หากข้อมุลที่เราเอามาให้เป็นสิ่งที่ล้าหลังแล้ว ต้องขออภัย เพราะไม่รู้ว่า จะมีอัพเดทกว่าที่ได้มานี้อีกหรือไม่
หากมีข้อผิดพลาด กรุณาชี้แนะ
ปล. กรุณา ถกเถียงในเรื่องของกฏหมายที่ควรทราบเท่านั้น
http://www.thailaws.com/body_thaiacts_treaty.htm สนธิ และอนุทั้งหมดที่มี
http://www.thailaws.com/law/thaiacts/code1755.pdf -- สัญญาที่มีต่อจีน
https://www.gotoknow.org/posts/179063 -- หลักการง่ายๆ ที่มีคนสรุปไว้ให้
สำหรับเคสทั่วๆไป
เพื่อจุดหมายหลัก 2 ประการคือ
1.เพื่อหลีกเหลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องอำนาจพิจาราณาพิพากษาของศาลในคดีอาญาอันอาจจะเป็นช่องทางให้ผู้กระทำผิดรอดพ้นอาญาที่ตนกระทำขึ้น
2.เพื่อป้องกันมิให้มีการลงโทษจำเลยซ้ำกันสองครั้งในความผิดเดียวกัน
ผู้ที่อาจถูกส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนได้
1. ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศผู้ร้องขอ กรณีนี้ถือเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกยอมรับให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันได้เสมอ เช่น คนไทยทำความผิดอาญาในประเทศไทยแล้วหลบหนี้ไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาประเทศไทยก็ขอให้สหรัฐอเมริกาส่งตัวคนไทยผู้นี้ข้ามแดนมาเพื่อพิจารณาคดีหรือเพื่อรับโทษตามคำพิพากษาของศาลไทยในประเทศไทยได้ การที่ประเทศผู้ร้องขอต้องการบุคคลสัญชาติของตนเอง ประเทศผู้รับคำขอก็จะอนุญาตให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอเสมอ
2. ผู้กระทำผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศผู้รับคำขอ เป็นกรณีที่บุคคลในสัญชาติของประเทศหนึ่งกระทำความผิดแล้วหลบหนี้กลับไปยังประเทศของตน ตามหลักทั่วไปประเทศเจ้าของสัญชาติผู้กระทำความผิดจะไม่ยอมส่งตัวผู้กระทำความผิดนั้นกลับไปให้ประเทศอื่นพิจารณาพิพากษาคดี โดยยึดถือหลักที่ว่า “ไม่ยอมส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนให้ประเทศอื่น” ก็สามารถกระทำได้ เช่น คนไทยไปกระทำความผิดทางอาญา ณ ประเทศฟิลิปปินส์แล้วหลบหนีกลับมายังประเทศไทย ประเทศไทยจะไม่ส่งคนไทยผู้นี้ข้ามแดนเพื่อไปให้ศาลฟิลิปปินส์พิจารณาพิพากษาคดีก็กระทำได้
3. ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศที่สาม ในกรณีนี้ตามธรรมเนียมปฎิบัติระหว่างประเทศ ประเทศผู้รับคำร้องขอจะต้องแจ้งให้ประเทศที่สามที่เป็นเจ้าของสัญชาติผู้กระทำผิดทราบเสียก่อนที่จะดำเนินการขั้นต่อไป เพื่อรักษาสัมพันไมตรีอันดีงามระหว่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติประเทศเจ้าของสัญชาติผู้กระทำความผิดก็จะสอบถามข้อเท็จจริงแห่งคดี แต่ไม่อาจห้ามมิให้ประเทศผู้รับคำขอส่งตัวข้ามแดนได้.....
ความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้
ความผิดที่จะถึงขนาดที่จะนำมาซึ่งการส่งตัวข้ามแดนนั้น ต้องเป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษทางตามกฎหมายให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุก หรือทำให้ปราศจากเสรีภาพเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ตามกฎหมายทั้งในประเทศผู้ร้องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนและประเทศผู้รับคำร้องขอ และความผิดนั้นจะต้องไม่ขาดอายุความตามกฎหมายของประเทศที่ร้องขอ ประการสำคัญคือความผิดนั้นต้องไม่ใช่ความผิดทางการเมือง หรือความผิดที่เกี่ยวกับศาสนา.....
เหตุสำหรับปฏิเสธไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดน (ตามสนธิสัญญาที่มีกับจีน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สรุปง่ายๆ
1. เป็นคดีการเมือง ที่ไม่ใช่การปลงฯ ประมุขของรัฐ
2. ต้องไม่ใช่ความผิดที่มีสาเหตุมาจาก เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ หรือคดีที่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้
3. เป็นความผิดทางการทหาร มิใช่อาญา
4. แปลไม่ออก
5. คดีที่ตัดสินไปแล้ว (ไม่ตัดสินอีก)
มีผู้ตีความข้อ 5 อีก 1 ความเห็นนะคะ ขอยกขึ้นมาให้พิจารณากัน
ประเด็นมิใช่คดีเดียวกันตัดสินแล้วไม่สามารถตัดสินอีกเพราะการส่งตัว ๒ ปท.ต้องคดีเหมือนกัน แต่กรณีนี้เป็นการป้องกันมิให้ละเมิดศักดิ์ศรีกัน
รู้สึกว่าหากโทษของไทยต่ำกว่าก็ต้อง
ไปรับโทษในปท.นั้นเพิ่มอีก
สำหรับผู้ที่คิดว่า ไทยไม่มีสนธิสัญญา ส่งผู้ร้ายข้ามแดน กับจีน
หากมีข้อผิดพลาด กรุณาชี้แนะ
http://www.thailaws.com/body_thaiacts_treaty.htm สนธิ และอนุทั้งหมดที่มี
http://www.thailaws.com/law/thaiacts/code1755.pdf -- สัญญาที่มีต่อจีน
https://www.gotoknow.org/posts/179063 -- หลักการง่ายๆ ที่มีคนสรุปไว้ให้ สำหรับเคสทั่วๆไป
เพื่อจุดหมายหลัก 2 ประการคือ
1.เพื่อหลีกเหลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องอำนาจพิจาราณาพิพากษาของศาลในคดีอาญาอันอาจจะเป็นช่องทางให้ผู้กระทำผิดรอดพ้นอาญาที่ตนกระทำขึ้น
2.เพื่อป้องกันมิให้มีการลงโทษจำเลยซ้ำกันสองครั้งในความผิดเดียวกัน
ผู้ที่อาจถูกส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนได้
1. ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศผู้ร้องขอ กรณีนี้ถือเป็นหลักสากลที่ทั่วโลกยอมรับให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนกันได้เสมอ เช่น คนไทยทำความผิดอาญาในประเทศไทยแล้วหลบหนี้ไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาประเทศไทยก็ขอให้สหรัฐอเมริกาส่งตัวคนไทยผู้นี้ข้ามแดนมาเพื่อพิจารณาคดีหรือเพื่อรับโทษตามคำพิพากษาของศาลไทยในประเทศไทยได้ การที่ประเทศผู้ร้องขอต้องการบุคคลสัญชาติของตนเอง ประเทศผู้รับคำขอก็จะอนุญาตให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอเสมอ
2. ผู้กระทำผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศผู้รับคำขอ เป็นกรณีที่บุคคลในสัญชาติของประเทศหนึ่งกระทำความผิดแล้วหลบหนี้กลับไปยังประเทศของตน ตามหลักทั่วไปประเทศเจ้าของสัญชาติผู้กระทำความผิดจะไม่ยอมส่งตัวผู้กระทำความผิดนั้นกลับไปให้ประเทศอื่นพิจารณาพิพากษาคดี โดยยึดถือหลักที่ว่า “ไม่ยอมส่งคนสัญชาติตนข้ามแดนให้ประเทศอื่น” ก็สามารถกระทำได้ เช่น คนไทยไปกระทำความผิดทางอาญา ณ ประเทศฟิลิปปินส์แล้วหลบหนีกลับมายังประเทศไทย ประเทศไทยจะไม่ส่งคนไทยผู้นี้ข้ามแดนเพื่อไปให้ศาลฟิลิปปินส์พิจารณาพิพากษาคดีก็กระทำได้
3. ผู้กระทำความผิดเป็นบุคคลในสัญชาติของประเทศที่สาม ในกรณีนี้ตามธรรมเนียมปฎิบัติระหว่างประเทศ ประเทศผู้รับคำร้องขอจะต้องแจ้งให้ประเทศที่สามที่เป็นเจ้าของสัญชาติผู้กระทำผิดทราบเสียก่อนที่จะดำเนินการขั้นต่อไป เพื่อรักษาสัมพันไมตรีอันดีงามระหว่างประเทศ ซึ่งในทางปฏิบัติประเทศเจ้าของสัญชาติผู้กระทำความผิดก็จะสอบถามข้อเท็จจริงแห่งคดี แต่ไม่อาจห้ามมิให้ประเทศผู้รับคำขอส่งตัวข้ามแดนได้.....
ความผิดที่ส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้
ความผิดที่จะถึงขนาดที่จะนำมาซึ่งการส่งตัวข้ามแดนนั้น ต้องเป็นความผิดทางอาญาที่มีโทษทางตามกฎหมายให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุก หรือทำให้ปราศจากเสรีภาพเป็นระยะเวลาเกินกว่า 1 ปี ตามกฎหมายทั้งในประเทศผู้ร้องขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนและประเทศผู้รับคำร้องขอ และความผิดนั้นจะต้องไม่ขาดอายุความตามกฎหมายของประเทศที่ร้องขอ ประการสำคัญคือความผิดนั้นต้องไม่ใช่ความผิดทางการเมือง หรือความผิดที่เกี่ยวกับศาสนา.....
เหตุสำหรับปฏิเสธไม่ส่งผู้ร้ายข้ามแดน (ตามสนธิสัญญาที่มีกับจีน)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สรุปง่ายๆ
1. เป็นคดีการเมือง ที่ไม่ใช่การปลงฯ ประมุขของรัฐ
2. ต้องไม่ใช่ความผิดที่มีสาเหตุมาจาก เชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ หรือคดีที่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้
3. เป็นความผิดทางการทหาร มิใช่อาญา
4. แปลไม่ออก
5. คดีที่ตัดสินไปแล้ว (ไม่ตัดสินอีก)
มีผู้ตีความข้อ 5 อีก 1 ความเห็นนะคะ ขอยกขึ้นมาให้พิจารณากัน
ประเด็นมิใช่คดีเดียวกันตัดสินแล้วไม่สามารถตัดสินอีกเพราะการส่งตัว ๒ ปท.ต้องคดีเหมือนกัน แต่กรณีนี้เป็นการป้องกันมิให้ละเมิดศักดิ์ศรีกัน
รู้สึกว่าหากโทษของไทยต่ำกว่าก็ต้อง
ไปรับโทษในปท.นั้นเพิ่มอีก