อย่าเสียค่าโง่ให้ร้านสั่งตัดแว่นกัน ให้มากจนเกินไป (เกินจำเป็น)

กระทู้คำถาม
การใช้แว่นแบบสั่งตัด กับแว่นแบบแผงลอย
การใช้แว่นแบบสั่งตัด
แว่นแบบสั่งตัด
เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหา (พิเศษ) ทางสายตา เช่น สายตาเอียง สายตา 2 ข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน หรือ ผู้มีปัญหาสายตาพร่ามัว หรือ สายตาสั้นหรือยาวมากกว่าปรกติ (มากกว่าที่แว่นแบบแผงลอยผลิต) หรือผู้ที่มีความร่ำรวยเกินปรกติ (พอเดินเข้าร้านแผงลอยแล้วขึ้นผื่น)
แว่นแบบแผงลอย
เหมาะสำหรับคนปรกติ ที่มีปัญหา (สั้นยาวแบบปรกติ) ทางสายตา ประมาณมากกว่า 90 % ของผู้ใส่แว่นทั้งหมด เพราะแว่นแบบแผงลอยจะผลิตมามากมายหลายขนาด (ทำนองเดียวกับเสื้อโหล) เช่น แว่นสายตายาว จะเริ่มจาก +0.25 +0.50 +0.75 +1.00 +1.25 +1.50 +....... ไปจนถึง +4 ส่วนแว่นสายตาสั้น จะเริ่มจาก -0.25 -0.50 -0.75 -1.00 -1.25 -1.50 -..... ไปจนถึง -4
ถ้าอ่านหนังสือแล้วต้องหงายหลัง (มากกว่า 12 นิ้ว) เพื่อให้อ่านได้ชัดขึ้น เรียกว่า อาการสายตายาว
ถ้าอ่านหนังสือแล้วต้องก้มลง (น้อยกว่า 12 นิ้ว) เพื่อให้อ่านได้ชัดขึ้น เรียกว่า อาการสายตายาว
ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาทางสายตาทั้งสั้นและยาว ควรจะลองไปเลือกแว่นที่ร้านแผงลอย ถ้าใส่แล้วดี (ชัด) กว่าไม่ได้ใส่ (เห็นใสปิ๊ง) ก็ควรจะซื้อแว่นใส่ จะได้ไม่ต้องเพ่งสายตา เพื่ออ่านหนังสือ เพื่อทำให้สายตาไม่เสียมาก (เร็ว) ขึ้น
วิธีเลือกแว่น (ทั้งสั้นและยาว)
ที่ร้านแผงลอย (ส่วนใหญ่) จะมี (เตรียม) หนังสือพิมพ์ เช่น ไทยรัฐ เดลินิวส์ เป็นต้น ไว้ให้ลูกค้าอ่าน เพื่อเลือกแว่น ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่ดี เพราะถึงจะอ่านออก แต่ถ้าเจอหนังสือที่ตัวเล็กกว่าก็อาจจะมองไม่เห็น ดังนั้น วิธีที่ถูก ให้อ่านคำว่า "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง" ในธนาบัตร 20 50 100 หรือ 1000 บาท ก็ได้ ด้านที่มีรูปในหลวง ให้ชัดเจน ให้เห็นสระอะ สระอา ไม้หันอากาส ไม้เอก เป็นต้น ให้ชัดเจน ในระยะ 12 นิ้ว แล้วลองแว่นเบอร์ + และ - ใกล้เคียงกับที่จะเลือก เช่น ถ้าเลือก +1.50 แล้วให้ลอง +1.25 กับ +1.75 เสียก่อนว่าจะดีกว่า +1.50 หรือไม่
สรุป การเลือกแว่นแบบแผงลอย ให้เห็นชัดๆ (แบบใสปิ๊ง) จะต้องใจเย็นๆ และใช้ฝีมือของผู้ซื้อเป็นหลัก ส่วนแว่นแบบสั่งตัด จะใช้เครื่องวัดสายตา และฝีมือของผู้สั่งตัด เป็นหลัก
หมายเหตุ ถ้าเลือกแว่นแบบแผงลอย (จนหมดร้าน) แล้ว ยังอ่านหนังสือได้ไม่ชัด (ไม่ใสปิ๊ง) ให้ไปหาหมอ (30 บาท รักษาโรคตา) ว่าทำไมยังเห็นไม่ชัด มีปัญหาอะไรหรือไม่ ไม่ใช่เป็นอะไรนิดหน่อยก็ไปร้านสั่งตัดแล้ว รอให้หมอบอกว่า ตาคุณมีปัญหาคุณต้องไปตัดแว่น แล้วจึงค่อยไปร้านตัดแว่น จะดีไหม ?
ดังนั้น คำพูดที่ว่า แว่นแบบแผงลอย จะได้จุดโฟกัสที่ไม่ตรง หรือ ใส่แล้วปวดหัว เวียนหัว หรือ ใส่แล้วทำให้สายตาเสียมาก (เร็วขึ้น) ขึ้น นั้นคงเป็นคำพูดของคนที่เลือกแว่นแบบแผงลอย โดยอ่านหนังสือพิมพ์ จึงได้จุดโฟกัสที่ไม่ค่อยตรง ดังนั้น จึงต้องอ่านวิธีเลือกแว่น (ข้างบน) นี้ให้ละเอียด ก่อนซื้อแว่น
หมายเหตุ ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงประสบการณ์ (ความเชื่อ) ส่วนตัว ที่ใช้แว่นแบบแผงลอย (50 บาท) มา 10 กว่าปี (ไม่เคยตัดแว่นใส่ เพราะจน) ใช้แว่นมา 7-8 อัน ดังนั้น ผู้รู้ หรือ หรือ นักวิชาการ หรือ หมอตา ช่วยแก้ หรือ แนะนำ (สั่งสอน) ด้วย เพื่อลดการเสียค่าโง่ให้ร้านตัดแว่น ให้น้อยลง
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
"ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงประสบการณ์ (ความเชื่อ) ส่วนตัว ที่ใช้แว่นแบบแผงลอย (50 บาท) มา 10 กว่าปี (ไม่เคยตัดแว่นใส่ เพราะจน) "

คุณยังไม่เคยลองตัดแว่นที่ร้านแว่นตัดเลย ทำไมถึงกล่าวเช่นนี้ล่ะครับ? ผมอ่านแล้วเหมือนร้านแว่นอย่างพวกผมเนี่ยไปหลอกลวงพวกคุณเลยนะครับ

"ดังนั้น คำพูดที่ว่า แว่นแบบแผงลอย จะได้จุดโฟกัสที่ไม่ตรง หรือ ใส่แล้วปวดหัว เวียนหัว หรือ ใส่แล้วทำให้สายตาเสียมาก (เร็วขึ้น) ขึ้น นั้นคงเป็นคำพูดของคนที่เลือกแว่นแบบแผงลอย โดยอ่านหนังสือพิมพ์ จึงได้จุดโฟกัสที่ไม่ค่อยตรง"

ผมขอตอบในฐานะร้านแว่นร้านหนึ่งนะครับ คุณจะไม่พอใจ หรือจะด่าก็แล้วแต่ ลองเข้าไปร้านแว่นดูนะครับ แล้วคุณเอา แว่นที่คุณซื้อ ไปให้เขาวัดเซ็นเตอร์แว่นดู ว่ามันห่างกันกี่มิล ระหว่างแว่นทั้งสองข้าง แล้วก็ลองขอให้ร้านแว่นวัดเซ็นเตอร์ของตาคุณดู ว่าตรงกันไหม (ถ้าคุณไม่เชื่อร้านแว่น คุณก็ไปขอให้โรงพยาบาลวัดให้ก็ได้ครับ) ส่วนที่คุณจะสื่อว่า คุณใส่แล้วไม่เวียนหัว แล้วปวดหัว ไม่สายตาเสียมากขึ้น ก็ขอแสดงความยินดีด้วยครับ เรื่องเลนส์คงจะอธิบายเป็นตัวหนังสือให้คุณเข้าใจลำบาก ขอเพียงคุณได้ลองไปจับ ไปสัมผัส ไปมอง อย่างละเอียด วิเคราะห์ ดู ว่าเลนส์ที่แว่นตามแผงลอยใช้ กับเลนส์ที่ตามร้านแว่นใช้ มันดูยังไงก็ไม่เหมือนกันแล้ว ใช่ครับ ผมไม่เถียงหรอกครับแว่นตามแผงลอยมันก็มองเห็น มองชัดเหมือนกัน แต่คุณรู้ได้ยังไงล่ะครับ ว่านั่นมันเป็นการมองชัดที่สุดที่คุณสามารถมองได้แล้ว ?

อาชีพใครใครก็รักนะครับ อย่าโจมตีอาชีพคนอื่นแบบนี้นะครับ คนที่มาตัดแว่นตามร้าน ไม่ได้เสียค่าโง่นะครับ

ขออภัยล่วงหน้านะครับถ้าการตอบนี้อาจจะทำให้ จขกท.ไม่พอใจ แต่อยากจะด่าก็ด่าผมได้ครับ แต่อย่ามาพิมพ์ให้ร้ายกับอาชีพคนอื่นทำนองว่า พวกผมไปทำให้คุณมาเสียค่าโง่กับพวกผม
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
ผมซื้อแว่นแผงลอยใช้ประจำ อันละ 200+
ซื้อๆโยนๆไว้ข้างตู้ข้างเตียง ใช้แป๊บๆ
เพราะถ้าใช้จริงๆจังๆ แค่ 2-3 อาทิตย์ก็พัง ก้านแว่นหัก น็อตหลุดฯลฯ
ไม่นับรวมอาการแสบตา ตาล้า ฯลฯ เพราะต้องเพ่ง แสงฝ้า ฯลฯ

รวมๆเงินแล้ว ในสามปี หมดไปเกือบครึ่งหมื่น!

แต่แว่นที่ใช้ประจำ
ค่าเลนส์ (ได้ส่วนลด) ก็หลักพัน
ค่ากรอบอีกหลายพัน
ใช้มาเป็นปี .. กรอบยังอยู่ สนิมไม่ขึ้น เลนส์โค้ทยังดี มองย้อนแสงใสแจ๋ว
อ่านหนังสือ ทำคอมพ์ นานเป็นชั่วโมงๆ เต็มวันและค่อนคืน ก็ไม่มีปัญหา

ตาคน ไม่ได้เปลี่ยนง่ายๆเหมือนเปลี่ยนมือถือนะ!
อย่าเอาความเชื่อผิดๆ มาทำร้ายมวลชนแบบนี้
ความคิดเห็นที่ 17
ขอแสดงความคิดจากประสพการณ์ 30 ปีทำงานด้านการผลิตจึงขอทำความเข้าใจ ให้พี่น้องคนไทยที่ตั้งกระทู้มาแลกเปลี่ยนกัน โดยเลนส์
1.ครั้งแรกในชีวิต ควรวัดตาแบบเสียเงิน และ ให้ใช้ค่าที่ได้เป็นเริ่มต้น  คำว่าสายตาเปลี่ยนไม่มี ในความบกพร่องทางาสายตา แต่เกิดจากครั้งแรกของการใช้แว่นตาไม่ตรงกับความบกพร่องจริงๆ ที่วัดได้ จึงได้รับคำตอบว่า สายตาเปลี่ยน ทั้งที่ค่าสายตาทีวัดได้จากนักทัศนะมาตรศาสตร์ จริงๆยังไม่เกิดขึ้น
การบกพร่องสายตาที่เพิ่มมากขึ้น เกิดจากกล้ามเนื้อตาทั้ง 8 มัดอยู่รอบดวงตาเกิดความเมื่อยล้า จึงทำให้จุดโฟกัสเปลี่ยนตำแหน่ง ถ้าหากวัดตาครั้งแรกของชีวิต ตรงและเลือกใช่เลนส์ให้ตรง จะช่วยลดการทำงานกล้ามเนื้อตา จุดโฟกัสจะไม่เแลี่ยน ค่าสายตาก็จะใกล้เคียงกับค่าสายตาที่วัดได้ถูกต้องทั้งค่า ระยะห่างของจุดกึ่งกลางตาดำทั้ง2 ข้าง PD(Pupil Distance) ค่าองศา ของตา และค่าสายตาที่เอียง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่ได้ข้อมูลหรือวัดได้ไม่ละเอียดดีพอ เป็นค่าคร่าวมากกว่าค่าจริง เพราะสายตา ต้องมีปัญหาแบบนี้ร่วมด่วยแต่ตรวจไม่พบหรือไม่ใส่ค่านี้ให้ผู้มีปัญหา จากสถิติข้อมูล ของประเทศไทย การใช้เลนส์ร้อยละ 99% ใช้เลนส์ที่เป็นค่าสายตรง(Sph)และไม่มีค่าสายตาเอียง(Cylinder)และองศา(Axis) ทั้งที่จริงสายตา S 0.00 C 0.00 แต่วัดได้ S 0.00 C+0.25 หรือ 0.00  C -0.25  แต่ผู้ประกอบการไม่ใส่ให้ จึงทำให้มีปัญหาเบี่ยงเบน เพิ่มมากขึ้น โดยไม่แก้ไข ตั้งแต่แรก จะตรวจพบ กันก็สั้นหรือยาว มากกว่า 1.00 จึงจะเริ่ม และไม่ยอมใส่ค่าเอียงที่วัด ให้อีก กล้ามเนื้อตาต้องปรับความสมดุลย์ที่ทำให้หนักมากขึ้น
ส่วนประเเด็น จักษุแพทย์ ซึ่งทำหน้าที่ดูแลตรวจรักษาโรคตา ไม่เกียวกับการแกปัญหาสายตา ที่ต้องเป็นหน้าที่ของนักทีศนะมาตรศาตร์ (Optometry) ทุกท่านต้องทราบด้วยว่า ใครทำหน้าทีอะไร เราจึงจะไปใช้ให้ถูกต้อง ตอนนี้ เรายังรวมกันแทบจะแยกไม่ออก ว่า จักษุแพทย์ , นักทัศนะมาตรศาสตร์ และช่างประกอบแว่นตา เป็น คนเดียวกันด้วยซ้ำไป
2.กรอบแว่นตาที่มี 3 ประเภท
2.1 กรอบเต็ม (Full Rim)
2.2 ครึ่งกรอบ (Haft Rim) แบบมีเอ็น เซาะร่อง
2.3 กรอบเจา (Rimless) ไมีกรอบใช้เจาะยึด
3 .เลนส์ทีเลือกใช้ต้องแบ่งตาม ค่าการหักเหแสง(Index)
3.1 Index 1.498 (1.5 CR-39)
3.2 Index 1.53 ( Trivex)
3.3 Index 1.56(Acrylic)
3.4 Index 1.589(Polycarbonate)
3.5 Index 1.60 (MR-8)
3.6 Index 1.67(MR-10)
3.7 Index 1.74(MR 174)
เลนส์ทุก Index มีชนิด
-ขาวใส  ที่นำไปย้อมสี(Tint)
-ปรับแสงอัตโนมัติ (Photocromic)
ทุกIndex สามารถ เคลือบผิวลดแสง มัลติโค๊ต (Multicoated) ได้ทั้งหมดตามมาตรฐาน
เลนส์ราคาปรับแพงขึ้นตามค่าIndex จาก Index 1.5  ไปเรื่อยๆ จนถึง 1.74 จนมีการนำคำว่า"ย่อบาง" มาใช้แทน Index จนบางครั้งทำให้ถูกหลอกได้ง่ายๆจากคำว่า ย่อบาง ชึ่งเป็นเรื่องไม่เป็นธรรม
เลนส์ที่มีใช้ในร้านตัดแว่นตา กับ แว่นตามแผงลอย จะมีเฉพาะ Index 1.5 และ 1.56 ที่ทำมาจาประเทศจีน มีการใช้ค่า PD เป็นค่าประมาณการเท่านั้นแต่มีค่าใกล้เคียงอยู่บ้าง แต่จะใช้งานลักษณะ ถอดเข้า-ออก ไม่สามารถใช่ประจำตลอดเวลาได้ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อตา ทำงานหนักมาก เกิดอาการ ต่างๆอย่างที่ได้ถกเถียงกัน  
ดังนั้นการใช้สายตามากๆย่อมทำให้กล้ามเนื้อตาแข็ง เมื่อล้า เวียนหัว เป็นปกติ ครับ ดังนนั้นเราควรไปวัดสายตาจากผู้ประกอบที่มีประสพการณ์ แบบเสียเงินเพื่อให้ได้ค่าสายครั้งแรกที่มีค่าใช้จ่าย บ้างเพื่อยอมเป็นค่ามาตรฐาน จาการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ขนาดห้องที่มีระยะ 6 เมตรเพื่อทดสอบมาตรฐานการมองเห็น ที่ระยะ 6 เมตร
ในหลายๆที่อยู่ในต่างประเทศ เช่น ยุโรป อเมริกา หรือ สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ที่เขามีมาตรฐาน และกฏหมายคุ้มครอง สาทาร วัดและออกใบรับรองให้ใช้ได้ 3 ปีเป็นมาตรฐาน
จึงแนะนำและปรับเปลี่ยนทัศนคติกันใหม่ครับ จะพบความจริงและช่องทางการตลาดจากคำแนะนำที่ไม่ต้องแข่งขันและคิดเอาชนะกันให้เหนื่อย
ความคิดเห็นที่ 3
พูดตรงนี้เลย พูดตรงๆ

คนโง่เท่านั้น ที่เชื่อกระทู้นี้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่