สวัสดีครับ เพื่อนๆพี่ๆน้องๆ ชาวพันทิป
วันนี้ผมจะพาทุกๆคนได้รู้จัก เมืองบุญแห่งล้านนา เมืองเล็กๆที่เงียบสงบ เมืองที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและศิลป์ หัถกรรม มากมาย
ลำพูน หรือ หละปูน เป็นเมืองที่มีเสน่ห์และมนต์ขลังและน่าหลงไหล ทั้งอาหาร วิถีชีวิต ภาษา การแต่งกาย และความเป็นกันเองของผู้คน
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย
ประวัติและความเป็นมา
จังหวัดลำพูน เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤาษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตร หรือ ชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวง และแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญ ราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชย สืบราชวงศ์กษัตริย์ ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวม แว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่า จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ทริปการเดินทางวันนี้คือวันที่ 22 มิ.ย. 58 ตอนนี้ก็เวลา 07.30 น.
ผมกับพวกเพื่อนๆได้นัดรวมตัวกันที่สถานีขนส่งผู้โดยสารเชียงใหม่ แห่งที่ 1 ( ขนส่งช้างเผือก )
โดยการเดินทางครั้งนี้จะใช้รถโดยสารประจำทาง เชียงใหม่ - ลำพูน หรือเรียกง่ายๆ "รถม่วง"
อัตราค่าบริการ 25 บาทต่อ 1 คน รถที่ได้นั่งวันนี้เป็นรถตู้ปรับอากาศถือว่าเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างสบายเลยที่เดียว
วันนี้พวกเรามีการเตรียมตัวและหาข้อมูลสถานที่จะไปอย่างดีแล้ว ที่เลือกไว้มี
5 สถานที่เด่นๆดังๆของลำพูนเลย ได้แก่
1. วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร
2. ขัวมุง
3. ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน
4. อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
5. วัดจามเทวี
มาพบกับสถานที่แรกที่เราไปกันเลยครับ
1. วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร
พระธาตุหริภุญชัย เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองลำพูนมานานนับพันปี จัดเป็นพระธาตุที่เก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ เพราะสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอาทิตยราช
หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งช่วงนั้นนครหริภุญชัยมีความรุ่งเรืองทางศาสนาและศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่าง มาก องค์พระธาตุมีลักษณะศิลปะแบบล้านนา ปิดด้วยทองจังโกสีเหลืองอร่ามทั้งองค์ ภายในประดิษฐานพระเกศบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ในโกศทองคำอีกชั้นหนึ่ง บริเวณโดยรอบองค์พระธาตุจะมีซุ้มกุมภัณฑ์และฉัตรประจำทั้งสี่มุม นอกจากพระธาตุ์เจดีย์หริภุญชัยแล้ว ภายในบริเวณวัดยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น บริเวณด้านหน้าวัดซึ่งเป็น “ซุ้มประตูโขงท่าสิงห์” ประตูทางเข้าสู่เขตพุทธาวาสซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมอันสวยงาม ยอดหลังคาสร้างเป็นทรงปราสาทซ้อนกันหลายชั้น และมีปูนปั้นรูปสิงห์อยู่ด้านหน้า ซุ้มประตูนี้จึงได้ชื่อว่า ซุ้มประตูโขงท่าสิงห์นั่นเอง ถัดจากซุ้มประตูเข้ามาเราจะเห็น
“พระวิหารหลวง” ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ถึงสามองค์ด้วยกัน ภายในตกแต่งด้วยลวดลายวิจิตรงดงาม ส่วนทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง เป็นที่ตั้งของ “หอธรรม” หรือ “หอพระไตรปิฏก”
สิ่งปลูกสร้างตามแบบศิลปะล้านนาประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองและกระจกอันสวย งาม ซึ่งตามหลักฐานศิลาจารึกคาดว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2053 โดยพระเมืองแก้วกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ถ้าสังเกตุให้ดี เราจะเห็นว่าลักษณะสถาปัตยกรรมของหอธรรมนี้มีความคล้ายคลึงกับหอไตรที่วัด พระสิงห์ฯ อยู่ไม่น้อยเลยบริเวณไม่ห่างจากหอธรรมนัก เราจะเห็นว่ามีสิ่งปลูกสร้างรูปร่างคล้ายภูเขาขนาดเล็กนั่นก็คือ “เขาพระสุเมรุ”
ถึงแม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อสมัยใด แต่จากรูปถ่ายทางประวัติศาสตร์ก็เห็นว่าเขาพระสุเมรุนี้ตั้งอยู่ในวัดมา ตั้งแต่โบราณแล้ว จากส่วนด้านหน้านี้เราเดินเลยไปทางด้านหลังของวัด บริเวณวิหารด้านหลังองค์พระธาตุเจดีย์จะเป็น “พิพิธภัณฑ์ 50 ปี วัดพระธาตุหริภุญชัย” ซึ่งใช้เก็บรักษาศิลปวัตถุโบราณต่างๆ มากมาย รวมถึงวิหารด้านข้างจะเป็น “พระวิหารพระพุทธบาทสี่รอย”
ที่หลายๆ คนมักจะแวะเวียนมาสักการะหลังจากที่ได้เดินเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเจดีย์เรียบร้อยแล้ว
นอกจากโบราณสถานที่เราได้ยกตัวอย่างมานั้น ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีโบราณสถานอื่นๆ อีกมากมาย เช่น หอกังสดาล อันสวยงามด้วยศิลปะหริภุญไชย วิหารพระนอน สุวรรณเจดีย์ เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ซึ่งโบราณสถานและโบราณวัตถุแต่ละชิ้นล้วนแต่มีเรื่องราวความเป็นมา และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งนัก ในฐานะที่เราเป็นหนึ่งในพุทธศาสนิกชนก็น่าจะลองหาโอกาสแวะเวียนมาเที่ยวชม ความงดงามทางสถาปัตยกรรมแบบล้านนา รวมถึงมากราบไหว้สักการะขอพรจากองค์พระธาตุหริภุญชัยสักครั้ง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เกิดในปีระกาก็ตาม
บรรยากาศภายในวัดฯ ร่มรื่น เย็นสบาย และเสียงระฆังที่ไพเราะ เดินออกจากประตูหน้าวัดพระธาตุฯ ข้ามไปฝั่งตรงข้ามก็จะเจอกับสถานที่ต่อไปที่จะไป
2. ขัวมุง
กาดขัวมุง ตั้งอยู่บริเวณบ้านศรีเมืองยู้ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เที่ยวชมวิถีชีวิตชาวบ้านในเส้นทางถนนสายวัฒนธรรมชุมชนเวียงยอง หมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายโดยฝีมือชาวบ้าน ผ้าที่ผลิตจะเป็นผ้าฝ้ายและผ้าไหมยกดอก รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฝ้ายอื่น ๆ เป็นเส้นทางที่เหมาะกับการเดินเท้า หรือนั่งรถสามล้อถีบ ชมสถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้านอาทิ วัดต้นแก้ว พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์ทอผ้าพื้นเมือง เป็นต้น
ภายในชุมชนยังมีขัวมุงท่าสิงห์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP อาทิ ผ้าฝ้ายยกดอกลำพูน สินค้าตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ เป็นต้น
เปิดทุกวันเวลา 9.00-18.00 น.
เข้ามาข้างในจะมีสินค้ามากมายให้เลือกซื้อกันแบบชนิดที่เรียกว่าเห็นอะไรๆก็สวยไปหมด ของฝากเด่นๆของลำพูน เช่น ลำไยอบแห้ง ไวน์ลำไย ชุดพื้นเมือง และมีอีกมากมายที่น่าซื้อไปเป็นของฝากแล้วเดินไปจนสุดของ" ขัวมุง "จะพบกับสถานที่ต่อไปครับ
3. ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน ( ผ้าไหมยกดอก )
ลำพูน เป็นจังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ เดิมมีชื่อว่า นครหริภุญชัย เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มคนชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่สุดในภาคเหนือ อาทิ ยวน โยนก ไทใหญ่ ยางแดง เขิน ลื้อ ลั้วะ และ มอญ คนลำพูนมีการทอผ้าใช้เองมาแต่อดีตอันยาวนาน โดยเฉพาะการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาวยอง (ไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงตุง ในประเทศพม่า) ในกลุ่มชนชั้นสูงที่วัตถุดิบเป็นเส้นไหมมากกว่าที่จะเป็นเส้นฝ้ายที่ใช้กันในชนชั้นล่างลงไป กาลเวลาล่วงเลยผ่านมานับร้อยปี การทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายยังมีการประยุกต์ใช้กันอยู่แต่เป็นการทอเป็นลวดลายไม่วิจิตรนัก
จวบจนกระทั่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีพระธิดาในพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้พระราชทานทูลขอพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชการที่ ๖ เสด็จกลับเชียงใหม่ ทรงได้นำความรู้ที่เรียนรู้มาจากราชสำนักส่วนกลางขณะประทับ ณ วังหลวงในกรุงเทพฯ มาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ลวดลาย และได้ฝึกหัดคนในคุ้มเชียงใหม่ให้ทอผ้ายกโดยเพิ่มลวดลายลงในผืนผ้าไหมให้พิเศษขึ้น คือเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็น ดิ้นเงิน ดิ้นทอง การเก็บลายจึงต้องใช้ตะกอเพื่อให้สามารถทอลวดลายที่สลับซับซ้อนประณีต งดงามได้ เทคนิคการทอนี้ว่า ยกดอก”เพื่อนำไปถวายเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในภาคกลางและทรงใช้ส่วนพระองค์ เนื่องด้วยทรงเป็นพระญาติกับเจ้าเมืองลำพูนจึงทรงถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้ายก ที่มีลวดลายสวยงามแปลกตาและวิจิตรบรรจงให้แก่เจ้าหญิงส่วนบุญพระราชชายาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย)และ เจ้าหญิงลำเจียก(พระธิดาเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์) ทั้งสองพระองค์จึงได้นำความรู้การทอผ้ายกมาฝึกคนในคุ้มหลวงลำพูน และชาวบ้านได้เรียนรู้การทอผ้ายกจากคนในคุ้มจนมีความชำนาญและมีการเผยแพร่ทั่วไปในชุมชนต่างๆ โดยได้มีการฝึกหัดชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงจนมีความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอกเป็นอย่างดี ทรงฟื้นฟูผ้าไหมยกดอกลำพูน โดยทรงดัดแปลงให้ผ้าไหมมีความวิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น โดยทรงใช้เทคนิคภาคกลางมาประยุกต์และทอกันมากในตำบลเวียงยอง และบริเวณใกล้เคียงที่เป็นชุมชนของเจ้านายยองในอดีต
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ้ายกเป็นที่นิยมในราชสำนักและแวดวงสังคมชั้นสูง เนื่องจากการคมนาคมสะดวกทั้งทางรถไฟและทางรถยนต์จากรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่และลำพูน ภาคเหนือจึงกลายเป็นแหล่งผ้าไหมที่ลือชื่อ และตั้งแต่ พ.ศ.2475 ผ้ายกที่ทอด้วยฝีมือประณีตจากลำพูนเป็นที่ต้องการทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในราชสำนัก
ในปัจจุบันการทอผ้าไหมยกดอกลำพูนเป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานและมีการขยายแหล่งทอผ้าไปยัง อ.ลี้ อ.ทุ่งหัวช้าง จึงทำให้จังหวัดลำพูนเป็นศูนย์กลางการทอผ้าไหมยกดอกแหล่งสำคัญของประเทศไทย
ผ้ายกดอกมีลักษณะเด่น คือ ในผืนผ้าจะมีลวดลายในตัว โดยผิวสัมผัส ผ้ายกดอก จะมีความนูน ของผืนผ้า แต่ละชิ้น แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลวดลาย แต่ละลาย ส่วนใหญ่ลายจะใช้ฝ้าย หรือไหมสีเดียวกัน ตลอดทั้งผืน บางครั้ง อาจมีการจกฝ้าย เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเด่น ของลวดลายก็ได้
[SR] Lamphun City Of Lanna Heritage ลำพูนเมืองมรดกแห่งล้านนา
วันนี้ผมจะพาทุกๆคนได้รู้จัก เมืองบุญแห่งล้านนา เมืองเล็กๆที่เงียบสงบ เมืองที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและศิลป์ หัถกรรม มากมาย
ลำพูน หรือ หละปูน เป็นเมืองที่มีเสน่ห์และมนต์ขลังและน่าหลงไหล ทั้งอาหาร วิถีชีวิต ภาษา การแต่งกาย และความเป็นกันเองของผู้คน
พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวี ศรีหริภุญชัย
ประวัติและความเป็นมา
จังหวัดลำพูน เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณ มีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤาษีวาสุเทพ เป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตร หรือ ชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้น ในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวง และแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญ ราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม “จามเทวี” มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชย สืบราชวงศ์กษัตริย์ ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพระยายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พ่อขุนเม็งรายมหาราช ผู้รวบรวม แว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา เมืองลำพูน ถึงแม้ว่า จะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรีเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครอง สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ทริปการเดินทางวันนี้คือวันที่ 22 มิ.ย. 58 ตอนนี้ก็เวลา 07.30 น.
ผมกับพวกเพื่อนๆได้นัดรวมตัวกันที่สถานีขนส่งผู้โดยสารเชียงใหม่ แห่งที่ 1 ( ขนส่งช้างเผือก )
โดยการเดินทางครั้งนี้จะใช้รถโดยสารประจำทาง เชียงใหม่ - ลำพูน หรือเรียกง่ายๆ "รถม่วง"
อัตราค่าบริการ 25 บาทต่อ 1 คน รถที่ได้นั่งวันนี้เป็นรถตู้ปรับอากาศถือว่าเป็นการเดินทางที่ค่อนข้างสบายเลยที่เดียว
วันนี้พวกเรามีการเตรียมตัวและหาข้อมูลสถานที่จะไปอย่างดีแล้ว ที่เลือกไว้มี 5 สถานที่เด่นๆดังๆของลำพูนเลย ได้แก่
1. วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร
2. ขัวมุง
3. ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน
4. อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี
5. วัดจามเทวี
มาพบกับสถานที่แรกที่เราไปกันเลยครับ
1. วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร
พระธาตุหริภุญชัย เป็นพระธาตุคู่บ้านคู่เมืองลำพูนมานานนับพันปี จัดเป็นพระธาตุที่เก่าแก่ที่สุดของภาคเหนือ เพราะสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอาทิตยราช
หรือประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 ซึ่งช่วงนั้นนครหริภุญชัยมีความรุ่งเรืองทางศาสนาและศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่าง มาก องค์พระธาตุมีลักษณะศิลปะแบบล้านนา ปิดด้วยทองจังโกสีเหลืองอร่ามทั้งองค์ ภายในประดิษฐานพระเกศบรมธาตุซึ่งบรรจุอยู่ในโกศทองคำอีกชั้นหนึ่ง บริเวณโดยรอบองค์พระธาตุจะมีซุ้มกุมภัณฑ์และฉัตรประจำทั้งสี่มุม นอกจากพระธาตุ์เจดีย์หริภุญชัยแล้ว ภายในบริเวณวัดยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง เช่น บริเวณด้านหน้าวัดซึ่งเป็น “ซุ้มประตูโขงท่าสิงห์” ประตูทางเข้าสู่เขตพุทธาวาสซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมอันสวยงาม ยอดหลังคาสร้างเป็นทรงปราสาทซ้อนกันหลายชั้น และมีปูนปั้นรูปสิงห์อยู่ด้านหน้า ซุ้มประตูนี้จึงได้ชื่อว่า ซุ้มประตูโขงท่าสิงห์นั่นเอง ถัดจากซุ้มประตูเข้ามาเราจะเห็น
“พระวิหารหลวง” ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ถึงสามองค์ด้วยกัน ภายในตกแต่งด้วยลวดลายวิจิตรงดงาม ส่วนทางด้านทิศใต้ของพระวิหารหลวง เป็นที่ตั้งของ “หอธรรม” หรือ “หอพระไตรปิฏก”
สิ่งปลูกสร้างตามแบบศิลปะล้านนาประดับด้วยไม้แกะสลักปิดทองและกระจกอันสวย งาม ซึ่งตามหลักฐานศิลาจารึกคาดว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ. 2053 โดยพระเมืองแก้วกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ ถ้าสังเกตุให้ดี เราจะเห็นว่าลักษณะสถาปัตยกรรมของหอธรรมนี้มีความคล้ายคลึงกับหอไตรที่วัด พระสิงห์ฯ อยู่ไม่น้อยเลยบริเวณไม่ห่างจากหอธรรมนัก เราจะเห็นว่ามีสิ่งปลูกสร้างรูปร่างคล้ายภูเขาขนาดเล็กนั่นก็คือ “เขาพระสุเมรุ”
ถึงแม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อสมัยใด แต่จากรูปถ่ายทางประวัติศาสตร์ก็เห็นว่าเขาพระสุเมรุนี้ตั้งอยู่ในวัดมา ตั้งแต่โบราณแล้ว จากส่วนด้านหน้านี้เราเดินเลยไปทางด้านหลังของวัด บริเวณวิหารด้านหลังองค์พระธาตุเจดีย์จะเป็น “พิพิธภัณฑ์ 50 ปี วัดพระธาตุหริภุญชัย” ซึ่งใช้เก็บรักษาศิลปวัตถุโบราณต่างๆ มากมาย รวมถึงวิหารด้านข้างจะเป็น “พระวิหารพระพุทธบาทสี่รอย”
ที่หลายๆ คนมักจะแวะเวียนมาสักการะหลังจากที่ได้เดินเวียนเทียนรอบองค์พระธาตุเจดีย์เรียบร้อยแล้ว
นอกจากโบราณสถานที่เราได้ยกตัวอย่างมานั้น ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีโบราณสถานอื่นๆ อีกมากมาย เช่น หอกังสดาล อันสวยงามด้วยศิลปะหริภุญไชย วิหารพระนอน สุวรรณเจดีย์ เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ซึ่งโบราณสถานและโบราณวัตถุแต่ละชิ้นล้วนแต่มีเรื่องราวความเป็นมา และมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ยิ่งนัก ในฐานะที่เราเป็นหนึ่งในพุทธศาสนิกชนก็น่าจะลองหาโอกาสแวะเวียนมาเที่ยวชม ความงดงามทางสถาปัตยกรรมแบบล้านนา รวมถึงมากราบไหว้สักการะขอพรจากองค์พระธาตุหริภุญชัยสักครั้ง ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เกิดในปีระกาก็ตาม
บรรยากาศภายในวัดฯ ร่มรื่น เย็นสบาย และเสียงระฆังที่ไพเราะ เดินออกจากประตูหน้าวัดพระธาตุฯ ข้ามไปฝั่งตรงข้ามก็จะเจอกับสถานที่ต่อไปที่จะไป
2. ขัวมุง
กาดขัวมุง ตั้งอยู่บริเวณบ้านศรีเมืองยู้ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร เที่ยวชมวิถีชีวิตชาวบ้านในเส้นทางถนนสายวัฒนธรรมชุมชนเวียงยอง หมู่บ้านผลิตผ้าฝ้ายโดยฝีมือชาวบ้าน ผ้าที่ผลิตจะเป็นผ้าฝ้ายและผ้าไหมยกดอก รวมถึงผลิตภัณฑ์จากฝ้ายอื่น ๆ เป็นเส้นทางที่เหมาะกับการเดินเท้า หรือนั่งรถสามล้อถีบ ชมสถานที่ท่องเที่ยวในหมู่บ้านอาทิ วัดต้นแก้ว พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์ทอผ้าพื้นเมือง เป็นต้น
ภายในชุมชนยังมีขัวมุงท่าสิงห์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP อาทิ ผ้าฝ้ายยกดอกลำพูน สินค้าตกแต่งบ้าน เครื่องประดับ เป็นต้น
เปิดทุกวันเวลา 9.00-18.00 น.
เข้ามาข้างในจะมีสินค้ามากมายให้เลือกซื้อกันแบบชนิดที่เรียกว่าเห็นอะไรๆก็สวยไปหมด ของฝากเด่นๆของลำพูน เช่น ลำไยอบแห้ง ไวน์ลำไย ชุดพื้นเมือง และมีอีกมากมายที่น่าซื้อไปเป็นของฝากแล้วเดินไปจนสุดของ" ขัวมุง "จะพบกับสถานที่ต่อไปครับ
3. ศูนย์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถ จังหวัดลำพูน ( ผ้าไหมยกดอก )
ลำพูน เป็นจังหวัดที่เก่าแก่ที่สุดในภาคเหนือ เดิมมีชื่อว่า นครหริภุญชัย เป็นจังหวัดที่มีกลุ่มคนชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่สุดในภาคเหนือ อาทิ ยวน โยนก ไทใหญ่ ยางแดง เขิน ลื้อ ลั้วะ และ มอญ คนลำพูนมีการทอผ้าใช้เองมาแต่อดีตอันยาวนาน โดยเฉพาะการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาวยอง (ไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเมืองเชียงตุง ในประเทศพม่า) ในกลุ่มชนชั้นสูงที่วัตถุดิบเป็นเส้นไหมมากกว่าที่จะเป็นเส้นฝ้ายที่ใช้กันในชนชั้นล่างลงไป กาลเวลาล่วงเลยผ่านมานับร้อยปี การทอผ้าไหมและผ้าฝ้ายยังมีการประยุกต์ใช้กันอยู่แต่เป็นการทอเป็นลวดลายไม่วิจิตรนัก
จวบจนกระทั่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีพระธิดาในพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ ผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๗ พระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้พระราชทานทูลขอพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชการที่ ๖ เสด็จกลับเชียงใหม่ ทรงได้นำความรู้ที่เรียนรู้มาจากราชสำนักส่วนกลางขณะประทับ ณ วังหลวงในกรุงเทพฯ มาประยุกต์ใช้ในการประดิษฐ์ลวดลาย และได้ฝึกหัดคนในคุ้มเชียงใหม่ให้ทอผ้ายกโดยเพิ่มลวดลายลงในผืนผ้าไหมให้พิเศษขึ้น คือเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเป็น ดิ้นเงิน ดิ้นทอง การเก็บลายจึงต้องใช้ตะกอเพื่อให้สามารถทอลวดลายที่สลับซับซ้อนประณีต งดงามได้ เทคนิคการทอนี้ว่า ยกดอก”เพื่อนำไปถวายเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในภาคกลางและทรงใช้ส่วนพระองค์ เนื่องด้วยทรงเป็นพระญาติกับเจ้าเมืองลำพูนจึงทรงถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้ายก ที่มีลวดลายสวยงามแปลกตาและวิจิตรบรรจงให้แก่เจ้าหญิงส่วนบุญพระราชชายาของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์สุดท้าย)และ เจ้าหญิงลำเจียก(พระธิดาเจ้าจักรคำ ขจรศักดิ์) ทั้งสองพระองค์จึงได้นำความรู้การทอผ้ายกมาฝึกคนในคุ้มหลวงลำพูน และชาวบ้านได้เรียนรู้การทอผ้ายกจากคนในคุ้มจนมีความชำนาญและมีการเผยแพร่ทั่วไปในชุมชนต่างๆ โดยได้มีการฝึกหัดชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงจนมีความรู้เรื่องการทอผ้าไหมยกดอกเป็นอย่างดี ทรงฟื้นฟูผ้าไหมยกดอกลำพูน โดยทรงดัดแปลงให้ผ้าไหมมีความวิจิตรสวยงามยิ่งขึ้น โดยทรงใช้เทคนิคภาคกลางมาประยุกต์และทอกันมากในตำบลเวียงยอง และบริเวณใกล้เคียงที่เป็นชุมชนของเจ้านายยองในอดีต
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ้ายกเป็นที่นิยมในราชสำนักและแวดวงสังคมชั้นสูง เนื่องจากการคมนาคมสะดวกทั้งทางรถไฟและทางรถยนต์จากรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่และลำพูน ภาคเหนือจึงกลายเป็นแหล่งผ้าไหมที่ลือชื่อ และตั้งแต่ พ.ศ.2475 ผ้ายกที่ทอด้วยฝีมือประณีตจากลำพูนเป็นที่ต้องการทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในราชสำนัก
ในปัจจุบันการทอผ้าไหมยกดอกลำพูนเป็นมรดกทางหัตถกรรมที่ถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานและมีการขยายแหล่งทอผ้าไปยัง อ.ลี้ อ.ทุ่งหัวช้าง จึงทำให้จังหวัดลำพูนเป็นศูนย์กลางการทอผ้าไหมยกดอกแหล่งสำคัญของประเทศไทย
ผ้ายกดอกมีลักษณะเด่น คือ ในผืนผ้าจะมีลวดลายในตัว โดยผิวสัมผัส ผ้ายกดอก จะมีความนูน ของผืนผ้า แต่ละชิ้น แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลวดลาย แต่ละลาย ส่วนใหญ่ลายจะใช้ฝ้าย หรือไหมสีเดียวกัน ตลอดทั้งผืน บางครั้ง อาจมีการจกฝ้าย เพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเด่น ของลวดลายก็ได้