คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เห็นด้วยค่ะ
ความคิดเห็นเราต่อเรื่องนี้ (จริงๆอยากตั้งกระทู้ แต่ไม่ได้ยืนยันตัว) ยาวหน่อยนะคะ
เราอ่านแล้วไม่เข้าใจคนที่ออกมาดิ้นจริงๆ คือแทนที่จะเอาเวลาไปสำรวจตัวเองและพัฒนาตัวเอง กลับมาขอความเห็นใจ ว่าโดนกีดกัน สิทธิไม่เท่าเทียม เอาจริงๆ นะ ทำไมคนที่คิดอย่างนี้ ถึงต้องมาเรียกร้องความเท่าเทียม คือ คนเลือกเกิดไม่ได้อะจริง แต่คนเลือกที่จะขยัน ตั้งใจ มีความรับผิดชอบได้ ซึ่งผลลัพธ์ของความตั้งใจ ความรับผิดชอบก็สะท้อนออกมาเป็นสถาบันที่เข้าเรียน กับใบเกรด
Ex. นาย A ตั้งใจเรียนมาก อ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ หัวไม่ดี ก็เน้นถึก เลยสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีได้ ขณะที่ นาย B ไม่ตั้งใจเรียน ติดเที่ยว ไม่รับผิดชอบการเรียน สุดท้ายเอ็นท์ไม่ติด ต้องเข้ามหาวิทยาลัยรองๆลงมา แต่พอจบมานาย B มาเรียกร้องความเท่าเทียม??? Logic คืออะไร???
อีก1ตัวอย่างที่พิสูจน์ได้เลย คือ ตอนเราสอบ toefl / gmat เพื่อมาเรียน USA ก็อ่านชิลๆ ทำข้อสอบชิลๆ แต่แฟนตั้งใจมาก นอนน้อย งดกิจกรรมการเล่นทุกอย่าง เพื่ออ่านหนังสือ ฝึกทำข้อสอบ สุดท้ายคะแนนแฟนดีมากในครั้งเดียว ได้มหาวิทยาลัยอับดับต้นๆของ USA (และที่เกี่ยวมากๆในการได้ top U คือเกรดตอนเรียนตรี) แล้วตอนเรียนแฟนนอนวันละ 3-4 ชม. หรือไม่นอนเลย เพื่อทำการบ้าน ทำรายงาน แล้วจบ 4.00 ในมหาลัยtopของUSA ในขณะที่เราชิลตั้งแต่ตอนสอบเข้า เลยได้แค่มหาวิทยาลัยกลางๆ เรียนๆไป เพื่อให้จบ ได้เกรด 3กว่าๆ แต่แฟนตั้งใจในทุก step ก็เลยได้มหาลัยดีและจบ4.00
แล้วอีกเรื่อง คนบางคนมาเรียนที่ตปท. แล้วไม่อยากลำบาก ไม่ตั้งใจอ่าน toefl/ielts/gre/gmat ก็ทำได้ แต่ก็ได้แค่มหาวิทยาลัยห้องแถว หรือโปรแกรมเฉพาะของนร.inter ไม่มีหรอกนะที่มหาวิทยาลัยดีๆจะไม่มี requirement เรื่อง toefl/ gmat/Gpaตอนตรี แค่ตรงนี้ยังไม่พยายาม ขี้เกียจสอบ ก็เชิญเข้าสบายๆที่มหาลัยห้องแถวเลย ซึ่งตรงนี้ก็โดนคัดเกรดตั้งแต่ที่ว่า มหาวิทยาลัยหรือโปรแกรมแบบนั้น ไม่ accredit หรือมีสิทธิ์ในการสมัครงานก็ไม่เท่าแล้ว เพราะบริษัทส่วนมากก็ระบุเลยว่า รับเฉพาะ accredited program เท่านั้น ต่อ visa ตอน stem ก็ไม่ได้ มหาลัยห้องแถวก็แค่เป็นทางผ่านให้ได้ปริญญาอีกใบมาประดับว่าจบนอก แล้วเอาไว้สมัครงานในประเทศบ้านเกิดเท่านั้นแหละ พูดจริง ว่าคนที่ไม่ผ่านการสอบ toefl / ielts นี่บางคน เขียนประโยคยาวๆ ยังมั่วๆ grammar ที่ควรจะรู้ตั้งแต่ประถมอยู่เลย
ทีนี้พอมาถึงเรื่องสมัครงาน จริงอยู่ที่ใบเกรด หรือ มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้เป็นตัววัดการทำงานเป็น แต่ถ้ามี 1000 คนมาสมัคร HR จะไม่ตัดช้อยส์อะไรเลย?? จะมีเวลานัดสัมภาษณ์ทั้ง 1000 คนเลย???
แล้วยิ่งถ้าเป็นเด็กจบใหม่ HR ก็ต้องดูจากอะไรที่วัดได้สิ ซึ่งก็คือ สถาบันและเกรด บางคนก็แถอีกว่า เพราะทำกิจกรรมเยอะ เลยไม่มีเวลา ขอถามหน่อย กิจกรรมพวกนั้นมีใครมาจี้คอให้ทำมั้ย?? หน้าที่หลักในมหาลัยยังรับผิดชอบไม่ได้ แต่ไปรับผิดชอบอย่างอื่นแทน?
แล้วที่บอกว่า Google ไม่เห็นแคร์ วัดกันที่การทำงาน ถามจริงๆนะ รู้ได้ไง?? คำพูดสวยหรู CEO จะประิษฐ์ยังไงก็ได้ แต่แน่ใจเหรอว่าไม่สนจริงๆ จากปสก. ทั้งเพื่อน ทั้งแฟนสมัคร google ที่US สิ่งที่ google ทำตั้งแต่แรก คือ screen resume เบื้องต้น จาก keyword ต่างๆ skills ที่ทำเป็น และ 1 ใน keyword นั้น คือมหาวิทยาลัย คือ สมัครเป็นหมื่นๆคน ก็ต้องเริ่มตัดช้อยส์จากอะไรบางอย่าง แล้วพอได้สัมภาษณ์ อันนั้นถึงจะมาแข่งกันจริงๆ ด้านความสามารถ คือ ต่อให้จบ มหาวิทยาลัยอันดับ 1 แต่ทำไม่ได้ เค้าก็ไม่รับจริงๆนั่นแหละ แต่กว่าจะมาคัดที่ความสามารถ แน่นอนว่าเค้าก็ต้องคัดมาจากสถาบันและเกรดก่อน คือ อาจจะมีหลุดมาจากสถาบันไม่ดังบ้าง แต่ก็มั่นใจได้ว่า คนนั้นต้อง"เทพ"จริงๆ
ไปพิสูจน์ดูได้เลยว่า ที่ Google มีพนง.จบจากไหนมาบ้าง คนที่จบไม่ดังมี skills เทพอะไรบ้าง
บริษัทที่US ที่แฟนทำงานอยู่ ก็เป็นระดับ top ของที่นี่ มีสาขาหลายประเทศ พนง.80% คือ จบU ดังๆ ในแต่ละด้านที่เค้าต้องการ อีก 20% จบ U ไม่ดัง แต่ก็ผ่านตอนวัดความสามารถต่างๆ
แล้วบางคนก็แถอีกว่า Mark Zuckerberg ก็เรียนไม่จบยังประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อย เค้าก็ qualify เป็นนศ. Harvard แล้วก็เทพจริงที่คิดโน่นนี่นั่นมาได้ แล้วคิดดูว่าจะมีซักกี่ % ในโลกที่เป็นแบบนี้ ไม่งั้นก็คงมี billionaire กันค่อนโลกแล้ว
แล้วต่อให้จบสถาบันอันดับดีๆของเมืองไทย แต่เมื่อมาระดับโลกก็เป็น nobody จริงๆ
Chula หรือ TU พอมาที่นี่ก็ไม่มีใครรู้จักแล้ว สิ่งที่ต้องพิสูจน์จากนี้ คือ ความสามารถ แต่ก็นั่นแหละ มีโอกาสน้อยจริงๆที่จะได้พิสูจน์ เพราะจะโดนคัด resume ทิ้งไปก่อน ที่พูดมาทั้งหมดนี่ คือ ประสบการณ์จริงว่า จบ TU สมัครงานที่ไหนๆในไทยก็ง่าย ได้เรียกสัมภาษณ์ 90% จากที่สมัคร แต่พอมาที่นี่ ก็ไม่ต่างอะไรกับจบราชภัฎนั่นแหละ U ตอนป.โทก็แค่กลางๆ ได้เรียกสัมภาษณ์ไม่ถึง 10% แต่ก็ไม่เคยรู้สึกไม่เท่าเทียม ก็คิดแค่ว่า ตอนสมัครโท ตั้งใจน้อยไป ถ้าตั้งใจจนได้ u top ของที่นี่ก็คงดีกว่านี้
เรื่องบริษัทคัดเกรดพนง.มันก็เป็นสิ่งที่ทำมาตั้งนานแล้ว ไม่ว่าจะไทย หรือ ตปท. เพียงแต่ SCB ไม่ฉลาดตรงที่มาป่าวประกาศนั่นแหละ จริงๆมันก็เป็นสิทธิ์ของบริษัทด้วย ที่เค้าเลือกคน เค้าจ่ายเงินเดือนให้ทำงาน ก็เหมือนเราเลือกซื้อของนั่นแหละ
แล้วทั้งหมดที่พูดมาก็ไม่ได้บอกว่า คนจบสถาบันไม่ดี จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่คนจบสถาบันไม่ดี ต้องทำ คือ พิสูจน์ตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ได้ คือ ลำบากกว่าคนที่จบที่มหาวิทยาลัยดีๆแน่ๆ แต่ก็ต้องเป็นแบบนั้น เพราะคนพวกนั้นผ่านความลำบากมาแล้วตอนเรียน แบบนี้ก็แฟร์ดีออกที่ถึงเวลาที่คนสถาบันไม่ดีต้องมาพยายามบ้าง พิสูจน์ตัวเองให้ได้ บางคนบอกว่า คนจบสถาบันไม่ดี ทำงานเก่งกว่าพวกมหาลัยดีอีก ก็เชิญพิสูจน์เลยค่ะ ทำงานที่ไหนที่เค้ารับไปก่อน แล้วถ้าเจ๋งจริงก็เอาปสก.ไปup profile เลย
แล้วหยุดพูดซะทีว่า ไม่เท่าเทียม เพราะยังไงในโลกนี้ก็ไม่มีความเท่าเทียมอยู่แล้ว
ที่พูดมาก็คิดไว้บ้างแล้วค่ะ ว่าต้องมีคนไม่เห็นด้วย แต่ก็อยากถ่ายทอดปสก.ว่ายังไงการประสบความสำเร็จที่ไหนๆก็ต้องใช้ความพยายาม ถ้าทุกคนเท่าเทียมกัน ก็คงต้องไปอยู่ Utopia แล้วค่ะ
ขอบคุณที่รับฟังค่ะ
ความคิดเห็นเราต่อเรื่องนี้ (จริงๆอยากตั้งกระทู้ แต่ไม่ได้ยืนยันตัว) ยาวหน่อยนะคะ
เราอ่านแล้วไม่เข้าใจคนที่ออกมาดิ้นจริงๆ คือแทนที่จะเอาเวลาไปสำรวจตัวเองและพัฒนาตัวเอง กลับมาขอความเห็นใจ ว่าโดนกีดกัน สิทธิไม่เท่าเทียม เอาจริงๆ นะ ทำไมคนที่คิดอย่างนี้ ถึงต้องมาเรียกร้องความเท่าเทียม คือ คนเลือกเกิดไม่ได้อะจริง แต่คนเลือกที่จะขยัน ตั้งใจ มีความรับผิดชอบได้ ซึ่งผลลัพธ์ของความตั้งใจ ความรับผิดชอบก็สะท้อนออกมาเป็นสถาบันที่เข้าเรียน กับใบเกรด
Ex. นาย A ตั้งใจเรียนมาก อ่านหนังสือหามรุ่งหามค่ำ หัวไม่ดี ก็เน้นถึก เลยสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่ดีได้ ขณะที่ นาย B ไม่ตั้งใจเรียน ติดเที่ยว ไม่รับผิดชอบการเรียน สุดท้ายเอ็นท์ไม่ติด ต้องเข้ามหาวิทยาลัยรองๆลงมา แต่พอจบมานาย B มาเรียกร้องความเท่าเทียม??? Logic คืออะไร???
อีก1ตัวอย่างที่พิสูจน์ได้เลย คือ ตอนเราสอบ toefl / gmat เพื่อมาเรียน USA ก็อ่านชิลๆ ทำข้อสอบชิลๆ แต่แฟนตั้งใจมาก นอนน้อย งดกิจกรรมการเล่นทุกอย่าง เพื่ออ่านหนังสือ ฝึกทำข้อสอบ สุดท้ายคะแนนแฟนดีมากในครั้งเดียว ได้มหาวิทยาลัยอับดับต้นๆของ USA (และที่เกี่ยวมากๆในการได้ top U คือเกรดตอนเรียนตรี) แล้วตอนเรียนแฟนนอนวันละ 3-4 ชม. หรือไม่นอนเลย เพื่อทำการบ้าน ทำรายงาน แล้วจบ 4.00 ในมหาลัยtopของUSA ในขณะที่เราชิลตั้งแต่ตอนสอบเข้า เลยได้แค่มหาวิทยาลัยกลางๆ เรียนๆไป เพื่อให้จบ ได้เกรด 3กว่าๆ แต่แฟนตั้งใจในทุก step ก็เลยได้มหาลัยดีและจบ4.00
แล้วอีกเรื่อง คนบางคนมาเรียนที่ตปท. แล้วไม่อยากลำบาก ไม่ตั้งใจอ่าน toefl/ielts/gre/gmat ก็ทำได้ แต่ก็ได้แค่มหาวิทยาลัยห้องแถว หรือโปรแกรมเฉพาะของนร.inter ไม่มีหรอกนะที่มหาวิทยาลัยดีๆจะไม่มี requirement เรื่อง toefl/ gmat/Gpaตอนตรี แค่ตรงนี้ยังไม่พยายาม ขี้เกียจสอบ ก็เชิญเข้าสบายๆที่มหาลัยห้องแถวเลย ซึ่งตรงนี้ก็โดนคัดเกรดตั้งแต่ที่ว่า มหาวิทยาลัยหรือโปรแกรมแบบนั้น ไม่ accredit หรือมีสิทธิ์ในการสมัครงานก็ไม่เท่าแล้ว เพราะบริษัทส่วนมากก็ระบุเลยว่า รับเฉพาะ accredited program เท่านั้น ต่อ visa ตอน stem ก็ไม่ได้ มหาลัยห้องแถวก็แค่เป็นทางผ่านให้ได้ปริญญาอีกใบมาประดับว่าจบนอก แล้วเอาไว้สมัครงานในประเทศบ้านเกิดเท่านั้นแหละ พูดจริง ว่าคนที่ไม่ผ่านการสอบ toefl / ielts นี่บางคน เขียนประโยคยาวๆ ยังมั่วๆ grammar ที่ควรจะรู้ตั้งแต่ประถมอยู่เลย
ทีนี้พอมาถึงเรื่องสมัครงาน จริงอยู่ที่ใบเกรด หรือ มหาวิทยาลัยก็ไม่ได้เป็นตัววัดการทำงานเป็น แต่ถ้ามี 1000 คนมาสมัคร HR จะไม่ตัดช้อยส์อะไรเลย?? จะมีเวลานัดสัมภาษณ์ทั้ง 1000 คนเลย???
แล้วยิ่งถ้าเป็นเด็กจบใหม่ HR ก็ต้องดูจากอะไรที่วัดได้สิ ซึ่งก็คือ สถาบันและเกรด บางคนก็แถอีกว่า เพราะทำกิจกรรมเยอะ เลยไม่มีเวลา ขอถามหน่อย กิจกรรมพวกนั้นมีใครมาจี้คอให้ทำมั้ย?? หน้าที่หลักในมหาลัยยังรับผิดชอบไม่ได้ แต่ไปรับผิดชอบอย่างอื่นแทน?
แล้วที่บอกว่า Google ไม่เห็นแคร์ วัดกันที่การทำงาน ถามจริงๆนะ รู้ได้ไง?? คำพูดสวยหรู CEO จะประิษฐ์ยังไงก็ได้ แต่แน่ใจเหรอว่าไม่สนจริงๆ จากปสก. ทั้งเพื่อน ทั้งแฟนสมัคร google ที่US สิ่งที่ google ทำตั้งแต่แรก คือ screen resume เบื้องต้น จาก keyword ต่างๆ skills ที่ทำเป็น และ 1 ใน keyword นั้น คือมหาวิทยาลัย คือ สมัครเป็นหมื่นๆคน ก็ต้องเริ่มตัดช้อยส์จากอะไรบางอย่าง แล้วพอได้สัมภาษณ์ อันนั้นถึงจะมาแข่งกันจริงๆ ด้านความสามารถ คือ ต่อให้จบ มหาวิทยาลัยอันดับ 1 แต่ทำไม่ได้ เค้าก็ไม่รับจริงๆนั่นแหละ แต่กว่าจะมาคัดที่ความสามารถ แน่นอนว่าเค้าก็ต้องคัดมาจากสถาบันและเกรดก่อน คือ อาจจะมีหลุดมาจากสถาบันไม่ดังบ้าง แต่ก็มั่นใจได้ว่า คนนั้นต้อง"เทพ"จริงๆ
ไปพิสูจน์ดูได้เลยว่า ที่ Google มีพนง.จบจากไหนมาบ้าง คนที่จบไม่ดังมี skills เทพอะไรบ้าง
บริษัทที่US ที่แฟนทำงานอยู่ ก็เป็นระดับ top ของที่นี่ มีสาขาหลายประเทศ พนง.80% คือ จบU ดังๆ ในแต่ละด้านที่เค้าต้องการ อีก 20% จบ U ไม่ดัง แต่ก็ผ่านตอนวัดความสามารถต่างๆ
แล้วบางคนก็แถอีกว่า Mark Zuckerberg ก็เรียนไม่จบยังประสบความสำเร็จ แต่อย่างน้อย เค้าก็ qualify เป็นนศ. Harvard แล้วก็เทพจริงที่คิดโน่นนี่นั่นมาได้ แล้วคิดดูว่าจะมีซักกี่ % ในโลกที่เป็นแบบนี้ ไม่งั้นก็คงมี billionaire กันค่อนโลกแล้ว
แล้วต่อให้จบสถาบันอันดับดีๆของเมืองไทย แต่เมื่อมาระดับโลกก็เป็น nobody จริงๆ
Chula หรือ TU พอมาที่นี่ก็ไม่มีใครรู้จักแล้ว สิ่งที่ต้องพิสูจน์จากนี้ คือ ความสามารถ แต่ก็นั่นแหละ มีโอกาสน้อยจริงๆที่จะได้พิสูจน์ เพราะจะโดนคัด resume ทิ้งไปก่อน ที่พูดมาทั้งหมดนี่ คือ ประสบการณ์จริงว่า จบ TU สมัครงานที่ไหนๆในไทยก็ง่าย ได้เรียกสัมภาษณ์ 90% จากที่สมัคร แต่พอมาที่นี่ ก็ไม่ต่างอะไรกับจบราชภัฎนั่นแหละ U ตอนป.โทก็แค่กลางๆ ได้เรียกสัมภาษณ์ไม่ถึง 10% แต่ก็ไม่เคยรู้สึกไม่เท่าเทียม ก็คิดแค่ว่า ตอนสมัครโท ตั้งใจน้อยไป ถ้าตั้งใจจนได้ u top ของที่นี่ก็คงดีกว่านี้
เรื่องบริษัทคัดเกรดพนง.มันก็เป็นสิ่งที่ทำมาตั้งนานแล้ว ไม่ว่าจะไทย หรือ ตปท. เพียงแต่ SCB ไม่ฉลาดตรงที่มาป่าวประกาศนั่นแหละ จริงๆมันก็เป็นสิทธิ์ของบริษัทด้วย ที่เค้าเลือกคน เค้าจ่ายเงินเดือนให้ทำงาน ก็เหมือนเราเลือกซื้อของนั่นแหละ
แล้วทั้งหมดที่พูดมาก็ไม่ได้บอกว่า คนจบสถาบันไม่ดี จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่สิ่งที่คนจบสถาบันไม่ดี ต้องทำ คือ พิสูจน์ตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ได้ คือ ลำบากกว่าคนที่จบที่มหาวิทยาลัยดีๆแน่ๆ แต่ก็ต้องเป็นแบบนั้น เพราะคนพวกนั้นผ่านความลำบากมาแล้วตอนเรียน แบบนี้ก็แฟร์ดีออกที่ถึงเวลาที่คนสถาบันไม่ดีต้องมาพยายามบ้าง พิสูจน์ตัวเองให้ได้ บางคนบอกว่า คนจบสถาบันไม่ดี ทำงานเก่งกว่าพวกมหาลัยดีอีก ก็เชิญพิสูจน์เลยค่ะ ทำงานที่ไหนที่เค้ารับไปก่อน แล้วถ้าเจ๋งจริงก็เอาปสก.ไปup profile เลย
แล้วหยุดพูดซะทีว่า ไม่เท่าเทียม เพราะยังไงในโลกนี้ก็ไม่มีความเท่าเทียมอยู่แล้ว
ที่พูดมาก็คิดไว้บ้างแล้วค่ะ ว่าต้องมีคนไม่เห็นด้วย แต่ก็อยากถ่ายทอดปสก.ว่ายังไงการประสบความสำเร็จที่ไหนๆก็ต้องใช้ความพยายาม ถ้าทุกคนเท่าเทียมกัน ก็คงต้องไปอยู่ Utopia แล้วค่ะ
ขอบคุณที่รับฟังค่ะ
แสดงความคิดเห็น
[ปมดราม่า SCB] จากความคิดของเด็กคนนึง
อย่างแรก ส่วนตัวผมคิดว่าเขามีสิทธิ์ที่จะเลือกน่ะ เพราะเขาเป็นผู้จ่ายเงินเดือน ก็เหมือนกับเราทุกคนแหล่ะครับที่เดินตลาดเพื่อซื้อของมาใช้ หากลองคิดดูนักศึกษาจบใหม่ก็เปรียบเสมือนกับตลาดแรงงานที่ผู้ซื้อในที่นี้คือบริษัทต่างๆเข้ามาหา บางครั้งหากสินค้าเกรดดี ก็ไปซื้อไปจองกันถึงโรงงานถึงสวนกันเลยทีเดียว ก็เหมือนกับชีวิตนักศึกษาแหล่ะครับ หากมีคุณภาพบริษัทใหญ่ๆเขาก็เข้าไปจองตัวก่อนจบเสียอีก ถูกไหมละครับ ? แต่ก็ใช่ว่าที่มาขายตามตลาดจะไม่ใช่สินค้าด้อยคุณภาพน่ะครับ บางครั้งการไปหาถึงที่ก็ใช่ว่าจะทั่วถึง จึงกลายเป็นตลาดหรือการนำเสนอขายต่อผู้ซื้อโดยตรงเพื่อให้เขาดูสินค้า คราวนี้ SCB เขาก็เปรียบเสมือนพ่อค้าคนกลาง เขาก็ต้องเลือกสินค้าที่เขาเชื่อใจและเชื่อถือได้เป็นหลัก เพื่อกลุ่มลูกค้าของเขา การที่ SCB เขาคัดอย่างนี้ผมว่าก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ที่ดีสำหรับลูกค้าอย่างเราน่ะครับ เพราะเปอร์เซ็นต์ที่เราจะได้รับการบริการที่ดีก็มีมาก ถูกครับ !! "คนที่จบจากราชภัฏใช่ว่าจะไม่เก่ง อย่ามาตัดสินคนจากสถานศึกษา" แต่ราชภัฏ 100 คน จบออกมา จะมีถึง 10 คนไหมครับ ที่จะมีคุณภาพสุดๆ เทียบกับ ม.ดังๆ จบมา 100 คน จะมีสัก 10 คนไหมละครับ ที่ไม่ได้เรื่อง ! ถ้าไม่อย่างงั้น เด็ก ม.6 หลายๆคนจะยอมอดหลับอดนอนเพื่อแย่งเก้าอี้ ม.ดัง กันทำไม ? ถ้าคุณเลือกได้ คุณจะเลือกอันไหนครับ ? ที่นี่ประเทศไทยน่ะครับ ! อีกอย่างเขาเป็นนักลงทุน เขาก็ต้องหวังกับไรสูงสุดอยู่แล้ว
อีกข้อ ตอนนี้ผมเป็นนักศึกษาครับ ซึ่งมหาวิทยาลัยที่ผมเรียนอยู่ก็ไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ 14 มหาวิทยาลัยลัยที่ที่ปรากฎอยู่ในประกาศ แต่ผมไม่ได้ซีเรียสอะไรเลย อีกอย่างมหาวิทยาลัยไทยมีอยู่ตั้งหลายแห่งนี่ครับ แต่ทำไมเขาถึงไม่ได้ออกมาดราม่าเหมือนราชภัฏ-ราชมงคลเลย แทนที่จะออกมาแสดงความไม่พอใจ ตัดพ้อต่อว่าเขา พยายามจะเรียกร้อง ทำไมเราไม่พัฒนาตัวเองให้ดีเพื่อให้เขาเห็นศักยภาพละครับ มันน่าภูมิใจมากกว่ามั้ย ? อยากให้ลองคิดหลายๆมุมครับ
แต่ล่าสุด SCB เขาก็ออกมาประกาศแล้วว่าไม่ได้รับแค่ 14 มหาวิทยาลัยนั้นนิครับ
ปูเสือรอโดนด่า -..-
ปล.ขออภัยหากแท็กผิดห้อง