“คนจบจากสถาบันดัง เรียนสูง เกรดดี มีโอกาสมีอีโก้มากเกินไป” ผลเหตุหนึ่งที่ Google ไม่สนเกรดและสถาบันในการคัดเลือกพนักงาน…แล้วคุณคิดเห็นอย่างไร?
ถ้าใครติดตาม The CEO Blogger น่าจะเคยได้ยินผมเล่าให้ฟังเป็นระยะๆว่าผมได้ทำงานดูแลแผนกจัดซื้อต่างประเทศและขึ้นตรงกับเจ้าของบริษัทโดยใช้เพียงวุฒิมัธยมเท่านั้น เรื่องนี้ขัดแย้งกับความเชื่อและบรรทัดฐานของสังคมว่าการทำงานดังกล่าวต้องจบปริญญาและยิ่งเป็นงานบริหารต้อง MBA!
แต่ในโลกของความเป็นจริงผมเชื่อเสมอว่าการศึกษาเป็นคนละเรื่องกับชีวิตจริง และความสามารถในการทำงาน การคิด วิธีคิดนั้นไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการศึกษาในระบบ งานที่ผมทำไม่มีอะไรที่มีสอนในโรงเรียน และสิ่งที่ผมคิดได้ในงาน โรงเรียนก็ไม่เคยสอน!
ในอดีตบริษัทใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริษัทเก่าแก่ในอเมริกามีความยึดติดกับสถาบันการศึกษาและเกรดการเรียนของผู้สมัครงานมาก แต่ปัจจุบัน ความเห็นเรื่องการศึกษาในระบบกับศักยภาพในการทำงานของคนเป็นคนละเรื่องเริ่มแผ่ไปยังบริษัทเอกชนโดยเฉพาะบริษัทคนรุ่นใหม่โดยล่าสุดผู้บริหาร Google เองก็ยอมรับแนวคิดนี้และเล่ากับสื่อว่าพวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับสถาบันการศึกษาและเกรดของผู้สมัครงาน ทำไม? แล้วพวกเขาให้ความสำคัญกับอะไรแทน?…
Laszlo Bock ตัวแทนฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ Google เคยให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวของ New York Times ว่า
1. คนจบจากสถาบันดัง เรียนสูง เกรดดี มีโอกาสมีอีโก้มากเกินไป
Google เปรียบคนที่เรียนเก่งมากๆ เมื่อทำงานอาจกลายเป็นคนจับจดทำอะไรไม่จบเพราะมัวขัดเกลาให้สมบูรณ์แบบชนิดผิดไม่ได้ และยอมให้คนอื่นติติงเห็นต่างไม่ได้
Google ต้องการคนที่มีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะน้อมรับความเห็นและถอยหลังหนึ่งก้าวเพื่อพัฒนาตัวเองไปข้างหน้าเสมอ หากเปรียบกับวลีไทยๆ ก็คือ คนที่ทำตัวเป็นน้ำพร่องแก้วย่อมมีที่ให้เติม แต่คนที่เป็นน้ำเต็มแก้วนั้นสอนหรือเรียนรู้อะไรอีกไม่ได้เลย
2. คนที่สร้างผลงานและมีประสบการณ์จริงด้วยตัวเอง ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบคือทรัพยากรบุคคลที่มีค่ามาก
คนเก่งๆ ที่ประสบความสำเร็จ มีผลงาน มีประสบการณ์ โดยที่เรียนไม่จบมีมากมายแต่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เราไม่สามารถใช้วิธีเข้าไปสรรหาพวกเขาตามสถาบันชั้นนำแบบที่บริษัทใหญ่ๆในอดีตนิยมทำ (ตั้งโต๊ะซื้อตัวหน้ามหาวิทยาลัยในฤดูจบการศึกษา)
หลายทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาในระบบอันแพงลิ่วก็ไม่ส่งมอบผลิตผลบัณฑิตที่มีคุณภาพได้ตามปรัชญามาแต่ไหนแต่ไร บัณฑิตจำนวนมากจบมาพร้อมกับหนี้สินและความรู้ที่ไม่สามารถนำไปหาเงินใช้หนี้ให้ตัวเองได้
ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ Google เจอคนเก่งๆ ที่ปรากฏตัวอยู่นอกระบบการศึกษา มันเปรียบเสมือนการเจอของจริงที่ต้องล่าพามาเป็นทรัพยากรบุคคลของบริษัทให้ได้
3. ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วมีความสำคัญกว่า IQ
Bock บอกว่าคนที่ประสบความสำเร็จในสถาบันการศึกษาในระบบไม่อาจเป็นหลักประกันได้ว่าจะเป็นคนทำงานเก่ง ทั้งนี้สภาพแวดล้อมในรั้วมหาวิทยาลัยถูกจัดวางมาเสมือนห้องทดลอง เขาเรียกว่า “artificial environment” อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดมาแล้วและนักศึกษาก็ถูกสอนให้คิดแบบเป็นเส้นตรงและอยู่ในกรอบ
สำหรับกูเกิ้ล… ความฉลาดแบบ IQ มีความสำคัญน้อยกว่าความสามารถในการเรียนรู้เร็วแบบเรียนไปทำไปปรับตัวไป! พวกเขามองหาคนที่มีความสามารถในการคิดและจับต้นชนปลายข้อมูลดิบต่างๆ ที่แตกกระจายเป็นส่วนๆ มาตกผลึกทางความคิดและสร้างแนวทางการทำงานหรือแก้ปัญหาได้ โดยมีแบบทดสอบเพื่อใช้พิจารณาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเรียกว่า structured behavioral interviews
สรุป
ผมจำได้ว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน บริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือต่างประเทศต่างให้ความสำคัญของสถาบันการศึกษา
บางแห่งจะรับคนต้องยึดเอาจากชื่อสถาบันที่จบ
ให้ความสำคัญกับเกรด ต้องเกรด 3.00 ขึ้นไปหรือ 4.00 เป๊ะถึงจะรับทำงาน
ดูคณะ ดูเกียรตินิยม ฯลฯ
แต่วันนี้โลกของเรามีปริมาณบัณฑิตล้นหลามเกินกว่าตำแหน่งงานจะรับไหว คนจบปริญญาตรีออกมาพิมพ์เดียวกันหมด ดังนั้นวุฒิตอบอะไรไม่ได้มากอีกแล้ว บริษัทขนาดเล็กเติบโตเร็วโดยเฉพาะพวกเทคสตาร์ทอัพต่างพากันให้ความสนใจกับพวก Independence คนเก่งที่มีหัวคิดอิสระ เรียนไปทำงานไปแล้วสามารถสร้างผลงานของตัวเองขึ้นมาได้
ในประเทศไทยอาจจะยังไม่ค่อยบูม แต่ในอเมริกามีคนเหล่านี้ปรากฏตัวขึ้นทีละน้อยๆ หากพวกเขารู้ว่าใครเป็นคนเก่งในสายงานที่เขาต้องการ แม้ยังเรียนไม่จบก็อาจเป็นข้อยกเว้นเพื่อขอตัวมาร่วมทีมกับนายจ้างไฮเทคเหล่านั้นครับ
มันต้องอย่างนี้ ! >>> จบสูง เกรดสวย ไม่ช่วยอะไร เมื่อ Google ประกาศไม่สนเกรดและสถาบัน
ถ้าใครติดตาม The CEO Blogger น่าจะเคยได้ยินผมเล่าให้ฟังเป็นระยะๆว่าผมได้ทำงานดูแลแผนกจัดซื้อต่างประเทศและขึ้นตรงกับเจ้าของบริษัทโดยใช้เพียงวุฒิมัธยมเท่านั้น เรื่องนี้ขัดแย้งกับความเชื่อและบรรทัดฐานของสังคมว่าการทำงานดังกล่าวต้องจบปริญญาและยิ่งเป็นงานบริหารต้อง MBA!
แต่ในโลกของความเป็นจริงผมเชื่อเสมอว่าการศึกษาเป็นคนละเรื่องกับชีวิตจริง และความสามารถในการทำงาน การคิด วิธีคิดนั้นไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับการศึกษาในระบบ งานที่ผมทำไม่มีอะไรที่มีสอนในโรงเรียน และสิ่งที่ผมคิดได้ในงาน โรงเรียนก็ไม่เคยสอน!
ในอดีตบริษัทใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริษัทเก่าแก่ในอเมริกามีความยึดติดกับสถาบันการศึกษาและเกรดการเรียนของผู้สมัครงานมาก แต่ปัจจุบัน ความเห็นเรื่องการศึกษาในระบบกับศักยภาพในการทำงานของคนเป็นคนละเรื่องเริ่มแผ่ไปยังบริษัทเอกชนโดยเฉพาะบริษัทคนรุ่นใหม่โดยล่าสุดผู้บริหาร Google เองก็ยอมรับแนวคิดนี้และเล่ากับสื่อว่าพวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญกับสถาบันการศึกษาและเกรดของผู้สมัครงาน ทำไม? แล้วพวกเขาให้ความสำคัญกับอะไรแทน?…
Laszlo Bock ตัวแทนฝ่ายทรัพยากรบุคคลของ Google เคยให้ข้อมูลกับผู้สื่อข่าวของ New York Times ว่า
1. คนจบจากสถาบันดัง เรียนสูง เกรดดี มีโอกาสมีอีโก้มากเกินไป
Google เปรียบคนที่เรียนเก่งมากๆ เมื่อทำงานอาจกลายเป็นคนจับจดทำอะไรไม่จบเพราะมัวขัดเกลาให้สมบูรณ์แบบชนิดผิดไม่ได้ และยอมให้คนอื่นติติงเห็นต่างไม่ได้
Google ต้องการคนที่มีความยืดหยุ่น พร้อมที่จะน้อมรับความเห็นและถอยหลังหนึ่งก้าวเพื่อพัฒนาตัวเองไปข้างหน้าเสมอ หากเปรียบกับวลีไทยๆ ก็คือ คนที่ทำตัวเป็นน้ำพร่องแก้วย่อมมีที่ให้เติม แต่คนที่เป็นน้ำเต็มแก้วนั้นสอนหรือเรียนรู้อะไรอีกไม่ได้เลย
2. คนที่สร้างผลงานและมีประสบการณ์จริงด้วยตัวเอง ตั้งแต่ยังเรียนไม่จบคือทรัพยากรบุคคลที่มีค่ามาก
คนเก่งๆ ที่ประสบความสำเร็จ มีผลงาน มีประสบการณ์ โดยที่เรียนไม่จบมีมากมายแต่กระจายอยู่ตามที่ต่างๆ เราไม่สามารถใช้วิธีเข้าไปสรรหาพวกเขาตามสถาบันชั้นนำแบบที่บริษัทใหญ่ๆในอดีตนิยมทำ (ตั้งโต๊ะซื้อตัวหน้ามหาวิทยาลัยในฤดูจบการศึกษา)
หลายทศวรรษที่ผ่านมา การศึกษาในระบบอันแพงลิ่วก็ไม่ส่งมอบผลิตผลบัณฑิตที่มีคุณภาพได้ตามปรัชญามาแต่ไหนแต่ไร บัณฑิตจำนวนมากจบมาพร้อมกับหนี้สินและความรู้ที่ไม่สามารถนำไปหาเงินใช้หนี้ให้ตัวเองได้
ฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ Google เจอคนเก่งๆ ที่ปรากฏตัวอยู่นอกระบบการศึกษา มันเปรียบเสมือนการเจอของจริงที่ต้องล่าพามาเป็นทรัพยากรบุคคลของบริษัทให้ได้
3. ความสามารถในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเร็วมีความสำคัญกว่า IQ
Bock บอกว่าคนที่ประสบความสำเร็จในสถาบันการศึกษาในระบบไม่อาจเป็นหลักประกันได้ว่าจะเป็นคนทำงานเก่ง ทั้งนี้สภาพแวดล้อมในรั้วมหาวิทยาลัยถูกจัดวางมาเสมือนห้องทดลอง เขาเรียกว่า “artificial environment” อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดมาแล้วและนักศึกษาก็ถูกสอนให้คิดแบบเป็นเส้นตรงและอยู่ในกรอบ
สำหรับกูเกิ้ล… ความฉลาดแบบ IQ มีความสำคัญน้อยกว่าความสามารถในการเรียนรู้เร็วแบบเรียนไปทำไปปรับตัวไป! พวกเขามองหาคนที่มีความสามารถในการคิดและจับต้นชนปลายข้อมูลดิบต่างๆ ที่แตกกระจายเป็นส่วนๆ มาตกผลึกทางความคิดและสร้างแนวทางการทำงานหรือแก้ปัญหาได้ โดยมีแบบทดสอบเพื่อใช้พิจารณาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเรียกว่า structured behavioral interviews
สรุป
ผมจำได้ว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน บริษัทต่างๆ ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือต่างประเทศต่างให้ความสำคัญของสถาบันการศึกษา
บางแห่งจะรับคนต้องยึดเอาจากชื่อสถาบันที่จบ
ให้ความสำคัญกับเกรด ต้องเกรด 3.00 ขึ้นไปหรือ 4.00 เป๊ะถึงจะรับทำงาน
ดูคณะ ดูเกียรตินิยม ฯลฯ
แต่วันนี้โลกของเรามีปริมาณบัณฑิตล้นหลามเกินกว่าตำแหน่งงานจะรับไหว คนจบปริญญาตรีออกมาพิมพ์เดียวกันหมด ดังนั้นวุฒิตอบอะไรไม่ได้มากอีกแล้ว บริษัทขนาดเล็กเติบโตเร็วโดยเฉพาะพวกเทคสตาร์ทอัพต่างพากันให้ความสนใจกับพวก Independence คนเก่งที่มีหัวคิดอิสระ เรียนไปทำงานไปแล้วสามารถสร้างผลงานของตัวเองขึ้นมาได้
ในประเทศไทยอาจจะยังไม่ค่อยบูม แต่ในอเมริกามีคนเหล่านี้ปรากฏตัวขึ้นทีละน้อยๆ หากพวกเขารู้ว่าใครเป็นคนเก่งในสายงานที่เขาต้องการ แม้ยังเรียนไม่จบก็อาจเป็นข้อยกเว้นเพื่อขอตัวมาร่วมทีมกับนายจ้างไฮเทคเหล่านั้นครับ