เทคโนโลยีกระสุนนำวิถีของปืน 76/62 OTTO



           ปัจจุบันกองทัพเรือหลายประเทศได้มีการพัฒนาระบบอาวุธต่างๆ ให้มีความทันสมัย มีประสิทธิภาพในการใช้งานมากยิ่งขึ้น
และอาวุธประเภทปืนใหญ่เรือนั้นก็ยังคงมีความสำคัญลำดับต้นๆ โดยปืน 76/62 OTTO MELARA นั้นก็ได้รับความเชื่อถืออย่างกว้างขวาง
และถึงแม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพแล้ว ก็ยังมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไปอีกขั้นด้วยการเพิ่มระบบนำวิถีเข้าไป
ในกระสุนปืน จุดประสงค์เพื่อเพิ่มความแม่นยำให้ทัดเทียมกับระบบอาวุธปล่อยนำวิถี โดยมีประเภทที่น่าสนใจดังนี้

          1. ลูกปืนแบบ DRAT สำหรับปืน 76/62 STRALES
            DART (Driven Ammunition Reduce Time of Flight) - เป็นลูกปืนนำวิถีลดเวลาโคจรและมีระบบนำวิถี โดยตัวลูกปืนจะมีการติดตั้ง
ปีกสำหรับปรับวิถีโคจรให้อยู่ในลำคลื่นวิทยุ (Beam Axis) ที่ส่งจะระบบควบคุมการยิงจากเรือไปยังเป้าหมาย (แบบเดียวกับระบบอาวุธปล่อยนำวิถี)
ใช้สำหรับต่อต้านอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นแบบทั่วไป และแบบความเร็วเหนือเสียง รวมทั้งต่อต้านอากาศยานอีกด้วย โดยระยะยิงหวังผลของกระสุน
DART นี้จะอยู่ที่ 8 กิโลเมตร ระยะยิงไกลสุดอยู่ที่ 35 กิโลเมตร ความเร็วเฉลี่ย 1,200 เมตร/วินาที

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

Gun 76/62 STRALES system


STRALES System - เป็นระบบพิเศษสำหรับระบบปืน 76/62 ซึ่งประกอบด้วยส่วนหลัก 3 ส่วน
                           1.Gun 76/62
                           2.DART guided munitions
                           3.Guided system
                           ซึ่งระบบ STRALES นี้เป็นข้อได้เปรียบของเทคโนโลยีปืนใหญ่ที่สามารถเพิ่มความแม่นยำให้
                           เทียบเท่าระบบอาวุธปล่อยนำวิถี และยังสามารถติดตั้ง STRALES KIT ให้กับเรือที่มีปืน 76/62 ระบบเก่าได้
                           และสามารถใช้งานร่วมกับระบบอำนวยการรบที่มีอยู่แล้วได้อีกด้วย


ภาพการนำวิถีโคจรของระบบ 76/62 STRALES


ภาพลูกปืน 76/62 DART


ภาพส่วนประกอบของลูกปืน 76/62 DART


ภาพขณะลูกปืนกำลังออกจากลำกล้องปืน

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
          2. ลูกปืนแบบ VULCANO สำหรับปืน 76/62
           VULCANO (Long Rang High Accuracy Ammunition Family) - มีทั้งแบบนำวิถีและไม่นำวิถี สามารถทำการยิงได้ไกลและ
มีความแม่นยำสูง ใช้สำหรับสนับสนุนการยิงฝั่งและต่อต้านเรือผิวน้ำ สำหรับแบบไม่นำวิถีระยะยิงไกลสุด 30 กิโลเมตร และสำหรับแบบนำวิถี
ระยะไกลสุดอยู่ที่ 40 กิโลเมตร โดยใช้ GPS/INS ช่วยนำทางและใช้ IR/SAL (Infrared/Semi-Active LASER) ในการนำวิถีเข้าสู่เป้าหมาย
           ระบบ VULCANO เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับปืน 76/62 โดยเพิ่มระยะยิงเป็น 2 เท่าของระบบ 76/62 เดิม และยังสามารถที่จะ
ติดตั้ง VULCANO KIT ให้กับเรือที่มีระบบปืน 76/62 เก่าได้ โดยจะวางจำหน่ายในปี ค.ศ.2015 - 2016


ภาพลูกปืน 76/62 VULCANO


ภาพส่วนประกอบของลูกปืน 76/62 VULCANO

        จะเห็นได้ว่าการพัฒนาระบบอาวุธนั้นมีการพัฒนาไปมาก ซึ่งต่อไปเราอาจจะเห็นอาวุธปล่อยนำวิถีหรือ
กระสุนนำวิถีที่สามารถหลบหลีกอาวุธต่อต้าน หรือแม้แต่ซ่อนพลางตัวจากการตรวจจับของเซ็นต์เซอร์ก็เป็นได้
จากจินตนาการในหนัง Sci-fi กำลังจะทะลุออกมาเป็นเรื่องจริงแล้วครับ อมยิ้ม36


แหล่งอ้างอิง - http://www.otomelara.it/products-services/guided-ammunition/dart-1
                   http://www.otomelara.it/products-services/guided-ammunition/vulcano-76



เนื้อหาเพิ่มเติม

RAILGUN


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



          ปืนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Gun) เป็นงานวิจัยทางทหารที่จับตามองเป็นอย่างมาก
เนื่องจากเป็นการเริ่มต้นเทคโนโลยีปืนใหญ่แบบใหม่ ซึ่งการยิงลูกกระสุนปืนออกไปนั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งดินขับลูกปืนอีกต่อไป
แต่แทนที่ด้วยพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าในการพลักดันให้ลูกกระสุนเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแทน การทำงานดังกล่าวนี้
ประกอบด้วยหลักการทางฟิสิกส์สองประการคือ กฎของแอมแปร์ (Ampere's Law) และ แรงลอเรนซ์ (Lorentz Force)


ภาพหลักการทำงานของปืนพลังแม่เหล็กไฟฟ้า



สื่ออะนิเมชั่นการทำงานของระบบปืนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า


          หลักการทำงาน - ปืนพลังแม่เหล็กไฟฟ้านี้จะประกอบด้วยรางนำไฟฟ้า 2 รางขนานกัน และใช้ลูกปืนเป็น
ตัวนำไฟฟ้าระหว่าง 2 ราง เมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าก็จะเกิดสนามแม่เหล็กและแรงลอเรนซ์ ซึ่งให้เห็นภาพง่ายๆด้วย
กฎมือขวา ซึ่งแรงลอเรนซ์นี้ก็จะเป็นพลังผลักให้ลูกกระสุนปืนเคลื่อนที่ไปข้างหน้า โครงการทดลองปืนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าของ
ทร.สหรัฐ ช่วงแรกสามารถเร่งความเร็วต้นลูกปืนน้ำหนัก 250 กรัม ได้ถึง 1,000 เมตร/วินาที (ประมาณ 3 เท่าของความเร็วเสียง)
โดยความยาวลำกล้องที่ทดสอบคือ 1.2 เมตร ในปัจจุบันสามารถเร่งความเร็วต้นลูกปืนน้ำหนัก 10 กิโลกรัม ได้ 2,382 เมตร/วินาที
(ประมาณ 7 เท่าของความเร็วเสียง) โดยเป้าหมายของโครงการอยู่ที่การทำให้ลูกปืนน้ำหนัก 20 กิโลกรัม มีความเร็วต้นอยู่ที่
2,500 เมตร/วินาที (ประมาณ 7 เท่าของความเร็วเสียง) ในความยาวลำกล้องประมาณ 10 เมตร (พูดง่ายๆ คือ เร่งความเร็วจาก
0 - 2,500 เมตร/วินาที ในระยะทาง 10 เมตร นั่นเองครับ)


ภาพแท่นปืนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ด้านหลังที่เป็นชั้นๆ มีถังสีฟ้านั้น เป็นแท่นวางตัวเก็บประจุ (Capacitor)
เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับปืน


          ซึ่งหากโครงการประสบผลสำเร็จแล้ว จะทำให้ปืนพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ามีรัศมีการยิงไกลสุดมากกว่า 200 ไมล์ทะเล
ซึ่งการที่ตัวลูกกระสุนที่ยิงออกไปมีความเร็วที่มหากาฬเช่นนี้ จะทำให้มีพลังงานจลน์สะสมที่ตัวลูกปืนสูงมากจนทำลายเป้าหมายได้
โดยไม่ต้องพึ่งหัวกระสุนดินระเบิดอีกต่อไป ดังนั้นลูกปืนแบบนี้จึงถูกเรียกว่า ลูกปืนพลังงานจลน์ (Kinetic Energy Projectile)
จากที่ได้กล่าวมานั้นเทคโนโลยีนี้ยังอยู่ในช่วงของการวิจัยซึ่งปัญหาสำคัญได้แก่
          1. ปัญหาการสึกหรอของลำกล้อง - เนื่องจากความเร็วและพลังงานมหากาฬในการขับลูกปืนแต่ละครั้ง ทำให้เกิดการ
เสียดสีและความร้อนที่สูงมากภายในลำกล้อง นอกจากนี้สนามแม่เหล็กที่ใช้ขับเคลื่อนลูกปืนยังจะตัดกับกระแสไฟฟ้าภายในลำกล้อง
ทำให้เกิดแรงที่จะพยายามพลักรางนำไฟฟ้าภายในลำกล้องออกจากกันทุกครั้งที่ทำการยิง
         2. ปัญหาความแม่นยำ - เนื่องจากลูกืนมีอัตราเร่งภายในลำกล้องสูงมาก ทำให้การบรรจุระบบนำวิถีภายในตัวลูกปืนทำได้ยาก
ซึ่งระบบนำวิถีด้วย GPS ในปัจจุบันสามารถทนต่ออัตราเร่งสูงสุดได้เพียง 1/3 ของอัตราเร่งที่ ทร.สหรัฐตั้งเป้าไว้ (ประมาณ 7 มัค)
         3. ปัญหาแหล่งจ่ายพลังงาน - พลังงานสำหรับระบบปืนพลังงานแม่เหล็กตามเป้าหมาย ทร.สหรัฐ นี้ อาจจะสูงได้ถึง
40 - 60 เมกกะวัตต์ อีกทั้งขนาดและน้ำหนักจะต้องพอเหมาะสำหรับการติดตั้งบนเรือรบ ทำให้นี่เป็นอีกปัญหาสำคัญของโครงการ

ประมวลภาพ



ภาพการบรรจุลูกกระสุนปืน ในภาพนี้เป็นต้นแบบปืนพลังงานแม่เหล็กที่ความเร็วต้น 10 มัค โดยบริษัท BAE SYSTEMS



ภาพทดสอบการยิงเมื่อปี 2008 ถ่ายด้วยกล้องความเร็วสูง



ภาพลูกกระสุนที่ความเร็ว 7 มัค



ภาพลูกกระสุนปืนพลังงานแม่เหล็กขนาด 155  มม.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่