น้องสี่ขอนับถือและชื่นชมท่านผู้บริหารจริงๆ ครับ ขยันมามากๆ ซึ่งหาได้น้อยมากกับบริษัทเล็กๆ ที่จะมานำเสนอข้อมูลแบบนี้ครับ
Link : http://goo.gl/1sozZK
ข้อมูลเพิ่มเติม
น้องสี่แนะนำว่า ถ้าสนใจหุ้นนี้ ควรไปอ่านเพิ่มเติมครับ เพราะว่าข้อมูลของกิจการยังมีอีกเยอะมาก ที่นำมาเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งครับ
1. รายงานประจำปีฉบับล่าสุดปี 2558
2. แบบ 56-1 ล่าสุดปี 2558
3. งบการเงินล่าสุด งบปี/2558
Link : http://goo.gl/xuQypT