การซื้อแว่นสายตา ตามแผงข้างถนน (ราคาประมาณ 50 บาท) แต่ในห้างเห็นมีในราคา 99 หรือ 199 ไม่รู้แบบเดียวกันหรือเปล่า ลองเคยถามคนขาย (ในห้าง) เขาบอกว่าไม่เหมือนกัน ของเขา (ในห้าง) ดีกว่า (ดูแล้วก็คงเหมือนๆกันมากกว่า ?) ตามแผงข้างถนน มีขาย 3 แบบ คือ แว่นกันแดด และแว่นสายตาสั้น และ แว่นสายตายาว
ดูอย่างไรใครสายตาสั้น ใครสายตายาว ? เอาแบบคร่าวๆ ให้อ่านหนังสือพิมพ์ตัวเล็กๆ เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ เป็นต้น
ถ้าก้มลงอ่านใกล้ๆ เช่นประมาณ ใกล้กว่า 12 นิ้ว เรียกว่า เข้าข่ายสายตาสั้น ถ้าก้มต่ำมากๆ ก็สั้นมาก (ไม่นับพวกที่มีอาการสายตาพร่ามัว หรือเห็นลางๆ พวกนี้ต้องไปหาหมอ)
ถ้าหงายหลังอ่านห่างๆ เช่น ประมาณ ห่างมากกว่า 12 นิ้ว เรียกว่า เข้าข่ายสายตายาว ถ้าถอยห่างมากๆ ก็ยาวมาก
ข้อดี ข้อเสีย ของแว่นตามแผง
ข้อดี คือ ถูก ซื้อทิ้งซื้อขว้าง บ้างก็ได้ เมื่อใช้ไประยะ (เวลา) หนึ่ง ถ้าสายตามันสั้น หรือยาว เพิ่มขึ้น ก็ซื้อใหม่ได้ของเก่าทิ้งไป (เพราะราคามันถูกมาก)
ข้อเสีย คือ อันตราย ถ้าถูกกระแทกแรงๆ แว่นมันจะแตก (ง่ายๆ) แล้วเศษแว่นมันอาจทำให้ตาบอดได้ (เพราะเป็นแว่นแบบถูกๆ) เช่น ถ้าถูกต่อย หรือ เกิดอุบัติเหตุ เช่น เดินหกล้ม หรือ รถชน หรือ รถล้ม เป็นต้น แต่ถ้าสายตาเอียง หรือ ตา 2 ข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน จะใช้แว่นแบบข้างถนนนี้ไม่ได้
1. แว่นกันแดด (แบบตามแผง) จะกันแสงได้ไม่ดีเท่ากับแว่นแบบราคาแพงๆ (ใส่เล่นๆ เท่านั้น) กันแดดได้ไม่มมาก (ไม่ค่อยดี) เพราะราคาถูก
2. แว่นสายตายาว (แบบตามแผง) จะเริ่มจาก +0.5 ไปจนถึง +4
ส่วนใหญ่เมื่ออายุประมาณ 40 ขึ้นไป จะเริ่มสายตายาวมากขึ้น ทำนองจากคำที่ว่า "คนแก่สายตากว้าง (ยาว) ไกลกว่า" หรือ อาจเกิดจากการใช่สายตามากๆ เช่น จองคอมหลายๆชั่วโมงต่อวัน ก็ได้
3. แว่นสายตาสั้น (แบบตามแผง) จะเริ่มจาก -0.5 ไปจนถึง -4
เมื่ออายุมากขึ้น คนส่วนใหญ่จะสายตาค่อยๆ สั้นน้อยลงเลื่อยๆ เช่น ในบางคนถ้าสายตาสั้นตอนเด็ก พออายุมากๆ สายตากลับมาปรกติ (ก็มี)
วิธีเลือกซื้อแว่น
ตามแผงเจ้าของแผง จะมีหนังสือพิมพ์ให้อ่าน (เพื่อให้ลูกค้าใช้ทดลองแว่น) แต่ถ้าจะให้ดี (ดีกว่าตัวหนังสือพิมพ์) ให้หาธนาบัตร (แบงค์ 20 หรือ 50 หรือ 100 หรือ 1000 ก็ได้) แล้วให้ดูธนาบัตร ด้านรูปในหลวง (อ่านคำว่า) "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง" หรือ "ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย" ถ้าอ่านออก (ทุกตัวอักษร ไม้เอก ไม้โท ไม้หันอากาศ เป็นต้น) ในระยะ 12 นิ้ว ก็ถือว่าแว่นอันนั้นเหมาะกับ สายตาในขณะนั้นพอดี เพราะถ้าอ่านคำนั้นในธนาบัตรออกเชื่อว่าจะสามารถร้อยเข็มได้สบายๆ
การซื้อแว่นสายตา ตามแผงข้างถนน (ราคาประมาณ 50 บาท)
ดูอย่างไรใครสายตาสั้น ใครสายตายาว ? เอาแบบคร่าวๆ ให้อ่านหนังสือพิมพ์ตัวเล็กๆ เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ เป็นต้น
ถ้าก้มลงอ่านใกล้ๆ เช่นประมาณ ใกล้กว่า 12 นิ้ว เรียกว่า เข้าข่ายสายตาสั้น ถ้าก้มต่ำมากๆ ก็สั้นมาก (ไม่นับพวกที่มีอาการสายตาพร่ามัว หรือเห็นลางๆ พวกนี้ต้องไปหาหมอ)
ถ้าหงายหลังอ่านห่างๆ เช่น ประมาณ ห่างมากกว่า 12 นิ้ว เรียกว่า เข้าข่ายสายตายาว ถ้าถอยห่างมากๆ ก็ยาวมาก
ข้อดี ข้อเสีย ของแว่นตามแผง
ข้อดี คือ ถูก ซื้อทิ้งซื้อขว้าง บ้างก็ได้ เมื่อใช้ไประยะ (เวลา) หนึ่ง ถ้าสายตามันสั้น หรือยาว เพิ่มขึ้น ก็ซื้อใหม่ได้ของเก่าทิ้งไป (เพราะราคามันถูกมาก)
ข้อเสีย คือ อันตราย ถ้าถูกกระแทกแรงๆ แว่นมันจะแตก (ง่ายๆ) แล้วเศษแว่นมันอาจทำให้ตาบอดได้ (เพราะเป็นแว่นแบบถูกๆ) เช่น ถ้าถูกต่อย หรือ เกิดอุบัติเหตุ เช่น เดินหกล้ม หรือ รถชน หรือ รถล้ม เป็นต้น แต่ถ้าสายตาเอียง หรือ ตา 2 ข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน จะใช้แว่นแบบข้างถนนนี้ไม่ได้
1. แว่นกันแดด (แบบตามแผง) จะกันแสงได้ไม่ดีเท่ากับแว่นแบบราคาแพงๆ (ใส่เล่นๆ เท่านั้น) กันแดดได้ไม่มมาก (ไม่ค่อยดี) เพราะราคาถูก
2. แว่นสายตายาว (แบบตามแผง) จะเริ่มจาก +0.5 ไปจนถึง +4
ส่วนใหญ่เมื่ออายุประมาณ 40 ขึ้นไป จะเริ่มสายตายาวมากขึ้น ทำนองจากคำที่ว่า "คนแก่สายตากว้าง (ยาว) ไกลกว่า" หรือ อาจเกิดจากการใช่สายตามากๆ เช่น จองคอมหลายๆชั่วโมงต่อวัน ก็ได้
3. แว่นสายตาสั้น (แบบตามแผง) จะเริ่มจาก -0.5 ไปจนถึง -4
เมื่ออายุมากขึ้น คนส่วนใหญ่จะสายตาค่อยๆ สั้นน้อยลงเลื่อยๆ เช่น ในบางคนถ้าสายตาสั้นตอนเด็ก พออายุมากๆ สายตากลับมาปรกติ (ก็มี)
วิธีเลือกซื้อแว่น
ตามแผงเจ้าของแผง จะมีหนังสือพิมพ์ให้อ่าน (เพื่อให้ลูกค้าใช้ทดลองแว่น) แต่ถ้าจะให้ดี (ดีกว่าตัวหนังสือพิมพ์) ให้หาธนาบัตร (แบงค์ 20 หรือ 50 หรือ 100 หรือ 1000 ก็ได้) แล้วให้ดูธนาบัตร ด้านรูปในหลวง (อ่านคำว่า) "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง" หรือ "ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย" ถ้าอ่านออก (ทุกตัวอักษร ไม้เอก ไม้โท ไม้หันอากาศ เป็นต้น) ในระยะ 12 นิ้ว ก็ถือว่าแว่นอันนั้นเหมาะกับ สายตาในขณะนั้นพอดี เพราะถ้าอ่านคำนั้นในธนาบัตรออกเชื่อว่าจะสามารถร้อยเข็มได้สบายๆ