อพท. จัดโครงการ ‘น่าน...เมืองเก่าที่มีชีวิต’
สร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม
ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน โกยรายได้เข้าประเทศตามนโยบายเศรษฐกิจ
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน หรือ อพท. ชูแนวคิด ‘น่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต’ สร้างจุดขายด้านความเป็นอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดึงนักท่องเที่ยวร่วมสัมผัสวิถีชีวิตชุมชุน ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมโบราณสถานในชุมชนเทศบาลเมืองน่าน หวังสร้างท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชุน หนุนนโยบายศก.ด้านการท่องเที่ยวให้เติบโตแบบยั่งยืน
ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน (อพท.6) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า อพท. สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน(อพท.6)ได้เริ่มศึกษาและดำเนินการพัฒนาพื้นที่ชุมชนไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างงาน รายได้และกระจายเม็ดเงินด้านการท่องเที่ยวไปยังชุมชน โดยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเทศบาลเมืองน่านให้มีความสวยงาม โดดเด่นและเป็นที่จดจำ เนื่องจากน่านเป็นจังหวัดที่มีคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่มีกลิ่นอายของล้านนา ตลอดจนวิถีชุมชนของเทศบาลเมืองน่านที่เรียบง่าย
ทั้งนี้ อพท. จึงดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เทศบาลเมืองน่านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘น่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต’ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่การท่องเที่ยวให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ถึงความเป็นตัวตนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองน่านที่มีความโดดเด่นแตกต่างและมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง โดย อพท. จะร่วมกับคนในชุมชน จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตเทศบาลเมืองน่าน ดึงนักท่องเที่ยวได้เข้ามาท่องเที่ยวและได้มีโอกาสสัมผัสกับความเรียบง่ายของวิถีชีวิตของคนในชุมชนศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีของคนในท้องถิ่นและเต็มอิ่มไปกับสถาปัตยกรรมจากอารยะธรรมล้านนา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวตลอดจนกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวได้เกิดการรับรู้และเข้าใจในตัวตนของแหล่งท่องเที่ยว ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองน่านมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าโครงการนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวและกลับมาเที่ยวซ้ำในจังหวัดน่าน
“อพท.เข้ามาส่งเสริม ประสานงาน พร้อมสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ให้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยจะสร้างองค์ความรู้ วิสัยทัศน์ ผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอนให้กับชุมชนเพื่อให้คนในท้องถิ่นเกิดการตระหนัก หวงแหนและมีส่วนร่วมผลักดันจนเกิดโครงการ ‘น่าน...เมืองเก่าที่มีชีวิต’ ตอกย้ำภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมให้แก่จังหวัดน่าน อีกทั้งยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้และกระจายเม็ดเงินกลับสู่ชุมชน สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของภาครัฐที่ต้องการดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้ามาในประเทศ ซึ่งอพท.มองว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพตรงเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยได้ดำเนินโครงการดังกล่าวที่ต้องการผลักดันให้เทศบาลเมืองน่านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ทำให้เมืองเก่ามีชีวิต ชีวา สามารถดึงให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของชุมชน เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนอย่างแท้จริง” ดร.ชุมพลกล่าว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้Credit: http://goo.gl/ytW5jP
อพท. จัดโครงการ ‘น่าน...เมืองเก่าที่มีชีวิต’
สร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม
ดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน โกยรายได้เข้าประเทศตามนโยบายเศรษฐกิจ
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน หรือ อพท. ชูแนวคิด ‘น่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต’ สร้างจุดขายด้านความเป็นอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ดึงนักท่องเที่ยวร่วมสัมผัสวิถีชีวิตชุมชุน ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมโบราณสถานในชุมชนเทศบาลเมืองน่าน หวังสร้างท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชุน หนุนนโยบายศก.ด้านการท่องเที่ยวให้เติบโตแบบยั่งยืน
ดร.ชุมพล มุสิกานนท์ ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน (อพท.6) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า อพท. สำนักงานพื้นที่พิเศษเมืองเก่าน่าน(อพท.6)ได้เริ่มศึกษาและดำเนินการพัฒนาพื้นที่ชุมชนไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างงาน รายได้และกระจายเม็ดเงินด้านการท่องเที่ยวไปยังชุมชน โดยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเทศบาลเมืองน่านให้มีความสวยงาม โดดเด่นและเป็นที่จดจำ เนื่องจากน่านเป็นจังหวัดที่มีคุณค่าทางศิลปะ วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมที่มีกลิ่นอายของล้านนา ตลอดจนวิถีชุมชนของเทศบาลเมืองน่านที่เรียบง่าย
ทั้งนี้ อพท. จึงดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่เทศบาลเมืองน่านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ภายใต้แนวคิด ‘น่าน เมืองเก่าที่มีชีวิต’ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่การท่องเที่ยวให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้รับรู้ถึงความเป็นตัวตนของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเมืองน่านที่มีความโดดเด่นแตกต่างและมีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง โดย อพท. จะร่วมกับคนในชุมชน จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในเขตเทศบาลเมืองน่าน ดึงนักท่องเที่ยวได้เข้ามาท่องเที่ยวและได้มีโอกาสสัมผัสกับความเรียบง่ายของวิถีชีวิตของคนในชุมชนศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณีของคนในท้องถิ่นและเต็มอิ่มไปกับสถาปัตยกรรมจากอารยะธรรมล้านนา เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวตลอดจนกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวได้เกิดการรับรู้และเข้าใจในตัวตนของแหล่งท่องเที่ยว ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวในเทศบาลเมืองน่านมากยิ่งขึ้น โดยคาดว่าโครงการนี้จะช่วยดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวและกลับมาเที่ยวซ้ำในจังหวัดน่าน
“อพท.เข้ามาส่งเสริม ประสานงาน พร้อมสนับสนุนกิจกรรมในชุมชน ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ให้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยจะสร้างองค์ความรู้ วิสัยทัศน์ ผ่านกระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นตอนให้กับชุมชนเพื่อให้คนในท้องถิ่นเกิดการตระหนัก หวงแหนและมีส่วนร่วมผลักดันจนเกิดโครงการ ‘น่าน...เมืองเก่าที่มีชีวิต’ ตอกย้ำภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมให้แก่จังหวัดน่าน อีกทั้งยังสามารถสร้างงาน สร้างรายได้และกระจายเม็ดเงินกลับสู่ชุมชน สอดคล้องกับนโยบายเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของภาครัฐที่ต้องการดึงนักท่องเที่ยวคุณภาพเข้ามาในประเทศ ซึ่งอพท.มองว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนี้เป็นรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพตรงเป้าหมาย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยได้ดำเนินโครงการดังกล่าวที่ต้องการผลักดันให้เทศบาลเมืองน่านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ทำให้เมืองเก่ามีชีวิต ชีวา สามารถดึงให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสวิถีชีวิต ศิลปะ วัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมของชุมชน เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนอย่างแท้จริง” ดร.ชุมพลกล่าว
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้