大泽乡起义 การปฏิวัติหมู่บ้านต้าเจ๋อ
ในปี 210 ก่อนคริสต์ศักราช จิ๋นซีฮ่องเต้ได้สิ้นพระชนม์ลงในระหว่างที่ออกเดินทางท่องเที่ยว
โอรสของจิ๋นซีฮ่องเต้ชื่อว่า “หูไฮ่” ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ มีพระนามว่าพระเจ้าจิ๋นที่สอง พระเจ้าจิ๋น
ที่สองมีนิสัยโหดเหี้ยม ชาวบ้านล้วนเกลียดชังพระเจ้าจิ๋นที่สองเป็นอย่างมาก สภาวะทางสังคมใน
ขณะนั้นวุ่นวายไม่สงบ
ในปี 209 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวนาผู้ยากไร้จำนวน 900 กว่าคนถูกบังคับให้ไปเฝ้าประจำการป้องกัน
ชายแดน ในระหว่างทาง เนื่องจากเจอฝนตกหนัก จึงติดฝนอยู่ที่หมู่บ้านต้าเจ๋อ(ปัจจุบันอยู่ที่ทางตะวัน
ออกเฉียงใต้ของซู่โจว มณฑลอันฮุยส่งผลให้ไม่สามารถไปถึงชายแดนได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ ตาม
กฎหมายของราชวงศ์จิ๋น การผิดเวลามีโทษถึงตาย ชาวนาจึงจำเป็นต้องหาทางเพื่อเอาชีวิตรอด ใน
ช่วงเวลานี้ เฉินเซิ่งและอู๋กว่างได้ร่วมกันวางแผนฆ่านายทหารที่คุมพวกเขาเดินทางมาด้วยกัน และได้
ก่อการปฏิวัติขึ้น
เพื่อให้ผู้คนเชื่อว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นบัญชาสวรรค์ เฉินเซิ่งและอู๋กว่างได้สั่งคนให้เขียนคำว่า“อ๋องเฉินเซิ่ง”
ไว้บนเศษผ้าไหมแล้วใส่ไว้ในพุงปลา เมื่อพวกทหารซื้อปลามา พบว่ามีผ้าไหมอยู่ข้างใน จึงแปลกใจเป็น
อย่างมาก ส่วนอู๋กว่างก็สั่งคนให้ทำเสียงเลียนแบบสัตว์ ร้องว่า “ฉู่จงเจริญ อ๋องเฉินเซิ่ง” เมื่อผู้คนได้ยินเข้า
ก็ยิ่งรู้สึกอัศจรรย์ใจ เฉินเซิ่งจึงร้องอย่างฮึกเหิมว่า “พวกกษัตริย์และขุนนางพวกนั้นไม่ได้เป็นเมล็ดพันธุ์จาก
สวรรค์หรอก” และกบฏชาวนาครั้งใหญ่ครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์จีนก็ได้เริ่มขึ้น ณ หมู่บ้านต้าเจ๋อ กองทัพ
ปฏิวัติได้รบชนะหลายเมืองในบริเวณใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว กองกำลังได้เพิ่มขยายเป็นหลายหมื่นคนภายใน
ระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน เฉินเซิ่งได้ตั้งตัวเป็นอ๋องที่เฉินตี้(ปัจจุบันคือหวยหยาง มณฑลเหอหนาน อาณาจักร
ชื่อว่า “จางฉู่” หลังจากนั้น กองกำลังหลักก็ได้บุกไปทางตะวันตก เดือนกันยายนปีเดียวกันบุกตีด่านหานกู่แตก
บุกไปถึงบริเวณใกล้ ๆ ของเมืองเสียนหยาง กองกำลังเพิ่มขึ้นเป็นหลายแสนคน
เมื่อพระเจ้าจิ๋นที่สองได้ทรงทราบว่ากองทัพปฏิวัติบุกเข้าด่านมาแล้ว พระองค์ทรงรู้สึกหวาดกลัวเป็นอย่างมาก
เนื่องจากพระเจ้าจิ๋นที่สองทรงจัดกำลังทัพไม่ทัน จึงได้ส่งจางหานนำกองกำลังหลายแสนคนซึ่งกำลังสร้างสุสาน
ที่ภูเขาลี่ซันให้ไปรับมือก่อน สุดท้ายกองทัพนี้ก็ได้มีชัยชนะเหนือกองกำลังหลักของกองทัพปฏิวัติ ต่อมาไม่นานอู๋
กว่างก็ถูกแม่ทัพฆ่าตาย เฉินเซิ่งก็ถูกผู้ทรยศฆ่าตาย ถึงแม้ว่ากองทัพปฏิวัติจะดำเนินมาอย่างยากลำบากเกือบครึ่งปี
แต่ในที่สุดก็ถูกกองทัพจิ๋นปราบลง
การปฏิวัติหมู่บ้านต้าเจ๋อ ปฎิวัติชาวนาครั้งแรกของประวัติศาสตร์จีน
ในปี 210 ก่อนคริสต์ศักราช จิ๋นซีฮ่องเต้ได้สิ้นพระชนม์ลงในระหว่างที่ออกเดินทางท่องเที่ยว
โอรสของจิ๋นซีฮ่องเต้ชื่อว่า “หูไฮ่” ได้ขึ้นครองราชย์ต่อ มีพระนามว่าพระเจ้าจิ๋นที่สอง พระเจ้าจิ๋น
ที่สองมีนิสัยโหดเหี้ยม ชาวบ้านล้วนเกลียดชังพระเจ้าจิ๋นที่สองเป็นอย่างมาก สภาวะทางสังคมใน
ขณะนั้นวุ่นวายไม่สงบ
ในปี 209 ก่อนคริสต์ศักราช ชาวนาผู้ยากไร้จำนวน 900 กว่าคนถูกบังคับให้ไปเฝ้าประจำการป้องกัน
ชายแดน ในระหว่างทาง เนื่องจากเจอฝนตกหนัก จึงติดฝนอยู่ที่หมู่บ้านต้าเจ๋อ(ปัจจุบันอยู่ที่ทางตะวัน
ออกเฉียงใต้ของซู่โจว มณฑลอันฮุยส่งผลให้ไม่สามารถไปถึงชายแดนได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ ตาม
กฎหมายของราชวงศ์จิ๋น การผิดเวลามีโทษถึงตาย ชาวนาจึงจำเป็นต้องหาทางเพื่อเอาชีวิตรอด ใน
ช่วงเวลานี้ เฉินเซิ่งและอู๋กว่างได้ร่วมกันวางแผนฆ่านายทหารที่คุมพวกเขาเดินทางมาด้วยกัน และได้
ก่อการปฏิวัติขึ้น
เพื่อให้ผู้คนเชื่อว่าการปฏิวัติครั้งนี้เป็นบัญชาสวรรค์ เฉินเซิ่งและอู๋กว่างได้สั่งคนให้เขียนคำว่า“อ๋องเฉินเซิ่ง”
ไว้บนเศษผ้าไหมแล้วใส่ไว้ในพุงปลา เมื่อพวกทหารซื้อปลามา พบว่ามีผ้าไหมอยู่ข้างใน จึงแปลกใจเป็น
อย่างมาก ส่วนอู๋กว่างก็สั่งคนให้ทำเสียงเลียนแบบสัตว์ ร้องว่า “ฉู่จงเจริญ อ๋องเฉินเซิ่ง” เมื่อผู้คนได้ยินเข้า
ก็ยิ่งรู้สึกอัศจรรย์ใจ เฉินเซิ่งจึงร้องอย่างฮึกเหิมว่า “พวกกษัตริย์และขุนนางพวกนั้นไม่ได้เป็นเมล็ดพันธุ์จาก
สวรรค์หรอก” และกบฏชาวนาครั้งใหญ่ครั้งแรกในหน้าประวัติศาสตร์จีนก็ได้เริ่มขึ้น ณ หมู่บ้านต้าเจ๋อ กองทัพ
ปฏิวัติได้รบชนะหลายเมืองในบริเวณใกล้เคียงอย่างรวดเร็ว กองกำลังได้เพิ่มขยายเป็นหลายหมื่นคนภายใน
ระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน เฉินเซิ่งได้ตั้งตัวเป็นอ๋องที่เฉินตี้(ปัจจุบันคือหวยหยาง มณฑลเหอหนาน อาณาจักร
ชื่อว่า “จางฉู่” หลังจากนั้น กองกำลังหลักก็ได้บุกไปทางตะวันตก เดือนกันยายนปีเดียวกันบุกตีด่านหานกู่แตก
บุกไปถึงบริเวณใกล้ ๆ ของเมืองเสียนหยาง กองกำลังเพิ่มขึ้นเป็นหลายแสนคน
เมื่อพระเจ้าจิ๋นที่สองได้ทรงทราบว่ากองทัพปฏิวัติบุกเข้าด่านมาแล้ว พระองค์ทรงรู้สึกหวาดกลัวเป็นอย่างมาก
เนื่องจากพระเจ้าจิ๋นที่สองทรงจัดกำลังทัพไม่ทัน จึงได้ส่งจางหานนำกองกำลังหลายแสนคนซึ่งกำลังสร้างสุสาน
ที่ภูเขาลี่ซันให้ไปรับมือก่อน สุดท้ายกองทัพนี้ก็ได้มีชัยชนะเหนือกองกำลังหลักของกองทัพปฏิวัติ ต่อมาไม่นานอู๋
กว่างก็ถูกแม่ทัพฆ่าตาย เฉินเซิ่งก็ถูกผู้ทรยศฆ่าตาย ถึงแม้ว่ากองทัพปฏิวัติจะดำเนินมาอย่างยากลำบากเกือบครึ่งปี
แต่ในที่สุดก็ถูกกองทัพจิ๋นปราบลง