ซางยาง 商鞅
เป็นชาวรัฐเว่ย ปัจจุบัน คือ หมู่บ้านเหลียงจวงเจิ้นเขตเน่ยหวงเสี้ยนเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน
เป็นบุตรหลานของผู้ครองรัฐรัฐเว่ย แซ่เดิม คือ กงซุน ดังนั้นจึงมีคนเรียกชื่อท่านว่า เว่ยยาง กงซุนหยาง
เนื่องจากได้รับความดีความชอบในการทำสงครามเหอซี ยึดเมืองได้ถึงสิบห้าเมืองซึ่งเคยเป็นเมืองในอดีต
ของราชวงศ์ซาง จึงได้รับแต่งตั้งเป็น ซางจวิน และเรียกชื่อท่านว่า ซางยาง
ซางยางในวัยเยาว์นิยมศึกษากฎหมายอาญาโดยได้รับอิทธิพลจากหลี่คุย อู๋ฉี่ เป็นอันมาก เขาอาศัยซื่อเจี่ยว เป็นผู้
สอนคำสอนของสำนักความคิดจ๋าเจีย ภายหลังทำงานรับใช้รัฐเว่ยใต้อาณัติของกงชูชั๋ว สมุหนายกรัฐเว่ย กงชูชั๋วตอน
ป่วยหนักได้แนะนำซางยางให้แก่เว่ยหุ้ยหวาง กราบทูลว่า “ซางยางหนุ่มน้อยคนนี้มีความสามารถ สามารถดำรงตำแหน่ง
สมุหนายกบริหารรัฐเว่ย”ทั้งยังกราบทูลเว่ยหุ้ยหวางว่า “ถ้าพระองค์ไม่คิดใช้ซางยางสนองพระเดชพระคุณ โปรดนำตัวเขา
ไปประหารชีวิต เพิ่อไม่ให้เขาหนีไปรับใช้รัฐอื่น” เว่ยหุ้ยหวางเข้าใจว่ากงชูชั๋วป่วยหนักจนใกล้ตายแล้ว คำพูดหลุดออกมา
จากการไร้สติ จึงไม่ได้ใส่ใจในคำพูดเหล่านั้น แล้วกงชูชั๋วได้บอกกับซางยางให้รีบหลบหนีออกจากรัฐเว่ยโดยด่วน แต่ซางยาง
ก็ไม่ได้รีบหลบหนีไปใหน
เมื่อกงชูชั๋วเสียชีวิต ซางยางได้ยินประกาศคำสั่งของฉินเสี้ยวกงภายในรัฐฉินที่ประกาศเสาะหาคนดีมีความสามารถมารับใช้
จึงนำบันทึกฝ่าจิง ของหลี่คุยติดตัวหลบหนีไปรัฐฉิน ผ่านการตรวจสอบและสายสัมพันธ์กับ จิ่งเจียน ขุนนางรับใช้คนสนิทของ
ฉินเสี้ยวกงจึงได้เข้าเฝ้าฉินเสี้ยวกง
ซางยางครั้งแรกที่พบฉินเสี้ยวกงได้ชักชวนฉินเสี้ยวกงให้รับฟังวิถีการเป็นจักรพรรดิจากเขา ฉินเสี้ยวกงรับฟังเสร็จแล้วแสดงอาการ
หาวออกมาทั้งยังบอกผ่านจิ่งเจียนว่า ซางยางคนนี้เป็นคนหยิ่งทรนงดื้อรั้น ไม่อาจนำมารับใช้ได้
ห้าวันต่อมาซางยางมีโอกาสเข้าเฝ้าฉินเสี้ยวกงเป็นครั้งที่สอง นำวิถีการเป็นกษัตริย์มาอธิบาย ฉินเสี้ยวกงรับไม่ได้จึงบอกกล่าวผ่าน
จิ่งเจียนตำหนิและปฎิเสธซางยางไป
ครั้งที่สามซางยางเข้าเฝ้าฉินเสี้ยวกง คราวนี้เขานำวิถีการเป็นป้าจู่ (เจ้าครองรัฐเรืองอำนาจ) มาอธิบาย แน่นอนถึงแม้ฉินเสี้ยวกงไม่ได้
นำเอาวิถีทางเหล่านี้มาใช้ แต่ความตั้งใจของซางยางตอนนี้ได้เข้าไปอยู่ในใจของฉินเสี้ยวกงแล้ว
ครั้งสุดท้ายที่ซางยางเข้าพบฉินเสี้ยวกงต่างสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดที่มีต่อนโยบายฟู่กั๊วเฉียงปิง ฉินเสี้ยวกงฟังแล้วมีความประทับใจ
เป็นอันมาก ลืมตัวนั่งคุกเข่าคลานเข้าไปนั่งฟังใกล้ๆซางยาง ทั้งสองพูดจาสนทนาแลกเปลี่ยนเป็นเวลาล่วงไปหลายๆวันโดยไม่เบื่อหน่าย
เหนื่อยล้า จิ่งเจียนไม่เข้าใจจึงถามซางหยางเหตุผลว่าทำไม ซางยางอธิบายว่าฉินเสี้ยวกงเพียงตั้งใจที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าครองรัฐผู้เรือง
อำนาจ แต่มันจำเป็นต้องใช้เวลาอันแสนยาวนานในการบรรลุผลสำเร็จในการดำรงตำแหน่งกษัตริย์หรือ จักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ไม่สนใจ
ปี 359 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินเสี้ยวกงตัดสินใจที่จะดำเนินการปฎิรูปภายในรัฐ มีคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลงพูดจาแลกเปลี่ยนความคิดกัน
อย่างมากมายและกว้างขวาง ดังนั้นจึงเกิดความลังเลใจ ฉินเสี้ยวกงจึงออกคำสั่งเปิดท้องพระโรงเพื่อประชุมภายในราชสำนักมีคำสั่งให้
ขุนนางทั้งหมดถกเถียงกันหาข้อสรุปในเรื่องนี้ซางยางในห้วงเวลาที่มีความขัดแย้งในการปฎิรูป เขาได้เสนอว่า “คนฉลาดสามารถสร้างรัฐ
เข้มแข็ง ไม่นำกฎหมายเก่ามาใช้ ความฉลาดสามารถเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไม่นำเอาพิธีกรรมเก่าๆมายึดถือ” ซึ่งได้กลายเป็นหลักการ
ชี้นำของการเมืองรัฐฉินทำให้รัฐฉินก้าวหน้ากว่ารัฐอื่นๆอีกหกรัฐในแถบซานตงการบังคับใช้กฎหมายซางยางหลีกเลี่ยงการให้อำนาจขุนนาง
ข้าราชการ การกำหนดตำแหน่ง ต้าฟู ขุนนางฝ่ายยุติธรรม แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความเฉียบขาดของซางยาง
ก่อนที่จะปฏิรูปกฎหมายได้ต้องพิสูจน์ให้ผู้คนเห็นถึงความเด็ดขาดของคำสั่งเสียก่อนผู้คนจึงยินยอมคล้อยตาม ไม่เกิดการกระด้างกระเดื่อง
ละเมิดกฎหมาย ซางเอียงนึกถึงเรื่องเล่าขานเมื่อครั้งที่อู๋ฉีได้รับการแต่งตั้งจากเจ้ารัฐวุ่ยให้เฝ้ารักษาเมืองซีเหอซึ่งอยู่ติดกับรัฐฉิน ตอนนั้นอู่ฉี
เสนอให้เงินรางวัลแก่ผู้เคลื่อนย้ายถั่วแดงหนึ่งสือ(100 ลิตร)จากประตูเมืองตะวันออกไปยังประตูเมืองตะวันตก เมื่อมีคนปฏิบัติตามและรับ
เงินรางวัลไปอู๋ฉีก็ปิดประกาศชักชวนราษฎรบุกเข้ารัฐฉินผู้ใดกระทำได้จะได้รับตำแหน่งต้าฟู ปรากฏว่าทัพวุ่ยสามารถบุกยึดด่านสำคัญของ
รัฐฉินได้เป็นผลสำเร็จ ซางเอียงซึ่งนับถือเสื่อมใสอู๋ฉีจึงสั่งให้คนปักตั้งเสาไม้ต้นหนึ่งไว้ที่ประตูเมืองทางทิศใต้และปิดประกาศว่าผู้ใดเคลื่อน
ย้ายเสาต้นนี้ไปยังประตูเมืองด้านทิศเหนือจะบำเหน็จรางวัลให้ 10 ตำลึงทองแรกๆก็ไม่มีผู้ใดเชื่อคำประกาศอันเหลวไหลเพ้อเจ้อไร้สาระนี้
ซางเอียงจึงเพิ่มจำนวนเงินรางวัลเป็น 50 ตำลึงทองปรากฏว่ามีชาวบ้านคนหนึ่งอาสาเคลื่อนย้ายเสาไม้ต้นดังกล่าวไปยังประตูเมืองทางทิศ
เหนือ แล้วซางเอียงก็ให้รางวัลกับผู้กล้าคนนั้นไป 50 ตำลึงทองจริงๆ
การปฎิรูปครั้งที่หนึ่ง
หลักสำคัญ คือ การปฎิรูปของซางยาง
หลังจากนโยบายกระจายไปทุกหย่อมหญ้าสำริดผลในรัฐฉิน ปี 356 ก่อนคริสต์ศีกราช ฉินเสี้ยวกงแต่งตั้งซางยางขึ้นเป็นเสนาบดีฝ่ายซ้าย
ดำเนินการปฎิรูปรัฐครั้งที่หนึ่งภายในรัฐฉิน สาระหลักสำคัญคือ การปฎิรูประบบการลงทะเบียนสำมะโนครัว ดำเนินการเกี่ยวข้องกฎหมายว่า
ด้วยการชุมนุมเกินห้าคน กำหนดพระราชกฤษฎีกา พระราชอัยการศึกของกองทัพรวมทั้งการกำหนดการปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่ทหาร ยก
เลิกระบบถ่ายเทอำนาจและการปูนบำเหน็จรางวัลผ่านทางสายเลือด จัดตั้งระดับขั้นและตำแหน่งของขุนนางข้าราชการแบ่งเป็น 20 ขั้น
กฎหมายอาญาลงโทษผู้กระทำผิด สนับสนุนส่งเสริมการทำเกษตรปราบปรามควบคุมการค้า ปฎิรูปกฎหมายเพื่อกำหนดเป็นกฎหมายของ
รัฐฉิน ปรับปรุงระบบครอบครัวและสำมะโนครัว และแผนการปฎิรูปมาตรการอื่นๆ
ซางยางได้ออกนโยบาย 5 ข้อ ประกอบไปด้วย
1) ให้จัดตั้งครอบครัวเป็นหมู่ 5 ซึ่งประกอบด้วย 5 ครัวเรือนและหมู่ 10 ซึ่งประกอบด้วย 10 ครัวเรือน ภายในหมู่ที่ตั้งขึ้นให้ราษฎรควบคุม
กันเอง หากครัวเรือนใดกระทำผิดครัวเรือนอื่นไม่แจ้งต่อทางการทั้งหมู่ร่วมรับผิดชอบรับโทษร่วมกัน ครัวเรือนใดรายงานขึ้นไปจะได้รับรางวัล
เทียบเท่ารบชนะข้าศึก
2) บ้านไหนมีชายฉกรรจ์มากกว่า 2 คนแต่ไม่แยกเรือนออกไปสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างครอบครัว ต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่าตัว
3) ผู้ใดออกศึกสงครามสร้างชื่อในสมรภูมิจะได้รับยศตำแหน่ง หากทะเลาะวิวาทต่อสู้กันด้วยเรื่องส่วนตัวต้องรับโทษสถานหนัก
4) เพิ่มพูนผลผลิตทางการเกษตรและการทอผ้า ผู้ใดส่งมอบพืชผลทางการเกษตรและสิ่งทอแก่ทางการเพิ่มขึ้นจะได้รับการยกเว้นไม่ต้อง
ถูกกะเกณฑ์ไปเป็นแรงงาน หากไม่สร้างผลผลิต ขี้เกียจสันหลังยาวต้องถูกขายเป็นทาส
5) ขุนนางเชื้อพระวงศ์ที่ไม่มีความดีความชอบทางการทหารต้องถูกตัดสิทธิ์ลดศักดิ์ฐานะไม่ว่ามั่งมีเงินทองเพียงใดหากไม่มีคุณงามความดี
ในสมรภูมิห้ามมิให้ใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยโดยเด็ดขาด
1 ปีหลังซางเอียงประกาศแผนปฏิรูปรัฐฉินผู้คนมากมายเดินทางมายังนครหลวงเพื่อคัดค้านหลักการดังกล่าว แต่การปฏิรูปก็ยังคงเดินหน้า
ต่อไป 10 ปีให้หลังบ้านป่าเมืองเถื่อนอย่างรัฐฉินกลับกลายรุดหน้าเจริญรุ่งเรืองยิ่งไปกว่าเดิมหลายเท่าตัวนัก
การปฎิรูปรัฐครั้งที่สอง
商鞅方升器 เครื่องวัดชั่งตวงของซางยาง
ปี 350 ก่อนคริสต์ศักราช ซางยางจัดการดำเนินการปฎิรูปเป็นครั้งที่สองภายในรัฐฉิน สาระสำคัญ คือ เปิดด่านชายแดน ยกเลิกระบบที่นา
จิ่งเถียน ระบบที่นาแบ่งเป็นเก้าแปลง ใช้ระบบที่นาหยวนเถียน ระบบที่นาครอบครัวอนุญาตให้ชาวบ้านมีสิทธิ์ถือครองที่ดินและซื้อขายกัน
ได้ ดำเนินการกระจายอำนาจแบ่งแยกเขตปกครอง เริ่มต้นการจัเก็บภาษี ดำเนินการใช้มาตราชั่ง ตวง วัดให้เหมือนกันทั้งรัฐ เผาทำลาย
บทกวีและพระราชบัญญัติที่ไม่ทันสมัยต่อยุค เชิญคนดีมีฝีมือถึงบ้านมารับใช้ ห้ามโยกย้ายประชากร ในการจัดสำมะโนครัวประชากรห้าม
พ่อแม่พี่น้องของชาวบ้านอาศัยอยุ่บ้านหลังเดียวกัน และแผนการปฎิรูปมาตรการอื่นๆ
ปี 341 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินเสี้ยวกงเป็นพันธมิตรกับรัฐฉี รัฐจ้าวสองรัฐนี้ทำสงครามโจมตีรัฐเว่ย ปีเดียวกันฉินเสี้ยวกงส่งซางยางเข้าโจมตี
รัฐเว่ยที่เหอตง รัฐเว่ยส่งโอรสอ๋างอิ๋ง ทำศึก เมื่อทั้งสองทัพมาเผชิญหน้ากันซางยางให้ฑูตนำจดหมายไปส่งให้โอรสอ๋างอิ๋ง ใจความว่า
“ข้าน้อยสมัยก่อนอยู่ร่วมกันกับโอรสต่างมีความสุขเป็นอันมาก แต่ปัจจุบันนี้เราสองคนต่างเป็นแม่ทัพของสองรัฐที่เป็นศัตรูกัน เป็นความยาก
ลำบากใจที่จะทำการรบประหัตประหารกัน ข้าน้อยเสนอว่าข้าน้อยสามารถไปพบโอรสซึ่งซึ่งหน้า ย้อนอดีตถึงความสัมพันธ์ในอดีต ค่อยๆดื่ม
ค่อยๆสนทนากันสักหลายๆจอกจากนั้นค่อยถอนทัพจากกัน ให้รัฐฉินและรัฐเว่ยเกิดความสงบไม่มีเรื่องราวใดๆ” เมื่อโอรสอ๋างอิ๋งเข้าร่วมการ
นัดพบกลับถูกทหารที่ซ่อนตัวอยู่ของซางยางจับตัวไป ซางยางฉวยโอกาสเข้าโจมตีทหารรัฐเว่ย ทหารรัฐเว่ยจึงพ่ายแพ้ เว่ยหุ้ยหวางถูกบีบ
บังคับให้แบ่งดินแดนแถบเหอซียกให้รัฐฉินเพื่อแลกตัวกับโอรสอ๋างอิ๋ง ณ.ตอนนั้นเว่ยหุ้ยหวางตรัสว่า “ข้าเสียใจมากที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำพูด
ของกงชูชั๋ว” ซางยางมีความดีความชอบในการทำสงครามยึดได้เมืองสิบห้าเมืองที่เคยเป็นของอดีตราชวงศ์ซาง จึงได้รับแต่งตั้งเป็น
ซางจวิน พบเขาเห็นเขาไม่มีใบผ่านทางมาด้วย
ปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินสี้ยวกงสิ้นพระชนม์ โอรสองค์โตขึ้นครองรัฐ พระนามว่า ฉินหุ้ยหวาง โอรสเฉียน และพวกกล่าวหาซางยาง
ไม่เห็นด้วย ฉินหุ้ยหวางออกคำสั่งจับตัวซางยาง ซางยางจึงหนีไปถึงชายแดนรัฐฉิน ขอพักอาศัยที่โรงแรมเล็กๆริมชายแดน เจ้าของโรงแรม
ไม่รู้จักเขาว่าคือ ซางจวิน จึงบอกกฎหมายรัฐฉินให้ซางจวินรับทราบ แขกที่มาพักอาศัยในโรงแรมถ้าไม่มีใบผ่านทางต้องถูกลงโทษ ซางยาง
คิดหนีไปยังรัฐเว่ย แต่รัฐเว่ยเนื่องจากเขาเคยจับกุมตัวโอรสอ๋างอิ๋ง จึงไม่ยอมให้ซางยางหนีเข้ารัฐเว่ย
ซางยางย้อนกลับไปรัฐฉินถูกบีบให้ถอยไปยังบริเวณใกล้ๆอี้ซาง ถูกทหารอี้ซางโจมตีที่เจิ้งเสี้ยน ปัจจุบัน คือ เขตฮวาเสี้ยนมณฑลส่านซีฉิน
หุ้ยหวางส่งทหารเข้าช่วยโจมตี ในที่สุดซางยางเสียชีวิตตายในสนามรบ ศพของเขาถูกนำกลับสู่เมืองเสียนหยาง ศพถูกนำไปจับแยกร่างเป็น
ห้าชิ้นโดยม้าศึกแล้วนำไปประจานในที่สาธารณะ ฉินหุ้ยเหวินจวิน ในขณะเดียวกันออกคำสั่งประหารครอบครัวซางยางทั้งตระกูล ถึง
แม้ซางยางจะถูกฆ่าตาย แต่การปฎิรูปใหม่ไม่ได้ถูกยกเลิกไป
ซางยาง ผู้เบิกทางให้จักรพรรดิ์จิ๋นซีฮ่องเต้
เป็นชาวรัฐเว่ย ปัจจุบัน คือ หมู่บ้านเหลียงจวงเจิ้นเขตเน่ยหวงเสี้ยนเมืองอันหยาง มณฑลเหอหนาน
เป็นบุตรหลานของผู้ครองรัฐรัฐเว่ย แซ่เดิม คือ กงซุน ดังนั้นจึงมีคนเรียกชื่อท่านว่า เว่ยยาง กงซุนหยาง
เนื่องจากได้รับความดีความชอบในการทำสงครามเหอซี ยึดเมืองได้ถึงสิบห้าเมืองซึ่งเคยเป็นเมืองในอดีต
ของราชวงศ์ซาง จึงได้รับแต่งตั้งเป็น ซางจวิน และเรียกชื่อท่านว่า ซางยาง
ซางยางในวัยเยาว์นิยมศึกษากฎหมายอาญาโดยได้รับอิทธิพลจากหลี่คุย อู๋ฉี่ เป็นอันมาก เขาอาศัยซื่อเจี่ยว เป็นผู้
สอนคำสอนของสำนักความคิดจ๋าเจีย ภายหลังทำงานรับใช้รัฐเว่ยใต้อาณัติของกงชูชั๋ว สมุหนายกรัฐเว่ย กงชูชั๋วตอน
ป่วยหนักได้แนะนำซางยางให้แก่เว่ยหุ้ยหวาง กราบทูลว่า “ซางยางหนุ่มน้อยคนนี้มีความสามารถ สามารถดำรงตำแหน่ง
สมุหนายกบริหารรัฐเว่ย”ทั้งยังกราบทูลเว่ยหุ้ยหวางว่า “ถ้าพระองค์ไม่คิดใช้ซางยางสนองพระเดชพระคุณ โปรดนำตัวเขา
ไปประหารชีวิต เพิ่อไม่ให้เขาหนีไปรับใช้รัฐอื่น” เว่ยหุ้ยหวางเข้าใจว่ากงชูชั๋วป่วยหนักจนใกล้ตายแล้ว คำพูดหลุดออกมา
จากการไร้สติ จึงไม่ได้ใส่ใจในคำพูดเหล่านั้น แล้วกงชูชั๋วได้บอกกับซางยางให้รีบหลบหนีออกจากรัฐเว่ยโดยด่วน แต่ซางยาง
ก็ไม่ได้รีบหลบหนีไปใหน
เมื่อกงชูชั๋วเสียชีวิต ซางยางได้ยินประกาศคำสั่งของฉินเสี้ยวกงภายในรัฐฉินที่ประกาศเสาะหาคนดีมีความสามารถมารับใช้
จึงนำบันทึกฝ่าจิง ของหลี่คุยติดตัวหลบหนีไปรัฐฉิน ผ่านการตรวจสอบและสายสัมพันธ์กับ จิ่งเจียน ขุนนางรับใช้คนสนิทของ
ฉินเสี้ยวกงจึงได้เข้าเฝ้าฉินเสี้ยวกง
ซางยางครั้งแรกที่พบฉินเสี้ยวกงได้ชักชวนฉินเสี้ยวกงให้รับฟังวิถีการเป็นจักรพรรดิจากเขา ฉินเสี้ยวกงรับฟังเสร็จแล้วแสดงอาการ
หาวออกมาทั้งยังบอกผ่านจิ่งเจียนว่า ซางยางคนนี้เป็นคนหยิ่งทรนงดื้อรั้น ไม่อาจนำมารับใช้ได้
ห้าวันต่อมาซางยางมีโอกาสเข้าเฝ้าฉินเสี้ยวกงเป็นครั้งที่สอง นำวิถีการเป็นกษัตริย์มาอธิบาย ฉินเสี้ยวกงรับไม่ได้จึงบอกกล่าวผ่าน
จิ่งเจียนตำหนิและปฎิเสธซางยางไป
ครั้งที่สามซางยางเข้าเฝ้าฉินเสี้ยวกง คราวนี้เขานำวิถีการเป็นป้าจู่ (เจ้าครองรัฐเรืองอำนาจ) มาอธิบาย แน่นอนถึงแม้ฉินเสี้ยวกงไม่ได้
นำเอาวิถีทางเหล่านี้มาใช้ แต่ความตั้งใจของซางยางตอนนี้ได้เข้าไปอยู่ในใจของฉินเสี้ยวกงแล้ว
ครั้งสุดท้ายที่ซางยางเข้าพบฉินเสี้ยวกงต่างสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดที่มีต่อนโยบายฟู่กั๊วเฉียงปิง ฉินเสี้ยวกงฟังแล้วมีความประทับใจ
เป็นอันมาก ลืมตัวนั่งคุกเข่าคลานเข้าไปนั่งฟังใกล้ๆซางยาง ทั้งสองพูดจาสนทนาแลกเปลี่ยนเป็นเวลาล่วงไปหลายๆวันโดยไม่เบื่อหน่าย
เหนื่อยล้า จิ่งเจียนไม่เข้าใจจึงถามซางหยางเหตุผลว่าทำไม ซางยางอธิบายว่าฉินเสี้ยวกงเพียงตั้งใจที่จะดำรงตำแหน่งเจ้าครองรัฐผู้เรือง
อำนาจ แต่มันจำเป็นต้องใช้เวลาอันแสนยาวนานในการบรรลุผลสำเร็จในการดำรงตำแหน่งกษัตริย์หรือ จักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ไม่สนใจ
ปี 359 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินเสี้ยวกงตัดสินใจที่จะดำเนินการปฎิรูปภายในรัฐ มีคนที่กลัวการเปลี่ยนแปลงพูดจาแลกเปลี่ยนความคิดกัน
อย่างมากมายและกว้างขวาง ดังนั้นจึงเกิดความลังเลใจ ฉินเสี้ยวกงจึงออกคำสั่งเปิดท้องพระโรงเพื่อประชุมภายในราชสำนักมีคำสั่งให้
ขุนนางทั้งหมดถกเถียงกันหาข้อสรุปในเรื่องนี้ซางยางในห้วงเวลาที่มีความขัดแย้งในการปฎิรูป เขาได้เสนอว่า “คนฉลาดสามารถสร้างรัฐ
เข้มแข็ง ไม่นำกฎหมายเก่ามาใช้ ความฉลาดสามารถเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ไม่นำเอาพิธีกรรมเก่าๆมายึดถือ” ซึ่งได้กลายเป็นหลักการ
ชี้นำของการเมืองรัฐฉินทำให้รัฐฉินก้าวหน้ากว่ารัฐอื่นๆอีกหกรัฐในแถบซานตงการบังคับใช้กฎหมายซางยางหลีกเลี่ยงการให้อำนาจขุนนาง
ข้าราชการ การกำหนดตำแหน่ง ต้าฟู ขุนนางฝ่ายยุติธรรม แสดงให้เห็นชัดเจนถึงความเฉียบขาดของซางยาง
ก่อนที่จะปฏิรูปกฎหมายได้ต้องพิสูจน์ให้ผู้คนเห็นถึงความเด็ดขาดของคำสั่งเสียก่อนผู้คนจึงยินยอมคล้อยตาม ไม่เกิดการกระด้างกระเดื่อง
ละเมิดกฎหมาย ซางเอียงนึกถึงเรื่องเล่าขานเมื่อครั้งที่อู๋ฉีได้รับการแต่งตั้งจากเจ้ารัฐวุ่ยให้เฝ้ารักษาเมืองซีเหอซึ่งอยู่ติดกับรัฐฉิน ตอนนั้นอู่ฉี
เสนอให้เงินรางวัลแก่ผู้เคลื่อนย้ายถั่วแดงหนึ่งสือ(100 ลิตร)จากประตูเมืองตะวันออกไปยังประตูเมืองตะวันตก เมื่อมีคนปฏิบัติตามและรับ
เงินรางวัลไปอู๋ฉีก็ปิดประกาศชักชวนราษฎรบุกเข้ารัฐฉินผู้ใดกระทำได้จะได้รับตำแหน่งต้าฟู ปรากฏว่าทัพวุ่ยสามารถบุกยึดด่านสำคัญของ
รัฐฉินได้เป็นผลสำเร็จ ซางเอียงซึ่งนับถือเสื่อมใสอู๋ฉีจึงสั่งให้คนปักตั้งเสาไม้ต้นหนึ่งไว้ที่ประตูเมืองทางทิศใต้และปิดประกาศว่าผู้ใดเคลื่อน
ย้ายเสาต้นนี้ไปยังประตูเมืองด้านทิศเหนือจะบำเหน็จรางวัลให้ 10 ตำลึงทองแรกๆก็ไม่มีผู้ใดเชื่อคำประกาศอันเหลวไหลเพ้อเจ้อไร้สาระนี้
ซางเอียงจึงเพิ่มจำนวนเงินรางวัลเป็น 50 ตำลึงทองปรากฏว่ามีชาวบ้านคนหนึ่งอาสาเคลื่อนย้ายเสาไม้ต้นดังกล่าวไปยังประตูเมืองทางทิศ
เหนือ แล้วซางเอียงก็ให้รางวัลกับผู้กล้าคนนั้นไป 50 ตำลึงทองจริงๆ
การปฎิรูปครั้งที่หนึ่ง
หลักสำคัญ คือ การปฎิรูปของซางยาง
หลังจากนโยบายกระจายไปทุกหย่อมหญ้าสำริดผลในรัฐฉิน ปี 356 ก่อนคริสต์ศีกราช ฉินเสี้ยวกงแต่งตั้งซางยางขึ้นเป็นเสนาบดีฝ่ายซ้าย
ดำเนินการปฎิรูปรัฐครั้งที่หนึ่งภายในรัฐฉิน สาระหลักสำคัญคือ การปฎิรูประบบการลงทะเบียนสำมะโนครัว ดำเนินการเกี่ยวข้องกฎหมายว่า
ด้วยการชุมนุมเกินห้าคน กำหนดพระราชกฤษฎีกา พระราชอัยการศึกของกองทัพรวมทั้งการกำหนดการปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่ทหาร ยก
เลิกระบบถ่ายเทอำนาจและการปูนบำเหน็จรางวัลผ่านทางสายเลือด จัดตั้งระดับขั้นและตำแหน่งของขุนนางข้าราชการแบ่งเป็น 20 ขั้น
กฎหมายอาญาลงโทษผู้กระทำผิด สนับสนุนส่งเสริมการทำเกษตรปราบปรามควบคุมการค้า ปฎิรูปกฎหมายเพื่อกำหนดเป็นกฎหมายของ
รัฐฉิน ปรับปรุงระบบครอบครัวและสำมะโนครัว และแผนการปฎิรูปมาตรการอื่นๆ
ซางยางได้ออกนโยบาย 5 ข้อ ประกอบไปด้วย
1) ให้จัดตั้งครอบครัวเป็นหมู่ 5 ซึ่งประกอบด้วย 5 ครัวเรือนและหมู่ 10 ซึ่งประกอบด้วย 10 ครัวเรือน ภายในหมู่ที่ตั้งขึ้นให้ราษฎรควบคุม
กันเอง หากครัวเรือนใดกระทำผิดครัวเรือนอื่นไม่แจ้งต่อทางการทั้งหมู่ร่วมรับผิดชอบรับโทษร่วมกัน ครัวเรือนใดรายงานขึ้นไปจะได้รับรางวัล
เทียบเท่ารบชนะข้าศึก
2) บ้านไหนมีชายฉกรรจ์มากกว่า 2 คนแต่ไม่แยกเรือนออกไปสร้างเนื้อสร้างตัว สร้างครอบครัว ต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่าตัว
3) ผู้ใดออกศึกสงครามสร้างชื่อในสมรภูมิจะได้รับยศตำแหน่ง หากทะเลาะวิวาทต่อสู้กันด้วยเรื่องส่วนตัวต้องรับโทษสถานหนัก
4) เพิ่มพูนผลผลิตทางการเกษตรและการทอผ้า ผู้ใดส่งมอบพืชผลทางการเกษตรและสิ่งทอแก่ทางการเพิ่มขึ้นจะได้รับการยกเว้นไม่ต้อง
ถูกกะเกณฑ์ไปเป็นแรงงาน หากไม่สร้างผลผลิต ขี้เกียจสันหลังยาวต้องถูกขายเป็นทาส
5) ขุนนางเชื้อพระวงศ์ที่ไม่มีความดีความชอบทางการทหารต้องถูกตัดสิทธิ์ลดศักดิ์ฐานะไม่ว่ามั่งมีเงินทองเพียงใดหากไม่มีคุณงามความดี
ในสมรภูมิห้ามมิให้ใช้ชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยโดยเด็ดขาด
1 ปีหลังซางเอียงประกาศแผนปฏิรูปรัฐฉินผู้คนมากมายเดินทางมายังนครหลวงเพื่อคัดค้านหลักการดังกล่าว แต่การปฏิรูปก็ยังคงเดินหน้า
ต่อไป 10 ปีให้หลังบ้านป่าเมืองเถื่อนอย่างรัฐฉินกลับกลายรุดหน้าเจริญรุ่งเรืองยิ่งไปกว่าเดิมหลายเท่าตัวนัก
การปฎิรูปรัฐครั้งที่สอง
商鞅方升器 เครื่องวัดชั่งตวงของซางยาง
ปี 350 ก่อนคริสต์ศักราช ซางยางจัดการดำเนินการปฎิรูปเป็นครั้งที่สองภายในรัฐฉิน สาระสำคัญ คือ เปิดด่านชายแดน ยกเลิกระบบที่นา
จิ่งเถียน ระบบที่นาแบ่งเป็นเก้าแปลง ใช้ระบบที่นาหยวนเถียน ระบบที่นาครอบครัวอนุญาตให้ชาวบ้านมีสิทธิ์ถือครองที่ดินและซื้อขายกัน
ได้ ดำเนินการกระจายอำนาจแบ่งแยกเขตปกครอง เริ่มต้นการจัเก็บภาษี ดำเนินการใช้มาตราชั่ง ตวง วัดให้เหมือนกันทั้งรัฐ เผาทำลาย
บทกวีและพระราชบัญญัติที่ไม่ทันสมัยต่อยุค เชิญคนดีมีฝีมือถึงบ้านมารับใช้ ห้ามโยกย้ายประชากร ในการจัดสำมะโนครัวประชากรห้าม
พ่อแม่พี่น้องของชาวบ้านอาศัยอยุ่บ้านหลังเดียวกัน และแผนการปฎิรูปมาตรการอื่นๆ
ปี 341 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินเสี้ยวกงเป็นพันธมิตรกับรัฐฉี รัฐจ้าวสองรัฐนี้ทำสงครามโจมตีรัฐเว่ย ปีเดียวกันฉินเสี้ยวกงส่งซางยางเข้าโจมตี
รัฐเว่ยที่เหอตง รัฐเว่ยส่งโอรสอ๋างอิ๋ง ทำศึก เมื่อทั้งสองทัพมาเผชิญหน้ากันซางยางให้ฑูตนำจดหมายไปส่งให้โอรสอ๋างอิ๋ง ใจความว่า
“ข้าน้อยสมัยก่อนอยู่ร่วมกันกับโอรสต่างมีความสุขเป็นอันมาก แต่ปัจจุบันนี้เราสองคนต่างเป็นแม่ทัพของสองรัฐที่เป็นศัตรูกัน เป็นความยาก
ลำบากใจที่จะทำการรบประหัตประหารกัน ข้าน้อยเสนอว่าข้าน้อยสามารถไปพบโอรสซึ่งซึ่งหน้า ย้อนอดีตถึงความสัมพันธ์ในอดีต ค่อยๆดื่ม
ค่อยๆสนทนากันสักหลายๆจอกจากนั้นค่อยถอนทัพจากกัน ให้รัฐฉินและรัฐเว่ยเกิดความสงบไม่มีเรื่องราวใดๆ” เมื่อโอรสอ๋างอิ๋งเข้าร่วมการ
นัดพบกลับถูกทหารที่ซ่อนตัวอยู่ของซางยางจับตัวไป ซางยางฉวยโอกาสเข้าโจมตีทหารรัฐเว่ย ทหารรัฐเว่ยจึงพ่ายแพ้ เว่ยหุ้ยหวางถูกบีบ
บังคับให้แบ่งดินแดนแถบเหอซียกให้รัฐฉินเพื่อแลกตัวกับโอรสอ๋างอิ๋ง ณ.ตอนนั้นเว่ยหุ้ยหวางตรัสว่า “ข้าเสียใจมากที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำพูด
ของกงชูชั๋ว” ซางยางมีความดีความชอบในการทำสงครามยึดได้เมืองสิบห้าเมืองที่เคยเป็นของอดีตราชวงศ์ซาง จึงได้รับแต่งตั้งเป็น
ซางจวิน พบเขาเห็นเขาไม่มีใบผ่านทางมาด้วย
ปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ฉินสี้ยวกงสิ้นพระชนม์ โอรสองค์โตขึ้นครองรัฐ พระนามว่า ฉินหุ้ยหวาง โอรสเฉียน และพวกกล่าวหาซางยาง
ไม่เห็นด้วย ฉินหุ้ยหวางออกคำสั่งจับตัวซางยาง ซางยางจึงหนีไปถึงชายแดนรัฐฉิน ขอพักอาศัยที่โรงแรมเล็กๆริมชายแดน เจ้าของโรงแรม
ไม่รู้จักเขาว่าคือ ซางจวิน จึงบอกกฎหมายรัฐฉินให้ซางจวินรับทราบ แขกที่มาพักอาศัยในโรงแรมถ้าไม่มีใบผ่านทางต้องถูกลงโทษ ซางยาง
คิดหนีไปยังรัฐเว่ย แต่รัฐเว่ยเนื่องจากเขาเคยจับกุมตัวโอรสอ๋างอิ๋ง จึงไม่ยอมให้ซางยางหนีเข้ารัฐเว่ย
ซางยางย้อนกลับไปรัฐฉินถูกบีบให้ถอยไปยังบริเวณใกล้ๆอี้ซาง ถูกทหารอี้ซางโจมตีที่เจิ้งเสี้ยน ปัจจุบัน คือ เขตฮวาเสี้ยนมณฑลส่านซีฉิน
หุ้ยหวางส่งทหารเข้าช่วยโจมตี ในที่สุดซางยางเสียชีวิตตายในสนามรบ ศพของเขาถูกนำกลับสู่เมืองเสียนหยาง ศพถูกนำไปจับแยกร่างเป็น
ห้าชิ้นโดยม้าศึกแล้วนำไปประจานในที่สาธารณะ ฉินหุ้ยเหวินจวิน ในขณะเดียวกันออกคำสั่งประหารครอบครัวซางยางทั้งตระกูล ถึง
แม้ซางยางจะถูกฆ่าตาย แต่การปฎิรูปใหม่ไม่ได้ถูกยกเลิกไป