5 สิ่งประดิษฐ์คิดค้นของมุสลิมที่เปลี่ยนแปลงโลก


กาแฟ

กาแฟประมาณ 1,600,000,000 ถ้วย ถูกบริโภคทุกวันจากรอบโลก ประชาชนหลายล้านล้านคนถือว่ามันเป็นส่วนหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของพวกเขา ถึงกระนั้น น้อยคนนักที่จะตระหนักว่ามุสลิมคือต้นกำเนิดของเครื่องดื่มที่แพร่หลายนี้

จากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ในสมัย 1400s กาแฟได้กลายเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมในหมู่ชาวมุสลิมในเยเมน ทางใต้ของคาบสมุทรอาหรับ มีตำนานเล่าว่า คนเลี้ยงแพะคนหนึ่ง (บางคนบอกว่าในเยเมน, บางคนบอกว่าในเอธิโอเปีย) สังเกตเห็นว่าแพะของเขาแข็งแรงปราดเปรียวและกระโดดโลดเต้นมากเมื่อพวกมันกินเมล็ดจากต้นไม้ชนิดหนึ่ง เขานึกอยากจะลองชิมด้วยตัวเองแล้วสังเกตเห็นว่ามันทำให้เขามีกำลังมากขึ้น ตั้งแต่นั้นมา ธรรมเนียมการคั่วเมล็ดจากต้นไม้นี้และใส่ลงในน้ำเพื่อทำให้เป็นเครื่องดื่มเพิ่มพลังจึงได้พัฒนาขึ้น และกาแฟจึงได้ถือกำเนิดขึ้น


ไม่ว่าเรื่องคนเลี้ยงแพะนี้จะเคยเกิดจริงหรือไม่ก็ตาม แต่กาแฟก็ได้ออกเดินทางจากที่ราบสูงของเยเมนไปยังส่วนอื่นๆ ของอาณาจักรออตโตมาน อาณาจักรมุสลิมยุคแรกเริ่มจากศตวรรษที่ 15 ร้านกาแฟที่มีความเชี่ยวชาญในเครื่องดื่มใหม่นี้เริ่มเกิดขึ้นในเมืองสำคัญทุกเมืองของโลกมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นไคโร, อิสตันบูล, ดามัสกัน, แบกแดด จากโลกมุสลิม เครื่องดื่มนี้ได้เดินทางไปสู่ยุโรปผ่านทางเมืองแห่งการค้าที่ยิ่งใหญ่อย่างเวนิส แม้ว่าช่วงแรกๆ มันจะถูกผู้มีอำนาจฝ่ายแคธอลิกสบประมาทว่าเป็น “เครื่องดื่มของมุสลิม” แต่กาแฟก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมยุโรปไป ร้านกาแฟในสมัย 1600s เป็นสถานที่ที่นักปรัชญามาพบปะพูดคุยกันถึงประเด็นต่างๆ เช่น สิทธิ์ของมนุษย์, บทบาทของรัฐบาล และประชาธิปไตย การถกเถียงกันที่ร้านกาแฟนี้ได้ทำให้เกิดสิ่งที่กลายเป็นความกระจ่างแจ้ง เป็นหนึ่งในขบวนการทางปัญญาที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกยุคใหม่

จากคนเลี้ยงแพะชาวเยเมน/ชาวเอธิโอเปีย ไปถึงการกำหนดแนวคิดทางการเมืองของยุโรป ไปจนถึงหนึ่งล้านล้านถ้วยต่อวัน นวัตกรรมของมุสลิมชิ้นนี้เป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์คิดค้นที่สำคัญที่สุดของประวัติศาสตร์มนุษย์

พีชคณิต

ขณะที่นักเรียนชั้นมัธยมที่กำลังพากเพียรในวิชาคณิตศาสตร์หลายคนอาจจะไม่เห็นคุณค่าความสำคัญของพีชคณิต แต่มันเป็นหนึ่งในคุณูปการสำคัญที่สุดจากยุคทองของมุสลิมที่มอบให้แก่โลคยุคใหม่นี้ มันเป็นการพัฒนาคิดค้นของนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ชื่อ มุฮัมมัด อิบนฺ มูซา อัล-คอวาริซมี ซึ่งมีชีวิตจากปี 780 ถึง 850 ในเปอร์เซียและอิรัก


ในหนังสือที่เป็นอนุสรณ์ของเขาชื่อ อัล-กิตาบ อัล-มุคตาซาร์ ฟีฮิซาบ อัล-ญับร์ วัล-มุกอบาลา (The Compendious Book on Calculation by Completion and Balancing) เขาได้วางหลักพื้นฐานของสมการพีชคณิตออกเป็นสี่ส่วน ชื่อของหนังสือเองมีคำว่า “อัล-ญับร์” แปลว่า “ผลสำเร็จ” ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า algebra ในภาษาละติน ในหนังสือนี้ อัล-คอวาริซมีอธิบายวิธีการใช้สมการพีชคณิตกับตัวแปรที่ไม่รู้เพื่อแก้ปัญหาจริงในโลก เช่น การคำนวณซะกาต และการแบ่งมรดก แง่มุมพิเศษในเหตุผลที่เขาได้พัฒนาพีชคณิตขึ้นมาคือ เขาต้องการที่จะทำให้การคำนวณคำสั่งตามกฎหมายอิสลามให้ง่ายขึ้น สำหรับโลกในยุคที่ไม่มีเครื่องคิดเลขและคอมพิวเตอร์

หนังสือของอัล-คอวาริซมี ถูกแปลเป็นภาษาละตินเผยแพร่ในยุโรปในยุค 1000s ถึง 1100s ที่ซึ่งรู้จักเขาในชื่อ อัลกอริทมี (คำว่า อัลกอริทึม ก็มาจากชื่อของเขาและผลงานทางคณิตศาสตร์ของเขา) หากไม่มีผลงานในการสร้างกฎพีชคณิตของเขาแล้ว การประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในทางปฏิบัติที่ทันสมัย เช่น วิศวกรรม ก็คงจะเป็นไปไม่ได้ ผลงานของเขาถูกนำมาใช้เป็นตำราคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาต่างๆ ในยุโรปเป็นเวลาหลายร้อยปีหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว

มหาวิทยาลัยระดับปริญญา

เมื่อกล่าวมหาวิทยาลัย ก็เป็นการคิดค้นอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากโลกมุสลิมด้วยเช่นกัน ในช่วงต้นของประวัติศาสตร์อิสลาม มัสยิดมีโรงเรียนควบคู่ไปด้วย ผู้ที่ทำหน้าที่นำละหมาดจะสอนกลุ่มนักเรียนเกี่ยวกับวิทยาการอิสลาม เช่น คัมภีร์กุรอาน, ฟิกฮ์(นิติศาสตร์), และฮะดีษ อย่างไรก็ตาม เมื่อสังคมมุสลิมเติบโตขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องมีสถาบันอย่างเป็นทางการ หรือที่เรียกว่า มัดรอซะฮ์ มาเพื่อให้การศึกษาแก่นักเรียน


มัดรอซะฮ์อย่างเป็นทางการแห่งแรกคือ อัล-คาราวียัน ก่อตั้งขึ้นในปี 859 โดยฟาตีมา อัล-ฟิฮ์รี ในเมืองเฟส ประเทศโมรอกโก โรงเรียนของเธอดึงดูดนักวิชาการชั้นนำบางส่วนจากแอฟริกาเหนือ รวมถึงนักเรียนนักศึกษาที่เรียนเก่งๆ ของประเทศ ที่อัล-คาราวียัน นักเรียนจะได้เรียนกับครูตามจำนวนปีในสาขาวิชาต่างๆ ที่เป็นวิทยาการทางโลกและทางศาสนา เมื่อจบหลักสูตร ถ้าครูเห็นว่านักเรียนมีคุณสมบัติเหมาะสม พวกเขาก็จะมอบวุฒิบัติแก่พวกเขาที่เรียกว่า อิญาซา ซึ่งเป็นการรับรองว่านักเรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาและมีความเหมาะสมที่จะสอนวิชานั้นๆ แล้ว

สถาบันการศึกษาระดับปริญญาแรกเหล่านี้แพร่กระจายออกไปทั่วโลกมุสลิมอย่างรวดเร็ว มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร ก่อตั้งขึ้นในไรโคในปี 970 และในยุค 1000s เซลจุกได้ตั้งมัดรอซะฮ์ขึ้นอีกหลายแห่งทั่วตะวันออกกลาง แนวคิดเกี่ยวกับสถาบันที่มอบวุฒิบัตรสำเร็จการศึกษา(ปริญญา) นี้ได้แพร่ไปในยุโรปด้วยโดยผ่านชาวมุสลิมในสเปน ที่นักศึกษาชาวยุโรปจะได้เดินทางไปศึกษาที่นั่น มหาวิทยาลัยโบโลยาในอิตาลี และอ๊อกซ์ฟอร์ดในอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 11 และ 12 โดยสืบทดธรรมเนียมปฏิบัติของชาวมุสลิมในการมอบปริญญาให้กับนักศึกษาที่เหมาะสมจะได้รับ และใช้มันเป็นตัวตัดสินคุณสมบัติของบุคคลในวิชานั้นๆ

วงโยธวาทิต

นักเรียนนักศึกษาหลายคนที่เข้าเรียนโรงเรียนมัธยมและมหาวิทยาลัยในชาติตะวันตกคงมีความคุ้นกับเคยวงโยธวาทิตนี้ดี มันเป็นวงดนตรีที่ประกอบขึ้นด้วยกลุ่มนักดนตรีนับร้อยคนเดินขบวนลงสู่สนามระหว่างงานการแงขันกีฬา เพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ชมและเชียร์นักกีฬาด้วย วงโยธวาทิตของโรงเรียนเหล่านี้พัฒนาขึ้นมาจากการใช้วงโยธวาทิตเดินขบวนในยุคดินปืนในยุโรปที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้กำลังใจทหารระหว่างการสู้รบ ธรรมเนียมปฏิบัตินี้มีต้นกำเนิดมาจากวงเมห์เตอร์(mehter) ในยุค 1300s ที่ช่วยทำให้กองทัพออตโตมานเป็นหนึ่งในกองทัพที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก


ในฐานะส่วนหนึ่งของหน่วยเจนิซซารี่ กองกำลังทหารชั้นสูงของอาณาจักรออตโตมาน วัตถุประสงค์ของวงศ์โยธวาทิตเมห์เตอร์คือการเล่นดนตรีเสียงดังที่สร้างความหวาดกลัวให้กับศัตรูและปลุกใจพันธมิตร ด้วยการใช้กลองขนาดใหญ่และฉาบ เสียงของวงเมห์เตอร์จึงสามารถดังไกลออกไปหลายไมล์ ในระหว่างที่ออตโตมานพิชิตบอลข่านได้ตลอดศตวรรษที่ 14-16 วงเมเตอร์ได้เข้าร่วมกับกองทัพออตโตมานที่น่าเกรงขาม ที่แทบจะไม่มีใครเอาชนะได้แม้แต่พันธมิตรยุโรปที่ยิ่งใหญ่

ในที่สุด ชาวคริสเตียนยุโรปก็มีความเข้าใจในการใช้วงโยธวาทิตเพื่อข่มขวัญศัตรูนี้ด้วยเช่นกัน ตำนานมีอยู่ว่า หลังจากที่ออตโตมานเข้าล้อมเวียนนาในปี 1683 กองทัพออตโตมานได้ทิ้งเครื่องดนตรีเอาไว้มากมาย ซึ่งชาวออสเตรียได้เก็บเอาไว้ นำไปศึกษา และนำมาใช้กันเอง กองทัพทั้งหลายทั่วทั้งยุโรเริ่มใช้วงโยธวาทิตกันทั้งหมดในช้า เป็นการปฏิวัติวิธีการทำสงครามในยุโรปเป็นเวลาหลายศตวรรษ

กล้องถ่ายรูป

มันยากที่จะจินตนาการถึงโลกที่ไม่มีรูปถ่าย บริษัทมูลค่าหลายล้านล้านดอลล่าร์อย่างอินสตาแกรมและแคนนอน มีพื้นฐานมาจากแนวคิดเกี่ยวกับการจับแสงจากฉากเพื่อสร้างรูปภาพขึ้นมา และผลิตรูปภาพนั้นขึ้นมาอีก แต่การทำเช่นนั้นไม่สามารถเป็นไปได้หากไม่มีผลงานการบุกเบิกของนักวิทยาศาสตร์มุสลิมจากศตวรรษที่ 11 อิบนฺ อัล-ฮัยซัม ผู้พัฒนาลานสายตาและอธิบายการทำงานของกล้องถ่ายรูปเป็นครั้งแรก


ด้วยการทำงานในเมืองไคโรอันยิ่งใหญ่ในช่วงต้นยุค 1000s อิบนฺ อัล-ฮัยซัมเป็นหนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล เพื่อกำหนดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เขาได้พัฒนาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการพื้นฐานที่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดต้องนำไปใช้ เมื่อเขาถูกคุมขังด้วยการกักบริเวณภายในได้โดยอัล-ฮากิม ผู้ปกครองราชวงศ์ฟาติมียะฮ์ เขาจึงมีเวลาและสามารถศึกษาวิธีการทำงานของแสง การวิจัยของเขาบางส่วนมุ่งเน้นไปถึงวิธีการทำงานของกล้องรูเข็ม อิบนฺ อัล-ฮัยซัมเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่เข้าใจว่าเมื่อเจาะรูเล็กๆ ขึ้นรูหนึ่งบนด้านข้างของกล่องกันแสง รังสีของแสงจากด้านนอกส่องผ่านรูเข็มเข้าไปในกล่องและตกกระทบพื้นด้านหลังของมัน เขาได้เข้าใจว่ารูเข็มที่เล็กยิ่งขึ้น จะทำให้เกิดรูปภาพที่มีคุณภาพคมชัดยิ่งขึ้น ทำให้เขาสามารถสร้างกล้องถ่ายรูปที่มีความแม่นยำและคมชัดอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อทำการถ่ายภาพ

การค้นพบของอิบนฺ อัล-ฮัยซัม เกี่ยวกับกล้องถ่ายรูป และวิธีการรับแสงและจับภาพนี้ ได้นำไปสู่การพัฒนาที่ทันสมัยของกล้องถ่ายรูปที่มีแนวคิดเดียวกันนี้ หากไม่มีการวิจัยของเขาในเรื่องการเดินทางของแสงผ่านรูเล็กๆ และให้มันส่องผ่านรูเหล่านั้นแล้ว ก็คงจะไม่มีกลไกการทำงานที่ทันสมัยภายในกล้องถ่ายรูปของทุกคนด้วย

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่