นักวิทยาศาสตร์อิสลามที่โลกลืม



อาบู อาลี มุฮำมัด อิบนุ อัลหะสัน อิบนุ อัลหะสัน อัล ฮัยษัม อัลบัศรี
Abu All al-Hasan ibn al-Hasan ibn al-Haytham
ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ อัลฮาเซน(Alhazen)


    อาบู อาลี อิบนุ อัล ฮัยษัม เกิดที่ บัศเราะฮฺ ประเทศอิรัก ในปี ฮ.ศ.354 (ค.ศ.965) เขาได้เห็นความรุ่งเรืองในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ การแพทย์และอื่นๆ เขาจึงหันไปศึกษาในสาขาวิชาเรขาคณิตและการมองเห็น(แสงและสายตา) เขาได้อ่านหนังสือมากมายจากบรรดานักวิชาการที่โด่งดังก่อนหน้าเขา ทั้งที่มาจากกรีกและมาจากอันดะลุส(สเปน) อย่างเช่น อัซซะห์รอวี และคนอื่นๆ เขาได้เขียนหนังสือในเรื่องทางการแพทย์หลายเล่ม และได้ร่วมวางกฎเกณฑ์ที่เริ่มที่อัซซะห์รอวีได้ริเริ่ม

   อิบนุ อัลฮัยษัม ใช้ชีวิตในแบกแดดอย่างสันโดษ มีความชำนาญเฉพาะในเรื่องทางการแพทย์ด้านสายตา แต่ชาวแบกแดดชอบถามเขาในทุกเรื่อง เพราะเป็นที่รู้ว่าอัลฮัยษัมเป็นคนเก่ง จึงนับว่าเขาเป็นผู้กว้างขวางในวิชาความรู้ โดยเฉพาะเรื่องสายตาและการมองเห็น นอกจากนี้เขายังเป็นผู้รู้ด้านดาราศาสตร์ เรขาคณิต คณิตศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ จักษุแพทย์ ปรัชญา ฟิสิกส์ และจิตวิทยา

   อิบนุ อัลฮัยษัม บางครั้งถูกเรียกว่า อัลบัศรี เพราะเกิดที่เมืองบัศเราะฮฺ(Basra البصرة) ชาวลาตินยุโรปจะเรียกชื่อท่านว่า alhacen หรือ alhazenและได้รับการขนานนามเป็น Ptolemaeus Secundus

   อิบนุ อัลฮัยษัม หรือ อัลฮาเซน ได้หักล้างทฤษฎีของยูคลิด (Euclid) และปโตเลมี(Ptolemy)ปราชญ์ชาวกรีกที่สอนกันมาเป็นเวลาพันกว่าปีว่าแสงจากดวงตามนุษย์ส่งออกไปยังวัตถุทำให้มองเห็นวัตถุ แต่อิบนุอัลฮัยษัมเป็นคนแรกที่อธิบายว่าการที่มองเห็นวัตถุเพราะแสงจากวัตถุสะท้อนเข้ามาสู่สายตา มิใช่ตาของมนุษย์ส่งแสงออกไปดังเช่นที่ยูคลิดและปโตเลมีเคยสอนไว้ เขาใด้การทดลองโดยใช้ห้องมืดในการพิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าว ต่อมางานวิจัยของอิบนุฮัยษัมได้ถูกอ้างอิงซ้ำและศึกษาเพิ่มเติมโดยนักวิทยาศาสตร์เปอร์เซียชื่อ กามาลุดดีน อัล-ฟาริซี (كمال‌الدين ابوالحسن محمد فارسی ค.ศ.1267-1319) ซึ่งได้สังเกตลำแสงภายในลูกแก้ว เพื่อศึกษาการสะท้อนของแสงแดดในละอองฝน ผลการศึกษานี้ทำให้เขาสามารถอธิบายการเกิดรุ้งกินน้ำเป็นคนแรกของโลก



ภาพวาดแสดงการอธิยายของอิบนุอับฮัยษัมถึงการสะท้อนของแสงเข้าสู่สายตาทำให้มองเห็นวัตถุไม่ใช่แสงจากตาไปยังวัตถุ

ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 11 อิบนุอัลฮัยษัมได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับการมองเห็นของมนุษย์ โดยหักล้างความเห็นของ Galen, Euclid และ Ptolemy และ

รูปต่อไปนี้เป็นการแสดงลักษณะการมองเห็นของดวงตาทั้งสองข้าง เกี่ยวเนื่องประสาทสายตาและสมอง










อาบู อาลี อัลหุเซน อิบนุ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัลหะซัน อิบนุ ซีนา
Abu  Ali al- Husayn ibn Abd Allah ibn al-Husayn ibn Sina (ฮ.ศ.370-428 : ค.ศ.980-1037)
ชาวตะวันตกรู้จักในชื่อ อเวศซินา(Avicenna)


อาบู อาลี อัลหุเซน อิบนุ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัลหะซัน อิบนุ ซีนา รู้จักกันในนาม อิบนุซีนา เป็นมุสลิมรอบรู้คนหนึ่ง เป็นชาวเปอร์เซียเกิดเมื่อปี ฮ.ศ.370 (ค.ศ.980)ที่เมืองอัฟชานะฮฺ เตอร์กมินิสถาน ใกล้กับบุคอรอ (ปัจจุบันในประเทศอุสเบกีสถาน) บิดาเป็นคนบัลค์ในอัฟกานีสถาน มารดาเป็นชาวบ้านธรรมดา และเสียชีวิตที่ หุมาดาน(ในอิหร่านปัจจุบัน) เมื่อปี ฮ.ศ. 428 (ค.ศ. 1037)

   อิบนุซีนา มีความชำนาญในหลายด้าน ได้ท่องอัลกุรอานมาตั้งแต่อายุ 10 ขวบ เป็นแพทย์และเป็นนักปราชญ์มุสลิมในเวลานั้น เช่นกันเขาได้ถูกนับเป็นนักดาราศาสตร์ นักเคมี นักฟิสิกส์ นักกลอน นักคณิตศาสตร์ นักธรณีวิทยา นักตรรกศาสตร์  นักจิตวิทยา เป็นผู้รู้ เป็นทหาร เป็นประชาชนที่ดีของรัฐอิสลาม รวมทั้งเป็นผู้รอบรู้ในเรื่องศาสนา

   อิบนุซีนา บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นชีคุรฺเราะอีส الشيخ الرئيس (ประธานผู้รอบรู้) ชาวตะวันตกจะนับว่าเป็นผู้นำทางการแพทย์และบิดาแห่งการแพทย์ศาสตร์สมัยใหม่

   อิบนุซีนาได้มาเกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข เมื่อเกิดวิกฤตการณ์แพร่ระบาดโรคในอาณาจักรที่เขาอาศัยอยู่เขาจึงต้องรับหน้าที่เป็นแพทย์ โดยเป็นแพทย์ประจำพระองค์เจ้าชายต่างๆ และช่วงสุดท้ายของชีวิตเขาได้เป็นรัฐมนตรีของรัฐ หนังสือและตำราของอิบนุซีนาทั้งหมดมีมากกว่า 450 เรื่อง ที่สำคัญที่สุดคือ เป็นหนังสือทางการแพทย์และเภสัช

หนังสือ القانون في الطب  al-Qanun fi al-Tibb (The Canon of Medicine “The Law of Medicine”) เป็นตำราทางแพทย์ที่ชาวยุโรบใช้มานาน

หนังสือ كتاب الشفاء Kitab al-Shifa (The Book of Healing) เป็นเป็นหนังสือทางวิทยศาสตร์ ปรัชญาและจิตวิทยา

    นอกจากนี้ อเวศซินาหรืออิบนุซีนาคิดว่า แสงมีความเร็วจำกัด จึงพัฒนาเครื่องมือวัดอย่างละเอียด โดยใช้ air thermometer
อิบนุซีนานับว่าเป็นคนแรกที่ใช้วิธีการรักษาโรคโดยใช้วิธีการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง
           ในการรักษาโรคหายใจไม่ออกอันเนื่องมาจากหลอดลมตีบตัน อิบนุซีนาได้คิดค้นท่อหายใจทำมาจากทองคำและเงิน รักษาด้วยการซอดเข้าไปทางปากเข้าสู่หลอดลม และวิธีการนี้ยังใช้อยู่จนถึงปัจจุบันเพียงเปลี่ยนจากการใช้ทองคำเป็นปลาสติกหรือยางแทน
           การรักษาผู้ป่วยทางศีรษะ อิบนุซีนาพบว่ากระดูกกะโหลกศีรษะไม่เหมือนกับกระดูกทั่วไป การสานต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะจะอ่อนมากเมื่อเทียบกับกระดูกทั่วไป
           ทางด้านปรสิตวิทยาทางการแพทย์ อิบนุซีนาเป็นคนแรกที่ค้นพบพยาธิปากขอ(Ancylostoma) เขาได้พบก่อน Dubini (1843) ชาวอิตาลีนานถึง 9 ศตวรรษและความสามารถอื่นๆ อีกมากมายที่ท่านเป็นคนริเริ่ม


ภาพหน้าหนึ่งของหนังสือ  القانون في الطب (Canon of Medicine) เล่มที่ 5
ที่ตีพิมพ์ในศตวรรษ์ที่ 14 อธิบายอวัยวะภายในหลายรวมทั้งกะโหลกศีรษะและกระดูก








ABU AL-QASIM KHALAF IBN AL-ABBAS AL-ZAHRAWI(ฮ.ศ.324 – 403 : ค.ศ.936 – 1013)
ทางตะวันตกรู้จักในชื่อ ABULCASIS , ABUCASIS

    อะบู กอซิม อัซ-ซะห์รอวี เป็นแพทย์มุสลิมอันดะลุเซีย(สเปน) เกิดที่ อัลซะฮฺเราะฮฺ (ห่างจาก กุรตุบะฮฺ(กอโดบา)ในสเปน ประมาณ 6 ไมล์) เป็นศัลยแพทย์ นักเคมี นักศัลยกรรมตกแต่ง และเป็นนักวิทยาศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นบิดาศัลยแพทย์สมัยใหม่
ในสมัยกลางมุสลิมมีการแพทย์ที่ครอบคลุมและสมบูรณ์ ตำราทางการแพทย์นอกจากจะมีเป็นภาษาอาหรับของโลกอิสลามแล้วยังได้แปลเป็นภาษายุโรปและใช้จนถึงยุคสมัยที่ก้าวหน้า อัซ-ซะห์รอวีเป็นคนหนึ่งที่เป็นผู้ร่วมพัฒนาทางวิชาการแพทย์ เขาเป็นเจ้าของหนังสือนับเป็นประวัติศาสตร์ทางการแพทย์ คือ หนังสือ كتاب التصريف لمن عجز عن التأليف (KITAB AL-TASRIF) มีทั้งหมด 30 เล่มเป็นสารานุกรมทางการแพทย์ เป็นหนังสือที่ใช้ควบคู่กับหนังสือของ อิบนุซีนา เป็นเวลานานถึง 5 ศตวรรษ

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่