คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
เอาเรื่องงานในระบบ ขององค์กร ก่อนละกัน
1. สอบถามลูกค้าเบื้องต้น ว่าจะขอสินเชื่อในเงื่อนไขไหนได้บ้าง
2. ตรวจสอบการทำงานของลูกค้าว่าทำงานจริงมั้ย บางที่ตรงนี้ พนักงานเป็นคนตรวจสอบเอง บางที่มีส่วนกลางตรวจสอบให้ ถ้าเป็นอาชีพ อิสระ เช่น ค้าขาย รับเหมา อาชีพที่ไม่ใช่พนักงานบริษัท ต้องวิ่งตรวจสอบเอง
3. ตรวจสอบที่พักอาศัยของลูกค้า โดยทั่วไปทุกบริษัทต้องวิ่งตรวจสอบ
4. รอผลการอนุมัติจากส่วนกลาง ถ้าผ่านก็เซ็นสัญญาเช่าซื้อ (ถ้าผ่านโดยไม่มีการต่อรอง)
5. หลังจากปล่อยสินเชื่อแล้ว ทุกบริษัท ต้องดูแลให้ลูกค้าชำระค่างวด ตั้งแต่ 1-6 งวด แล้วแต่ policy ของแต่ละบริษัท โดยค่าคอมของพนักงาน จะได้จากการที่ลูกค้าชำระค่างวด และ ต้องเข้าตามเป้าที่บริษัทตั้งไว้ด้วย เช่น งวดแรก 98% งวด 2 95% งวด 3 92% ถึงจะได้ค่าคอม และถ้าทำไม่ได้ตามเป้า ที่ กำหนดไว้ อาจถึงขั้นพักการทำงานได้ โดยให้หยุดทำสัญญา แล้วไปตามลูกค้าที่ไม่ชำระก่อน
งานนี้ ไม่ง่ายไม่ยาก อยู่ที่ประสบการณ์ ว่าคุณมองลูกค้าได้ดีแค่ไหน คำว่าทำงานง่ายรายได้ดี มีอยู่จริง สำหรับวงการนี้ แรก ๆ อาจจะเหนื่อยหน่อย หลัง ๆ พอเริ่มรู้งานแล้ว อะไร ๆ จะง่ายขึ้นเยอะ
ที่นี้มาดูเรื่องภายนอกกันบ้าง
อันดับแรก การทำงานแบบนี้ การบริการร้านค้า ถือเป็นเรื่องสำคัญ จำไว้ว่า ไม่ได้มีบริษัทคุณที่เดียวที่ให้บริการเค้า การทำสัญญา โดยทั่วไป ต้องทำตาม policy ของบริษัท แต่คุณ ไม่สามารถ กาง policy ทำได้ทุกเคส ลูกค้าไม่ได้มาแบบ ที่เรา ต้องการเป๊ะ ๆ แต่บริษัทเราต้องการ เป๊ะ ๆ ถ้าคุณทำงานตาม policy คุณไม่มีทางที่จะได้รับความไว้วางใจจากร้านค้าแน่นอน อยากเป็นไม้แรก ต้องทำให้เค้าเห็นว่า เราสามารถทำลูกค้าให้เค้าได้ ไม่งั้นคุณก็ต้องรอ รับเคสที่ บริษัทอื่นไม่เอามาแล้ว คำว่าไม้แรกคือ เราได้สัมผัสลูกค้าก่อนใคร เราได้สิทธิ์ในการเลือกลูกค้าก่อน แต่ถ้าคุณเข้ากับร้านค้าได้ดี อะไร ๆ มันก็จะดีไปหมด ปัญหามักจะเกิดจากสัญญาไม่ผ่านแล้วเกิดการต่อรองเกิดขึ้น ลูกค้า ร้อยละ 90 ไม่มีเงินดาวน์ ร้านก็จะดันให้จบ โทรคุยกับหัวหน้า เพื่อดันเคสลูกค้า วาทะศิลป์ในการต่อรองจึงเป็นเรื่องสำคัญ การจะปฏิเสธลูกค้าสักราย ทำได้ไม่ง่ายนัก ต้องพูดแบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น การปฏิเสธโดยมีเหตุผลไม่เพียงพอ อาจทำให้คุณนั่งยาว แบบไม่ได้แตะลูกค้าสักเคสเลยก็ได้
ยังไงก็ตาม คุณจะเรียนรู้ได้เอง ว่าคุณต้องวางตัวยังไง แล้วที่สำคัญผูกมิตรกับเพื่อนอาชีพเดียวกันแต่ต่างบริษัทไว้ ยังไงคุณก็ต้องเจอกันทุกวัน แล้วจะช่วยเหลือกันได้แน่นอน
ขอให้โชคดี
1. สอบถามลูกค้าเบื้องต้น ว่าจะขอสินเชื่อในเงื่อนไขไหนได้บ้าง
2. ตรวจสอบการทำงานของลูกค้าว่าทำงานจริงมั้ย บางที่ตรงนี้ พนักงานเป็นคนตรวจสอบเอง บางที่มีส่วนกลางตรวจสอบให้ ถ้าเป็นอาชีพ อิสระ เช่น ค้าขาย รับเหมา อาชีพที่ไม่ใช่พนักงานบริษัท ต้องวิ่งตรวจสอบเอง
3. ตรวจสอบที่พักอาศัยของลูกค้า โดยทั่วไปทุกบริษัทต้องวิ่งตรวจสอบ
4. รอผลการอนุมัติจากส่วนกลาง ถ้าผ่านก็เซ็นสัญญาเช่าซื้อ (ถ้าผ่านโดยไม่มีการต่อรอง)
5. หลังจากปล่อยสินเชื่อแล้ว ทุกบริษัท ต้องดูแลให้ลูกค้าชำระค่างวด ตั้งแต่ 1-6 งวด แล้วแต่ policy ของแต่ละบริษัท โดยค่าคอมของพนักงาน จะได้จากการที่ลูกค้าชำระค่างวด และ ต้องเข้าตามเป้าที่บริษัทตั้งไว้ด้วย เช่น งวดแรก 98% งวด 2 95% งวด 3 92% ถึงจะได้ค่าคอม และถ้าทำไม่ได้ตามเป้า ที่ กำหนดไว้ อาจถึงขั้นพักการทำงานได้ โดยให้หยุดทำสัญญา แล้วไปตามลูกค้าที่ไม่ชำระก่อน
งานนี้ ไม่ง่ายไม่ยาก อยู่ที่ประสบการณ์ ว่าคุณมองลูกค้าได้ดีแค่ไหน คำว่าทำงานง่ายรายได้ดี มีอยู่จริง สำหรับวงการนี้ แรก ๆ อาจจะเหนื่อยหน่อย หลัง ๆ พอเริ่มรู้งานแล้ว อะไร ๆ จะง่ายขึ้นเยอะ
ที่นี้มาดูเรื่องภายนอกกันบ้าง
อันดับแรก การทำงานแบบนี้ การบริการร้านค้า ถือเป็นเรื่องสำคัญ จำไว้ว่า ไม่ได้มีบริษัทคุณที่เดียวที่ให้บริการเค้า การทำสัญญา โดยทั่วไป ต้องทำตาม policy ของบริษัท แต่คุณ ไม่สามารถ กาง policy ทำได้ทุกเคส ลูกค้าไม่ได้มาแบบ ที่เรา ต้องการเป๊ะ ๆ แต่บริษัทเราต้องการ เป๊ะ ๆ ถ้าคุณทำงานตาม policy คุณไม่มีทางที่จะได้รับความไว้วางใจจากร้านค้าแน่นอน อยากเป็นไม้แรก ต้องทำให้เค้าเห็นว่า เราสามารถทำลูกค้าให้เค้าได้ ไม่งั้นคุณก็ต้องรอ รับเคสที่ บริษัทอื่นไม่เอามาแล้ว คำว่าไม้แรกคือ เราได้สัมผัสลูกค้าก่อนใคร เราได้สิทธิ์ในการเลือกลูกค้าก่อน แต่ถ้าคุณเข้ากับร้านค้าได้ดี อะไร ๆ มันก็จะดีไปหมด ปัญหามักจะเกิดจากสัญญาไม่ผ่านแล้วเกิดการต่อรองเกิดขึ้น ลูกค้า ร้อยละ 90 ไม่มีเงินดาวน์ ร้านก็จะดันให้จบ โทรคุยกับหัวหน้า เพื่อดันเคสลูกค้า วาทะศิลป์ในการต่อรองจึงเป็นเรื่องสำคัญ การจะปฏิเสธลูกค้าสักราย ทำได้ไม่ง่ายนัก ต้องพูดแบบบัวไม่ช้ำน้ำไม่ขุ่น การปฏิเสธโดยมีเหตุผลไม่เพียงพอ อาจทำให้คุณนั่งยาว แบบไม่ได้แตะลูกค้าสักเคสเลยก็ได้
ยังไงก็ตาม คุณจะเรียนรู้ได้เอง ว่าคุณต้องวางตัวยังไง แล้วที่สำคัญผูกมิตรกับเพื่อนอาชีพเดียวกันแต่ต่างบริษัทไว้ ยังไงคุณก็ต้องเจอกันทุกวัน แล้วจะช่วยเหลือกันได้แน่นอน
ขอให้โชคดี
แสดงความคิดเห็น
"เจ้าหน้าที่ให้บริการสินเชื่อรถจักรยานยนต์ ลักษณะงานเป็นอย่างไรค่ะ"
***ต้องออกไปบ้านลูกค้า หรือทวงหนี้ด้วยไหมค่ะ -_-